ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ อาจจำแนกกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
     กลุ่มที่ให้ข้อมูลภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่ ลูกโลก ข้อมูลสถิติ แผนภาพ
     กลุ่มที่ใช้หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดระยะทางในแผนที่ เครื่องมือวัดพื้นที่ กล้องสามมิติ บารอมิเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ ไซโครมิเตอร์ ไฮโกรมิเตอร์ มาตรวัดลม เครื่องวัดน้ำฝน
     เครื่องมือเหล่านี้เราควรนำมาศึกษาให้เข้าใจ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาภูมิศาสตร์
1. เครื่องมือที่ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

   

1.1 ลูกโลก (globe)
     ลูกโลก คือ หุ่นจำลองของโลก สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ยาง พลาสติก เพื่อใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ ลูกโลกช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโลก ต่างจากแผนที่ที่ให้ข้อมูลในเชิงพื้นราบ โลกมีรูปร่างคล้ายผลส้ม

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

ลูกโลกแบ่งได้เป็น 2 แบบ แบบแรก คือ ลูกโลกที่แสดงส่วนที่เป็นพื้นผิวโลก เช่น แสดงส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร แสดงส่วนที่เป็นพื้นดิน ได้แก่ เกาะ ทวีป ประเทศ แบบที่สอง คือ ลูกโลกที่แสดงโครงสร้างภายในเปลือกโลก

1.2 ข้อมูลสถิติ

ข้อมูลสถิติ เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ข้อมูลที่รวบรวมไว้มีทั้งที่เป็นข้อความและตัวเลข ในทางภูมิศาสตร์นิยมแสดงข้อมูลสถิติไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1) ตารางสถิติ คือ แผนภูมิที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติอุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝนของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

2) กราฟและแผนภูมิ เขียนขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าของตัวแปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปรอื่น เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ เพราะจะช่วยให้การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลที่นำมาใช้มีความรวดเร็ว การเปรียบเทียบอัตราส่วนข้อมูลทำได้สะดวก และเข้าใจได้ง่าย มีหลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟรูปแท่ง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิรูปทรงกลม

3) แผนภาพ (diagram)

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

แผนภาพคือ รุปที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเรื่องราวทางภูมิศาสตร์บางอย่างเกิดขึ้นในอดีต เช่น การเกิดที่ราบ การทับถมของหินชั้น และปรากฏการณ์บางอย่างที่มองไม่เห็น เช่น วัฏจักรของน้ำ การเกิดลมบก-ลมทะเล การใช้แผนภาพอธิบายจะทำให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

2. เครื่องมือที่ใช้หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์

     2.1 เข็มทิศ (compass)

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

     เข็มทิศเป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้หาทิศทาง เข็มทิศมีหลายชนิดและหลายรูปแบบ แต่มีหลักการในการทำงานเหมือนกัน คือ เข็มบอกทิศ(เข็มแม่เหล็ก) ซึ่งแกว่งไกวได้อิสระ จะทำปฏิสัมพันธ์กับแรงดึงดูดของขั้วแม่เหล็กโลก โดยปลายข้างหนึ่งของเข็มบอกทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ และส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะชี้ไปทางทิศใต้เสมอ

     2.2 เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ (map measurer) เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับวัดระยะทางคดเคี้ยวไปมา และทำให้ค่าความคาดเคลื่อนน้อย ลักษณะของเครื่องมือประกอบด้วยลูกกลิ้งที่ปลายติดกับล้อที่เป็นหน้าปัดแสดงระยะทาง บนหน้าปัดมีเข็มเล็กๆคล้ายเข็มนาฬิกา เข็มจัวิ่งไปตามระยะที่ลูกกลิ้งหมุนไปมีด้ามสำหรับจับ

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

วิธีใช้ ใช้นิ้วหมุนลูกกลิ้งด้านหน้าให้เข็มบอกระยะทางเลื่อนไปที่ค่าศูนย์ วางเครื่องมือที่จุดเริ่มต้นวัดระยะทาง โดยถือให้ด้ามเอียง 45 องศากับแผนที่ และหันหน้าปัดเข้าหาตัว กลิ้งลูกกลิ้งไปตามเส้นทางที่ต้องการวัดจนถึงจุดสุดท้ายแล้วจึงอ่านค่าจากหน้าปัด

