การอ่านแบบใดเป็นการอ่านที่ใช้วิจารณญาณระดับสูง

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

    เป็นการอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ คือ คิดอย่างรอบคอบ โดยใช้วิจารณญาณอย่างลึกซึ้ง แต่เป็นการคิดที่มีต่อเรื่องราวที่ได้จากการอ่านหนังสือ ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจความคิดของผู้เขียนว่าเป็นไปในลักษณะใด มากกว่าการที่จะเห็นชอบไปกับความคิดของผู้เขียนโดยสิ้นเชิง

    การอ่านช้าๆ

การอ่านแบบใดเป็นการอ่านที่ใช้วิจารณญาณระดับสูง

           ในปัจจุบันมีพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมาก อยากให้ลูกอ่านหนังสือเร็วๆ เพราะคิดว่าถ้าอ่านเร็วก็จะได้รับความรู้และข้อมูลมากกว่าคนอื่น แต่นั้นเป็นความคิดที่ผิด เด็กที่อ่านเร็วๆ จะอ่านหนังสือแต่คำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) จึงรู้แค่โครงเรื่องเท่านั้น คือรู้เพียงส่วนเดียวของเรื่องทั้งหมด ที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ แต่เด็กที่อ่านช้าๆ จะมองเห็นความหมายที่ซ่อนอยู่ข้างในด้วย จึงได้อะไรจากหนังสือเล่มนั้นมากกว่า ในรายงานผลการสำรวจการอ่านของประชากรในปี /จาก ของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเกาหลี เกี่ยวกับวิธีการอ่านของนักเรียนในปัจจุบันปรากฏว่าพวกเขาอ่านหนังสือเร็วขึ้น 30% ยิ่งเด็กคุ้นเคยกับหนังสือการ์ตูนหรือเกมอินเตอร์เน็ต ก็จะค่อยๆอ่านหนังสือเร็วขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีกคือ เด็กเริ่มเรียนรู้ตัวอักษรเร็วขึ้น เด็กเล็กๆจะอ่านตัวหนังสือแต่จะไม่ได้อ่านเป็นประโยค  คืออ่านสะกดคำแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจไปถึงขั้นทำความเข้าใจกับหนังสือ การทำความเข้าใจกับหนังสือหมายถึง การตอบสนองที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้อ่านมีต่อเนื้อหาของหนังสือ  การตอบสนองดังกล่าวมีประสบการณ์ชีวิตกับประสบการณ์ในการอ่านเป็นตัวกำหนด ดังนั้นเมื่อเห็นเด็กเล็กๆ อ่านสะกดคำดังๆไม่ได้หมายความว่าเขากำลังอ่านประโยคหรืออ่านหนังสือ

            สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือที่เป็นปัญหาก็คือ เมื่อเด็กเหล่านี้เข้าเรียนชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมซึ่งต้องอ่านหนังสือเป็นประโยค พวกเขาจะคิดว่าตัวเองรู้เรื่องหมดแล้ว จึงอ่านแบบเร็วๆลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่าอาการอ่านหนังสือเร็วเกินไป เด็กเหล่านี้จะอ่านหนังสือผ่านๆเท่านั้น ในเรื่องของการอ่านหนังสือช้าๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้ไม่มีใครเทียบขงจื้อได้ขงจื้อจะอ่านหนังสือช้าๆ และละเอียดเป็นอย่างยิ่ง เล่ากันว่าในขณะที่ท่านอ่านเชือกที่ใช้มัดชี่ไม้ไผ่ที่ทำเป็นหนังสือขาดแล้วขาดอีก จนต้องผู้ใหม่มากว่าสามครั้งนักวิชาการที่เคยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติของท่าน เคยวิเคราะห์ออกมาว่า เคล็ดลับที่ทำให้ท่านมีสมองแจ่มใสและฉลาดหลักแหลม จนกลายเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นเพราะการอ่านหนังสือช้าๆนี่เอง ตัวท่านเองก็เคยสั่งสอนลูกศิษย์เอาไว้เช่นกัน ว่า”จงอ่านระหว่างคำ”ซึ่งหมายถึงการอ่านให้ช้าๆอย่างละเอียดเพื่อค้นหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือนั้นเอง

