ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับ กาพย์เรื่องพระ ไชย สุริยา

ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับ กาพย์เรื่องพระ ไชย สุริยา

   เรื่อง ‘โอ้เอ้วิหารราย’ (หรือ ‘โอ้เอ้พิหารราย’) ซึ่งเป็นสำนวนหมายถึง ยืดยาด อ้อยอิ่ง ล่าช้า เรื่องนี้พบใน ‘สาส์นสมเด็จ’ ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ท่านว่า เค้ามูลการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้น มาจากเมืองนครศรีธรรมราช การที่มีเด็กสวดตามศาลารายในวัดพระแก้วนั้น เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นปฐมที่โรงทานข้างประตูต้นสน ครั้นถึงเทศกาลที่ขุนทินขุนทานสวดมหาชาติคำหลวง ในโบสถ์วัดพระแก้ว จึงโปรดฯให้จัดเด็กนักเรียนที่โรงทานมาสวด ‘โอ้เอ้วิหารราย’ อย่างโบราณที่ศาลาราย เลยเป็นธรรมเนียมมาจนในรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ จนกระทั่งเลิกโรงเรียนที่โรงทาน มีโรงเรียนชั้นประถมของหลวง จึงจัดเด็กตามชั้นประถมที่ต่างๆ มาสวดโอ้เอ้วิหารรายแทนเด็กโรงทานโรงเรียนละศาลา
เมื่อเปลี่ยนเป็นสวดตามศาลา มิได้สวดตามวิหารรายอย่างเดิม บางทีอาจมีผู้เรียกเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระบรมราชาธิบายประกาศว่า
       “สวดหนังสือสวดอย่างเช่นเด็กๆ สวดนั้น เรียกชื่อว่าสวดโอ้เอ้พิหารราย จะสวดที่พิหารรายก็ดี สวดที่พระระเบียงก็ดี สวดที่พิหารใหญ่ ที่ศาลา กุฎี ที่ใดๆ ก็ดี ก็คงเรียกชื่อยืนอยู่อย่างเดียวว่า โอ้เอ้พิหารราย ไม่ยักย้ายไปตามที่สวดเลย”
           ต่อมานำคำว่า ‘โอ้เอ้วิหารราย’ มาเป็นสำนวนหมายถึงช้าอ้อยอิ่ง เพราะการสวดแบบนี้สวดช้าๆ มีเอื้อนมีสร้อยประกอบยืดยาว ยิ่งเด็กๆ สวดก็ยิ่งลากเสียงยานยาว

ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับ กาพย์เรื่องพระ ไชย สุริยา

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับ "การสวดโอ้เอ้วิหารราย" ดังนี้
             “การสวดโอ้เอ้วิหารราย” มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิม คือ การสวดของผู้ที่กำลังฝึกหัดสวดมหาชาติคำหลวง ซึ่งยังสวดไม่คล่อง ไม่ถูกทำนอง จึงนั่งฝึกซ้อมตามวิหารเล็กที่รายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ เมื่อสวดจนชำนาญแล้วจึงได้ขึ้นไปสวดในวิหารใหญ่ให้พระเจ้าแผ่นดินทรงฟัง ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขึ้นที่โรงทาน และโปรดฯนักเรียนโรงทานนำหนังสือ ที่เรียนเรื่องใดก็ได้มาเป็นบทสวด ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยให้สวดตามที่เรียนมาตามถนัด เป็น ๓ ทำนอง คือ ทำนองยานี ฉบังแ ละสุรางคนางค์ ทำให้การฝึกสวดมหาชาติคำหลวงเดิมเปลี่ยนเป็นการสวดกาพย์พระไชยสุริยาเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลังจากโรงทานเลิกไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาจาก ๖ โรงเรียนมารับหน้าที่สวดโอ้เอ้วิหารรายแทน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนมหาวีรานุวัตร โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ซึ่งทั้งหกโรงเรียนก็ได้รับหน้าที่สวดมาระยะหนึ่ง ก่อนจะหาผู้สืบทอดการสวดต่อไม่ได้ และเลิกไปในที่สุด กล่าวโดยย่อ การสวดโอ้เอ้วิหารราย ก็คือ การทำนองอ่านหนังสือสวดของเด็กนักเรียน ซึ่งใช้กลอนสวดเป็นแบบเรียนฝึกการอ่านในสมัยที่วัดยังทำหน้าที่เป็นสถานศึกษาอยู่ และที่มาของชื่อก็คือ การที่ผู้อ่านหรือผู้สวดต้องมาสวดตามวิหารรายรอบพระอุโบสถในช่วงเทศกาลต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งการสวดดังกล่าวนอกจากจะช่วยฝึกการอ่านแล้ว เด็ก ๆ ยังได้ซึมซับคำสอนดีๆ ที่มีอยู่ในบทสวดด้วย