     2.3 เครื่องมือวัดพื้นที่ (planimeter) เครื่องมือวัดพื้นที่เป็นอุปกรณ์สำหรับหาพื้นที่ของรูปบนพื้นที่ระนาบ ซึ่งมีเส้นรอบรูปเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ส่วนประกอบของเครื่องมือได้แก่

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

          1) เลนส์ขยาย (tracer lens) ซึ่งมีจุดสีแดงหรือดำ (บางชนิดใช้เข็มแหลมแทนจุด) อยู่ตรงกลางเลนส์ เพื่อใช้เป็นจุดสังเกตขณะลากจุดหรือเข็มผ่านเส้นขอบพื้นที่ที่ต้องการหา

          2) แขนของเลนส์ขยาย (tracer arm) เป็นแขนที่สามารถปรับความสั้น-ยาวได้ตามมาตราส่วนของแผนที่ที่ใช้

          3) ก้อนถ่วงน้ำหนัก (anchor) เป็นก้อนน้ำหนักเพื่อถ่วงไม่ให้จุดที่วางเกิดการเคลื่อนที่

          4) แขนที่ต่อจากจุดศูนย์กลางของก้อนถ่วงน้ำหนัก (anchor arm)

          5) ล้อและมาตราวัดพื้นที่ (roller) เป็นส่วนที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ในขณะที่แขนของเลนส์ขยายกางออกหรือหุบเข้าในขณะที่ลากจุดหรือเข็มของเลนส์ขยายลากผ่านเขตพื้นที่ที่ต้องการหา

     วิธีใช้วางก้อนถ่วงน้ำหนักไว้ในตำแหน่งนอกรูปพื้นที่ที่จะหา โดยให้สามารถลากจุดหรือเข็มที่เลนส์ขยายผ่านเขตพื้นที่ (เส้นรอบรูป) ที่ต้องการวัดพื้นที่ได้สะดวก เมื่อจุดหรือเข็มเคลื่อนที่ไป แขนของเลนส์ขยายจะหุบเข้าหรือกางออก ส่งผลให้ล้อและมาตรวัดพื้นที่เคลื่อนที่ ซึ่งมาตรวัดพื้นที่จะแสดงค่ามาตรฐานของพื้นที่ที่วัดได้ และเมื่อจุดหรือเข็มถูกลากมาบรรจบในจุดเริ่มต้นมาตรวัดพื้นที่จะคำนวณระยะที่ผ่านออกมาเป็นค่าพื้นที่และแสดงค่าที่วัดได้บนหน้าปัด

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

     2.4 กล้องสามมิติ (stereoscope) เป็นเครื่องมือสำหรับมองภาพสามมิติ กล่าวคือ สามารถมองความสูง-ต่ำของภูมิประเทศในลักษณะสามมิติ ประกอบด้วยเลนส์ 2 อัน ซึ่งสามารถปรับให้เท่ากับระยะห่างของสายตาผู้มองได้ ในการมองจะต้องวางภาพให้อยู่ในแนวเดียวกันและต้องเป็นภาพที่ทำการถ่ายต่อเนื่องกัน ซึ่งแต่ละภาพจะมีรายขอบที่ทับกันหรือซ้อนกัน โดยพื้นที่ของภาพในแนวนอนให้ชายขอบของภาพมีพื้นที่ทับซ้อนกันประมาณร้อยละ 60 และในแนวตั้งร้อยละ 20 กล้องสามมิติที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิดคือ กล้องสามมิติแบบพกพา (poket stereoscope) สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ง่าย แต่ดูภาพได้บริเวณแคบๆ ส่วนอีกชนิดหนึ่ง คือ กล้องสามมิติแบบกระจกเงา (mirror atereoscope) โดยใช้กระจกเงาสะท้อนภาพทำให้เห็นได้เป็นบริเวณกว้างกว่ากล้องสามมิติแบบพกพา

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้
     วิธีใช้ วางภาพถ่ายคู่ที่มีหมายเลขเรียงลำดับกันลงบนพื้นราบ โดยให้รายละเอียดส่วนที่ของภาพที่ซ้อนทับกันให้อยู่ในแนวเดียวกัน แผ่นภาพอยู่ห่างกันประมาณ 6 เซนติเมตร วางกล้อมสามมิติลงบนภาพถ่าย เลื่อนแผ่นภาพที่ซ้อนทับด้านบนไปทางขวาหรือทางซ้าย เพื่อให้รายละเอียดที่ต้องการอยู่ในระยะสายตา จนกระทั่งมองเห็นภาพเป็นสามมิติตามที่ต้องการ