                ข้อดีของการอ่านหนังสือช้าๆอย่างละเอียด

    1.เป็นการอ่านอย่างมีสมาธิ จึงได้ข้อมูลมาก

    2.เป็นการอ่านเชิงตรรกะ

    3.สายตาจะไล่ไปตามคำศัพท์ทุกคำ ช่วยให้รู้และจำจดคำศัพท์ได้มากขึ้น

    4.ได้วาดภาพเหตุการณ์ในฉากไว้ในใจ ช่วยเพิ่มความสามารถด้านจิตนาการ

    5.ได้อ่านอย่างมีสมาธิช่วยให้สมาธิดีขึ้น

การอ่านตามประเภทของสาร     คือ   การอ่านตามประเภทของสารแยกเป็น การอ่านเพื่อความรอบรู้ และการอ่านเพื่อการศึกษา

การอ่านเพื่อความรอบรู้

            ในสังคมปัจจุบันมีผู้รู้หนังสือปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีหนังสือรูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเพื่อสนองความต้องการของผู้รู้หนังสือ การอ่านหนังสือรูปแบบต่างๆผู้อ่าน

จำเป็น จะต้องมีวิจารณญาณกลั่นกรองได้ว่าหนังสือรูปแบบใด เล่มใด มีคุณภาพเด่นในทางไหน เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด การใช้วิจารณญาณในการอ่านจะทำให้ผู้อ่านมีความรู้ใน

เรื่องราวเหตุการณ์ และปัญหาต่างๆ รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการบ้าน การเมือง สังคม การต่างประเทศหรือแม้แต่วิทยาการแขนงต่างๆ หนังสือที่ควรอ่านเป็นประจำเพื่อความรอบรู้อยู่ตลอดเวลา ได้แก่ หนังสือรูปแบบต่างๆ ต่อไปนี้

การเลือกหนังสืออ่าน

การเลือกหนังสืออ่านมีความจำเป็นมาก นักอ่านที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักวิธีเลือกหนังสืออ่าน ให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่การอ่านโดยพิจารณาวิธีเลือก (ศิวกานท์ปทุมสูติ, 2540,

หน้า 19-20) ต่อไปนี้

1. เลือกหนังสือที่มีสาระเรื่องราวตรงกับความต้องการหรือความจำเป็นที่ต้องอ่าน

2. เลือกหนังสือที่ดีมีคุณลักษณะ ดังนี้
         2.1หนังสือที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าดี
         
2.2หนังสือที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าดี
         
2.3 หนังสือที่ได้รับรางวัลสำคัญๆในการประกวดขององค์กรที่มีคุณภาพ
        
2.4 หนังสือซึ่งเขียนโดยนักเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของแวดวงนักอ่าน
         
2.5 หนังสือที่มีคุณค่าดีพร้อมทุกด้านได้แก่ด้านเนื้อหาด้านความคิดด้านกลวิธี ด้านทางภาษาด้านรูปแบบและการนำเสนอ
         2.6 หนังสือที่ได้รับการยอมรับศึกษาสืบทอดกันมาทุกยุคทุกสมัย
        
2.7 เลือกหนังสือที่จะไม่โน้มนำไปในทางเสื่อมทั้งปวง

การอ่านและจับใจความ

การอ่านและจับใจความมีหลักเกณฑ์การอ่าน (ฉวีลักษณ์บุณยะกาญจน, 2547, หน้า11-12) ดังนี้

1. ตั้งใจอ่านมีสมาธิแน่วแน่พยายามอ่านอย่างรวดเร็วจะช่วยให้เก็บใจความสำคัญได้ดีกว่าอ่านช้า ๆ เพราะการอ่านอย่างเร็วนั้นจะทำให้ความหมายของข้อความแต่ละช่วงสายตาที่ผู้อ่านเข้าใจ จะยังคงอยู่ และนำมาสัมพันธ์กัน ทำให้เข้าใจข้อความที่อ่านทั้งหมดได้ แต่ถ้าอ่านได้ช้าความหมายของข้อความย่อยๆ ทั้งหลายอาจเลือนไปไม่สามารถจะนำมาเชื่อมโยงกันได้และทำให้เสียสมาธิได้ง่ายด้วย

2. เมื่ออ่านจบหน้าหนึ่ง ๆ หยุดคิดเล็กน้อยว่าย่อหน้านั้นมีใจความสำคัญอย่างไรตามปกติ ใจความสำคัญจะอยู่ตอนต้นหรือตอนท้ายของย่อหน้ามีเพียง 1-3 ประโยคเท่านั้น

3. เมื่ออ่านจบทุกย่อหน้าก็นำเอาใจความสำคัญของทุกย่อหน้ามารวมกัน ให้เกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน โดยนึกคิดในใจหรือเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ถ้อยคำภาษาของตนเอง

เทคนิคการอ่านหนังสือเร็วและให้ได้ใจความ

ทคนิคการอ่านหนังสือเร็วและให้ได้ใจความต้องมีการฝึกฝน (ฉวีลักษณ์บุณยะกาญจน, 2547,หน้า 98-107) ดังนี้

1.จำคำและวลีบางกลุ่มเพื่อช่วยให้อ่านเร็วขึ้นเช่น ด้วยเหมือนกันและมากกว่าอีก ยิ่งกว่ามากคำที่ช่วยสรุป เช่นนั่นเองดังนั้น ตามที่ผลก็คือเป็นต้น

2.อ่านเป็นวลีหรือประโยคไม่ควรอ่านเป็นคำเพราะเนื้อหาที่ต้องการมักอธิบายด้วยวลี หรือประโยค

3. การเคลื่อนไหวตาโดยปกตินักอ่านที่ดีจะเคลื่อนไหวตา3 ครั้งต่อบรรทัด และเคลื่อนไหวสายตาย้อนกลับไม่เกิน 8ครั้งต่อหน้า

4.ปรับปรุงการอ่านให้เร็วขึ้นโดยการจับเวลา

5. พยายามอ่านให้มาก อ่านให้เป็นกิจวัตรควรฝึกอ่านวันละ1 ชั่วโมงหรืออ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 เล่ม เป็นอย่างน้อย และพยายามฝึกอ่านให้เร็วจนกระทั่งได้อัตราเร็วในการอ่าน 400คำต่อนาทีเป็นอย่างน้อย

6.อ่านเอาเรื่อง อ่านแล้วรู้เรื่องว่าอ่านเรื่องอะไรเป็นอย่างไรเกี่ยวข้องกับใครจำเรื่องที่อ่านได้และสามารถเข้าใจเรื่องได้ทันที

7.อ่านเป็น อ่านแล้วแปลความตีความขยายความได้

8.อ่านเก่งต้องอาศัยการอ่านเอาเรื่องและการอ่านเป็นเป็นพื้นฐานจึงจะอ่านเก่งได้ผู้อ่านต้องอาศัยประสบการณ์ และความสามารถของตนในการวิเคราะห์สังเคราะห์และการประเมินค่า มาช่วยในการตัดสินใจและวินิจฉัยเรื่องที่อ่าน เป็นการอ่านที่ต้องใช้ความเข้าใจสูงสุด

หนังสือประเภทต่าง ๆ

1.หนังสือพิมพ์
2.
นิตยสารและ วารสาร
3.
หนังสือสารคดี
4.หนังสือนวนิยายหรือบันเทิงคดี
5.หนังสือเกี่ยวกับสถิติ

วิธีการอ่านหนังสือประเภทต่าง

1.หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือสื่อสารประเภทข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน ควรอ่านดังนี้
             
1.1การอ่านหนังสือพิมพ์รายวันควรอ่านเร็ว ๆ ถ้าติดใจบทความเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
            
1.2ควรตัดเก็บไว้(หากเป็นหนังสือพิมพ์ส่วนตัว) หรือจดไว้แล้วเก็บเป็นระบบเพื่อค้นง่ายควรอ่านทุกหน้าเพราะแต่ละหน้ามีความรู้และข่าวที่ไม่ซ้ำกันถ้าอ่านไม่ทั่ว จะพลาดข่าวสำคัญ
            
1.3ควรใช้วิจารณญาณในการอ่านหนังสือพิมพ์เพราะผู้ผลิตหนังสือพิมพ์รายวันต้องทำงานแข่งกับเวลาอาจจะมีความบกพร่องคลาดเคลื่อนได้การเสนอข่าวจะโน้มเอียงไปตาม ที่คนส่วนมากสนใจและบางครั้งใช้ภาษาไม่ถูกต้อง

