ข้อ ใด ต่อ ไป นี้ ไม่เป็น ส่วนประกอบ ของ ระบบสุริยะ

อื้ออึง!! เยอรมันสั่งสอบด่วน “ปักกิ่ง” แอบตั้ง "สถานีตำรวจจีนเถื่อน" ในแฟรงก์เฟิร์ต ระบาดทั่วยุโรป “ไอร์แลนด์” เพิ่งสั่งปิด
.
.
.
.
รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ตำรวจเยอรมันยืนยันล่าสุดว่า อยู่ระหว่างการสอบรายงานเอ็นจีโอสเปนที่อ้างว่า ปักกิ่งแอบเปิดสำนักงานตำรวนลับจีนในแฟรงก์เฟิร์ตเพื่อล่าตัวชาวจีนในต่างแดนส่งกลับประเทศ พบเปิดอย่างแพร่หลายในยุโรป พบไอร์แลนด์สั่งปักกิ่งให้ปิดด่วน "สถานีตำรวจต่างประเทศฝูโจว" บนถนนคาเพล ส่วนสกอตแลนด์ แคนาดา และเนเธอร์แลนด์เปิดสอบสวน นักเคลื่อนไหวรณรงค์สิทธิให้สตรีจีนชื่อดัง ซางจิง (Zhang Jing) ตั้งคำถามเมื่อไหร่สหรัฐฯจะสั่งปิด
.
รอยเตอร์รายงานวันศุกร์(28 ต.ค)ว่า โฆษกกระทรวงมหาดไทยรัฐเฮ็สเซินแถลงยืนยันว่า หน่วยงานตำรวจและความมั่นคงภายในกำลังสอบสวนรายงานของกลุ่มเอ็นจีโอสเปน เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส์ ( Safeguard Defenders) ที่อ้างว่า ปักกิ่งได้แอบตั้งสถานีตำรวจลับจีนใน 30 ประเทศรวมเยอรมัน
.
เป็นการยืนยันรายงานก่อนหน้าที่ออกมาจากหนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine โดยโฆษกรัฐบาลรัฐฮ็สเซินกล่าวว่า มาจนถึงในเวลานี้พวกเขายังไม่พบข้อบ่งชี้ของสถานที่เช่นนั้นตั้งอยู่ภายในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต
.
เอพีรายงานวันพฤหัสบดี(27)ว่า มีรายงานว่าปักกิ่งแอบตั้งสถานีตำรวจลับผิดกฎหมายหลายสิบแห่งนอกดินแดนจีนเกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างวิตกว่า ปักกิ่งอาจใช้สถานีตำรวจลับเหล่านี้เพื่อติดตามและคุกคามชาวจีนที่ต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งซึ่งอาศัยอยู่ในต่างแดนและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการกวาดล้างคอร์รัปชันของรัฐบาลปักกิ่ง
.
ในรายงานของเซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส์ที่เผยแพร่เดือนที่ผ่านมาภายใต้ชื่อรายงาน “110 Overseas. Chinese Transnational Policing Gone Wild” มีเป้าหมายอยู่ที่การเปิดโปงสถานีตำรวจเถื่อนจีนในต่างแดนเหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจจะผิดกฎหมายประเทศเหล่านั้นและอาจบ่อนทำลายต่อสถาบันทางประชาธิปไตยและการจารกรรมความลับทางการค้าและเศรษฐกิจ
.
ข้อมูลจากรายงานนี้เพิ่มความวิตกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีน CCP อาจใช้เพื่อแผ่อิทธิพลต่อชาวจีนในต่างแดน
.
ผู้อำนวยการกลุ่มเอ็นจีโอสเปน ลอรา ฮาร์ธ (Laura Harth) ยืนยันกับเอพีว่า ปักกิ่งเปิดสถานีตำรวจลับไม่ต่ำกว่า 54 แห่งทั่วโลก
.
