ข้อใดเป็นการสร้าง workspace

แพ็กเกจ Google Workspace ทั้งหมดจะมีอีเมลที่กำหนดเองให้ธุรกิจของคุณ รวมไปถึงเครื่องมือในการทำงานร่วมกันเช่นเดียวกับ G Suite เช่น Gmail, ปฏิทิน, Meet, Chat, ไดรฟ์, เอกสาร, ชีต, สไลด์, ฟอร์ม, Sites และอีกมากมาย หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดไปที่หน้าแพ็กเกจและราคา

นอกจากการนัดหมายการประชุมใน Google ปฏิทินแล้ว ผู้ใช้ในองค์กรยังจัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันได้อีกด้วย ตัวอย่างทรัพยากรที่พบเห็นโดยทั่วไปคือห้องประชุม ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ โปรเจคเตอร์ รถยนต์ของบริษัท สำนักงานสำหรับผู้มาเยือน อุปกรณ์สันทนาการ หรือทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้เลือกลงเวลาจองเพื่อใช้งานได้ โดยคุณต้องสร้างรายการทรัพยากรในปฏิทินก่อน ผู้ใช้จึงจะเลือกลงเวลาเพื่อจองการใช้งานทรัพยากรต่างๆ ได้ 

สิทธิ์ที่จำเป็นในการจัดการทรัพยากร

หากต้องการจัดการทรัพยากรในปฏิทิน คุณต้องมีบทบาทผู้ดูแลระบบที่มีสิทธิ์จัดการอาคารและทรัพยากร มีการเปิดใช้สิทธิ์เหล่านี้ในบทบาทที่สร้างไว้ล่วงหน้าสำหรับผู้ดูแลระบบของบริการ คุณจะใช้บทบาทดังกล่าวหรือสร้างบทบาทผู้ดูแลระบบที่กำหนดเองก็ได้ โปรดดูวิธีการที่หัวข้อมอบหมายบทบาทผู้ดูแลระบบให้กับผู้ใช้และหัวข้อสร้างบทบาทผู้ดูแลระบบที่กำหนดเอง

หมายเหตุ: มีเพียงผู้ดูแลระบบขั้นสูงเท่านั้นที่จะจัดการทรัพยากรในปฏิทินจากปฏิทินของตนเองได้ก่อนที่จะแชร์ทรัพยากรกับผู้ใช้รายอื่น โดยระบบอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้การเปลี่ยนแปลง ACL มีผลก่อนที่คุณจะจัดการทรัพยากรเหล่านี้ได้

เมื่อสร้างเว็บไซต์ใหม่ ระบบจะเพิ่มไปยังไดรฟ์ เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ในไดรฟ์ โดย Sites จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของคุณโดยอัตโนมัติ แต่จะไม่เผยแพร่สู่สาธารณะจนกว่าคุณจะด้วยตัวเอง

วิธีการตั้งชื่อส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์

ชื่อเอกสารของเว็บไซต์ - ป้อนชื่อที่ไม่ซ้ำกันเพื่อติดตามเว็บไซต์ ชื่อเอกสารของเว็บไซต์จะปรากฏให้คุณเห็นเท่านั้นชื่อเว็บไซต์ - ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ คุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไปในเว็บไซต์เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ปรากฏชื่อหน้าเว็บ - แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ ชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย

เลือกเลย์เอาต์

คลิกเลย์เอาต์ที่ด้านขวา แล้วเลือกเลย์เอาต์แบบอื่นสำหรับส่วนต่างๆ ของหน้าเว็บ

เลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม

เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยแต่ละธีมจะมีพื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า รูปแบบสี และการเลือกฟอนต์ คุณจะปรับเปลี่ยนแบบอักษร สี และพื้นหลังในภายหลังได้ และยังเปลี่ยนธีมได้ทุกเมื่อหลังจากสร้างเว็บไซต์แล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลง ให้คลิกเลิกทำ หรือทำซ้ำ

