ข้อ ใด ไม่ เกี่ยวข้อง กับ การ วิจารณ์ ตาม เนื้อหา สาระ

บทที่ 5 ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ

ความหมายของการวิจารณ์และศิลปะวิจารณ์

การวิจารณ์ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความรู้ ความเข้าใจ และจากประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชม หรือการชี้แนะผลงานนั้นๆ ทั้งนี้กาวิจารณ์จะต้องมีเหตุมีผล เพื่อที่ผู้สร้างผลงานจะได้นำไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นโดยสุจริต

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิจารณ์” ว่าหมายถึง “ให้คำตัดสินที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง” ส่วนการติชม มักใช้คำว่า วิพากษ์วิจารณ์

ศิลปวิจารณ์ คืออะไร พจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า “ศิลปะวิจารณ์คือการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานทางศิลปะซึ่งศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยให้ความเห็นตามกฎเกณฑ์และหลัการศิลปะของแต่ละสาขา ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และปรัชญาสาขาอื่น ๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบการวิจารณ์เป็นเช่นไร จะเป็นแบบการพูด การบรรยายหรือข้อเขียนใดๆ ก็ตาม ที่จะเป็นเครื่องชี้วัด และตัดสินคุณค่าในงานศิลปะ”

การแสดงความคิดเห็นทางศิลปะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับทุกคนที่จะติชมหรือเรียกว่าให้ความวิจารณ์ตามความคิดเห็นของตน แค่คำวิจารณ์ควรจะเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ใจ มิใช่เพื่อหวังผลทางการค้าหรือกลั่นแกล้ง เพราะคำวิจารณ์อาจพลิกความรู้สึกของผู้ชมงานศิลปะให้ไขว่เขวได้ คือเห็นศิลปกรรมว่าชั้นสามัญว่าดีที่สุดและเห็นศิลปะชั้นเยี่ยมที่สุดเป็นธรรมดาสามัญ ดังนั้นคำวิจารณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ศิลปะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า การวิจารณ์ที่จะให้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์นั้นมีหลักสำคัญๆ ดังนี้

    1.จิตวิจารณ์ คือ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึก

    2.อรรถวิจารณ์ คือ ในแง่แปลความหมาย

    3. วิพากษ์วิจารณ์ คือ วิจารณ์ในแง่พิพากษาตัดสิน

อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นในด้านการวิจารณ์ศิลปะนี้ เอดมันส์ เฟลด์แมน นักปราชญ์คนสำคัญอีม่านหนึ่ง ได้จำแนกหลักการวิจารณ์ออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. การวิจารณ์แบบนักหนังสือพิมพ์ คือ การเสนอข่าวสารแกผู้อ่าน เป็นการเขียนแนะนำผลงานที่ผู้อ่านอาจไปหาชมได้ด้วยตัวเอง

2. การวิจารณ์แบบครู คือ การเสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสุนทรียศาสตร์ และทางศิลปะ เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นและเร้าใจ

3. การวิจารณ์แบบนักวิชาการ เป็นการวิเคราะห์แบบแปลความหมาย และประเมินคุณค่างานศิลปะที่มีความงามและความละเอียดรอบคอบ

4. การวิจารณ์แบบสามัญทั่วไป เป็นการวิจารณ์ตามทัศนคติส่วยตัว ตามความรู้ ตามความเข้าใจของเขา ลักษณะเช่นนี้จะมีผลสะท้อนต่อวงการศิลปะและอาจเกิดผลลบได้

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์งานทัศนศิลป์

1. เป็นผู้มีความรู้ในงานทัศนศิลป์

2. เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถเชื่อมโยงวิชาความรู้สาขาอื่นๆ เข้ากับงานทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี

3. เป็นผู้ที่มีใจกว้าง ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น

      4.เป็นผู้ที่ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดี

      5.เป็นนักคิด นักค้นคว้า มีความสนใจในสิ่งใหม่ ๆ และศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

    บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์

บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจารณ์ที่หนักและที่ยากยิ่งคือการประเมินคุณค่า เพราะการวิจารณ์ต้องทำหน้าที่เหมือนผู้พิพากษา วิพากษ์ผลงานศิลปะและเข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวศิลปินอย่างเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดวิวาทะระหว่างผู้วิจารณ์กับศิลปินอยู่เป็นเนื่องๆ นานนับร้อยปีมาแล้วในประวัติศาสตร์

สิ่งที่ยากที่สุดของผู้วิจารณ์คือการประเมินคุณค่าผลงานที่ใหม่ล้ำยุคมากและการประเมินคุณค่าผลงานที่ถูกลืมหรือสูญหายไปจากวัฒนธรรมนานแล้ว ผู้วิจารณ์จะต้องรอบคอบ รอบรู้ และมีจิตใจที่เปิดกว้าง อีกทั้งจะต้องมีมิติของทัศนะที่ลุ่มลึก

