ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

สพฐ.ประกาศจัดตั้งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.): หน่วยงานกลางส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

Show

สพฐ.ประกาศจัดตั้งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) เป็นสำนักภายใน สพฐ. จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ขณะนี้มี 6 พื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง สตูล และจังหวัดชายแดนภาคใต้ สบน. ยังเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิชาการและงานธุรการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ มีเลขาธิการ กพฐ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้

1. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย

2. จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศในการดำเนินการส่งเสริมให้มีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย

3. จัดให้มีการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

4. จัดทำมาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่องเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย

5. รวบรวมข้อมูล ศึกษา และวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย

6. กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

7. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

8. ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน หรือตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย


ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม


สพฐ. กำลังเปิดรับสมัครบุคลากรที่มีความประสงค์ช่วยปฏิบัติราชการ สบน. ด่วน!

ขณะนี้ สบน. ต้องการเปิดรับสมัครบุคลากรกว่า 20 อัตรา ต้องการผู้ที่ “มีใจ” รักการเรียนรู้ อยากเห็นคุณภาพผู้เรียนและการศึกษาไทยดีขึ้น และต้องการที่จะมาร่วมผลักดัน/ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แบบ bottom up โดยใช้พื้นที่เป็นฐานของการพัฒนา

ดังนั้น บุคลากร สพฐ. (ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักส่วนกลาง) ที่สนใจโปรดยื่นใบสมัคร ผ่านสำนักต้นสังกัด ไปยังสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) ตั้งแต่บัดนี้-วันที่ 21 มิถุนายน 2562 หลังจากนั้น สพฐ. จะพิจารณาดำเนินการมอบหมายให้ปฏิบัติงาน ณ สบน. ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ต่อไป


โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม...สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมกาญจนบุรี เป็นโรงเรียน "มีของ" ที่โดดเด่น เน้นเด็กเป็นสำคัญและการเรียนรู้ร่วมกันของครูทั้งโรงเรียน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-15.30 น. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. และคณะ พร้อมด้วยสื่อมวลชนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ได้มาตรวจเยียมการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ณ โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม ตำบลทุ่งกระบ่ำ อำเภอเลาขวัญ

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

มีผู้นำหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่มาร่วมประชุมและให้การต้อนรับหลายท่าน อาทิ นายนิพัฒน์ มณี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 นายวิทยาเกียรติ เงินดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นายชาลี สำรองทรัพย์ ผู้แทนศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี ตัวแทนศึกษาเทศก์ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีนายศิวรัตน์ พายุหะ ผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม และคณะครู ได้สรุปผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฐานะสถานศึกษานำร่อง และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในภาพรวม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนทั้งสิ้น 265 คน ครู 20 คน สมัครเข้าร่วมเป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ได้เน้นให้ครูเรียนรู้ร่วมกัน ใช้ Lesson Study มีการจับคู่ครู เป็น Model Teacher และ Buddy Teacher และร่วมกันสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community (PLC) สะท้อนผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขการสอนให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้มองเห็นการสอนและการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการวางแผนการสอน การสังเกตการสอนและสะท้อนความคิดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในชั้นเรียน การที่ได้สังเกตการณ์สอนจริงในชั้นเรียน ทำให้ครูได้เข้าใจและเห็นภาพว่าการสอนที่ดีนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยเหลือพัฒนานักเรียนรายบุคคลให้ได้เรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น  

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

การจัดการเรียนการสอนจะแบ่งกลุ่มนักเรียนแบบคละความสามารถ จะมีทั้งเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อให้เด็กได้รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเน้นให้เด็กเรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง ครูให้ feedback ที่กระบวนการ ให้ความสำคัญกับความพยายามในการปรับปรุงพัฒนาตนเองของนักเรียน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ Growth Mindset  นอกจากนั้น โรงเรียนยังมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทั้งความรู้ทางวิชาการ ทักษะศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ควบคู่กัน โรงเรียนยังได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะในการแก้ปัญหาที่สูงขึ้น โดยกระบวนการทั้งหมดเป็นการนำไปสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ School as Learning Community ที่ผ่านมา ในแต่ละปีการศึกษา จะมีจำนวนนักเรียนสมัครเข้าศึกษาที่โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงผู้ปกครองและชุมชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาในแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

สิ่งที่ได้พบเห็น ณ โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม ในช่วงเวลาสั้นๆ นี้ ได้เห็นจุดที่น่าสนใจ น่าชื่นชมหลายส่วน อาทิ

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

1.โรงเรียนมีต้นทุนนวัตกรรมเด่น โรงเรียนอยู่ในโครงการ sQip หรือโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (School Quality Improvement Program) มีภาคีร่วมพัฒนาหลายองค์กร มีทีมโค้ชเข้ามาช่วยพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง มีเครื่องมือสำคัญที่ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนหลายเครื่องมือ เช่น PLC, Lesson Study, Open Class เป็นการเปิดโอกาสให้เพื่อนครู ผู้ปกครองชุมชน ศึกษานิเทศก์ เข้ามาร่วมเรียนรู้การปฏิบัติการสอนและสะท้อนผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกัน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

2.โรงเรียนมีแนวคิดเชิงบวกและบูรณาการทุกนโยบายอย่างกลมกลืน โรงเรียนได้หลอมรวมนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานต้นสังกัด และภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่่ร่วมทำงานด้วยกัน มาบูรณาการเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อลดภาระงานครู เพิ่มความสุขจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ เน้น "จับถูก" ใช้โอกาสของการเข้าร่วมโครงการต่างๆ เป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพครูและคุณภาพผู้เรียน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

3.โรงเรียนให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะเห็นได้ว่าทุกๆ นวัตกรรมการศึกษาที่โรงเรียนนำมาใช้นั้น ได้มุ่งไปสู่การเพิ่มคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียรนทั้งสิ้น ผู้อำนวยการโรงเรียนรับประกันว่า "โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีเด็กคนใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง" ด้วยกระบวนการ PLC และ Lesson Study การใช้ Growth Mindset การใช้จิตศึกษา ตามแนวทางของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และใช้จิตวิทยาเชิงบวก สร้างบรรยากาศและโอกาสให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

4.โรงเรียนให้ความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการพัฒนาผู้เรียน ณ สถานศึกษา ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาก่อน ให้ครูได้เรียนรู้เทคนิควิธีการ และเครื่องมือสำคัญต่างๆ ให้ได้เรียนรู้จากหน้างานของตนเองผ่านการปฏิบัติการที่สำคัญจากงานในหน้าที่ เรียนรู้ร่วมกันเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีการรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมสังเกต ร่วมเรียนรู้การสอน สะท้อนผล และปรับปรุงพัฒนาการสอนอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้ครูได้พัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนการสอน สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

5.ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้อำนวยการโรงเรียนได้นำเสนอกระบวนการและผลการพัฒนาโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของโรงเรียน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสถานศึกษาอย่างชัดเจน สามารถนำพาองค์กรให้มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูมีใจร่วมพัฒนา นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในทุกมิติ ส่งผลให้ชุมชนมีความเชื่อมั่นศรัทธาและส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