2.นิตยสาร และวารสาร เป็นเครื่องมือสื่อสารประเภทหนึ่งที่มีกำหนดออกแน่นอน มีลักษณะเป็นรายงานข่าวที่ค่อนข้างจะแน่นอนเพราะมีเวลาในการรวบรวมแต่จะไม่ทันเหตุการณ์ เท่าหนังสือพิมพ์ควรอ่าน ดังนี้
             2.1ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งฉบับ
             2.2 อ่านเฉพาะเรื่องที่สนใจ โดยดูจากสารบัญทำให้ค้นหาเรื่องที่ต้องการได้เร็วขึ้น

3. หนังสือสารคดีการอ่านหนังสือประเภทนี้ เป็นการอ่านเพื่อความรู้เพื่อการค้นคว้า เพื่อประกอบการเรียนหนังสือสารคดีมีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทควรอ่านดังนี้

             3.1การอ่านหนังสือประเภทปรัชญาจิตวิทยาและศาสนา ทั้งสองประเภทนี้มีความสัมพันธ์กันมีทั้งระดับง่ายและระดับยากการอ่านจึงขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายของผู้อ่านดังนี้
                       3.1.1 การอ่านอย่างง่ายเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาจิตใจหรือนำมาเป็นหลักในชีวิตประจำวันได้การอ่านหนังสือประเภทนี้ เลือกอ่านในระดับที่สามารถเข้าใจได้อ่านด้วยความสนใจจะเป็นพื้นฐาน ในการอ่านหนังสือประเภทนี้ต่อไปในระดับสูงขึ้นได้ง่ายเช่น หนังสือส่งเสริมสุขภาพจิตนิทานชาดกพุทธภาษิตพุทธประวัติเป็นต้น
                       3.1.2 การอ่านอย่างยาก เป็นการอ่านเพื่อหาความรู้ประกอบเพื่อการเรียนรู้บางอย่าง อย่างลึกซึ้งต้องมีพื้นความรู้ด้านนี้มาเพียงพอมีประสบการณ์ในการฝึกฝนอบรม หรือได้รับคำแนะนำจากผู้รู้

           3.2การอ่านหนังสือประเภทสังคมศาสตร์ เป็นการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เช่นรัฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์กฎหมาย การศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นต้นขอบเขตเนื้อหากว้างขวาง ผู้อ่านต้องมีความรู้และประสบการณ์ ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับความรู้มากยิ่งขึ้น
           3.3 การอ่านหนังสือประเภทประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์การอ่านหนังสือประเภทนี้ควรอ่านดังนี้
                      3.3.1 ต้องอ่านอย่างพินิจพิจารณาอ่านให้เรื่องต่อเนื่องกันและเปรียบเทียบเหตุการณ์คล้ายคลึงกัน กับที่เกิดขึ้นต่างยุคต่างสมัยกันและพยายามหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลั่นกรอง หาเหตุผลของเหตุการณ์นั้น
                      
3.3.2 ควรเปรียบเทียบหลาย ๆ เล่มเลือกอ่านหนังสือเล่มที่ผู้เขียนทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์
                      3.3.3การอ่านข้อมูลเชิงสถิติแผนที่แผนภูมิตารางกราฟ ภาพประกอบต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและถูกต้อง
             3.4
การอ่านหนังสือประเภทชีวประวัติควรอ่าน ดังนี้
                      3.4.1ต้องดูวิธีการเขียนดูขอบเขตของผู้เขียนต้องการเน้นชีวิตช่วงไหนมากที่สุด
                      3.4.2
ถ้ามีหนังสือชีวประวัติเกี่ยวกับบุคคลนั้นหลายเล่มนำมาอ่านเปรียบเทียบดู เพื่อหาข้อเท็จจริงและทัศนคติที่ผู้เขียนมีต่อเจ้าของชีวประวัติว่ามีใจเป็นธรรม
             3.5
การอ่านหนังสือประเภทวรรณคดีการอ่านหนังสือประเภทนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ของผู้อ่านโดยทั่วไป ดังนี้
                      3.5.1เพื่อศึกษาศิลปะของการใช้ภาษาความไพเราะของภาษาการอุปมาอุปไมย อารมณ์ขันผู้อ่านต้องอ่านให้ได้อรรถรส จะได้รับความพอใจในสำนวนโวหารที่ไพเราะลึกซึ้ง คมคายมีอุปมาอุปไมยรวมทั้งได้คติธรรมและความสุขทางอารมณ์และจิตใจ
                     3.5.2เพื่อเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละบุคคลแต่ละสมัย
              3.6
การอ่านหนังสือประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ควรอ่านดังนี้
                    