บีบีซี สื่ออังกฤษ รายงานวันพฤหัสบดี(27)ว่า สถานีตำรวจจีนในกรุงดับลินถูกรัฐบาลไอร์แลนด์สั่งปิดลงหลังแรงกดดันจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน
.
สถานีตำรวจต่างประเทศฝูโจว( Fuzhou Police Service Overseas Station) เพิ่งเปิดทำการเมื่อต้นปีภายในอาคารออฟฟิศบนถนนคาเพล( Capel Street )ซึ่งใช้ร่วมกัลสำนักงานอื่นๆของจีน
.
ทั้งนี้เมืองฝูโจวเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลฝูเจียน( Fujian) โดยเจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่า สถานีตำรวจแห่งนี้เปิดให้บริการหลายด้านให้กับประชาชนจีนในไอร์แลนด์ ซึ่งการบริการยังรวมไปถึงการต่อใบอนุญาตขับขี่
.
ซึ่งกลุ่ม เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส์ เปิดเผยในเดือนกันยายนว่า สถานีตำรวจลับจีนในต่างแดนนำชาวจีนในต่างแดนร่วม 230,000 กลับประเทศซึ่งมีบางส่วนต้องกลับไปเผชิญข้อหาทางอาญาที่นั่น
.
วันพุธ(26)กระทรวงต่างประเทศไอร์แลนด์ยืนยันว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่จีนยื่นยื่นขอใบอนุญาตเพื่อตั้งสถานีตำรวจจีนภายในไอร์แลนด์และทางกระทรวงได้ยื่นเรื่องความวิตกนี้ให้เจ้าหน้าที่ปักกิ่งรับทราบ และได้ขอให้ปักกิ่งปิดสถานีตำรวจลับจีนและห้ามปฎิบัติการทั้งหมดภายในที่ตั้งสำนักงานถนนคาเพลซึ่งฝ่ายรัฐบาลจีนแถลงได้ทำตามคำร้องขอ
.
ขณะเดียวกันพบว่า สกอตแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา มีรายงานเช่นกันว่า ปักกิ่งแอบตั้งสถานีตำรวจลับขึ้นในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ และได้แอบเปิดทำการสถานีตำรวจลับมาตั้งแตปี 2018 ที่เมืองร็อตเตอร์ดัมและกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
.
อ้างอิงจากเดอะการ์เดียนรายงานวันพฤหัสบดี(28)ว่า ตำรวจแคนาดาเปิดการสอบสวนที่มีรายงานอ้างว่า มีสถานีตำรวจลับจีนเปิดทำการในเมืองแวนคูเวอร์ และอีกแห่งเปิดที่แคว้นออนแทริโอตามการรายงานของสื่อแคนาดา ctvnews
.
สถานีตำรวจลับจีนยังพบว่าตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ซิตี สหรัฐฯ โดยนิวยอร์กโพสต์ของสหรัฐฯรายงานว่า ปักกิ่งตั้งสถานีตำรวจลับจีนขึ้นในสหรัฐฯและแคนาดาเพื่อเฝ้าสอดแนมพลเมืองของตัวเองในประเทศเหล่านั้น
.
นักปกป้องสิทธิให้สตรีชาวจีน ซาง จิง (Zhang Jing) ทวีตในวันที่ 10 ต.ค ภาพป้ายสถานีตำรวจต่างประเทศฝูโจวในไอร์แลนด์ก่อนถูกปลดออก มีใจความว่า "รัฐบาลเยอรมันต้องการคำตอบจากสถานทูตจีนเกี่ยวกับการมีตัวตนของสถานีตำรวจลับจีน ซึ่งที่กรุงดับลินป้ายสถานีตำรวจจีนบนถนนคาเพลถูกปลดออกจากหน้าอาคารสัปดาห์ที่ผ่านมา" และเธอยังตั้งคำถามไปถึงสหรัฐฯว่าเมื่อใดที่รัฐบาลสหรัฐฯจะลงมือ
.