6.หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานระดับจังหวัดส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนอย่างดียิ่ง จากการที่ท่าน ผอ.สพป.กาญจนบุรี เขต 4 ได้นำเสนอภาพรวมของกระบวนการรับสมัครสถานศึกษานำร่อง พิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาเป็นสถานศึกษานำร่อง และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ให้การหนุนเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนด้วยดีตลอดมา ทำให้เห็นว่า หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดให้การส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาอย่างดี ทำให้โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาและเตรียมการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น โรงเรียนยังสามารถดำเนินการตามนโยบายต่างๆ ของต้นสังกัดในโครงการต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ และสบายใจ ส่งผลให้การพัฒนาโรงเรียนมีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

สิ่งเหล่านี้เป็นภาพ ณ จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากโรงเรียนที่มีต้นทุนที่ดี มีนวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณภาพได้จริง จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า โรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม แห่งนี้ จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาอย่างก้าวกระโดด สามารถเป็น "หัวขบวนรถจักร" ของการขยายผลพัฒนาโรงเรียนอื่นๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ...ตลอดการนำเสนอและการเรียนรู้ดูงานครั้งนี้ ไม่ได้ยินหรือได้รับข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค หรือการเรียกร้องต้องการใดๆ หรือร้องขอรับการสนับสนุนเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องบุคคล วิชาการ งบประมาณ ดังนั้น การกล่าวว่า โรงเรียนแห่งนี้เป็น "โรงเรียนมีแนวคิดเชิงบวกและบูรณาการทุกนโยบายอย่างกลมกลืน" จึงเป็นจริงและเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม และ สุวรรณา กลิ่นนาค

Photo credit: ฐิติรัตน์ สิมมาโครต

จ.กาญจนบุรี ยืนยัน เร่งเพิ่มขีดความสามารถครูและบุคลากร พร้อมผลักดันรูปธรรม "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. และคณะ พร้อมด้วยสื่อมวลชนจากรายการมองมุมใหม่ 5 โฟกัส ของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีผู้นำหน่วยงานทางการศึกษา ที่เป็นหลักในการขับเคลื่อนงานได้มาร่วมประชุม นำเสนอผลการดำเนินการ และให้การต้อนรับ ได้แก่ นายอนันต์ กัลปะ ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี นายวิทยาเกียรติ เงินดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ว่าที่ ร.อ.พรเนตร ศรีทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นายชาลี สำรองทรัพย์. ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี นายฉลอง ขำมาก ผอ.กลุ่มนิเทศฯ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 นายวินัย ธรรมเกื้อกูล ศึกษานิเทศก์ สพป.กาญจนบุรี เขต 1

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ผู้นำพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีได้รายงานผลการดำเนินงานว่า จังหวัดกาญจนบุรีมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานหลายส่วน อาทิ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแล้ว จำนวน 2 ครั้ง มีการประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่หนุนเสริมการดำเนินงานโดยได้รับความอนุเคราะห์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กาญจนุบุรี สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสำหรับปีงบประมาณ 2562 จำนวน 2 ล้านบาท

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรีได้ร่วมยืนยันว่า...

"ผู้นำและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีจะขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่มุ่งหวังอย่างแน่นอน"

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ซึ่งแผนพัฒนาและการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในระดับจังหวัดและระดับสถานศึกษา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561-มีนาคม 2563 โดยสรุป ดังนี้

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ในภาคบ่ายจะลงพื้นที่ดรงเรียนราษฎร์บำรุงธรรม ตั้งอยู่ที่อำเภอเลาขวัญ เพื่อเรียนรู้ดูภาคปฏิบัติของการขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและนวัตกรรมการบริหารจัดการของสถานศึกษานำร่อง ซึ่งเป็น 1 ใน 41 แห่ง ของสถานศึกษานำร่องของจังหวัดกาญจนบุรี

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีและการประสานงานกันอย่างดีของผู้นำหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่ ทั้งสังกัด สพฐ. และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้การดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณที่ สพฐ. จัดสรรให้ สพป.กาญจนุบรี เขต 1 ใช้ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในภาพรวมของจังหวัดไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ ในการเบิกจ่าย

สิ่งที่จังหวัดกาญจนบุรีจะเร่งดำเนินการเพื่อให้มีความพร้อมให้มากที่สุดในการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ก็คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษานำร่อง ทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ซึ่งจะดำเนินการในเดือนเมษายนเป็นต้นไป รวมทั้งจะประสานภาคีเครือข่ายมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการเพิ่มขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจะดำเนินการตามจุดเน้นของพื้นที่

ดังนั้น จึงหวังได้ว่าจังหวัดกาญจนบุรี จะมีความก้าวหน้า และมีโอกาสประสบผลสำเร็จอย่างสูงในโอกาสอันใกล้ ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีทุกๆ ภาคส่วน

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม

Photo credit: ฐิติรัตน์ สิมมาโครต

รมช.ศธ.และเลขาธิการ กพฐ.สะท้อนคิดสู่การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร) ได้สะท้อนคิดสู่การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรายการมองมุมใหม่ 5 โฟกัส ซึ่งเป็นรายการที่ออกอากาศเป็นประจำทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5  ซึ่ง สพฐ. สนับสนุนการผลิตรายการ จำนวน 6 ตอน ตอนนี้เป็นการนำเสนอเรื่อง "พื้นที่นวัตกรรม 3 จังหวัดชายแดนใต้" ออกอากาศในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น. โดยสื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ในเทปรายการครั้งนี้ได้นำเสนอเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อมุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ ในโอกาสที่ท่านมาเป็นประธานรับฟังผลการประชุมของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และมอบนโยบาย ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี ซึ่งการจัดประชุมนี้สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  จัดโดย ศปบ.จชต. ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน 3 จังหวัด ..

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวช่วงหนึ่งว่า...

"เรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา มี 6 พื้นที่ ใน 6 ภูมิภาค สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้สนับสนุนให้ดำเนินการไปพร้อมกัน ที่ผ่านมามีการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมและการบริหารจัดการมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเข้มแข็งของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ สพฐ. โดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ช่วยสนับสนุนการลดขั้นตอนการดำเนินงาน สนับสนุนงบประมาณ การบริหารงานบุคคล เป็นต้น ในขณะที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเสนอร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคู่ขนานเป็นการเตรียมการไปล่วงหน้ารองรับกฎหมายที่จะประกาศใช้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการศึกษาในภาพรวม..." 

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

นอกจากนั้น ยังได้เสนอนโยบายและแนวคิดเกี่ยวกับการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร) อาทิ

"เป้าหมายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กระจายอำนาจให้หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษานำร่องทำงานได้อย่างสะดวก คล่องตัว และสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการระดมสรรพกำลังของทุกภาคส่วนมาร่วมสนับสนุนและร่วมจัดการศึกษา สำหรับการดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการดำเนินงานพร้อมกันไปทั้ง 3 จังหวัด เพราะมีประเพณี วัฒนธรรม อัตลักษณ์ เศรษฐกิจ สังคม และมีเงื่อนไขการดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ ในการดำเนินงานของพื้นที่ 3 จังหวัด ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินการทั้งภูมิภาค ใน "ภาคใต้ชายแดน" และสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีภารกิจสำคัญคือ จะต้องดำเนินการเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า ถ้าจะให้โรงเรียนมีคุณภาพ จะต้องปลดล็อกตรงไหน หรือจะต้องสร้างกลไกการดำเนินการอย่างไร หากสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นี้ ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นและจะประสบความสำเร็จได้โดยใช้เวลาไม่มากเช่นกัน"

ซึ่งผู้สนใจสามารถรับชมรายการย้อยหลังได้ที่นี่


4 สัญญาณ++ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.ศรีสะเกษ (ผู้ว่าฯ-ศึกษา-ภาคีเครือข่าย-นวัตกรรมเด่น)

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ การประชุมครั้งนี้เปลี่ยนสถานที่ประชุมจากศาลากลางจังหวัดมาประชุมที่โรงเรียนอนุบาลเบญจลักษ์

มีวาระเพื่อทราบ มี 3 เรื่อง คือ 1) การประกาศรายชื่อสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 50 โรงเรียน ซึ่งประกาศโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ 2) การดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษของคณะอนุกรรมการแต่ละฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายสร้างการรับรู้ 3) ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายการศึกษา ที่มีหลายหน่วยงานเข้ามาร่วม อาทิ มูลนิธิสยามกัมมาจล TDRI สถาบันอาศรมศิลป์ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

 ส่วนวาระเพื่อพิจารณา มี 6 เรื่อง ได้แก่ 1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะต่างๆ ได้แก่ คณะที่ปรึกษา, ภาคีเครือข่ายการเรียนรู้จังหวัดศรีสะเกษ, คณะกรรมการแกนนำก่อตั้งภาคีเครือข่ายการเรียนรู้จังหวัดศรีสะเกษ, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรม, คณะอนุกรรมการวิจัยและถอดบทเรียน, คณะอนุกรรมการเสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย, คณะอนุกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์ 2) การแต่งตั้ง/มอบหมายศึกษานิเทศก์ปฏิบัติหน้าที่นิเทศการพัฒนาแต่ละนวัตกรรม 3) การประชุมสัมมนาศึกษานิเทศก์เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ 4) ปกเอกสารการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ 5) ข้อคิดเห็นในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ และ 6) การกำหนดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษครั้งต่อไป

สิ่งที่ได้สังเกตเห็นและเรียนรู้จากการประชุมครั้งนี้ ที่นอกเหนือจากการได้เห็นความเข้มแข็ง ความมุ่งมั่นตั้งใจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ หรือ core team พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาศรีสะเกษ ดังนี้

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

1. ผู้ว่าฯ เอาจริง-ใส่ใจ-ให้ความสำคัญ งานด้านการศึกษาและพื้นที่นวัตกรรมในระดับมากที่สุด ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ (นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี) ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้ยืนยันความมุ่งมั่นตั้งใจว่า

          1) งานการศึกษาต้องมาเอง งานประชุมด้านการศึกษาเป็น 1 ใน 3 งานสำคัญ ที่ท่านจะต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง ซึ่งงานด้านการศึกษา ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ

          2) ลงพื้นที่ต้องมีเวลาเยี่ยมชมงาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาครั้งต่อไป หากสัญจรไปจัด ณ สถานศึกษานำร่อง จะต้องจัดเวลาช่วงการประชุม อย่างน้อยครึ่งวัน เพื่อให้คณะกรรมการได้มีโอกาสลงไปเรียนรู้ ดูการจัดการเรียนการสอน เยี่ยมชมนวัตกรรมที่โดดเด่นของสถานศึกษานั้นๆ

          3) สัญญาว่าจะไม่ทิ้งกัน สร้างความมั่นใจให้ผู้บริหารสถานศึกษานำร่องว่า หากทำด้วยหัวใจและได้ผลดีบรรลุวัตถุประสงค์ หากขัดสนทรัพยากร ท่านจะไม่ปล่อยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสู้โดยลำพัง ท่านจะเชื่อมประสานและแสวงหาปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้นให้ ดังนั้น หากทำด้วยใจ-ได้ผลดี-จะมีผู้เล็งเห็นและให้การสนับสนุนตามมาเอง สำหรับในปีงบประมาณ 2563 ผู้ว่าฯ ได้เตรียมวงเงินงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 20 ล้านบาท

          4) พื้นที่นวัตกรรม ทำแล้วต้องสำเร็จ ห้ามล้มเหลว! เน้นย้ำว่า การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษจะปล่อยให้ล้มเหลวไม่ได้ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพยายามและร่วมมือรวมพลังทำให้ประสบผลสำเร็จให้จงได้ โดยเริ่มต้นจากนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นต้นทุนเดิมที่มี และควรจัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิทินการขับเคลื่อนงานให้ชัดเจน

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

2. ศึกษาธิการจังหวัด ร้อยรัด-เชื่อมโยง-บูรณาการ-งานสร้างคน ศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ (นางวัชรกาญจน์ คงพูล) ศึกษาธิการคนใหม่ของศรีสะเกษ แต่เป็นผู้นำที่คร่ำหวอดอยู่วงการการศึกษาในพื้นที่ศรีสะเกษ เมื่อกลับมาเป็นผู้นำระดับสูงในด้านการศึกษาของพื้นที่ มีความมุ่งหวังตั้งใจที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเด็กและเยาวชนศรีสะเกษ พร้อมร่วมทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องการหนุนให้ศึกษานิเทศก์ได้ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพของตนเองควบคู่กับงานการนิเทศพัฒนาครู

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

3. ธนาคารไทยพาณิชย์และมูลนิธิสยามกัมมาจล...เทหมดหน้าตัก หนุนพื้นที่นวัตกรรมศรีสะเกษ ในช่วง 1 ปี ของการทำงานกับพื้นที่ของทีมธนาคารไทยพาณิชย์และมูลนิธิสยามกัมมาจล เพื่อการเตรียมการและสร้างกลไกการมีส่วนร่วมพัฒนาของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ไม่มีใครทราบว่า ทั้ง 2 ภาคีนี้ว่าจะสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างไรหรือจะสนับสนุนงบประมาณเท่าใด ได้ทราบจุดเน้นของภาคีว่า จะไม่ทำงานโดยใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่เน้นความตั้งใจจริงของผู้เกี่ยวข้อง และต้องเห็นถึงความพร้อมที่จะลุกขึ้นมา “เอาจริง” และร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงของทุกฝ่ายให้ได้ก่อน ...ถึงวันนี้ทีมมีความมั่นใจว่าผู้นำในพื้นที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในพื้นที่พร้อมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกันแล้ว ในการประชุมวันนี้คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจลและกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้แจ้งว่า ธนาคารไทยพาณิชย์และมูลนิธิสยามกัมมาจลให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาเป็นอย่างมาก จึงเตรียมงบประมาณสนับสนุนโปรแกรมการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา รวม 85 ล้านบาท (ธนาคาร 45 ล้านบาท และมูลนิธิ 40 ล้านบาท) ในกรอบระยะเวลา 5 ปี เป็นการหนุนเชิงกระบวนการของการพัฒนา เช่น การประสานให้ mentor แต่ละนวัตกรรมลงไป coaching & mentoring ณ สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ การขับเคลื่อนการดำเนินงานในภาพรวม หรือการวิจัย เป็นต้น แต่งบประมาณนี้ไม่ได้ใช้เพื่อสนับสนุน/จัดสรรลงไปที่โรงเรียนโดยตรง

