ข้อใดเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม

ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ  พ.ศ.  2485  แบ่งได้ ประเภท

1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจซึ่งได้เรียนรู้จากศาสนา เป็นวัฒนธรรมทางด้านศีลธรรม เป็นจารีตประเพณีซึ่งถือเป็นหลักของการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาซึ่งสอนในเรื่องของกรรม โดยสอนให้เชื่อในเหตุและผลความเป็นไปในธรรมชาติ มากกว่าความศรัทธา

ข้อใดเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม

2. เนติธรรม  คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญ ป็นวัฒนธรรมทางด้านกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมายหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เช่นพ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรถ้าพ่อแม่เพิกเฉยละทิ้งหน้าที่ ก็จะถูกกฎหมายลงโทษ แต่เมื่อลูกโตขึ้นไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย บ้านเมืองจะลงโทษไม่ได้ แต่จะเป็นที่ครหานินทาของสังคม ทั้งนี้เพราะพุทธศาสนาสอนในเรื่องของความกตัญญูต่อบุพการี

ข้อใดเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม

3. สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคมที่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางสังคม  เช่น มารยาทในงานสังคมต่างๆ

ข้อใดเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม

4. วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ  ที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้  เช่น  บ้านเรือน  อาหาร  เครื่องแต่งกาย  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องอำนวยความสะดวก เป็นต้น

ประเภทของวัฒนธรรม

โดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture) ซึ่งได้แก่สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น 
  2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non – material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวคิด ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธีการกระทำ และแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็นไม่ได้

การแบ่งประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท ดังกล่าวข้างต้น นักสังคมวิทยาบางท่านเห็นว่า แนวคิดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุนั้นคลุมเครือ จึงได้แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ

  1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material) ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค 
  2. วัฒนธรรมความคิด (Idea) หมายถึง วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ ความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม การเชื่อถือโชคลาง ตลอดจนเรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา วรรณคดี สุภาษิต และอุดมการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น 
  3. วัฒนธรรมด้านบรรทัดฐาน (Norm) เป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ดังนี้ 
    - วัฒนธรรมทางสังคม (Social Culture) เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความประพฤติ หรือมารยาททางสังคม เช่น การไหว้ กาจับมือทักทาย การเข้าแถว การแต่งชุดดำไปงานศพ เป็นต้น 
    - วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (Legal Culture) เป็นวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์เพื่อให้คนในสังคมอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข 
    - วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับจิตใจและศีลธรรม (Moral Culture) วัฒนธรรมประเภทนี้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นต้น

  ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2485 ได้แบ่งประเภทวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • คติธรรม (Moral) คือวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำรงชีวงิตส่วนใหญ่เป้นื่องของจิตใจ และได้มาจากศาสนา ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของสังคม เช่น ความเสียสละ ความขยัน หมั่นเพียร การประหยัดอดออกม ความกตัญญู ความอดทน ทำดีได้ดี เป็นต้น
  • เนติธรรม (Legal) คือวัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญพอ ๆ กับกฎหมาย เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • สหธรรม (Social) คือวัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งมารยาทต่าง ๆ ที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคม เช่น มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
  • วัตถุธรรม (Material) คือวัฒนธรรมทางงวัตถุ เช่น เคราองนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือน อาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ สะพาน ถนน รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ปัจจุบันเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ

  1. สาขามนุษย์ศาสตร์ ได้แก่ ขนบธรรมประเพณี คุณธรรม ศีลธรรม ศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี มารยาทในสังคม การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น
  2. สาขาศิลปะ ได้แก่ ภาษา วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น
  3. สาขาช่างฝีมือ ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอผ้า การจัดสาน การทำเครื่องเขิน การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง การจัดดอกไม้ การประดิษฐ์ การทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
  4. สาขาคหกรรมศิลป์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอาหาร การประกอบอาหาร ความรู้เรื่องการแต่งกาย การอบรมเลี้ยงดูเด็ก การดูแลบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ความรู้เรื่องบา การรู้จักใช้ยา ความรู้ในการอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นต้น
  5. สาขากีฬาและนันทนาการ ได้แก่ การละเล่น มวยไทย ฟันดาบสอบมือ กระบี่กระบอง การเลี้ยงนกเขา ไม้ดัดต่าง ๆ เป็นต้น