3.6.1การอ่านเน้นเนื้อหาสำคัญต้องทำความเข้าใจและจำสูตรต่าง ๆ บางครั้งต้องอาศัยคู่มือทดลองปฏิบัติการ ในห้องทดลองต้องอาศัยรูปภาพแสดงเค้าโครง แผนผังและตารางต่าง ๆ ด้วย
                    
3.6.2 การอ่านต้องหยุดพักเป็นตอน ๆ

4. หนังสือ นวนิยาย หรือบันเทิงคดีควรอ่าน ดังนี้
                   
4.1 ควรอ่านในเวลาว่างและอ่านติดต่อกันไปเพื่อให้ได้อรรถรส
                   
4.2เมื่ออ่านจบแล้วลองสรุปดูว่าได้อะไรจากการอ่านบ้าง เช่นคติสอนใจคำพูดสอนใจวัฒนธรรมปรัชญา

5. หนังสือเกี่ยวกับสถิติมีวิธีการอ่านตามข้อมูลที่นำเสนอด้วยการดูภาพตารางสัญลักษณ์ดังนี้
                   5.1เป็นบทความจะมีเรื่องราวไม่ยาวมากใช้เวลาในการอ่านเล็กน้อย

                   5.2 การอ่านตารางสำรวจตารางอย่างรวดเร็วโดยดูให้ทั่วตารางอ่านชื่อตารางว่าเสนอ ข้อมูลเรื่องอะไรมีคอลัมน์อะไรบ้าง มีชื่อหัวคอลัมน์อะไรบ้างแล้วค่อย ๆ

  อ่านรายละเอียดข้อมูล ในแต่ละคอลัมน์ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

                  5.3 การอ่านกราฟ
                               5.3.1 กราฟแท่ง (Bar Graphs)อ่านชื่อกราฟและคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับชื่อเรื่องนั้นซึ่งบอกให้ผู้เรียนทราบว่ากราฟนั้นแสดงเกี่ยวกับเรื่องอะไรมีจุดประสงค์อะไรในการแสดงเรื่องนั้นอ่านที่แกนของกราฟทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งจะบอกข้อมูลประจำแกนทั้งสอง โดยแสดงผ่านแท่งกราฟให้เห็นปริมาณสูงกว่า สั้นกว่า หรือระดับเดียวกันเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ จะเห็นข้อเปรียบเทียบจากแท่งกราฟ

                   5.4 การอ่านแผนผังให้อ่านชื่อของแผนผังเพื่อทราบว่าแผนผังนั้นแสดงเกี่ยวกับเรื่องอะไร อ่านตามลูกศรว่าจะเริ่มอ่านจากจุดใดก่อนและไปจบที่จุดสุดท้ายแต่ละจุดมีข้อความสั้น ๆ ในแผนผัง

                   5.5ภาพสื่อความหมาย วิธีการอ่านจากรูปภาพ เป็นการอ่านที่เห็นรายละเอียดจากภาพนั้น ๆ ได้ชัดเจนและรวดเร็ว โดยไม่ต้องจินตนาการตามคำบรรยายมากและยังจดจำเรื่องได้ดีขึ้นด้วย

                   5.6 การอ่านแผนภาพวงกลมวิธีการอ่านรูปแผนภาพวงกลม เป็นการอ่านเปรียบเทียบให้ เห็นสัดส่วนของข้อมูลได้รวดเร็วกว่าอ่านจากคำอธิบายอย่างเดียว