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

4. นวัตกรรมมอนเตสซอรี่ ต้องดูที่อนุบาลเบญจลักษ์ โรงเรียนอนุบาลเบญจลักษ์ สถานที่จัดประชุมครั้งนี้ มีความโดดเด่นในเรื่องมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ Montessori เพราะมีครูที่ผ่านการอบรมพัฒนาจาก Association Montessori Internationale (AMI) ถึง 2 คน และมีผู้นำที่เข้มแข็งอย่าง ผอ.บุญร่วม วิชาชัย ผอ.รร.อนุบาลเบญจลักษ์ ทำให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองและชุมชน จนมีนักเรียนระดับปฐมวัยเพิ่มขึ้นจากเดิม 11 คน เป็น 106 คน มีครูปฐมวัยในพื้นที่ใกล้เคียงมาเรียนรู้ดูงานหลายคณะ รวมทั้งโรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนจาก สพฐ. ให้ขยายการจัดการเรียนรู้ Montessori ในระดับชั้นประถมศึกษาด้วย

...มาศรีสะเกษครั้งนี้ ผมได้เห็นถึงความก้าวหน้า ความโดดเด่น และเล็งเห็นผลความสำเร็จของการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษอย่างมาก ผมคิดว่าพื้นที่ศรีสะเกษจะเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางดำเนินงานให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี 

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม

Photo credit: ณัฐธนวรรธน์ บุดดา

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เสนอเรื่อง "พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา" ไว้ใน (ร่าง) แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และส่งมอบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีได้รับมอบ (ร่าง) แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จากคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมในการรับมอบนี้ด้วย รายละเอียดดูที่นี่ 

(ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษานี้ มี ๗ เรื่อง/ประเด็นการปฏิรูป ได้แก่ ๑) การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒) การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ๓) การปฏิรูปกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๔) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ๕) การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๖) การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และ ๗) การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล

ซึ่งเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เป็น ๑ ใน ๓ ประเด็นหลัก อยู่ในเรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ ๖ การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับประเด็น “สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา” และ “การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ” ซึ่งรายละเอียดของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประเด็น “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา” มีดังนี้

เป้าหมายหรือผลอังพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์
เป้าหมารวม: ๑) ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เหมาะสมสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและพื้นที่ ๒) มีการเรียนรู้และขยายผลของนวัตกรรมที่ได้จากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่การจัดการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ
เป้าหมายเร่งด่วน:มีข้อเสนอและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อผู้เรียนในพื้นที่มีความเฉพาะด้านในเรื่องวัฒนธรรมและภาษา ครอบคลุมประเด็นเรื่องครู หลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพ และการกำกับดูแลสถานศึกษา

เป้าหมายระยะสั้น:๑) นโยบายและกฎระเบียบที่มีความคล่องตัว และเอื้อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และการบริหารของโรงเรียน ๒) มีหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ และความต้องการของชุมชนและพื้นที่

เป้าหมายระยะกลาง-ระยะยาว: ผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เหมาะสม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ และความต้องการของชุมชนและพื้นที่ ตลอดจนบรรลุตามความมุ่งหมายของกฎหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่

กรอบระยะเวลาในการดำเนินการ: ๑) ระยะเร่งด่วน ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒ ๒) ระยะสั้น ภายในปี ๒๕๖๔ และ ๓) ระยะกลาง – ยาว ภายใน ๕ – ๑๐ ปี

ตัวชี้วัด:๑) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ๒) จำนวนเรื่องของนวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆ ที่มีการขยายผลมาสู่พื้นที่อื่นๆ หรือนำมาประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ

วงเงินและแหล่งเงิน: งบประมาณแผ่นดิน ๑๐.๕ ล้านบาท

ขั้นตอนการดำเนินการ: 

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

อ้างอิง: (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เข้าถึงได้ที่นี่ https://goo.gl/Rqc2u4

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม

เลขาธิการ กพฐ. ชี้แนะสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ให้กล้าทำ-กล้าเปลี่ยน-กล้าที่จะสร้างสรรค์

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ผมขอเก็บสาระสำคัญที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ช่วงที่ ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สะท้อนความคิดหลังจากที่ได้รับฟังผู้แทนของจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้นำเสนอผลการระดมความคิดเกี่ยวกับความก้าวหน้าการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษาและแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นการกล่าวในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ทำให้ผู้ฟังได้หลักคิด ได้แรงบันดาลใจ และมีประโยชน์มากในการนำไปคิดต่อและประยุกต์ใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่เฉพาะสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเท่านั้น ยังรวมถึงสถานศึกษาโดยทั่วไปด้วย ซึ่งผู้สนใจสามารถชมเทปการถ่ายทอดสดในงานดังกล่าว โปรดคลิกที่นี่

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. กล่าวชื่นชมที่ทุกจังหวัดโฟกัสภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำได้ตรงกับเป้าหมายหลักในการจัดการศึกษา นั่นคือ ผู้เรียน จากนั้นได้สะท้อนความคิด ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ผมสรุปได้ 6 ประเด็น ดังนี้

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

1. โรงเรียนมีอิสระและมีอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว ขอให้กล้าทำ-กล้าเปลี่ยนแปลง โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ที่สามารถทำอะไรได้มาก แต่ไม่รู้ว่าทำได้ หรือไม่กล้าทำ โดยเฉพาะความมีอิสระที่มีมาก คือ อิสระทางวิชาการ อิสระทางหลักสูตร อิสระทางการเรียนการสอน แต่ความกล้าที่จะเข้าไปบริหารหลักสูตรมีไม่เพียงพอ เลขาธิการ กพฐ. ได้ยกตัวอย่างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 เป็นตัวอย่างของโรงเรียนที่ใช้อำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระทางวิชาการเพื่อโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน และได้พาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปศึกษาดูงานโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ได้เห็นว่าโรงเรียนสามารถใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสร้างสรรค์โอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้มาก

#เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562 รายการเดินหน้าประเทศไทย ได้นำกรณีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 มาออกอากาศในช่วง 18.00-18.20 น. ดูคลิปวีดิโอผลงานโรงเรียนที่นี่ https://youtu.be/Is5eQWlBJU8

