ข้อใดไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย

นั้นมี 2 ประเภทหลัก ๆ ซึ่งมีความหมายและหน้าที่ต่างกัน หนึ่งนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สองนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น แต่ละประเภทมีความหมายดังนี้

1.นิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นมีบัญญัติเอาไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ซึ่งเป็น นิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจ และแบบไม่แสวงหาผลกำไรหรือผลประโยชน์ เช่น มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น

2.นิติบุคคล ตามกฎหมายอื่น คือ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีกฎหมายกำหนดให้สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น

วันนี้เราจะให้ความรู้สำหรับคนที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เพื่อทำความเข้าใจประเภทห้างหุ้นส่วนของ นิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ 

1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึง ผู้รับผิดชอบที่ถือเป็นหุ้นส่วนร่วมกันต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหนี้ของตัวเอง ไม่จำกัดจำนวนและไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ก็ได้ สามารถแยกได้ดังนี้

-ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

-ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

ก่อนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญต้องทราบข้อมูล ดังนี้

1.เป็นการตกลงทำสัญญาทำธุรกิจร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีจุประสงค์คือต้องการแบ่งปันผลกำไร

2.หนี้สิ้นทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินกิจการหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่มีจำกัดจำนวน ในข้อนี้คุณอาจจะเกิดความลังเลเพราะถือเป็นข้อเสียที่ทำให้คุณอาจต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันโดยนำเงินส่วนตัวมาชดใช้อย่างไม่จำกัด

3.ภายในกิจการเหล่านั้นต้องมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจึงจะก่อตั้งได้เป็นบริษัทห้างหุ้นส่วนสามัญได้

4.เป็นข้อสุดท้ายก่อนตัดสินใจก่อตั้งธุรกิจว่าจะจดทะเบียนหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากต้องการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ต้องไปจดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในส่วนเรื่องการเสียภาษีนั้นจะเป็นแบบ  นิติบุคคล นำส่งงบการเงินผลกำไรอย่างถูกต้องตามกฎหมายและการก่อตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยที่ไม่จดทะเบียน การเสียภาษีจึงเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดาที่เสียตามความก้าวหน้า

2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด หมายถึง การจัดตั้งทำธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันทั้งในเรื่องการดำเนินการ หนี้สินและการแบ่งกำไร ซึ่งจะแบ่งกันตามที่ตกลงกันไว้หรือตามสัดส่วนที่เหมาะสม

ก่อนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องรู้ ดังนี้

1.หากเลือกจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการของคุณจะมีสถานะเป็น นิติบุคคล

2.การเริ่มต้นทำธุรกิจร่วมกันโดยมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำสัญญาตกลงร่วมกัน เพื่อแบ่งผลกำไรจากความสามารถของธุรกิจนั้นหามาได้

3.ก่อนจดทะเบียนลองฟังข้อมูลจากข้อนี้ก่อนเพราะหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ อันแรกหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดสำหรับประเภทนี้จะเกิดผลเสียต่อคุณในกรณีที่บริษัทหรือกิจการเกิดมีปัญหาเกิดหนี้สินมหาศาล ทำให้คุณในฐานะหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบแบบไม่จำกัดโดยที่อาจต้องควักเงินส่วนตัวเพื่อชดใช้หนี้ส่วนต่าง ๆ แต่สำหรับอันที่สองคือการจดทะเบียนแบบ หุ้นส่วนจำกัด จะดีกว่าอันแรกตรงที่เมื่อธุรกิจเกิดปัญหาหนี้สินขึ้นคุณจะได้รับผิดชอบเพียงจำนวนเงินที่ลงทุนไว้เท่านั้น

4.ธุรกิจจะก่อตั้งขึ้นและจดทะเบียนได้ก็ต่อเมื่อมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

5.เมื่อคุณจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องดำเนินการนำส่งงบการเงินตามกฎหมาย

6.ในส่วนของการเสียภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดคุณจะต้องเสียภาษีในรูปแบบ นิติบุคคล

บริษัทจำกัด คืออะไร

บริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบริษัทจำกัดมีดังต่อไปนี้

1.บริษัทจำกัดจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล

2.ผู้ถือหุ้นจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป มากระทำการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่สามารถทำมาหาได้

3.ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ) อันนี้จะเป็นข้อที่ดีอย่างมากของการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัดครับ เพราะหากดำเนินธุรกิจไปแล้วมีหนี้สินต่างๆเกิดขึ้นและตัวบริษัทไม่มีเงินมาใช้นี้ ผู้ถือหุ้นก็ไม่จำเป็นต้องนำเงินส่วนตัวมาชดใช้เนื่องจากรับผิดจำกัด