                   5.7 การอ่านแผนที่ต้องอ่านชื่อแผนที่ว่าแสดงเกี่ยวกับเรื่องอะไร อ่านสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล และสิ่งต่างๆ อ่านตามมาตราส่วนเพื่อคิดเปรียบเทียบขนาดอ่านทิศที่ปรากฏในแผนที่ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่มักระบุไว้ในแผนที่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆในแผนที่ให้เข้าใจได้แผนที่ต่าง ๆ อาจมีสัญลักษณ์ และรายละเอียดของข้อมูล ที่ต้องอ่านทำความเข้าใจแตกต่างกันไป ข้อมูลที่เราอ่านทำความเข้าใจ จากแผนที่ทำให้เรา เข้าใจเนื้อหาความรู้ในเรื่องนั้นตอนนั้นในหนังสือชัดเจนขึ้น หรืออาจจะมากกว่า ที่ผู้เขียนเสนอไว้ ในหนังสือก็ได้ (สมพรจารุนัฏ, 2553,หน้า141.)

 

การอ่านแบบใดเป็นการอ่านที่ใช้วิจารณญาณระดับสูง
การอ่านเพื่อการศึกษา

     การอ่านในที่นี้หมายถึง การอ่านในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยตรง ซึ่งมีประเภทหนังสือที่ใช้อ่านเพื่อการศึกษาดังนี้

1.) ตำราเรียน หมายถึง หนังสือที่เรียบเรียงขึ้นเพื่ออธิบายหรือแสดงเนื้อหาวิชาการแขนง ต่างๆ โดยเฉพาะการอ่านตำราเรียนต้องแนวอย่างละเอียนถี่ถ้วน ต้องวิเคราะห์และตีความเนื้อหาทุกตอน ทุกส่วนจนเข้าใจแจ่มแจ้ง และเมื่อติดขัดข้อความหรือเนื้อความใด ควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาค้นคว้าหรือสอบถามอาจารย์ผู้สอนหรือผู้รู้อื่นๆ ทันที

2.) หนังสือประกอบคำบรรยาย เป็นหนังสือที่เรียนเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการบรรยายในการสอนระดับอุดมศึกษาควรอ่านมาก่อนอย่างคร่าวๆและกำหนดในใจว่ามีตอนใดที่ยังไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจเพื่อที่จะได้ฟังตอนนั้นๆ อย่างใคร่ครวญหรืออาจซักถามผู้บรรยายจนกระทั่งเข้าใจแจ่มแจ้ง

3.) หนังสือคู่มือ หนังสือประเภทนี้เรียบเรียบขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการทำความรู้ความเข้าใจวิชาการบางแขนง เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง นักศึกษาอาจจะอ่านหนังสือคู่มือได้แต่ไม่ควรอ่านเพียงเล่มเดียว อ่านพอให้รู้ไม่ใช่อ่านแล้วเห็นคล้อยตามทันที หนังสือคู่มีโทษในแง่จำกัดขอบเขตความรู้ความคิด ถ้าอ่านไม่เป็นและไม่ตระหนักถึงโทษ ผู้ที่อ่านเฉพาะหนังสือคู่มือจะไม่เป็นนักอ่านที่มีวิจารณญาณและมีพัฒนาการทางความรู้ ความคิดและสติปัญญาที่มีเท่าที่ควร

4.) หนังสืออ่านในชั้นเรียน การเรียนการสอนบางวิชาผู้สอนอาจจะกำหนดให้มีหนังสืออ่านในชั้นเรียน ซึ่งหมายถึงหนังสือที่ผู้เรียนจะต้องอ่านพิจารณาย่างละเอียดทุกตัวอักษร

5.) หนังสืออ่านนอกชั้นเรียน การเรียนการสอนบางวิชาผู้สอนอาจจะกำหนดให้มีหนังสืออ่านนอกชั้นเรียนด้วยถ้าผู้สอนไม่ได้กำหนดเฉพาะว่าต้องอ่านบทใดหรืออ่านจากหนังสือหน้าใดถึงหน้าใดผู้เรียนต้องอ่านให้รู้เรื่องราวตลอดทั้งเล่ม แต่ไม่จำเป็นต้องอ่านอย่างละเอียดเหมือนหนังสือที่อ่านในชั้นเรียน อาจจะใช้วิธีอ่านตามแนวทางที่ผู้สอนชี้แนะให้อ่าน หรืออ่านให้ละเอียดอย่างพินิจพิเคราะห์ในส่วนที่ผู้สอนเน้นเป็นพิเศษก็ได้