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

2. ใช้รายวิชาเพิ่มเติมตอบโจทย์พื้นที่ ให้นักเรียนเรียนรู้และค้นพบตนเองเลขาธิการ กพฐ. ชี้ให้ผู้เข้าประชุมเห็นว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งกลุ่มวิชาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) รายวิชาพื้นฐาน ซึ่งจะสอนเหมือนกันทั่วประเทศ เพราะเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับความเป็นชาติ เป็นความรู้พื้นฐานที่มนุษย์ต้องรู้ ซึ่งจะมีการวัดผลการเรียนรู้ระดับชาติด้วย O-NET เหมือนกัน ดังนั้น รายวิชาพื้นฐานนี้จะเป็นการกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะที่ต้องการของประเทศ และมั่นใจได้ว่าสอดคล้องกับทิศทางของโลกปัจจุบันและอนาคต 2) รายวิชาเพิ่มเติม รายวิชานี้ที่ผ่านมาสถานศึกษาไม่กล้าออกจากกรอบ และลุกขึ้นมาบริหารหลักสูตรสถานศึกษาใหม่ ทั้งๆ ที่มีอิสระที่สามารถทำได้อยู่แล้ว กรอบกลุ่มสาระการเรียนรู้เดิมที่ระบุไว้ในหลักสูตรแกนกลางฯ คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เป็นต้น แล้ววิชาเพิ่มเติมนี้เจตนาให้สถานศึกษาไปคิดเองเพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตรงกับบริบทพื้นที่ ชุมชน และผู้เรียน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีใครคิดและจัดทำวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลาย สถานศึกษายังเปิดรายวิชาเพิ่มเติมลักษณะเดียวกับรายวิชาพื้นฐาน จึงให้ผู้เรียนได้เรียนรายวิชา คณิตเสริม อังกฤษเสริม วิทย์เสริม “เป็นการจัดรายวิชาให้ผู้เรียนเรียนวนเวียนเน้นย้ำในรายวิชากลุ่มเดิม เหมือนจะส่งเสริมให้ผู้เรียนไปเป็นศาสตราจารย์ทั้งหมด ไม่ได้เตรียมผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่พร้อมประกอบอาชีพและทำมาหาเลี้ยงชีพได้”

3. หลักสูตรแกนกลางยืดหยุ่น ...ต้องกล้าทำหลักสูตรสถานศึกษาใหม่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เอื้อให้สถานศึกษาสามารถจัดรายวิชาเพิ่มเติมได้ในสัดส่วนแตกต่างกัน ในแต่ละช่วง/ระดับชั้น ดังนี้ 1) ชั้น ป.1-6 มีประมาณ 10% สำหรับรายวิชาเพิ่มเติม จะเห็นว่าเวลาเรียนส่วนใหญ่ใช้ในการมุ่งเน้นอ่านออกเขียนได้คิดคำนวณเป็น และทำอะไรที่สำคัญจำเป็นสำหรับช่วงวัยนี้ได้ ดังนั้น ใน 10% นี้ สถานศึกษาต้องกล้าที่จะจัดการใหม่ในหลักสูตรสถานศึกษา 2) ชั้น ม.ต้น มีประมาณ 20% ที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนอะไรก็ได้ที่พื้นที่ต้องการ 3) ม.ปลาย มีประมาณ 50% ที่สถานศึกษาคิดเองได้ ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่บริหารจัดการหลักสูตรได้สำเร็จ อาทิ โครงการสานฝันการกีฬา สามารถจัดการเรียนการสอนกีฬาได้อย่างเต็มที่ โครงการห้องเรียนกีฬาสามารถเปิดรายวิชาและจัดการเรียนการสอนฟุตบอล1 ฟุตบอล2 ได้ แต่ข้อจำกัดของสถานศึกษาคือ ยังไม่เข้าใจโจทย์ของประเทศ ยังไม่เข้าใจโจทย์ของบริบทพื้นที่ จึงส่งเสริมจะให้เด็กไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย ให้เรียนอังกฤษเสริม คณิตเสริม วิทย์เสริม อยู่เช่นนี้ ยังไม่เปลี่ยนให้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพที่ท้องถิ่นต้องการ ไม่ทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับท้องถิ่น สุดท้ายประเทศของเราก็ไม่ออกจากวังวนเดิมคือ เด็กจะเรียนต่อแต่มหาวิทยาลัย ไม่เรียนต่อสายอาชีพ เนื่องจากเด็กเรียนแต่วิทย์ คณิต อังกฤษ สังคม ไม่เคยเรียนรายวิชาอื่นๆ เช่น เรียนกีฬา เรียนปั้น เรียนอุตสาหกรรม ทั้งๆ ที่หลักสูตรแกนกลางฯ ได้แบ่งเวลาไว้แล้ว แต่สถานศึกษาไม่ได้จัดการเรียนรู้ให้ ดังนั้น ผู้เรียนจึงไม่ได้ค้นพบตนเอง ฉะนั้น ในเรื่องความมีอิสระทางวิชาการนี้ หลักสูตรแกนกลางฯ ให้ไว้มากแล้ว แต่สถานศึกษาต้องกล้าออกนอกกรอบเดิม และสร้างสรรค์รายวิชาเพิ่มเติม/จัดประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ให้ผู้เรียน

4. สถานศึกษามีอิสระที่จะใช้งบประมาณเหมาจ่ายที่ได้รับอยู่แล้ว รัฐเหมาจ่ายเงินอุดหนุนรายหัวให้สถานศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ/เหมารวม เพื่อใช้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ใช้ได้อย่างอิสระและตอบโจทย์พื้นที่ ส่วนงบพัฒนาจากส่วนกลางซึ่งมีจำนวนจำกัด จะใช้เพื่อหนุนเสริมการพัฒนาประเทศ และสร้างการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา เติมเต็มประเด็นสำคัญที่เป็นจุดเน้นของประเทศและเชื่อมโยงการพัฒนาตามทิศทางโลก เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เช่น นำมาใช้ในเรื่องนวัตกรรมการศึกษา มาสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หากส่วนกลางไม่มีงบประมาณก็ไม่สามารถร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ได้ หรือนำมาใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายห้องเรียนกีฬา ถ้าปล่อยให้สถานศึกษาใช้เงินอุดหนุนรายหัวที่ได้ปกติ ก็จะไม่สามารถดำเนินการได้ หรือนำมาใช้ดำเนินนโยบายโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล หรือส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เรื่องวิทยาการคำนวณ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบให้ผู้เรียนและยกระดับ PISA

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

5. เชื่อมประสานบทบาทคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจและต้องเตรียมความพร้อมคือเรื่องกระจายอำนาจ เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการได้อย่างถูกต้อง สร้างสรรค์ โดยจะต้องให้บทบาทและความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการมีส่วนร่วม ร่วมสะท้อนความต้องการของชุมชน เชื่อมโยงจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด มาสู่การใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และใช้อำนาจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความเห็นชอบในแผนและงบประมาณที่โรงเรียนมีอยู่ทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้น ซึ่งจะทำให้การใช้งบประมาณมีกรอบที่ชัดเจนโดยอิงหลักสูตรสถานศึกษา การใช้งบประมาณจะไม่สะเปะสะปะ รวมทั้งเมื่อเลือกบรรจุครูและบุคลากรทางการศึกษาก็สามารถเลือกสรรได้ตรงกับหลักสูตรสถานศึกษา