โอ้เอ้วิหารรายคือ?
             ท่านคงเคยได้ยินสำนวนว่า “โอ้เอ้วิหารราย” ซึ่งมีความหมายว่า ชักช้า มาบ้าง

หรือหลายท่านคงเคยเข้าไปในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในระหว่างเข้าพรรษา และตรงกับเทศกาลสวดมหาชาติคำหลวง ท่านคงจะสังเกตเห็นตามวิหารรายรอบพระอุโบสถจะมีเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษานั่งอยู่ศาลาละ ๓ คน บนศาลาตั้งโต๊ะหมู่บูชา มีม้ารองหนังสือวางไว้ และเมื่อถึงเวลาเด็กเหล่านี้ก็จะอ่านหนังสือเป็นทำนองอันไพเราะเวียนกันไปทีละศาลาจนครบหมด เรียกว่า “โอ้เอ้วิหารราย”
ศาลาราย หรือวิหารราย เป็นศาลาโถงที่สร้างขึ้นเป็นหลังๆ เรียงแถวกันใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนในบริเวณวัด รอบพระอุโบสถหรือวิหารเช่น ศาลารายรอบอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับ กาพย์เรื่องพระ ไชย สุริยา

ประวัติความเป็นมา
       สมัยกรุงศรีอยุธยา        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอุทิศพระราชวังส่วนหนึ่งให้สถาปนาเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์และให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแห่งมหาชาติคำหลวง โดยมีพระสังฆราชเป็นประธานเพื่อใช้สวดในพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อแต่งเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกซ้อมนักสวดตามวิหารที่รายรอบวัดพระศรีสรรเพชญ์ และคัดเลือกผู้ที่สวดดี คล่องแคล่ว แม่นยำในอักขระและทำนองขึ้นไปอ่านที่วิหารใหญ่ ถวายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๓ ชุด ชุดละ ๔ คน เพื่อสับเปลี่ยนกัน ส่วนที่เหลือก็ให้ฝึกหัดสวดกันต่อไปตามศาลารายเช่นเดิม จึงเกิดเป็นสำนวน “โอ้เอ้วิหารราย” ขึ้น

         การสวดมหาชาติคำหลวงในสมัยอยุธยาสวดในระหว่างเข้าพรรษา ๓ ครั้ง คือ ตอนเข้าพรรษาครั้งหนึ่ง กลางพรรษาครั้งหนึ่ง และออกพรรษาอีกครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชศรัทธาเสด็จพระราชดำเนินมาฟังทุกนัด เมื่อสวดครบสามนัดแล้วจะพระราชทานเงินรางวัลให้แก่นักสวดทั้ง ๓ ชุดๆ ละ ๑ ชั่ง การสวดมหาชาติคำหลวงยังคงมีสวดเป็นประเพณีตลอดมา แต่ภายหลังเรียกว่า “สวดโอ้เอ้วิหารราย” อาจเป็นเพราะคนรุ่นหลังไม่ทราบว่ามีการสวดมหาชาติคำหลวงในวิหารใหญ่เห็นแต่เพียงการสวดฝึกหัดตามศาลารายเท่านั้น จึงเข้าใจว่านั่นคือการสวดโอ้เอ้วิหารราย ดังปรากฎในท้ายกัณฑ์มหาพนฉบับตั้งสวดในวัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า


       “มีนามไพเราะว่าพระ คำหลวง
         แรกเรียกตามกระทรวง กษัตริย์สร้าง
ที่ตื้นต่ำสติปวง ปองเรียก อึงมา                  ผองอ่อนแออ่านอ้าง โอ้เอ้วิหารราย”

       เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในพุทธศักราช ๒๓๑๐ หนังสือมหาชาติคำหลวงกระจัดกระจายสูญหายไปเกือบหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์บัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงซ่อมแซมกัณฑ์ที่สูญหาย คือ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักบรรพ และฉกษัตริย์ ขึ้นใหม่ การสวดมหาชาติคำหลวงก็ยังสวดเป็นประเพณีสืบต่อกันมาเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสวดในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีหัวหน้าสวดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า “ขุนทิน” “ขุนทาน” และพระมหากษัตริย์เสด็จฟังการสวดทุกนัด
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่โรงทานข้างประตูต้นสน เมื่อถึงเทศกาลที่ขุนทิน ขุนทาน สวดมหาชาติคำหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดนักเรียนโรงทานมาสวดที่ศาลาราย ด้านเหนือของพระอุโบสถด้วย แต่แทนที่จะสวดมหาชาติคำหลวงเปลี่ยนเป็นสวดเทียบมูลบทแทน เมื่อขุนทิน ขุนทาน ถึงแก่อนิจกรรมแล้วการสวดมหาชาติ ก็เรียวลงเหลือแต่สวดกัณฑ์มหาพนเพียงกัณฑ์เดียว              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะให้มีการสวด ตามศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งมีทั้งหมด ๑๒ ศาลา แต่ข้าราชการในกรมธรรมการขณะนั้นมีจำนวนน้อย และผู้ฟังก็คงจะไม่ค่อยสนใจฟังสวดเทียบมูลบทนัก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานมาสวดตามหนังสือที่ตนเรียน คือ เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่ สวดโอ้เอ้วิหารรายจึงกลายจากการฝึกหัดสวดมหาชาติคำหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยามาเป็นสวดเรื่องกาพย์พระไชยสุริยามาจนทุกวันนี้ เมื่อเลิกโรงเรียนสอนภาษาไทยที่โรงทานแล้ว สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงจัดนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๖ โรงเรียน เข้ามาสวดโอ้เอ้วิหารรายคือ โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนมหาวีรานุวัตร โรงเรียนวัดชัยชนะสงคราม โรงเรียวัดพลับพลาชัย โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ยังคงทำหน้าที่สวดโอ้เอ้วิหารรายมาจนถึงปัจจุบันนี้
         ก่อนสวดโอ้เอ้วิหารรายแต่ละศาลาจะจัดโต๊ะหมู่บูชา มีเชิงเทียนแจกันดอกไม้ กระถางธูปพร้อมมีม้าสำหรับวางหนังสือ ๑ ตัว เมื่อถึงเวลานักเรียนผู้สวด ซึ่งมีศาลาละ ๓ คน จะนำหนังสือกาพย์พระไชยสุริยาเปิดวางไว้บนม้านั้น เมื่อจะเริ่มอ่านผู้อ่านทั้ง ๓ คนจะนั่งคุกเข่า คนหนึ่งเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์พร้อมกัน นั่งพับเพียบอ่านกาพย์พระไชยสุริยา การสวดโอ้เอ้วิหารรายนี้จะสวดกันไปทีละศาลา เมื่อเริ่มต้นอ่านแต่ละ ศาลาปฏิบัติเช่นเดียวกันหมด เมื่อเริ่มอ่านรอบสองผู้อ่านเพียงแต่กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์เท่านั้น อ่านเช่นนี้ไปทีละศาลา จนได้เวลาพระสงฆ์เริ่มแสดง พระธรรมเทศนาในพระอุโบสถจึงเลิกสวด จะขอยกบทสวดโอ้เอ้วิหารรายในกาพย์พระไชยสุริยา มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ส่วนท่วงทำนองในการอ่านนั้น ขอให้ท่านโปรดลองเข้าไปฟังในวัดพระที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเวลาเข้าพรรษา ตัวอย่างบทสวดคือ

ข้อใดกล่าวไม่ ถูก ต้อง เกี่ยวกับ กาพย์เรื่องพระ ไชย สุริยา

กาพย์ยานี ๑๑
สธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรรตนา
พ่อแม่และครูบา เทวดาในราศี
ข้าเจ้าเอาก.ข้อ เข้ามาต่อก.กามี
แก้ไขในที่นี้ ดีมิดีอย่างตรีชาฯ

กาพย์ฉบัง ๑๖
พระไชยสุริยาภูมี พาพระมเหสี
มาที่ในลำสำเภา
ข้าปลาหาไปไม่เบา นารีที่เยาว์
ก็เอาไปในเภตราฯ