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

     2.5 บารอมิเตอร์ (barometer) เป็นเครื่องมือวัดความกดอากาศที่ใช้มากมี 3 ชนิด คือ

           1) บารอมิเตอร์แบบปรอท (mercury barometer) เป็นบารอมิเตอร์มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศ คือ มิลลิเมตรของปรอท และมิลลิบาร์

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

           2) บารอมิเตอร์แบบตลับ หรือแบบแอนิรอยด์ (aneroid barometer) ประกอบด้วยตลับโลหะบางๆ ที่สูบอากาศออกเกือบหมด ตรงกลางตลับมีสปริงต่อไปยังคานและเข็มชี้ เมื่อความกดอากาศเปลี่ยนแปลงตลับโลหะจะพองหรือแฟบลง ทำให้สปริงดึงเข็มชี้ที่หน้าปัดตามความกดอากาศ

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

           3) บารอกราฟ (barograph) ใช้หลักการเดียวกันกับบอรอมิเตอร์แบบตลับ แต่ต่อแขนปากกาให้ไปขีดบนกระดาษกราฟที่หุ้มกระบอกหมุนที่หมุนด้วยนาฬิกา จึงบันทึกความกดอากาศ

     2.6 เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิอากาศ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้

           1) เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดา (ordinary thermometer) ที่ใช้กันเสมอในการตรวจวัดอุณหภูมิประจำวัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ธรรมดาชนิดปรอทบรรจุอยู่ในหลอดแก้ว สามารถวัดอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง -20 ถึง 50 องศาเซลเซียส

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

2) เทอร์โมมิเตอร์สูงสุด (maximum thermometer) คือเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอทบรรจุอยู่ในหลอดแก้วเช่นเดียวกับเทอร์มิเตอร์ธรรมดา แต่แตกต่างกันตรงที่ว่าบริเวณลำเทอร์โมมิเตอร์เหนือกระเปาะบรรจุปรอทขึ้นมาเล็กน้อยจะเป็นคอคอดป้องกันปรอทที่ขยายตัวแล้วไหลกลับลงกระเปาะ ใช้วัดอุณหภูมิสูงสุด

3) เทอร์โมมิเตอร์ต่ำสุด (minimum thermometer) คือเทอร์โมมิเตอร์ชนิดเอทิลแอลกอฮอล์บรรจุในหลอดแก้ว มีก้านชี้รูปดัมบ์เบลล์ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตรบรรจุอยู่ ใช้วัดอุณหภูมิต่ำสุด

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

          4) เทอร์โมมิเตอร์แบบซิกซ์ (six's thermometer) ลักษณะเป็นหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุปรอทและแอลกอฮอล์ มีก้านชี้โลหะรูปดัมบ์เบลล์อหยู่ในหลอดข้างละ 1 อัน หลอดทางซ้ายบอกอุณหภูมิต่ำสุด หลอดทางขวาบอกอุณหภูมิสูงสุด อ่านอุณภูมิจากขอบล่าง

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้
     5.เทอร์โมกราฟ (thermograph)เป็นเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ เทอร์โมกราฟแบบโลหะประกบ ปกติจะนำไปรวมกับไฮโกรกราฟเป็นเครื่องเดียวกันเรียกว่า เทอร์โมไฮโกรกราฟส่วนอีกแบบหนึ่งเรียกว่า เทอร์โมกราฟชนิดปรอทบรรจุในแท่งเหล็ก เครื่องมือชนิดนี้สามารถวัดอุณหภูมิของดินได้ด้วย

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้
        2.7 ไซโครมิเตอร์ (psychormeter) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดความชื้นสัมพัทธ์และจุดน้ำค้างในอากาศ ประกอบด้วย เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน อันหนึ่งเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง อีกอันหนึ่งเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก ซึ่งมีผ้ามัสลินที่เปียกน้ำหุ้มกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ไว้ น้ำในผ้าจะระเหยไปในอากาศที่อยู่รอบๆ การระเหยเกิดจากความร้อนแฝงในตุ้มปรอท ทำให้ปรอทหดตัว เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียกจึงมีอุณหภูมิต่ำกว่าเทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง การระเหยของน้ำจากผ้ามัสลินมีส่วนสัมพันธ์กับความชื้นของอากาศที่อยู่โดยรอบ ถ้าอากาศอิ่มตัวน้ำจะไม่ระเหย อุณหภูมิตุ้มเปียกกับตุ้มแห้งจะเท่ากัน ถ้าอากาศแห้งจะเกิดการระเหยของน้ำจากผ้ามัสลิน อุณหภูมิตุ้มเปียกจะต่ำกว่าอุณหภูมิตุ้มแห้ง ถ้าอุณหภูมิตุ้มเปียกมีค่าใกล้เคียงอุณหภูมิตุ้มแห้งมากเท่าใด แสดงว่าความชื้นสัมพัทธ์มีค่ามาก นำค่าผลต่างของอุณหภูมิกับอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้งไปเปิดหาค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นร้อยละจากตาราง