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

6. เปลี่ยนการจัดซื้อหนังสือเรียนได้ จะต้องมีกฎหมายรองรับ ในเรื่องการจัดซื้อหนังสือแบบเรียนเห็นด้วยที่จะให้โรงเรียนสามารถเลือกจัดซื้อจัดหาหนังสือเรียนได้เอง สิ่งที่เห็นเมื่อดำเนินโครงการโรงเรียน DLTV เรามีโรงเรียน จำนวน 15,000 โรงเรียน แล้วใช้สื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ เป็นสื่อที่ดี แต่กฎระเบียบที่จะงบประมาณเรียนฟรีฯ ไม่สามารถใช้ในการจัดหาสื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ นี้ได้ ระบุว่าจะใช้เงินเรียนฟรี 15 ปีได้ จะต้องซื้อหนังสือในบัญชีรายชื่อสื่อที่ผ่านการตรวจของกระทรวงแล้วเท่านั้น ดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็ก 15,000 โรงเรียน ที่ใช้สื่อ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ ก็ไม่สามารถเลือกใช้งบประมาณในการปริ้นใบงาน ใบความรู้ให้ผู้เรียนใดๆ ได้เลย หรือกรณีที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ทำการสอนสื่อสารสองทางกับโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี 2-3 โรงเรียน ซึ่งได้ผลดีมาก กรณีนี้ก็ไม่ใช้หนังสือเรียนในบัญชีรายชื่อของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้หนังสือที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์สร้างขึ้น แต่โรงเรียน 2-3 โรงเรียนนี้ก็ยังต้องซื้อหนังสือเรียนตามบัญชีรายชื่ออยู่ดี ทั้งนี้ ในกระแสประชาธิปไตยและเน้นการมีส่วนร่วมเช่นปัจจุบัน จำเป็นต้องมีกฎหมายยกเว้นให้ทำได้ จึงจะสามารถดำเนินการโดยไม่ถูกต่อต้้าน/ร้องเรียนจากภาคเอกชน หรือผู้ผลิตหนังสือแบบเรียน สิ่งที่รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จึงเป็นช่องทางที่เปิดช่องให้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การใช้เงินอุดหนุน โดยเอื้อให้สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสามารถเลือกจัดซื้อหนังสือเรียนได้เอง

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

เลขาธิการ กพฐ. เน้นย้ำว่า ขณะนี้สถานศึกษาได้รับการกระจายอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบหลายเรื่องแล้ว อาจยังไม่กล้าใช้ หรือไม่รู้ว่าใช้ได้ จึงขอให้กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาใหม่ จัดรายวิชาเพิ่มเติมให้โอกาสผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดความสนใจ ให้ค้นพบตนเอง สู่การพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์พื้นที่ ชุมชนสังคม และประเทศ

Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม

Photo Credit ศราวุธ  คออุเซ็ง

สพฐ.รายงานสรุปจำนวนและรายชื่อสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อ รมช.ศธ. (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์)

ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รายงานสรุปจำนวนและรายชื่อสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ระยอง สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น

สพฐ. จึงได้รายงานจำนวนและรายชื่อสถานศึกษานำร่อง ในพื้นที่ดังกล่าว (ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2562) ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ประธานคณะกรรมการอำนวยการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้รับทราบ รวม 237 โรงเรียน (ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 205 โรงเรียน) ดังนี้

1. จังหวัดศรีสะเกษ             50 โรงเรียน
2. จังหวัดระยอง                 25 โรงเรียน
3. จังหวัดสตูล                   10 โรงเรียน
4. จังหวัดเชียงใหม่             32 โรงเรียน
5. จังหวัดกาญจนบุรี           41 โรงเรียน
6. จังหวัดชายแดนภาคใต้    79 โรงเรียน

รายชื่อสถานศึกษานำร่องแต่ละพื้นที่ มีดังนี้

1. จังหวัดศรีสะเกษ (50 โรงเรียน)

1.

บ้านกระถุน

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

2.

บ้านสำโรงโคเฒ่า

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

3.

บ้านคูซอด

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

4.

บ้านหญ้าปล้อง

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

5.

บ้านเมืองน้อยหนองมุข

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

6.

บ้านโนนคูณ

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

7.

บ้านโพนข่า (วินิตวิทยาคาร)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

8.

บ้านโนนเพ็ก

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

9.

บ้านหนองหวาย

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

10.

บ้านร่องสะอาด

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

11.

อนุบาลยางชุมน้อย (หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

12.

บ้านรุ่ง

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

13.

บ้านโก

สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

14.

บ้านหนองกก

สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

15.

เมืองคง (คงคาวิทยา)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

16.

บ้านพงสิม

สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

17.

บ้านอีหนา (รัฐประชานุกุล)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

18.

บ้านคลองเพชรสวาย

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

19.

บ้านโนนดั่ง

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

20.

บ้านหว้า

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

21.

บ้านตะเคียนราม

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

22.

บ้านพรหมเจริญ

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

23.

บ้านธาตุพิทยาคม

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

24.

นิคม (ต.ช.ด.สงเคราะห์)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

25.

บ้านอาวอย

สพป.ศรีสะเกษ เขต 3

26.

บ้านปะทาย

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

27.

บ้านนาขนวน

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

28.

บ้านโนนจิก

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

29.

บ้านระโยง

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

30.

บ้านจำนันสายเจริญ

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

31.

บ้านหนองยาว

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

32.

บ้านจอก (ประชาสามัคคี)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

33.

บ้านโนนสูง

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

34.

บ้านสำโรงเกียรติ

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

35.

บ้านขุนหาญ

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

36.

อนุบาลเบญจลักษ์

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

37.

บ้านโนนแสนคำหนองศาลาศรีสะอาด

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

38.

บ้านรุงสมบูรณ์

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

39.

บ้านดอนข่า

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

40.

บ้านไผ่หนองแคน

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

41.

บ้านแดง (รัฐราษฎร์พัฒนา)

สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

42.

กระแชงวิทยา

สพม. เขต 28

43.

หนองถ่มวิทยา

อบจ.ศรีสะเกษ

44.

กุญชรศิรวิทย์

อบจ.ศรีสะเกษ

45.

บ้านเพียนาม

อบจ.ศรีสะเกษ

46.

ดงรักวิทยา

อบจ.ศรีสะเกษ

47.

โนนปูนวิทยาคม

อบจ.ศรีสะเกษ

48.

ไพรบึงวิทยาคม

อบจ.ศรีสะเกษ

49.

สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

สกอ.

50.

เทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

เทศบาลเมือง

2. จังหวัดระยอง (25 โรงเรียน)

1.

ชุมชนบริษัทน้ำตาลตะวันออก

สพป.ระยอง เขต 1

2.

นิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง8

สพป.ระยอง เขต 1

3.

บ้านค่าย

สพป.ระยอง เขต 1

4.

บ้านฉางกาญจนกุล

สพป.ระยอง เขต 1

5.

บ้านท่าเสา

สพป.ระยอง เขต 1

6.

บ้านพยูน

สพป.ระยอง เขต 1

7.

บ้านมาบตอง

สพป.ระยอง เขต 1

8.

บ้านสมานมิตร

สพป.ระยอง เขต 1

9.