ขั้นตอนและวิธีการในการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์

การเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการในการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ ก็เพื่อให้ผู้วิจารณ์สามารถนำวิธีการไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ ขั้นตอนและวิธีการมีดังนี้

1.ขั้นการบรรยาย

การบรรยาย เป็นขั้นตอนของกระบวนการบันทึกข้อมูลสิ่งต่างๆ จากการสังเกต มองเห็น และพบเจอในผลงานศิลปะ

2.ขั้นการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีในผลงาน การใช้ภาษาทางทัศนศิลป์

3.ขั้นการตีความหมาย

การตีความหมาย เป็นกระบวนการที่ผู้วิจารณ์แสดงออกถึงความหมายต่างๆ ในผลงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน สามารถพิจารณาได้ว่าผลงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้นๆ มีแนวคิดอย่างไร เพราะผลงานทุกผลงานล้วนต้องการตีความทั้งสิ้น

4.ขั้นประเมินคุณค่า

การประเมินคุณค่าของผลงานทัศนศิลป์ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะมีการเปรียบเทียบกับผลงานชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันว่ามีคุณค่าทางทัศนศิลป์และมีสุนทรียภาพมากน้อยต่างกันเพียงใด

เป้าหมายของการวิจารณ์ผลงานงานทัศนศิลป์

1. เพื่อให้ผู้วิจารณ์ได้แสดงออกทางความคิดเห็น และติชม ต่อผลงาน

2. เพื่อให้ผู้วิจารณ์มีข้อมูลและความพร้อมในการวิจารณ์ผลงานทางทัศนศิลป์ทุกสาขา

3. เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างถูกต้อง

4. เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ความรู้เกี่ยวกับวงการทัศนศิลป์ต่อผู้ที่สนใจ ให้นำไปใช้ประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการพัฒนางานทัศนศิลป์ได้

5. เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ความรู้เกี่ยวกับผลงานทัศนศิลป์ สามารถชื่นชมผลงานทางทัศนศิลป์ได้

6. เพื่อให้เห็นคุณค่าของงานทัศนศิลป์และได้สัมผัสในรสของศิลปะ

การทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์

การจัดทำแฟ้มสะสมงาน เป็นสิ่งสำคัญต่อผลงานของตนเอง เพราะผลงานแต่ละชิ้นที่นำมารวบรวมไว้นั้น เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและวามก้าวหน้าของตนเอง

ความหมายของแฟ้มสะสมงาน

แฟ้มสะสมงาน คือ การรวบรวมผลงานของตัวเอง ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด ออกมาเป็นรูปเล่ม มีรายละเอียดเกี่ยวกับผลงาน เพื่อสะท้อนความคิดเห็น ภาพแห่งความสำเร็จ และรูปแบบงานของตนเอง

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

1. เพื่อให้ผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็นที่เกิดจากการเรียนรู้

3. เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับผู้สอนในการพัฒนาการเรียนการสอน

ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมผลงานทัศนศิลป์

1. ปก ระบุชื่อผู้เรียน เลขประจำตัว ชื่อโรงเรียน โดยออกแบบปกให้สวยงาม

2. คำนำบอกถึงเหตุผลในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

3. สารบัญเรียงหัวข้อให้เป็นระเบียบ เพื่อสะดวกในการค้นหาผลงาน

4. ประวัติส่วนส่วนตัวบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง

5. กิจกรรมบันทึกกิจกรรม / ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย

6. บันทึกการปฎิบัติงานและแหล่งเรียนรู้เขียนบอก วัน เดือน ปี สถานที่ หรือแหล่งค้นคว้าในการเรียนรู้และปฎิบัติงาน

7. วิธีปฎิบัติงานอธิบายขั้นตอนตั้งแต่ขั้นเตรียม ขั้นปฎิบัติ และขั้นสรุปผลงาน

8. ผลงาน / การประเมินบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลงานที่นำมาเก็บไว้มนแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์

9. แบบประเมินเพิ่มเติมเป็นประเมินที่นักเรียนใช้ประเมินตนเอง หรือผู้อื่นป็นคนประเมินนีกเรียน

10. ภาคผนวกเป็นส่วนของข้อมูลเพิ่มเติม

ประโยชน์ของการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

การจัดทำแฟ้มสะสมงานทัศนศิลป์ เป็นการรวมรวมผลงานที่ผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นมาซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียน โดยจะเป็นเครื่องมือสำหรับสะท้อนความภาคภูมิใจที่เกิดจากการใช้จินตนาการสร้างสรรค์ผลงานมีโอกาสทบทวนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ออกมาเป็นผลงานที่มีคุณภาพ นอกจากนี้การทำแฟ้มสะสมงาน ทัศนศิลป์ ยังเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อรวมถึงการทำงาน เพราะเป็นเครื่องการันตีความสามารถได้เป็นอย่างดี