การฝากแบบใดให้ผลตอบแทนสูงสุด

การฝากแบบใดให้ผลตอบแทนสูงสุด

การฝากแบบใดให้ผลตอบแทนสูงสุด

     จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้หลายคนประสบปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยวางแผนด้านการเงินมาก่อน หรือแม้บางรายพอมีเงินเก็บแต่ก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ ดังนั้นเราจึงควรลงทุนสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยขึ้นด้วย 

    แต่สำหรับคนที่มีเงินออมต่อเดือนน้อย อยากให้ลองเริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,000 บาท เพราะเงินจำนวนแค่นี้ ก็สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้แล้ว ดีกว่าฝากออมทรัพย์ธรรรมดาที่มีดอกเบี้ยแค่ 0.25% หรือรับดอกเบี้ยแค่ 2.5 บาทเท่านั้น 

     โดยสำนักข่าว"อีไฟแนนซ์ไทย" ได้รวบรวม 7 วิธีออมให้เงินงอกเงยได้ แค่มีเงินเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทไว้ดังนี้ 


1. บัญชีเงินออมดิจิทัล

    บัญชีเงินออมดิจิทัลหรือเข้าใจง่ายๆ คือบัญชีออมทรัพย์แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก(Book Bank) ซึ่งบัญชีดังกล่าวจะได้รับดอกเบี้ยประมาณ 0.5-1.5% สามารถฝาก ถอน โอนได้ ผ่านระบบออนไลน์ โดยในหลายธนาคารไม่มีเงื่อนไขขั้นต่ำในการฝาก เหมาะสำหรับคนที่ไม่มั่นใจว่าจะมีวินัยในการเก็บอย่างสม่ำเสมอ แต่อยากได้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป ซึ่งอย่างน้อยๆ เงินเริ่มต้นแค่ 1,000 บาท หากคิดดอกเบี้ย 0.5% จะได้ดอกเบี้ยแล้วประมาณ 5 บาท 

 
2.เงินฝากประจำแบบปลอดภาษี 

    บัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี ปัจจุบันเริ่มต้นเงินฝากขั้นต่ำตั้งแต่ 500 หรือ 1,000 บาท มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงประมาณ 1.25-2.30% ซึ่งต้องฝากเงินอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนในจำนวนที่เท่ากัน มีกรอบเวลา 24 เดือน หรือ 36 เดือน ข้อดีคือไม่ต้องเสียภาษี แต่จำกัดการเปิดบัญชี 1 คนต่อ 1 บัญชีเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มออม อยากฝึกวินัยไม่ชอบเสี่ยงและมีเงินไม่มาก ได้ครบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 

    คิดง่ายๆ หากเราออมเงิน 1,000 บาท ครบ 24 เดือน ปกติเงินต้นเพียง 24,000 บาท แต่หากฝากประจำแบบปลอดภาษี คิดดอกเบี้ย 2.30% จะได้เงินเพิ่มอีก 552 บาท หรือมีเงินออมเพิ่มขึ้นรวม 24,552 บาท  


3. เงินฝากประจำทั่วไป

    บัญชีเงินฝากประจำแบบทั่วไป ปัจจุบันมีเงินขั้นต่ำ 1,000 บาท ก็สามารถเปิดบัญชีฝากได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงประมาณ 0.5-1.5% โดยต้องฝากเงินอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนในจำนวนที่เท่ากัน มีกรอบช่วงเวลาตั้งแต่ 3 เดือนจนถึง 48 เดือน ขึ้นอยู่กับธนาคารแต่ละแห่งกำหนด เงื่อนไขคือต้องเสียภาษีดอกเบี้ย ณ ที่จ่ายประมาณ 15% แต่ข้อดีคือ 1 คนสามารถเปิดบัญชีประเภทดังกล่าวได้มากกว่า 1 บัญชี เหมาะสำหรับคนเริ่มมีวินัยการออมแล้ว และมีเงินต้นจำนวนมาก แต่ไม่อยากเสี่ยงเสียเงินต้น 


4. สลากออมทรัพย์ 

    หากใครมีเงินเพียง 1,000 บาท แต่สนใจลงทุนในสลากออมทรัพย์ เริ่มต้นได้ที่ ธนาคารออมสิน ,ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยระยะเวลาลงทุนประมาณ 1 ปีขึ้นไป เพื่อลุ้นถูกรางวัลในแต่ละเดือน หรือตามเงื่อนไขของสลากแต่ละรุ่นกำหนด สามารถซื้อเพียงครั้งเดียวหรือเพิ่มหลายครั้ง ซึ่งผลตอบแทนคือลุ้นการถูกสลากรางวัล