บ้านหมอมุ่ย

สพป.ระยอง เขต 1

10.

วัดตาขัน

สพป.ระยอง เขต 1

11.

วัดท่าเรือ

สพป.ระยอง เขต 1

12.

วัดบ้านเก่า

สพป.ระยอง เขต 1

13.

บ้านคลองบางบ่อ

สพป.ระยอง เขต 2

14.

บ้านท่าลำบิด

สพป.ระยอง เขต 2

15.

บ้านน้ำกร่อย

สพป.ระยอง เขต 2

16.

บ้านมาบช้างนอน

สพป.ระยอง เขต 2

17.

บ้านหนองม่วง

สพป.ระยอง เขต 2

18.

วัดถนนกระเพรา

สพป.ระยอง เขต 2

19.

วัดสุขไพรวัน

สพป.ระยอง เขต 2

20.

ระยองวิทย์ปากน้ำ

สพม. เขต 18 (ระยอง)

21.

วังจันทร์วิทยา

สพม. เขต 18 (ระยอง)

22.

สุนทรภู่พิทยา

สพม. เขต 18 (ระยอง)

23.

อยู่เมืองแกลงวิทยา

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

24.

มณีวรรณวิทยา

เทศบาลนครระยอง

25.

อารีย์วัฒนา

สช.

3. จังหวัดสตูล (10 โรงเรียน)

1.

บ้านเขาจีน

สพป.สตูล

2.

บ้านโกตา

สพป.สตูล

3.

บ้านควนแก

สพป.สตูล

4.

บ้านทางงอ

สพป.สตูล

5.

บ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ 2550

สพป.สตูล

6.

บ้านบ่อเจ็ดลูก

สพป.สตูล

7.

บ้านห้วยน้ำดำ

สพป.สตูล

8.

วัดหน้าเมือง

สพป.สตูล

9.

อนุบาลมะนัง

สพป.สตูล

10.

อนุบาลสตูล

สพป.สตูล

4. จังหวัดเชียงใหม่* (32 โรงเรียน)

1.

ชุมชนบ้านบวกครกน้อย

สพป.เชียงใหม่ เขต 1

2.

บ้านหนองโค้ง

สพป.เชียงใหม่ เขต 1

3.

บ้านโป่งน้อย

สพป.เชียงใหม่ เขต 1

4.

ชลประทานผาแตก

สพป.เชียงใหม่ เขต 1

5.

หมู่บ้านสหกรณ์ 2

สพป.เชียงใหม่ เขต 1

6.

บ้านหนองไคร้

สพป.เชียงใหม่ เขต 2

7.

บ้านเมืองกื้ด

สพป.เชียงใหม่ เขต 2

8.

บ้านแม่ริมใต้

สพป.เชียงใหม่ เขต 2

9.

วัดแม่แก้ดน้อย

สพป.เชียงใหม่ เขต 2

10.

บ้านแม่โต๋

สพป.เชียงใหม่ เขต 2

11.

บ้านสันต้นหมื้อ

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

12.

เพียงหลวง 1 (บ้านท่าตอน)

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

13.

บ้านเวียงหวาย

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

14.

บ้านใหม่หนองบัว

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

15.

บ้านเหมืองแร่

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

16.

ไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก)

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

17.

บ้านขอบด้ง

สพป.เชียงใหม่ เขต 3

18.

สันป่าตอง (สุวรรณราษฏร์วิทยาคาร)

สพป.เชียงใหม่ เขต 4

19.

บ้านป่าตาล

สพป.เชียงใหม่ เขต 4

20.

บ้านพันตน

สพป.เชียงใหม่ เขต 4

21.

บ้านเหล่าเป้า

สพป.เชียงใหม่ เขต 4

22.

บ้านแม่วินสามัคคี

สพป.เชียงใหม่ เขต 4

23.

ชุมชนท่าข้าม

สพป.เชียงใหม่ เขต 5

24.

บ้านยางเปา

สพป.เชียงใหม่ เขต 5

25.

บ้านผุย

สพป.เชียงใหม่ เขต 5

26.

บ้านห้วยปูลิง

สพป.เชียงใหม่ เขต 5

27.

บ้านห้วยส้มป่อย

สพป.เชียงใหม่ เขต 6

28.

สันป่าตองวิทยาคม

สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)

29.

แม่ริมวิทยาคม

สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)

30.

อรุโณทัยวิทยาคม

สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)

31.

ดอยเต่าวิทยาคม

สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)

32.

มัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ

สพม. เขต 34 (เชียงใหม่)

(*เจ้าหน้าที่สำนักงาน ศธจ. ทบทวน/ยืนยันข้อมูลมายัง สพฐ. 10 มี.ค. 2562)

4. จังหวัดกาญจนบุรี (41 โรงเรียน)

1.

อนุบาลกาญจนบุรี

สพป.กาญจนุบรี เขต 1

2.

อนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

3.

วัดทุ่งลาดหญ้า"ลาดหญ้าวิทยา"

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

4.

บ้านห้วยน้ำขาว

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

5.

บ้านวังลาน

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

6.

บ้านวังสารภี

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

7.

บ้านพุเลียบ

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

8.

บ้านทุ่งนานางหรอกฯ

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

9.

เขาดินวิทยาคาร

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

10.

ตลาดสำรอง

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

11.

วัดหนองพังตรุ

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

12.

วัดอินทาราม"โกวิทอินทราทร"

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

13.

อนุบาลด่านมะขามเตี้ย

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

14.

อนุบาลศรีสวัสดิ์

สพป.กาญจนบุรี เขต 1

15.

วัดใหม่เจริญผล

สพป.กาญจนบุรี เขต 2

16.

บ้านหนองหิน

สพป.กาญจนบุรี เขต 2

17.

บ้านซ่อง

สพป.กาญจนบุรี เขต 2

18.

วัดใหม่ดงสัก

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

19.

บ้านวังสิงห์

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

20.

วัดปรังกำสี

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

21.

บ้านเกริงกระเวีย

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

22.

บ้านห้วยเสือ

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

23.

บ้านท่าดินแดง

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

24.

วัดวังก์วิเวการาม

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

25.

บ้านห้วยมาลัย

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

26.

อนุบาลสังขละบุรี

สพป.กาญจนบุรี เขต 3

27.

บ้านหนองกร่าง

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

28.

บ้านสามยอด

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

29.

บ้านตลุงเหนือ

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

30.

ราษฎร์บำรุงธรรม

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

31.

ชุมชนบ้านหนองฝ้าย

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

32.

บ้านหนองแกประชาสรรค์

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

33.

ป่าไม้อุทิศ 15 (บ้านม่วงเฒ่า)

สพป.กาญจนบุรี เขต 4

34.

กาญจนานุเคราะห์

สพม. เขต 8

35.

เทพมงคลรังษี

สพม. เขต 8

36.

ท่าม่วงราษฎร์บำรุง

สพม. เขต 8

37.

อุดมสิทธิศึกษา

สพม. เขต 8

38.

ทองผาภูมิวิทยา

สพม. เขต 8

39.

พังตรุราษฎร์รังสรรค์

สพม. เขต 8

40.