อ้างอิงรายงานเมื่อวันที่ 29 ต.คจากเว็บไซต์องค์กร WI China (Women's right in China)รายงานว่า ซาง จิงผู้ก่อตั้งองค์กรสิทธิสตรีจีน Women’s Rights in China หรือ wrchina.org ซึ่งมีมีฐานอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ซิตี สหรัฐฯ เคยออกมาแสดงความเห็นในการให้สัมภาษณ์โดย RFA ว่า เธอไม่สามารถมองโลกในแง่ดีได้สำหรับสิทธิสตรีจีนภายใต้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
.
เดอะการ์เดียนรายงานว่า หวัง จิงหยู (Wang Jingyu ) หนึ่งในคนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ใช้โซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลปักกิ่งอย่างหนัก เขาได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้สามารถลี้ภัยในประเทศได้
.
หวังเปิดเผยว่า แต่ทว่าในทันทีที่เขาเดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์ เขาได้รับการติดต่อสถานีตำรวจจีนในเมืองร็อตเตอร์ดัม

“พวกเขาต้องการให้ผมเดินทางกลับไปจีนเพื่อจัดการกับปัญหาของผม” หวังกล่าว

 

Oct 31, 2022 หนุนธุรกิจโต! นอสตร้า โลจิสติกส์ เปิด 3 ปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ดันเทคโนโลยีกล้องติดรถ All In One เพิ่มความปลอดภัยงานขนส่งและโลจิสติกส์ ตั้งเป้าผู้ใช้งานเพิ่ม 15% ภายในปี66
.
นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นประเภทการขนส่งหลักของประเทศไทยโดยมีสัดส่วนถึง 80% ของการขนส่งทุกรูปแบบ และเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นไปด้วย พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ผู้ขับรถ 2. ยานพาหนะ และ 3. ถนนและสิ่งแวดล้อม โดยจากข้อมูลสถิติของกรมการขนส่งทางบก ในปี 2564 พบจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากรถบรรทุก รวมทั้งสิ้น 563 ครั้ง เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.74 จากปีก่อน โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมผู้ขับรถจำนวน 383 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68 ซึ่งสาเหตุพฤติกรรมหลักมาจากความประมาทเป็นอันดับแรก ขับรถเร็วและหลับในเป็นอันดับที่สองในจำนวนเท่ากัน และอันดับที่สามเกิดจากการขับรถตามหลังในระยะกระชั้นชิด
.
โดยจากข้อมูลอุบัติเหตุดังกล่าว รถบรรทุกมักจะทำให้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงสูง การเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งแต่ละครั้งยังก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย ทั้งการสูญเสียในโอกาสทางธุรกิจและการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังส่งผลกระทบทั้งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและระบบการขนส่งสาธารณะโดยรวม
.
นางวรินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอสตร้า โลจิสติกส์ ได้พัฒนา NOSTRA LOGISTICS All In One สุดยอดเทคโนโลยีเทเลเมติกส์เพิ่มความปลอดภัยงานขนส่งและโลจิสติกส์ ผสมผสานความสามารถระหว่างกล้องวิดีโอในรถยนต์ (Mobile Digital Video Recorder –MDVR) การแจ้งเตือนการขับรถ (Advance Driver Assistance System – ADAS) และการตรวจจับความเสี่ยงพฤติกรรมการขับรถ (Driver Monitoring System – DMS) ใช้ในการตรวจสอบ บันทึก และแจ้งเตือนพฤติกรรมการขับรถอันตรายที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างเรียลไทม์ โดยมีความสามารถในการแจ้งเตือนผู้ขับรถเมื่อมีการเปลี่ยนเลนกะทันหัน เตือนให้รักษาตำแหน่งรถในเลน เมื่อมีการขับรถระยะกระชั้นชิด ขณะรถคันหน้าเคลื่อนที่ และขณะรถคันหน้าหยุดนิ่ง แจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งกีดขวางอยู่หน้ารถ เตือนเมื่อรถคันหน้าเริ่มขยับ นอกจากนี้ ยังมีระบบกล้องตรวจจับความเหนื่อยล้าของตาขณะขับรถ ตรวจจับการเบี่ยงเบนความสนใจขณะขับรถ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถทั้งแบบแนบหูและจ่อปาก ตรวจจับการสูบบุหรี่ขณะขับรถ โดยสามารถใช้งานรูปแบบภาษาไทย และรองรับการติดตั้งเบาะสั่นเพื่อเตือนพนักงานขับรถ โดยเฉพาะเมื่อมีการละสายตาจากถนน
.
การติดตั้งอุปกรณ์ NOSTRA LOGISTICS All In One ในรถขนส่ง ยังมีประโยชน์ในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการป้องกันพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ปลอดภัย สามารถติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถได้ตลอดแบบเรียลไทม์ เพิ่มการสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมและผู้ขับรถ ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีรายงานและประเมินผลการขับขี่ของพนักงานขับรถเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพงานขนส่งให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกส์สนใจใช้งานแล้วกว่า 8,000 คัน โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 15% ภายในปี 2566
.
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3U66qgk
.
ติดตาม BTimes ได้ทุกช่องทาง ดังนี้
เฟซบุ๊ก: https://m.facebook.com/btimesch3/
ยูทูป: https://m.youtube.com/c/MisterBan
ทวิตเตอร์: https://mobile.twitter.com/btimes_ch3
เว็บไซต์: https://btimes.biz
พ็อดคาสท์: https://btimes.podbean.com/
.
#โลจิสติกส์ #บริษัทขนส่ง #บริการขนส่ง #นอสตร้า #NOSTRALOGISTICSAllInOne #BTimes

 

สาธารณรัฐในสาธารณรัฐของรัสเซีย
รัสเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหลายแบบ
รวม ๆ แล้ว รัสเซียมีเขตการปกครองแบบต่าง ๆ มากถึง 85 เขต
ในรัสเซียมีมณฑลปกครองตนเองชาวยิว ที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าอิสราเอลทั้งประเทศเสียอีก
ถิ่นที่เป็นที่อยู่ของคนรัสเซียส่วนใหญ่ ประเทศมักจะจัดการแบ่งเขตการปกครองเป็นแบบมณฑล ( รัสเซียมี 46 มณฑล ไม่นับ 2 มณฑลใหม่ที่ยึดมาจากอูเครน )
ส่วนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ อื่น ๆ ก็มักจะแบ่งเป็น รีพับลิก หรือ สาธารณรัฐ ( แม้ในหลาย ๆ กรณีในเขตการปกครองแบบนี้ อาจจะมีคนรัสเซียมากกว่าคนกลุ่มชาติพันธุ์ก็ตาม )
นอกจากนั้นก็ยังมีการแบ่งเป็นแบบอื่น ๆ อีก เช่น ดินแดน เขตปกครองตนเอง มณฑลปกครองตนเอง และเมืองที่มีความสำคัญระดับสหพันธ์
รัสเซียมีทั้งสิ้น 22 สาธารณรัฐ ( นับรวมไครเมีย แต่ไม่นับ 2 สาธารณรัฐที่เพิ่งได้มามาด ๆ จากอูเครน )
คนนอกบางคนเรียกว่ารัฐ ซึ่งผมคิดว่าไม่ค่อยน่าจะถูกสักเท่าไหร่ เมื่อมองไปถึงคำว่า " รัฐ " ของสหรัฐ เพราะสาธารณรัฐของรัสเซียเหล่านี้ มีขอบเขตรัฐของตนเอง มีรัฐธรรมนูญของตนเอง มีผู้นำท้องถิ่นของพวกเขาเอง มีสภาของตัวเอง มีภาษาราชการของตนเอง มีเมืองหลวงของตนเอง และที่สำคัญคือมีความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง
สาธารณรัฐของรัสเซียเกือบทุกแห่ง จะใช้ชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นชื่อสาธารณรัฐ เหมือนชาติไทย ชาติญี่ปุ่น ชาติฟิลิปปินส์
แล้วทำไมรัสเซียจึงมีสาธารณรัฐในสาธารณรัฐ ?