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

       2.8 ไฮโกรมิเตอร์ (hygrometer) เป็นเครื่องมือวัดความชื้นอากาศแบบต่อเนื่องที่นิยมใช้กันมาก อุปกรณ์ที่สำคัญคือ เส้นผม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณความชื้นในอากาศ ถ้าความชื้นน้อยจะทำให้เส้นผมหดตัวสั้นลง ความชื้นมากเส้นผลจะขยายตัวยาวขึ้น การยืดหดตัวของเส้นผมจะส่งผลไปยังคันกระเดื่องซึ่งเป็นกลไกที่ต่อกับแขนปากกา ทำให้ปากกาที่อยู่ปลายแขนขีดไปบนกระดาษกราฟบอกความชื้นสัมพัทธ์ต่อเนื่องกันไป เครื่องไฮโกรมิเตอร์นี้อาจนำไปรวมกับเทอร์โมมิเตอร์ เรียกว่า เทอร์โมไฮโกรมิเตอร์

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

     2.9 มาตรวัดลม (anemometer) เป็นเครื่องมือวัดความเร็วของลม ที่นิยมใช้กันมากเป็นมาตรวัดลม แบบรูปถ้วย (cup annemometer) ประกอบด้วยลูกถ้วยทรงกรวย 3 หรือ 4 ใบ มีแขนยึดติดกันกับแกนซึ่งอยู่ในแนวดิ่ง และติดอยู่กับเครื่องอ่านความเร็ว ลูกถ้วยจะหมุนรอบเพลาตามแรงลม จำนวนรอบหมุนจะเปลี่ยนเป็นระยะทาง โดยมีหน่วยเป็นกิโลเมตรหรือไมล์ อ่านได้จากหน้าปัดของเครื่องอ่านความเร็ว 

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยให้เรารู้รายละเอียดบริเวณที่กว้างขวางได้

2.10 เครื่องวัดฝน (rain gauge) เครื่องวัดฝนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวัดปริมาณน้ำฝน โดยใช้อุปกร์ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกรวยต่อภาชนะรองรับ ภายในปากภาชนะรองรับมีขนาดแคบและพอดีกับกรวยเพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากการระเหย พื้นที่หน้าตัดของถังรองรับน้ำฝนมีขนาดตั้งแต่ 200-500 ตารางเซนติเมตร ปากถังมีลักษณะด้านในอยู่ในแนวตั้ง ส่วนด้านนอกจะลาดเอียงออกไป ด้านในของที่รับน้ำฝนถูกออแบบเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำฝนออกไปข้างนอก การวัดปริมาณน้ำฝนอาจใช้แวตวงหรือหย่อนไม้ที่มีมาตรวัดลงในขวดแก้วรับน้ำฝน

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีอะไรบ้าง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

ประโยชน์ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ – ใช้ในการสำรวจ การวัด บันทึก ค่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ เช่น การตรวจวัดสภาพอากาศ การวัดระยะทาง การสำรวจรังวัดทางวิศวกรรม การบันทึกภาพถ่ายทางอากาศ การสำรวจข้อมูลด้วยดาวเทียม เป็นต้น

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้มาก

แผนที่ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่มีความสาคัญต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเรียนวิชานี้ต้องกล่าวถึงสถานที่ที่มีขนาดต่างกันทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มุนษย์สร้างขึ้นตลอดจน ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก และสิ่งที่จะสามารถนามาใช้อธิบายสภาพพื้นที่ สถานที่ได้ดีที่สุด คือ แผนที่

ข้อใดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ทําหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทั้งหมด

ประเภทที่1เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นสื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ สื่อความรู้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึงวัสดุ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ให้ความรู้ สำหรับการศึกษาเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ อาจอยู่ในรูปของตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ แบบจำลอง สื่อดิจิทัล เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ตัวอย่างเครื่องมือเหล่านี้ เช่น ตำรา ...