    โดยกรอบเงินรางวัลมีตั้งแต่ 20 บาท ถึง 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้นใครหวังเฮงถูกเงินล้านแบบไม่ต้องเสียเงินต้นแบบลอตเตอรี่ แถมสลากบางรุ่นยังมีดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย สลากออมทรัพย์อาจเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนชอบลุ้น

 
5. กองทุนรวม

    หากผลตอบแทนที่กล่าวมายังไม่เร้าใจพออยากได้สูงกว่า 2% และพอจะมีความรู้ด้านการลงทุน แต่ไม่มีเวลาบริหารเอง แนะนำกองทุนรวมเพราะมีผู้จัดการกองทุนมาบริการเงินให้ ซึ่งมีกองทุนให้เราเลือกมากมาย ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ซึ่งบางแห่งมีเงินแค่ 1 บาทก็สามารถลงทุนได้แล้ว 

    โดยแต่ละกองจะกำหนดเงื่อนไขความเสี่ยงของผู้ลงทุนในระดับที่รับได้ แบ่งเป็น 8 ระดับ มีทั้งเสี่ยงต่ำ ปานกลาง มาก และมากที่สุด โดยแต่ละกองจะอธิบายถึงความเสี่ยง รายละเอียด และผลตอบแทนย้อนหลังให้พิจารณาตามหนังสือชี้ชวน 

    สำหรับผลตอบแทนบางกองอาจได้กลับมาในระดับ 5-10% ต่อปี เทียบเงินต้น 1,000 บาทจะได้ผลตอบแทนประมาณ 50-100 บาท  หรืออาจมากกว่า 50% ต่อปี หรือรับผลตอบแทนเพิ่ม 500 บาท แต่ความเสี่ยงเงินต้นหายก็มีด้วยเช่นกัน


6. ออมหุ้นไทยแบบ DCA ผ่านโบรกเกอร์ 

    เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการลงทุนหุ้นไทยอย่างสม่ำเสมอ แต่เงินลงทุนและความรู้ยังน้อย โดย DCA คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนในหุ้นตัวเดียวกันทุกๆ เดือนหรือสัปดาห์ ตามที่บริษัทหลักทรัพย์(บล.) หรือโบรกเกอร์แต่ละรายกำหนด ทำให้เราสามารถซื้อหุ้นที่มีทิศทางการดำเนินงานดีแต่ราคาสูงได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นในกลุ่ม SET 50, SET100 ให้เลือกลงทุน 

    ซึ่งเงินที่งอกเงยจากการลงทุนมาจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่เพิ่มมากขึ้นและเงินปันผล โดยสถิติข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าการลงทุนหุ้นไทยมีอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี หากคิดผลตอบแทนเงินออมเพียง 1,000 บาท จะมีกำไรแล้ว 100 บาท 


7. ออมทอง 

     มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ วลีนี้ยังคงใช้ได้กับสังคมไทย แต่การซื้อเพื่อได้ทองมาครอบครองอาจใช้เงินมากกว่าที่มี ดังนั้นร้านค้าทองหลายแบรนด์จึงออกโปรแกรมออมทอง เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนเงินน้อย ซึ่งผู้ลงทุนสามารถทยอยซื้อสะสม และหากสะสมเงินครบตามราคาสินค้าทอง สามารถแลกรับทองจริงได้ หรือเลือกสะสมเงินต่อเพื่อแลกรับทองขนาดที่ใหญ่กว่า รวมถึงขายเพื่อนำเงินสดออกมาก่อนก็ได้เช่นกัน     โดยปัจจุบันสามารถใช้เงินขั้นต่ำ 10 บาทเพื่อออมทองได้ ซึ่งผลตอบแทนช่วงปี 63 ที่ผ่านมาพบว่าหากใครถือครองทองคำต้นปีถึงปลายปีจะได้กำไรประมาณ 20% หรือคิดเงินลงทุน 1,000 บาท จะได้กำไรถึง 200 บาท 


    ทั้งหมดนี้คือแนวทางการออมสำหรับผู้มีเงินน้อย 1,000 บาท แม้การเริ่มออมจะยากสำหรับใครหลายคน แต่หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้ตัดสินใจออมเงินกันง่ายมากขึ้น เพราะเมื่อเราประสบวิกฤตทางการเงิน อาจทำให้การใช้ชีวิตนั้นยากยิ่งกว่า ดังนั้นหากเราเริ่มลงมือ และสร้างวินัยเลือกการออมอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 1 วิธี ก็จะทำให้เราป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ และที่สำคัญอาจทำให้เรารวยได้จากเงินออมเพียงน้อยนิดก้อนนี้

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

การฝากแบบใดให้ผลตอบแทนสูงสุด

Refresh


การฝากแบบใดให้ผลตอบแทนสูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้