เปลี่ยนภาพพื้นหลัง

  1. ไปที่ Sites และเปิดไซต์
  2. ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังแล้วคลิกเปลี่ยนรูปภาพ
  3. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หากต้องการอัปโหลดรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ ให้คลิกอัปโหลด
    • หากต้องการเลือกรูปภาพจากแกลเลอรีหรือตำแหน่งอื่น ให้คลิกเลือกรูปภาพ
  4. (ไม่บังคับ) หากต้องการกลับไปที่ภาพพื้นหลังเดิม ให้คลิกรีเซ็ต
เปลี่ยนประเภทส่วนหัว
  1. ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังและคลิกประเภทส่วนหัว
  2. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หน้าปก
    • แบนเนอร์ขนาดใหญ่
    • แบนเนอร์
    • ชื่อเท่านั้น
เปลี่ยนธีมและรูปแบบตัวอักษร
  1. คลิกธีมที่มุมขวาบน
  2. เลือกธีมและเลือกสี
  3. คลิกรูปแบบตัวอักษรและเลือกรูปแบบ

 

เพิ่มหน้า จัดลำดับหน้าใหม่ และวางซ้อนหน้าเว็บ

เพิ่มหน้าเว็บสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม แล้วเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกันโดยการวางซ้อนหน้าเว็บ จากนั้นหน้าเว็บที่ซ้อนกันจะปรากฏเป็นหัวข้อย่อยของหน้าเว็บอื่น

วิธีเพิ่มหน้าเว็บมีดังนี้

  1. ที่มุมขวาบน ให้คลิกหน้าเว็บ
    ข้อใดเป็นการสร้าง workspace
    ชี้ไปที่สร้าง
  2. เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หากต้องการเพิ่มหน้าเว็บใหม่ ให้คลิกเพิ่มหน้าเว็บ ตั้งชื่อหน้าเว็บแล้วคลิกเสร็จสิ้น
    • หากต้องการเพิ่ม URL ให้คลิกเพิ่มลิงก์
      ข้อใดเป็นการสร้าง workspace

วิธีซ้อนหรือเรียงลำดับหน้าเว็บใหม่มีดังนี้

  1. คลิกหน้าเว็บ
  2. ลากหน้าเว็บขึ้นหรือลงในรายการเพื่อเรียงลำดับใหม่
  3. ลากหน้าเว็บที่ด้านบนของอีกหน้าเพื่อซ้อนกัน
  4. (ไม่บังคับ) หากต้องการยกเลิกการซ้อนหน้าเว็บ ให้ลากไปยังด้านล่างสุดของรายการ

หมายเหตุ: คุณจะซ้อนหน้าเว็บได้เพียง 5 ระดับเท่านั้น

วิธีเลือกตัวเลือกหน้าเว็บมีดังนี้

ในส่วนหน้าเว็บ ให้เลือกหน้าเว็บแล้วคลิกเพิ่มเติม

ข้อใดเป็นการสร้าง workspace
ถัดจากหน้าดังกล่าว จากนั้นเลือกตัวเลือกดังนี้

  • ตั้งเป็นหน้าแรก
  • ทำซ้ำหน้าเว็บ
  • เปลี่ยนชื่อหน้าเว็บ
  • สร้างหน้าย่อย
  • ซ่อนหน้าเว็บหรือหน้าย่อย คุณจะซ่อนหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรกไม่ได้
  • ลบหน้าเว็บออกจากเว็บไซต์ คุณนำหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรกออกไม่ได้

ตั้งค่าการนำทางของเว็บไซต์

หากมีหน้าเว็บมากกว่าหนึ่งหน้า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะใช้เมนูการนำทางเพื่อข้ามไปยังหน้าต่างๆ ได้ ซึ่งเมนูการนำทางจะอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์โดยค่าเริ่มต้น ให้คลิกหน้าแรกเพื่อดูเมนูที่มุมขวาบน

คุณจะย้ายเมนูการนำทางไปทางซ้ายก็ได้หากต้องการ แต่ต้องมีหน้าเว็บอย่างน้อยหนึ่งหน้าบนเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งที่ปรากฏ