6.) หนังสืออ่านประกอบ หมายถึง  หนังสือที่ผู้สอนแนะนำให้อ่านประกอบการเรียน บางวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ เพิ่มขึ้นทั้งในระดับกว้างและระดับลึก และอาจเป็นผลดีในการฟังคำบรรยายได้เข้าใจทันที การให้ความสนใจหนังสืออ่านประกอบเป็นผลอย่างดียิ่ง ต่อความรู้ของผู้เรียน ทั้งยังเป็นผลดีในการสอบและการทำรายงานด้วย

7.) หนังสืออ้างอิง หนังสือประเภทนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการศึกษาขั้นสูงเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาโดยตรงทั้งในแง่การอ่านและการเขียน ในการศึกษาวิเคราะห์เรื่องหนึ่งเรื่องใดให้ละเอียด ผู้อ่านอาจจะสังเกตได้จากหนังสือข้อเขียนที่อ่านว่าอ้างอิงถึงหนังสือเล่มใดบ้าง จากนั้นก็ศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดในหนังสือเล่มนั้นๆต่อไป ทำให้เข้าใจได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น

8.) หนังสือค้นคว้า หนังสือประเภทนั้นจัดเป็นเรียบเรียงขึ้น เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะที่จัดอยู่ในประเภทหนังสือค้นคว้าและที่รู้จักกันทั่วไป คือ  พจนานุกรม และสารานุกรมต่างๆ ผู้อ่านควรหมั้นเข้าห้องสมุดและเรียนรู้วิธีใช้หนังสือค้นคว้าเป็นประจำ ผู้อ่านจะพบว่ามีหนังสือค้นคว้ามากมายทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ นับเป็นขุนความรู้ที่ตักตวงได้ไมมีวันหมด

การอ่านแบบใดเป็นการอ่านที่ใช้วิจารณญาณระดับสูง

อ่านอย่างมีวิจารณญาณคืออ่านอย่างไร

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านระดับสูงที่ต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญ พิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างรอบคอบ สรุปสาระส าคัญ ทั้งเข้าใจความหมายโดยนัยของถ้อยค า อารมณ์ จุดประสงค์ของผู้เขียน สามารถแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เพื่อตัดสินประเมินค่า สิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ทักษะดังกล่าวจึงจ าเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา ...

การอ่านโดยใช้วิจารณญาณควรเริ่มต้นด้วยตัวเลือกใด

การใช้วิจารณญาณในการอ่าน จะเริ่มต้นที่การอ่านด้วยความตั้งใจและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านแล้วใช้ความรู้ ความคิด เหตุผลและประสบการณ์ประกอบการคิด ใคร่ครวญให้สามารถรับสารได้ถูกต้อง ถ่องแท้ การอ่านโดยใช้วิจารณญาณประกอบด้วยการเข้าใจของเรื่อง การรู้จักเขียน การเข้าใจความสัมพันธ์ของสารและการนำไปใช้

ความสําคัญของการอ่านคืออะไร

การอ่านเป็นพฤติกรรมการรับสารอย่างหนึ่ง กล่าวคือเป็นการรับรู้เรื่องราวโดยใช้สายตามองดูตัวอักษร แล้วสมองก็ จะลาดับเป็นถ้อยคา ประโยค และข้อความต่างๆ เกิดเป็นเรื่องราวตามความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน การอ่านช่วยให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้า และความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายได้ทันต่อ เหตุการณ์ ฉะนั้นการอ่าน ...

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีกี่ขั้นตอน

สามารถอธิบายถ่ายทอดออกมาเป็นความคิดรวบยอด โดยมีขั้นตอนในการจัดการเรียน การสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สังเกตและส ารวจตนเอง ขั้นที่ 2 ค้นคว้า ขั้นที่ 3 ท าความเข้าใจและวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 4 น าเสนอผลการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นที่ 6 คิดพิจารณาผลการอ่าน ซึ่งในแต่ละขั้นเป็นการเชื่อม ...