4.การดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดจะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน

5.บริษัทจำกัดจะต้องนำส่งงบการเงินตามกฎหมาย

6.บริษัทจำกัดจะเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล

เปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็น นิติบุคคล ดีอย่างไร

ช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจคุณอาจจะเลือกจากจดทะเบียนบุคคลธรรมดาเพราะทำคนเดียวทุกอย่างมันสะดวกกว่าทั้งในด้านการตัดสินใจและไม่ต้องแบ่งผลกำไรให้ใคร แต่เมื่อคุณได้ดำเนินการเปิดกิจการมาสักระยะหนึ่งกิจการดำเนินไปด้วยดีมีคนสนใจอยากลงทุนกับคุณเพิ่มหรือคุณมีแพลนว่าจะขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น ต้องใช้งบมากขึ้นจึงจำเป็นต้องหาคนมาร่วมลงทุนเพิ่ม เมื่อคุณรู้แล้วว่าธุรกิจมีความต้องการเหล่านั้น สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำคือดำเนินการจดทะเบียน นิติบุคคล ฉะนั้นวันนี้ก่อนที่จะไปจดทะเบียนอยากให้คุณดูข้อมูลที่เรานำมาบอก พูดถึงข้อดีต่าง ๆ  ดังนี้

1.หลายคนอาจพบเจอปัญหาธุรกิจขาดทุนในปีแรกหรือปีนั้น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ในเรื่องของภาษีคุณไม่ต้องเสียภาษี เพราะสรรพากรคำนวณจากรายได้ของธุรกิจทั้งหมดตามจริง นี่จึงเป็นข้อดีอย่างหนึ่งสำหรับการจดเป็น นิติบุคคล

2.หากคุณอยากให้บริษัทของคุณมีความน่าเชื่อถือต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ธุรกิจยิ่งเติบโตมากยิ่งขึ้น

3.เงินของคุณจะเป็นระบบมากขึ้น ระหว่างเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจกับเงินในการใช้ดำเนินธุรกิจถูกแยกได้อย่างชัดเจน 

4.หากวันใดวันหนึ่งธุรกิจเกิดล้มละลายไปก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมดไปด้วย เพราะคุณยังมีกิจการหรือบริษัทเป็นหลักประกันอยู่ 

บทสรุป

นอกจากนี้ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 มีการเปลี่ยนแปลงให้คนที่จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาเสียภาษีมากขึ้น จากเดิมเป็นการเหมาจ่ายภาษี 60-85% แม้ว่ารายได้จะเท่าเดิมก็ตามได้มีการกำหนดใหม่ให้การเหมาจ่ายลดลงที่ 60% เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งหลายหันมาจดทะเบียนแบบ นิติบุคคล มากขึ้นและเชื่อว่าตอนนี้คุณคงสงสัยว่า ข้อดีของการจดทะเบียนแบบ นิติบุคคล มีมากขนาดนี้ทำไมยังมีคนที่ไม่เลือกจด หนึ่งแหละน่าจะเป็นเพราะความเคยชินเมื่อแรกเริ่มทำธุรกิจ หากต้องเปลี่ยนรูปแบบไปทุกอย่างต้องทำใหม่หมด เหตุผลที่สองคือบางคนมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยากและอย่างที่สามคือ ต้องมีมีผู้ร่วมหุ้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริการต้องตัดสินใจร่วมกันหลายคน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อธุรกิจของคุณเติบโตคุณควรที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการใหม่ให้ดีกว่าเดิมและเลือกจดทะเบียน นิติบุคคล จะเป็นการดีที่สุด

ข้อใดถือไม่เป็นนิติบุคคล

(1.1) ส่วนบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่เป็นนิติบุคคล หมายถึง สถานประกอบการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคนรวมกัน และให้หมายรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย

นิติบุคคลตามกฎหมาย มีอะไรบ้าง

นิติบุคคล หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ดังนั้น นิติบุคคลจึงมีความสามารถเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน หน้าที่ในการเสียภาษี.
บริษัทจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน.
มูลนิธิ.

ข้อใดไม่ใช่นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น คือ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติสหกรณ์ เป็นต้น

ข้อใดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน

ศาสตราจารย์ ดร. ประยูร กาญจนดุล ได้ให้คำอธิบายว่า นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน ได้แก่ นิติบุคคลที่อยู่ใต้บังคับกฎหมายมหาชน ซึ่งตามกฎหมายไทยได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมืองอื่นๆ ในราชการบริหารส่วนกลาง จังหวัด องค์การต่างๆ แห่งราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และองค์การของรัฐบาล ตลอดจนวัดในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ ยังมีองค์การ ...