ข้อใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิที่สอดคล้องกับ ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค

24 มกราคม 2524

  • (กล่าวนำ)
  • พุทธศาสตร์ไม่ใช่ชื่อเดิมของพระพุทธศาสนา
  • ชื่อแรกของพระพุทธศาสนาคือธรรมวินัย
  • หลักการสำคัญของวินัย
  • วินัยเป็นเครื่องมือของธรรม
  • มองข้ามเรื่องวินัย ก็เข้าใจพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง
  • ชื่อที่สองของพระพุทธศาสนา คือ พรหมจรรย์
  • ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค
  • พระพุทธศาสนาสอนแต่ความจริงที่เป็นประโยชน์ และปฏิบัติได้ในปัจจุบัน
  • ประโยชน์ ๓ ประการ
  • พระพุทธศาสนาคือเรื่องของธรรมชาติ

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค

สัมมาทิฏฐินั้นเป็นหัวข้อแรกในมรรค ท่านบอกว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบแล้ว สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบก็จะมีขึ้น แล้วจะมีสัมมาวาจา พูดชอบ สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ เป็นต้น แต่ทีนี้ตัวสัมมาทิฏฐิเองเล่าจะเริ่มต้นอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ปรโตโฆษะ และโยนิโสมนสิการ

ปรโตโฆษะ แปลว่าเสียงจากอื่น เสียงจากอื่นคืออะไร เสียงจากอื่นก็คือเสียงจากคนอื่น เสียงที่มาจากที่อื่น ความรู้ที่มาจากแหล่งอื่น คนอื่น ถ้าจะใช้ภาษาสมัยปัจจุบันก็ว่า จากสภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมี ๒ ส่วน คือ ปรโตโฆษะที่ดีและที่ไม่ดี ปรโตโฆษะที่ไม่ดีท่านบอกว่านำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ ปรโตโฆษะที่ดีนำไปสู่สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจคิดเห็นเชื่อถือถูกต้อง ปรโตโฆษะนี้เป็นปัจจัยที่หนึ่ง

ปัจจัยที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ เราแปลกันมาตามประเพณีว่า การทำในใจโดยแยบคาย ซึ่งต้องไปพิจารณาความหมายกันอีก อาตมภาพเลยลองเสนอคำแปลไปว่า ความรู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี นี้เรียกว่า ‘โยนิโสมนสิการ’

สัมมาทิฏฐิจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๒ ประการนี้และท่านเน้นมากเหลือเกิน มีพุทธพจน์ที่เน้นเรื่อง ๒ อย่างนี้มากมายหลายแห่ง เช่นตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุผู้ยังศึกษาอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างใดที่จะเป็นสิ่งสำคัญเท่าปรโตโฆษะ ซึ่งปรโตโฆษะที่ดีก็ได้แก่ ความมีกัลยาณมิตร และสำหรับองค์ประกอบภายใน เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบใดสำคัญเท่าโยนิโสมนสิการเลย”

เป็นอันว่ามีองค์ประกอบ ๒ อย่าง ที่จะทำให้เกิดสัมมาทิฏฐินำไปสู่มรรค คือ องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆษะที่ดี และองค์ประกอบภายใน คือ โยนิโสมนสิการ ยังมีพุทธพจน์ทำนองนี้อีกมาก เช่น ตรัสว่า โยนิโสมนสิการก็ดี ปรโตโฆษะที่ดี คือ ความมีกัลยาณมิตรก็ดี (กัลยาณมิตรเป็นตัวอย่างเด่นชัดของปรโตโฆษะที่ดี ในส่วนที่เป็นบุคคล) นี้เป็นรุ่งอรุณของมรรคมีองค์ ๘ ประการ เมื่ออาทิตย์จะอุทัยขึ้นนั้น มีแสงอรุณนำมาก่อนฉันใด การที่มรรคจะเกิดขึ้น ก็มีแสงอรุณ คือ ความมีกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เป็นสิ่งที่นำมาก่อนฉันนั้น

สำหรับกัลยาณมิตร หรือปรโตโฆษะที่ดีนั้น จะพบคำสอนได้ในเรื่อง ‘การคบมิตร’ ซึ่งมีมากมายในพระพุทธศาสนา มีในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทั่วไป เป็นเรื่องที่มองเห็นกันอยู่แล้ว มีทั้งสำหรับชาวบ้าน สำหรับภิกษุ ที่ทั้งเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในขั้นต้น และในขั้นสูง เป็นเรื่องสำคัญที่หาคำสอนได้ง่าย ส่วนโยนิโสมนสิการก็ตรัสไว้มิใช่น้อย อาตมภาพคิดว่าในพระไตรปิฏกนั้นคงมีไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ แห่ง แต่ทีนี้ บางทีเรามองข้ามไป อย่างในพระไตรปิฎกแปล บางทีแม้จะอ่านเราก็ไม่ได้สังเกต เพราะท่านแปลออกมาเสียว่า การทำในใจโดยแยบคาย อะไรอย่างนี้ ก็ทำให้มองข้ามๆ กันไป

สิ่งสำคัญก็คือ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ช่วยกันได้ ส่วนสัมมาทิฏฐินั้นเกิดอยู่ในตัวคน เมื่อเขามีความเห็นถูกต้อง เขาก็ดำเนินตามมรรคไป แต่ก่อนที่เขาจะมีสัมมาทิฏฐิเราจะทำอย่างไร นี้เป็นเรื่องที่มนุษย์จะช่วยกันได้

การที่จะจัดกิจกรรมในทางสังคม การที่จะให้การศึกษาอะไรต่างๆ นี้มันอยู่ที่จุดนี้ คือ เรื่องปรโตโฆษะที่ดี กับโยนิโสมนสิการ เช่นว่า เราจะสร้างปรโตโฆษะที่ดี ให้สังคมนี้มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีกัลยาณมิตรขึ้นได้อย่างไร กัลยาณมิตรนี้ควรจะมีคุณภาพ คุณสมบัติอย่างไร เริ่มตั้งแต่คุณครูเป็นต้นไป โยนิโสมนสิการที่ว่ารู้จักคิด คิดเป็น คิดแยบคาย อะไรนี้ คือ ความคิดแบบไหน มีวิธีการทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นต้น เป็นเรื่องที่น่าศึกษา ซึ่งอาตมภาพเห็นว่าอันนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องในวิชาการศึกษามาก และการที่เราบอกว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญานั้น มันก็เริ่มมาตั้งแต่จุดนี้ คือ เพราะสอนเรื่องโยนิโสมนสิการนี้เอง สำหรับจุดนี้อาตมภาพก็จะขอผ่านไปก่อน

อีกชื่อหนึ่งของพระพุทธศาสนาที่ใช้เรียกในสมัยก่อน คือ คำว่า สัตถุศาสน์ อันนี้เป็นเรื่องของการแสดงตัวคำสอนแท้ๆ ซึ่งจะไม่พูดถึงในที่นี้ เพราะเวลาจำกัด ขอผ่านไปก่อน ขอพูดถึงหัวข้อที่ ๔

มองข้ามเรื่องวินัย ก็เข้าใจพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง พุทธศาสตร์ไม่ใช่ชื่อเดิมของพระพุทธศาสนา

Article Sidebar

ข้อใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิที่สอดคล้องกับ ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น

Main Article Content

วุฒินันท์ กันทะเตียน

มหาวิทยาลัยมหิดล

Abstract

                การเป็นผู้มีอำนาจไม่เพียงแต่จะใช้อำนาจ แต่ต้องรู้จักการใช้อำนาจอย่างถูกต้อง ซึ่งรูป แบบและแนวทางของผู้มีอำนาจพึงมีนั้นต้องอาศัยสัมมาทิฐิ อันมีความสำคัญต่อผู้ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเห็นชอบ มีความเห็นตรง มีความเข้าใจถูกต้อง ผู้ที่มีความเห็นถูกย่อมมีปัญญา สัมมาทิฐินั้นเป็นแกนนำให้รู้ถึงทิฐิอื่นตามมา และสามารถแยกแยะว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี สัมมาทิฐิคือความเห็นชอบที่มาก่อนความเห็นอื่นได้แก่ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ การกระทำที่ชอบอื่นๆดังพุทธพจน์ที่กล่าวถึงสัมมาทิฐิว่า เปรียบเสมือนสารถี และชีวิตของมนุษย์เปรียบเหมือนรถที่กำลังแล่นไป โดยไม่สามารถแล่นไปสู่จุดหมายปลายทางเองได้  หากผู้ขับรถมีความเฉลียวฉลาดโดยอาศัยสัมมาทิฐิ ย่อมพาไปสู่ทิศทางที่ดี สัมมาทิฐิจึงเป็นเหตุให้กุศลธรรมอื่นๆเกิดขึ้น เพราะความเห็นหรือทิฐิเป็นจุดเปลี่ยนแปลง ที่อาจนำวิถีชีวิตไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อมก็ได้  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิแบ่งได้เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน สภาพ แวดล้อมภายนอกคือ ปรโตโฆสะที่มีอิทธิพลต่อการหล่อหลอมชีวิตของบุคคล การขัดเกลาทางสังคม และปัจจัยภายในทำให้เกิดสัมมาทิฐิ (โยนิโสมนสิการ) คือการกระทำที่ถูกต้องถูกทาง ได้แก่รู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-ว่าไม่เที่ยง รู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์-ว่าเป็นทุกข์ เป็นต้น

             การเป็นผู้ที่มีอำนาจที่พึงประสงค์  จึงต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฐิอันประกอบปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ โดยทั้งสองปัจจัยนี้ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยสัมมาทิฐิประกอบด้วยปัจจัยของปรโตโฆสะ คือวิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธาและการมีศรัทธาเป็นสำคัญ  โยนิโสมนสิการเป็นการกระทำจิตใจให้แยบคายซึ่งอยู่ในส่วนของปัญญา 


             To be a authorit, it is not only use the power that you have but to use the power in the right way.The important thing is this authorit should have Sammaditthi, that will make them to have the right thought and right understanding as the educted one. Sammaditthi is lead of every ditthi and known what is right, what is wrong. Sammaditthi is a lead opinion of Sammasankappa Sammavaca Sammakammanta Samma-ajiva  Sammavayama  Sammasati Sammasamadhi. Sammaditthi likes a driver and human’s life likes a driven car that cannot goto the destination by itself without the good driver who has sammaditthi. Kusala-kamma comes from Sammaditthi become opinion or ditthi leads people to either good or bad Sammaditthi comes from two factors consist of external and internal factors. Exterternal factors can devided into 2 levels, first external environment is Paratokosa that affect to human’s life and social. internal factor that leads Sammaditthi(or Yonisomanasikarn) is doing the right way,knowing certainty and uncertainty.

             The authority is desirable.Therefore, Sammaditthi is including Paratokosa and Yonisomanasikarn. Both  factors will support each other.Sammaditthi have factor of Paratokosa.Paratokosa is the beginning of faith, to have faith is important. 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

อุตสาหรัมย์ ช. ., & กันทะเตียน ว. . . (2017). สัมมาทิฐิ : หลักธรรมที่สำคัญต่อผู้มีอำนาจ. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(2), 16–29. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243737

References

ดาณุภา ไชยพรธรรม. (2537). 10 บุรุษผู้เปลี่ยนแปลงโลก. นนทบุรี : อมรินทร์บุคเซ็นเตอร์. ปรีชา ช้างขวัญยืน (2557). ธรรมรัฐ-ธรรมราชา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ อักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต. (2556). กาลานุกรม. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ ผลิธัมม์. พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์พ ริ้นท์ติ้ง จํากัด. พระโมคคัลลานะเถระ รจนา พระมหาไพโรจน์ญาณกุสโลและคณะแปล. (2559). คัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกา. กรุงเทพมหานคร : หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : นามี บุคพับลีเคชั่นส์. ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : บุคพับลีเคชั่นส์. ลิขิต ธีระเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2556). พระโอวาทภาค 100 บทพระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาจัดพิมพ์. หลวงวิจิตรวาทะการ (2477). จารึกพ่อขุนรามคําแหง ฉบับหลวงวิจิตร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระจันทร์. The John F.kennedy Foundation in Thailand. (1996). Marriam-Webster‘s Collegiate Dictionary. USA : Marriam-Webster.

ปรโตโฆสะหมายถึงการกระทำในข้อใด

= 1. ปรโตโฆสะ - เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็น

ข้อใด อธิบายความหมายของสัมมาทิฏฐิถูกต้องที่สุด

สัมมาทิฏฐิ (บาลี: สมฺมาทิฏฺฐิ) หมายถึง แนวคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ถือเป็นองค์แรกในมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทางสู่การหลุดพ้นจากทุกข์

ปรโตโฆษะ (ปะ

ปรโตโฆสะ (จาก ปรโต นิบาต (จากอื่น) (จาก ปร คุณนาม (อื่น) + -โต อัพยยปัจจัย) + โฆส) แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายรวมถึงคำพูด, คำแนะนำ, คำชี้แจง, คำโฆษณา,กระแสข่าว ข้อเขียน,บทความจากบุคคลหรือแหล่งข่าวต่างๆ

เมื่อใดที่นักเรียนจะใช้แนวทางการพัฒนาที่เรียกว่า ปหานะ ตามหลักพุทธวิธีได้อย่างถูกต้อง

เมื่อใดที่นักเรียนจะใช้แนวทางการพัฒนาที่เรียกว่า "ปหานะ" ตามหลักพุทธวิถีได้อย่างถูกต้อง เมื่อเห็นปัญหาจนชัดเจน เมื่อรู้ตนตอของปัญหาที่แท้จริง เมื่อปัญหาหมดไปหรือถูกแก้ไขเรียบร้อยแล้ว