คำว่า 'สาธารณรัฐ' ในกรณีของรัสเซียนั้น อธิบายกันว่าไม่ได้หมายความถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐ หากแต่เป็นประเพณีทางประวัติศาสตร์มากกว่า โดยมันเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของปัจจัยทางชาติพันธุ์
บรรดาสาธารณรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย ในสมัยโซเวียต ส่วนมากเคยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียต หรือ ASSR และมณฑลปกครองตนเอง
ASSR เป็นรูปแบบของการปกครองตนเองสำหรับชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ( กว่า ) ที่อยู่ในสหภาพโซเวียต
โดยภาพรวมแล้ว สหภาพโซเวียตแบ่งการปกครองออกเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต 15 สาธารณรัฐ (หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเพียงแค่สาธารณรัฐของสหภาพ) โดยที่แต่ละแห่งจะมีการแบ่งเขตการปกครองภายในของตนเอง ดังนั้น สาธารณรัฐของสหภาพบางแห่ง ก็จะมี ASSR เป็นของตนเอง
ระบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเขตปกครองในระดับมหภาคของรัสเซียเริ่มขึ้นหลังการปฏิวัติสังคมนิยมในปี 1917 เมื่อประชาชนในอดีตจักรวรรดิรัสเซีย เริ่มต้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องอำนาจการปกครองตนเองในรูปแบบต่าง ๆ
เขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียในสมัยนั้น อย่างแกรนด์ดัชชี ( ราชรัฐที่มีแกรนด์ดยุกเป็นประมุข ) ฟินแลนด์ และราชอาณาจักรโปแลนด์ ต่อมา ก็ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากรัสเซีย
ส่วนหน่วยปกครอง เขตปกครองขนาดที่เล็กกว่า ซึ่งเป็นตัวแทนของภูมิภาค ชุมชนชนกลุ่มน้อย ต่างก็แสวงหาอำนาจการปกครองตนเองภายในประเทศ การยืนยันสิทธิ์ในภาษาแม่และอื่น ๆ
ในช่วงปี 1920-1930 ขอบเขตและสถานะของเขตการปกครองเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พื้นที่ต่าง ๆ ถูกนำรวมเข้าด้วยกัน ถูกแยกจากกัน ถูกปรับโฉมไปเป็นเขตปกครองตนเอง และท้ายที่สุดก็กลายเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง
ในรัสเซีย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โดยมีชื่อเต็ม ๆ ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย หรือ RSFSR ในช่วงเวลาต่าง ๆ เคยมีสาธารณรัฐปกครองตนเองรวมกันมากถึง 19 แห่ง
อย่างเช่น Turkestan ASSR และ Bashkir ASSR ก็ถือเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งแรก ๆ ของ RSFSR
Volga German ASSR ต่อมาก็ถูกแบ่งกัน ระหว่างมณฑล Saratov และ Stalingrad (ปัจจุบันคือ Volgograd) ในปี 1941
ในปี 1945 Crimean ASSR ก็กลายเป็นมณฑลไครเมีย และในปี 1954 ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมอูเครน
ปี 1956 สาธารณรัฐสังคมนิยม Karelian-Finnish ก็"ถูกลดระดับ" เป็น Karelian ASSR ของ RSFSR
ในทางกลับกัน ASSR บางแห่งก็ได้รับการปรับขึ้นเป็นสาธารณรัฐของสหภาพ อย่างเช่น Kazakh ASSR (ในปี 1936) และ Kyrgyz ASSR (ในปี 1926)
พอถึงปี 1961 จำนวนของ ASSR ก็หยุดอยู่ที่ 16 แห่ง และไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปี 1990 ( สหภาพโซเวียตล้ม )
การปรับเปลี่ยนของ ASSR มาเป็นสาธารณรัฐของรัสเซีย ดำเนินควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนของ RSFSR มาเป็นสหพันธรัฐรัสเซีย และการที่สาธารณรัฐต่าง ๆ ของโซเวียตประกาศเอกราชระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
สาธารณรัฐใหม่บางแห่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่าง Adygeya, Altay, Karachay-Cherkessia, Khakassia, Chechnya และ Ingushetia เพิ่งได้รับสถานะทำนองนี้เป็นครั้งแรกในปี 1990
แล้วสาธารณรัฐต่าง ๆ ของรัสเซียแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?
ตำแหน่งผู้นำของแต่ละสาธารณรัฐ จะเรียกกันว่าหัวหน้าสาธารณรัฐ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ Tatarstan เพราะพวกเขามีประธานาธิบดีเป็นของตัวเอง แต่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา กฤษฎีกาประธานาธิบดี กำหนดให้แทนที่ตำแหน่งนี้ด้วยตำแหน่งหัวหน้า
เมืองหลักของสาธารณรัฐของรัสเซีย จะเรียกกันว่าเมืองหลวง ในขณะที่เมืองหลักของเขตการปกครองแบบอื่น ๆ จะเรียกกันว่าศูนย์กลางการบริหาร
ในบางสาธารณรัฐ - อย่าง Tatarstan, Bashkortostan และ Republic of Sakha (Yakutia) มีการแทรกภาษาท้องถิ่นของพวกเขาในหนังสือเดินทางด้วย
สาธารณรัฐของรัสเซียเหล่านี้ ก็เช่นเดียวกับคนรัสเซีย ก็คือภาษาถิ่นของพวกเขา มีสถานะเป็นภาษาของรัฐ โดยในบางแห่งอาจจะมีเพียง 2 ภาษา ในขณะที่ใน Dagestan มีมากถึง 13 ภาษา
แต่ในทางกลับกัน Karelia มีเพียงภาษารัสเซียเท่านั้นที่มีสถานะเป็นภาษาของรัฐ
เหตุผลก็คือ กฎหมายปัจจุบันระบุว่า ตัวอักษรในภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาของรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย และภาษาของรัฐของสาธารณรัฐต่าง ๆ ควรใช้พื้นฐานจากตัวอักษรซีริลลิก
แต่ชนพื้นเมืองของ Karelia นั้นใช้ภาษา Karelian, Vepsian และ Finnish ซึ่งใช้ตัวอักษรละตินเป็นหลัก ทำให้ภาษาเหล่านี้ไม่สามารถใช้เป็นภาษาของรัฐได้ ( เว้นแต่กฎหมายจะมีการเปลี่ยนแปลง)
แต่ในทางกลับกัน ภาษาของพวกเขา ก็มีสถานะเป็นภาษาราชการในอาณาเขตของ Karelia
ขณะที่ประชาชนที่นี่ ก็เช่นเดียวกับประชาชนทั่วรัสเซียทั้งหมด คือมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการใช้และอนุรักษ์ภาษาแม่ของพวกเขา
สาธารณรัฐของรัสเซียทั้งหมดมีเพลงชาติเป็นของตนเอง อย่างไรก็ตาม เพลงชาติของดาเกสถานในเวอร์ชันอย่างเป็นทางการนั้นไม่มีคำที่ออกเสียงใด ๆ
ในขณะที่เพลงชาติของ Karelia มีการร้องเป็นภาษารัสเซีย
นี่คือสาธารณรัฐของรัสเซียทั้งหมดครับ
1. Adygea
2. Altai
3. Bashkortostan
4. Buryatia
5. Dagestan
6. Ingushetia
7. Kabardino-Balkaria
8. Kalmykia
9. Karachay-Cherkessia
10. Karelia
11. Komi
12. Mari El
13. Mordovia
14. Sakha
15. North Ossetia–Alania
16. Tatarstan
17. Tuva
18. Udmurtia
19. Khakassia
20. Chechnya
21. Chuvashia
22. Crimea