อบจ.กาญจนบุรี 1 (บ้านเก่าวิทยา)

อบจ.กาญจนบุรี

41.

เทศบาล 3 (บ้านบ่อ)

เทศบาลเมืองกาญจนบุรี

6. จังหวัดชายแดนภาคใต้ (79 โรงเรียน) 

6.1 ปัตตานี (26 โรงเรียน)

1.

อนุบาลปัตตานี

สพป.ปัตตานี เขต 1

2.

ยะหริ่ง

สพป.ปัตตานี เขต 1

3.

บ้านตือระ

สพป.ปัตตานี เขต 1

4.

บ้านตันหยงลุโละ

สพป.ปัตตานี เขต 1

5.

วัดสุวรรณากร

สพป.ปัตตานี เขต 1

6.

บ้านวัดมุจลินทวาปีวิหาร(เพชรานุกูลกิจ)

สพป.ปัตตานี เขต 1

7.

บ้านคาโต

สพป.ปัตตานี เขต 1

8.

มายอ (สถิตย์ภูผา)

สพป.ปัตตานี เขต 2

9.

บ้านประจัน

สพป.ปัตตานี เขต 2

10.

บ้านระแว้ง

สพป.ปัตตานี เขต 2

11.

นิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148

สพป.ปัตตานี เขต 2

12.

บ้านคลองช้าง (โคกโพธิ์ )

สพป.ปัตตานี เขต 2

13.

บ้านม่วงเตี้ย

สพป.ปัตตานี เขต 2

14.

บ้านโคกนิบง

สพป.ปัตตานี เขต 3

15.

บ้านช่องแมว

สพป.ปัตตานี เขต 3

16.

บ้านกะรุบี

สพป.ปัตตานี เขต 3

17.

เบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี

สพม. เขต 15 (ปัตตานี)

18.

บ้านเขาตูม

อบจ.ปัตตานี

19.

ตะบิงตีงี

อบจ.ปัตตานี

20.

ส่งเสริมศาสน์

สช. ปัตตานี

21.

ประสานวิทยามูลนิธิ

สช. ปัตตานี

22.

จิปิภพพิทยา

สช. ปัตตานี

23.

ซอลีฮียะห์

สช. ปัตตานี

24.

วรคามินอนุสรณ์

สช. ปัตตานี

25.

จงรักสัตย์วิทยา

สช. ปัตตานี

26.

ดรุณศาสน์วิทยา

สช. ปัตตานี

1.

นิบงชนูปถัมภ์

สพป.ยะลา เขต 1

2.

บ้านปอเยาะ

สพป.ยะลา เขต 1

3.

บ้านจาหนัน

สพป.ยะลา เขต 1

4.

บ้านบาตัน

สพป.ยะลา เขต 1

5.

บ้านรามัน

สพป.ยะลา เขต 1

6.

บ้านตะโละหะลอ

สพป.ยะลา เขต 1

7.

บ้านยะต๊ะ

สพป.ยะลา เขต 1

8.

บ้านปงตา

สพป.ยะลา เขต 1

9.

บ้านสะเอะ

สพป.ยะลา เขต 1

10.

บันนังสตาอินทรฉัตรมิตรภาพที่ 200 ที่ระลึก ส.ร.อ.

สพป.ยะลา เขต 2

11.

เขื่อนบางลาง

สพป.ยะลา เขต 2

12.

บ้านบาโงยซิแน

สพป.ยะลา เขต 2

13.

บ้านเกล็ดแก้ว (ซีเซะ)

สพป.ยะลา เขต 2

14.

บ้านบันนังดามา

สพป.ยะลา เขต 2

15.

บ้านลาแล

สพป.ยะลา เขต 2

16.

อนุบาลเบตง (สุภาพอนุสรณ์)

สพป.ยะลา เขต 3

17.

บ้านด่านสันติราษฎร์

สพป.ยะลา เขต 3

18.

บ้านตาเนาะแมเราะ

สพป.ยะลา เขต 3

19.

บ้านนิคมสร้างตนเองธารโต

สพป.ยะลา เขต 3

20.

ไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)

สพป.ยะลา เขต 3

21.

บ้านราโมง

สพป.ยะลา เขต 3

22.

บ้านอัยเยอร์เวง

สพป.ยะลา เขต 3

23.

บ้านศรีท่าน้ำ

สพป.ยะลา เขต 3

24.

บ้านปะเด็ง

สพป.ยะลา เขต 3

25.

บ้านจุโป

สพป.ยะลา เขต 3

26.

นิคมสร้างตนเองธารโต 5

สพป.ยะลา เขต 3

27.

บ้านวังใหม่(ประชาอุทิศ 2519)

สพป.ยะลา เขต 3

28.

บ้านบัวทอง

สพป.ยะลา เขต 3

29.

ศานติธรรม

สช. ยะลา

30.

สตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ

สช. ยะลา

6.3 นราธิวาส (23 โรงเรียน)


1.

บ้านมะนังกาหยี

สพป.นราธิวาส เขต 1

2.

บลูกาสนอ

สพป.นราธิวาส เขต 1

3.

บ้านบาตูมิตรภาพที่ 66

สพป.นราธิวาส เขต 1

4.

วัดราษฎร์สโมสร (ไพโรจน์วิทยา)

สพป.นราธิวาส เขต 1

5.

บ้านกลูบี

สพป.นราธิวาส เขต 1

6.

บ้านน้ำใส

สพป.นราธิวาส เขต 2

7.

บ้านตือมายู

สพป.นราธิวาส เขต 2

8.

บ้านหัวคลอง

สพป.นราธิวาส เขต 2

9.

บ้านสากอ

สพป.นราธิวาส เขต 2

10.

บ้านสุไหงโก-ลก

สพป.นราธิวาส เขต 2

11.

บ้านสะโล

สพป.นราธิวาส เขต 3

12.

บ้านน้ำหอม

สพป.นราธิวาส เขต 3

13.

บ้านตาโง๊ะ

สพป.นราธิวาส เขต 3

14.

บ้านปารี

สพป.นราธิวาส เขต 3

15.

สุไหงโก-ลก

สพม. เขต 15

16.

พิมานวิทย์นราธิวาส

สช. นราธิวาส

17.

เกษมทรัพย์

สช. นราธิวาส

18.

เจริญวิทยานุสรณ์

สช. นราธิวาส

19.

อัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์

สช. นราธิวาส

20.

เทศบาล  4 (บ้านทรายทอง)

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก นราธิวาส

21.

เทศบาล 3 (บ้านยะกัง)

เทศบาลเมืองนราธิวาส

22.

เทศบาล  4 (บ้านกำปงตาโก๊ะ)

เทศบาลเมืองนราธิวาส

23.

ตชด.บ้านไอร์บือแต

กก.ตชด.44  นราธิวาส


Written by: พิทักษ์ โสตถยาคม


  • ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

    ตามที่ สภาการศึกษามีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 โดยให้สำนักง...

  • ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

    เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 เวลา 12.30-15.30 น. ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. และคณะ พร้อมด้วยส...

  • ข้อ ใด คือ ภาคี เครือ ขาย ที่ สนับสนุน การพัฒนา พื้นที่นวัตกรรม

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรม...