ข้อใดเป็นสถาบันการเงินที่เรียกว่า “ธนาคารกลาง”

    สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่  ธนาคาร  และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

     1.  ธนาคาร
          1.1  ธนาคารกลาง  หมายถึง  สถาบันทางการเงินของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของประเทศ  ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาล  ไม่ได้แสวงหาผลกำไรเป็นผลตอบแทนเหมือนกับธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย
          1.2  ธนาคารพาณิชย์  หมายถึง  ธนาคารที่ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายเงินคืนเมื่อต้องทวงถาม  หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้  รวมทั้งให้กู้ยืมหรือสินเชื่อแก่ประชาชน  ให้บริการซื้อขายตั๋วแลกเงิน  หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
          1.3  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เป็นพิเศษ  ได้แก่
               1)  ธนาคารออมสิน  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป  โดยเฉพาะผู้มีเงินออมรายย่อย  ออกพันธบัตร  สลากออมสิน  รับฝากเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสงเคราะห์ชีวิตและการศึกษาโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ  และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น  ปล่อยเงินกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในวงเงินต่ำ  คนทั่วไปจึงเรียกว่า  ธนาคารคนจน
               2)  ธนาคารอาคารสงเคราะห์  เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม  เพื่อนำไปซื้อที่ดินหรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง  หรือซ่อมแซมต่อเติม  ไถ่ถอนการจำนองที่ดินและอาคาร  หรือเพื่อการลงทุนในกิจการการเคหะ  พร้อมกับรับฝากเงินของประชาชนทั่วไปด้วย
               3)  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  สังกัดกระทรวงการคลัง  ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่เกษตรกร  กลุ่มเกษตรกร  หรือสหกรณ์การเกษตร  ในรูปของการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  เพื่อนำไปลงทุนด้านการเกษตร

     2.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
          2.1  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด  มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด  คือ  ระดมาเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน
          2.2  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมเอกชน
          2.3  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน
          2.4  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดิน  สร้างบ้านหรือผ่อนส่ง
          2.5  บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต  เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้  สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์  และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน  ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย
          2.6  สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือเพื่อช่วยเหลือชุมชน  หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน  จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง  หรือชุมชน
          2.7  โรงรับจำนำ  เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม  มี 3 ประเภท  คือ  โรงรับจำนำเอกชน  โรงรับจำนำของกรมประชาสงคราะห์  โรงรับจำนำของเทศบาล  ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป  โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

ที่มา : http://together1711.wordpress.com/ประเภทของสถาบันการเงิน/

         http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1918-00/

ธนาคารกลาง คือ หน่วยงานกลางที่ดูแลในเรื่องเกี่ยวนโยบายการเงินของประเทศแต่ละประเทศ หน้าที่ของธนาคารกลาง จะเป็นเหมือน ธนาคารของธนาคาร ที่คอยควบคุมธนาคารและสถาบันการเงินที่อยู่ในอำนาจการควบคุมของธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ

ดังนั้น ธนาคารกลาง (Central Bank) จะไม่ทำธุรกรรมกับประชาชนโดยตรง แต่จะทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมเท่านั้น ซึ่งหน้าที่ของธนาคารกลางของธนาคารกลางทุกประเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

  1. กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ (Monetary Policy) เพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ
  2. กำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศ เพื่อคุ้มครองประชาชน

ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ Bank of Thailand (BoT) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “แบงค์ชาติ”

นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลาง (Central Bank) คือหน่วยงานที่คอยควบคุมเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Monetary Policy) ในแต่ละประเทศ นั่นหมายความว่าทุกประเทศมีธนาคารกลาง โดยธนาคารกลาง (Central Bank) ของประเทศที่สำคัญในเศรษฐกิจโลกมีดังนี้

  • Bank of Japan (BoJ) – ญี่ปุ่น
  • Federal Reserve System (Fed) – สหรัฐอเมริกา
  • European Central Bank (ECB) – ประเทศกลุ่มยูโรโซน
  • Bank of England (BoE) – อังกฤษ
  • Deutsche Bundesbank – เยอรมัน
  • People’s Bank of China (PBoC) – จีน
  • Reserve Bank of Australia (RBA) – ออสเตรเลีย

หน้าที่ของธนาคารกลาง

อย่างที่บอกไว้ว่า หน้าที่ของธนาคารกลาง ของธนาคารกลาง (Central Bank) ทุกประเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มาดูกันว่าในแต่ละหน้าที่ของ ธนาคารกลาง ดูแลเกี่ยวกับอะไรบ้าง

กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ(Monetary Policy) มีเป้าหมายเพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน และการออกนโยบายทางการเงินอื่นๆ

โดยหน้าที่ที่คุ้นเคยกันดีในส่วนนี้ของ ธนาคารกลาง คือ การควบคุมเพิ่ม/ลด/คงที่ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ที่เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงของประเทศ 

กำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศ มีเป้าหมายในการคุ้มครองประชาชนจากสถาบันการเงิน (เป็นเหมือนตำรวจที่คอยคุมธนาคารกับสถาบันการเงิน) เช่น การออกกฎต่างๆ เกี่ยวกับธนาคารในประเทศ การควบคุมการให้กู้ หรือแม้กระทั่งจะสั่งปิดสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีความผิด

การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่พบได้บ่อยของ ธนาคารกลาง คือ การควบคุมเงื่อนไขเกี่ยวกับสินเชื่อต่างๆ เพื่อทำให้ธนาคารพานิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อมากเกินไป และประชาชนไม่ก่อหนี้มากเกินไป

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในส่วนของธนาคารกลางของไทย หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) มีหน้าที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551

กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน ได้แก่ รับฝาก ควบคุมอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงินสำหรับสถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคตเพื่อควบคุมปริมาณเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร โดยมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์

กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ด้วยการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงาน ไปจนถึงการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน

บริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมถึงการบริหารสินทรัพย์ในทุนสำรอง

ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน รวมถึงทำให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง เป็นตัวแทนรัฐบาลในการซื้อขายหลักทรัพย์และสินทรัพย์ต่างๆ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เหมือนธนาคารของธนาคาร เช่น ให้กู้ยืมเงิน ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ ของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงสามารถสั่งให้ส่งรายงานหรือชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพัน

หน้าที่ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยแบบสรุปได้ที่เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทยอ้างอิงจาก: บทบาทหน้าที่ ธปท.

นอกจากนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fed หรือ Federal Reserve System ที่เป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้ที่: Fed Rate คืออะไร? ทำไมสำคัญกับประเทศอื่น

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter