ชนชาติใด เป็นเจ้าของถิ่นเดิมในชมพูทวีป

ชมพูทวีป เป็นดินแดนที่กําหนดหมายด้วยต้นหว้าในครั้งดึกดําบรรพ์ มีพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ดินแดนประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน และภูฏาน ในปัจจุบันนี้

ชมพูทวีป เป็นดินแดนที่มีพื้นที่อยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีความเจริญสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แบ่งลักษณะทางภูมิศาสตร์ออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. มัชฌิมชนบท หรือมัธยมประเทศ เป็นที่ตั้งแห่งพระนครใหญ่ๆ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ เจริญด้วยการค้า การศึกษา มีประชาชนและนักปราชญ์ราชบัณฑิตอาศัยอยู่มากมาย

๒. ปัจจันตชนบท คือเขตแดนรอบนอกมัชฌิมชนบทออกไป ทิศตะวันออกจรดมหาศาลนคร ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดแม่น้ำสัลลวดี ทิศใต้จรดหมู่บ้านเสตกัณณิกะนิคม ทิศตะวันตกจรดหมู่บ้านถูนคาม ทิศเหนือจรดภูเขาอุสีรธชะ

ประชาชนในชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ ชนชาติ

๑. ชาวอริยกะ ไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเฉียบแหลม เจริญด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวิทยา ต่างๆ

๒. ชาวมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิม มีการศึกษาน้อย อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาแต่เดิมก่อนพวกอริยกะจะย้ายเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐาน มีความเจริญในระดับหนึ่ง มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีในการปกครอง

ชาวอริยกะ ได้อพยพจากดินแดนทางตอนเหนือ ข้ามเทือกเขาหิมาลัยรุกไล่ชาวมิลักขะให้ถอยร่นลงมาทางใต้ของชมพูทวีป แผ่ขยายอํานาจ เข้ายึดครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์แทน ภายหลังกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน เช่น อารยธรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกดินแดนที่ชาวอริยกะปกครองว่า มัชฌิมชนบท หรือมัธยมประเทศ เรียกดินแดนที่ชาวมิลักขะย้ายไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ว่า ปัจจันตชนบท

หลังจากชาวอริยกะเข้าปกครองมัธยมประเทศแล้ว ได้แบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นใหญ่ ๑๖ แคว้น คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจมี วังสะ กรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ นอกจากนี้ ยังมีแคว้นเล็กอีก ๕ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ อังคุตตราปะ แต่ละแคว้นมีการปกครองแตกต่างกันไป แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์บ้าง แบบสามัคคีธรรมบ้าง

วรรณะ ๔

การปกครองในสมัยนั้น ถ้าผู้ปกครองมีอํานาจมาก ก็สามารถแผ่ขยายอาณาเขตของตนออกไปได้มาก ถ้าผู้ปกครองเสื่อมอํานาจ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของผู้อื่น ถูกจับเป็นเชลยหรือตกเป็นทาส ทําให้เกิดการรังเกียจกัน เป็นสาเหตุการแบ่งชนชั้น เรียกว่า วรรณะ ชาวชมพูทวีปในยุคนั้น จึงถูกแบ่งออกเป็น ๔ ชนชั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

กษัตริย์ หมายถึง ชนชั้นเจ้า ถือเป็นชนชั้นสูง ได้แก่ นักรบ นักปกครอง เสนาอํามาตย์ต่างๆ ศึกษาเรื่องยุทธวิธี มีหน้าที่ปกป้องรักษาและบริหารบ้านเมืองให้มีความสุข

พราหมณ์ หมายถึง เจ้าลัทธิ ถือเป็นชนชั้นสูงเช่นเดียวกับกษัตริย์ ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์ ศึกษาเรื่องศาสนา คัมภีร์พระเวท และวิทยาการต่างๆ มีหน้าที่สั่งสอนศิลปวิทยาการ และประกอบพิธีกรรมตามลัทธิของตน ตลอดจนให้คําปรึกษาแก่กษัตริย์

แพศย์ หมายถึง พลเรือนทั่วไป ถือเป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า ศึกษาเรื่องศิลปะ กสิกรรม และพาณิชยกรรม มีหน้าที่ทํานา ค้าขาย และฝีมือทางการช่าง

ศูทร หมายถึง คนใช้แรงงาน ถือเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่ กรรมกร คนรับใช้ ข้าทาส มีหน้าที่ในการรับจ้างและทํางานทั่วไป

กษัตริย์เป็นวรรณะสูงสุด แต่พวกพราหมณ์ก็ถือว่าตนมีวรรณะสูงเช่นเดียวกัน คนเหล่านั้น สําคัญตนว่าสูงกว่าวรรณะอื่น มีมานะถือตัวจัด รังเกียจคนวรรณะต่ำลงมา ไม่ยอมสมรสเป็นสามีภรรยา ไม่คบหาสมาคม ไม่ร่วมกินร่วมนอนด้วย เพราะฉะนั้น กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี จึงสมรสกันแต่ในพวกของตนเท่านั้น หากสมรสกับคนต่างวรรณะ เช่น พราหมณ์สมรสกับศูทร มีบุตรออกมา จัดเป็นอีกจําพวกหนึ่ง เรียกว่า จัณฑาล บุตรที่เกิดจากมารดาบิดาต่างวรรณะกันเช่นนี้ ถือเป็นชนชั้นต่ำสุด เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของคนวรรณะอื่น

ลัทธิความเชื่อของคนในยุคนั้น สรุปลงเป็น ๒ อย่าง คือ พวกหนึ่งเชื่อว่าตายแล้วเกิด อีกพวกหนึ่งเชื่อว่าตายแล้วสูญ

พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิด แบ่งออกไปอีก ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าชาตินี้เกิดเป็นอะไร ตายแล้วเกิดใหม่ ก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่เช่นเดิม ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าชาตินี้เกิดเป็นอะไร ตายแล้วเกิดใหม่ ย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้

พวกที่ถือว่าตายแล้วสูญ ก็แบ่งออกไปอีก ๒ ฝ่ายเหมือนกัน คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ตายแล้วสูญทุกสิ่งทุกอย่าง อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ตายแล้วสูญเฉพาะบางสิ่งบางอย่าง

แสดงความคิดเห็น

ที่มา : สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

ป้ายคำ : ธรรมศึกษา

แชร์บนเฟซบุคแชร์บนทวิตเตอร์

บทความก่อนหน้า

[๘๔] เรื่องพระฉัพพัคคีย์

บทความถัดไป

บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก

ชนชาติใด เป็นเจ้าของถิ่นเดิมในชมพูทวีป

ผู้เขียนเว็บไซต์พุทธะ

คำว่า “พุทธะ” นอกจากจะหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังหมายถึง การเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยการปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย

ลักษณะของสังคมชมพูทวีปฯ

สาระสำคัญ
สังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้ามีคติความเชื่อทางศาสนาที่มุ่งแสวงหาทางหลุดพ้นอย่างหลากหลาย

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. วิเคราะห์ลักษณะสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาลได้
2.ใฝ่เรียนรู้ มั่งมั่นในการทำงาน
ลักษณะสังคมของชมพูทวีป
สังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาลมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ด้านการเมือง
ชมพูทวีป หมายถึงประเทศอินเดียในปัจจุบัน สมัยพุทธกาลมีชนชาติมิลักขะเป็นเจ้าถิ่นเดิม ต่อมาได้ถูกชนชาติอริยกะเข้าปกครอง มีการแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ แต่ละแคว้นเรียกว่า ชนบท เฉพาะเขตที่มีอาณากว้างขวางเรียกว่า มหาชนบท ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น 2 ส่วน1 คือ
(1) ส่วนกลางเรียกว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นเขตที่อยู่ของชนชาติ อาริยกะ
(2) ส่วนที่อยู่ภายนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอกหรือปัจจันตประเทศ เป็นเขตที่อยู่ของชนชาติ มิลักขะ
แคว้นในสมัยพุทธกาล
แคว้นต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นมัชฌิมชนบท เป็นเขตที่มีความรุ่งเรืองในสมัยนั้น ประกอบด้วย
แคว้นใหญ่ ๆ 16 แคว้น คือ
(1) แคว้นอังคะ มีเมืองหลวงชื่อจัมปา
(2) แคว้นมคธ มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์
(3) แคว้นกาสี มีเมืองหลวงชื่อพาราณสี
(4) แคว้นโกศล มีเมืองหลวงชื่อสาวัตถี
(5) แคว้นวัชชี มีเมืองหลวงชื่อเวสาลี , ไพศาลี
(6) แคว้นมัลละ มีเมืองหลวงชื่อกุสินารา , ปาวา
(7) แคว้นเจตี มีเมืองหลวงชื่อโสตถิวดี
(8) แคว้นวังสะ มีเมืองหลวงชื่อโกสัมพี
(9) แคว้นกุรุ มีเมืองหลวงชื่ออินทปัตถ์ , ปัตถะ
(10) แคว้นปัญจาละ มีเมืองหลวงชื่อหัสดินปุระ , กัมปิลละ
(11) แคว้นมัจฉะ มีเมืองหลวงชื่อสาคละ
(12) แคว้นสุรเสนะ มีเมืองหลวงชื่อมถุรา
(13) แคว้นอัสสกะ มีเมืองหลวงชื่อโปตลิ
(14) แคว้นอวันตี มีเมืองหลวงชื่ออุชเชนี
(15) แคว้นคันธาระ มีเมืองหลวงชื่อตักสิลา
(16) แคว้นกัมโพชะ มีเมืองหลวงชื่อทวารกะ
และยังมีแคว้นเล็กแคว้นน้อย 5 แคว้น คือ
แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ
แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อสุงสุมารคีรี
แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
แคว้นอังคุตราปะ มีเมืองหลวงชื่อ อาปณะ

แผนที่แสดงแคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป (อินเดียโบราณ)
2. ด้านการปกครอง
ระบบการปกครองของแคว้นต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
2.1 การปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช หมายถึงการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุขมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่มีปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาและยึดอุดมการณ์ ที่จะปกครองโดยธรรมมีรัชทายาทสืบสันติวงค์ แคว้นที่ปกครองด้วยระบบนี้คือ แคว้นมคธ แคว้นโกศล แคว้นอวันตี เป็นต้น
2.2 การปกครองแบบสามัคคีธรรม เป็นการปกครองที่จัดทำโดยรัฐสภา กษัตริย์ไม่มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีตำแหน่งรัชทายาท มีประมุขรัฐสภาดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาที่กำหนดหรือมีคณะกรรมการบริหารซึ่ง เลือกจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ ๆ ในชนบท(เมือง) นิคม(อำเภอ) คาม(ตำบล)ลักษณะการปกครองแบบนี้คล้ายกับการปกครองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน แคว้นที่ปกครองแบบนี้เช่น แคว้นวัชชี
3. ด้านสังคม
อินเดียในสมัยชมพูทวีปแบ่งชนชั้นเป็น 4 วรรณะคือ
(1) วรรณะพราหมณ์ คือพวกที่ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ทำพิธีกรรมทางศาสนา
(2) วรรณะกษัตริย์ คือพวกเจ้าหรือชนชั้นปกครอง นักรบ มีหน้าที่รักษาบ้านเมือง
(3) วรรณะแพศย์หรือไวศยะ คือประชาชนส่วนใหญ่ที่มีหน้าที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น กสิกรรม พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปกรรม ศิลปหัตถกรรม ต่อมามักจะหมายถึงพ่อค้า
(4) วรรณะศูทร คือพวกกรรมกรผู้ใช้แรงงาน มีหน้าที่รับจ้างทั่วไป
นอกจากนี้ยังมีชนชั้นต่ำอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนนอกวรรณะเพราะกำเนิดมาจาก บิดา มารดา ที่ถือวรรณะต่างกัน พวกนี้จะถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่น ไม่มีสิทธิ ใด ๆ ในสังคม ระบบของอินเดียนี้ถือว่ากำหนดไว้ตายตัวโดยพระผู้เป็นเจ้า คนเกิดในวรรณะใดย่อมมีลัทธิและแนวทางดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนที่ได้วางไว้ จะขัดขืนไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม แม้การศึกษาหรือการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้ พฤติกรรมเช่นนี้เปลี่ยนไปเมื่อมีพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาของคนในสังคมทุกระดับและเปิดโอกาสให้คน ทุกวรรณะบวชได้
4. ด้านลัทธิความเชื่อ
คนในสังคมอินเดียสมัยพุทธกาลจะนับถือเทพเจ้าที่อยู่ในศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติจึงอยู่บนพื้นฐานของคำสอนทางศาสนาพราหมณ์ดังนี้
4.1 เชื่อในเรื่องการล้างบาป อินเดียในสมัยชมพูทวีปเชื่อถือเรื่องการล้างบาป โดยเฉพาะในแม่น้ำคงคา ซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากสวรรค์คือภูเขาหิมาลัย เมื่อได้ดื่มหรืออาบจะได้บุญมาก ความชั่วที่ทำไว้ทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกายและ ใจ เมื่อมีพระพุทธเจ้าความเชื่อเหล่านี้ก็จางไป เพราะพระองค์ตรัสว่าการล้างบาปวิธีนี้ ล้างได้แต่กายไม่ได้ล้างใจด้วย
4.2 ความเชื่อเกี่ยวกับโลกและชีวิต2
4.2.1 ความเชื่อเรื่องการเกิดการตาย
(1) เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
(2) เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกแต่ไม่เหมือนเดิม
(3) เชื่อว่าตายแล้วสูญหายหมด
(4) เชื่อว่าตายแล้วสูญหายส่วนหนึ่ง
4.2.2 ความเชื่อเรื่องสุขและทุกข์
(1) เชื่อว่าสุขทุกข์ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย พวกนี้จะไม่ขวนขวายทำความดี รอโชคชะตาแล้วแต่จะเป็นไป
(2) เชื่อว่าสุขทุกข์เกิดจากเหตุและปัจจัย พวกนี้ถือว่าสุขทุกข์เกิดจากเหตุภายนอก จึงนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้สิ่งที่คิดว่าจะบันดาลให้เกิด สุขทุกข์ได้ กับพวกที่เชื่อว่าสุขทุกข์มีสาเหตุมาจากกรรม ก็พยายามละเว้นกรรมที่ก่อให้เกิดทุกข์แล้วทำกรรมที่เป็นเหตุให้เกิดสุข
4.2.3 ความเชื่อในการแสวงหาสัจธรรม จากสภาพการแบ่งชั้นวรรณะและความยากจนซึ่งมีการดูหมิ่นเหยียดหยามและเอา เปรียบกัน ทำให้คนบางกลุ่มเกิดการเบื่อหน่ายและมีความทุกข์จึงคิดหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะปลีกตัวออกไปหารูปแบบชีวิตแปลก ๆ ด้วยการทรมานตัวเอง ตั้งตนเป็นเจ้าของลัทธิ ถือเพศเป็นผู้แสวงหาทางหลุดพ้น เช่น ปริพาชก ชฎิล สมณะ เป็นต้น

5. ด้านศาสนา
พื้นฐานทางศาสนาของอินเดียในสมัยชมพูทวีป เป็นศาสนาพราหมณ์มีการเชื่อถือเกี่ยวกับการเวียนเกิด เวียนตายของวิญญาณ การแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ มักจะมีอยู่ 2 ทาง3 คือ
5.1 กามสุขัลลิกานุโยค คือการหมกหมุ่นเสพสุขทางกามารมณ์ โดยถือว่ากามสุขนั้นเป็นเครื่องหลุดพ้น
5.2 อัตตกิลมถานุโยค คือ การทำตนให้ลำบากด้วยการบำเพ็ญตบะรวมทั้งการทรมานตนตามแบบโยคี
ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาหมายถึง การปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์และเพื่อ พระสงฆ์ ซึ่งเป็นการปกครองที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ต่อบ้านเมืองเท่าเทียมกันเป็นการปกครองโดยใช้หลักเสียง ข้างมาก ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา ได้มีมาพร้อมกับพระพุทธเจ้าซึ่งใช้หลักการเดียวกันโดยแฝงอยู่ในแนวปฏิบัติ ของหลักคำสอน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
1. พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่พระสงฆ์ ในการทำสังฆกรรมและการมอบอำนาจให้แก่พระสงฆ์ในการทำการอุปสมบท
2. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นประโยชน์สูงสุดเช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมของภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่จะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญเช่น การปฏิบัติตามศีล 227 ข้อ
3. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย เช่น ไม่ว่าคนในวรรณะใดเมื่อมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วทุกคนเท่าเทียมกันหมด
4. การตัดสินปัญหาที่มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องต่าง ๆ ของภิกษุจะใช้ เยภุยยสิกา คือใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน
5. ภิกษุทุกรูปมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมประชุมทั้งการแสดงความคิดเห็นที่คัดค้านและเห็นด้วยทุกครั้งไป
6. พระพุทธเจ้ามิได้ใช้อำนาจในฐานะพระศาสดาเข้ามาแทรกแซงในการกระทำต่าง ๆ4 แต่มีการแบ่งอำนาจ คือ พระเถระผู้ใหญ่ปกครองหมู่คณะ โดยมีพระวินัยธร ซึ่งทำหน้าที่ตัดสินคดี (วินิจฉัยอธิกรณ์) เช่นเดียวกับศาล

ที่มาของรูปภาพ:http://www.google.co.th/=img.1.0.0i19/10.139.

แหล่งอ้างอิง
วิถีธรรมวิถีไทย:อาจารย์อมร สังข์นาค, วิทยาลัยเทคนิคนครนายก
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4:วิทย์ วิศทเวทย์
และ เสฐียรพงษ์ วรรณปก.อักษรเจริญทัศน์,2553.

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ชนชาติที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมีกี่จำพวก

การแบ่งชนชั้นทางสังคม คัมภีร์พระเวทระบุไว้ว่า ชนชั้นต่างๆ ในสังคมชมพูทวีปแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้นด้วยกัน แต่ละชนชั้น เรียกว่า วรรณะ แต่ละวรรณะมีรายละเอียดดังนี้ ๑. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากปากของพระพรหม เป็นนักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา สีขาวคือสีประจำวรรณะ ๒. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากแขนของพระพรหม เป็น ...

ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร

ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ? (๒๕๕๓) ตอบ : สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียม มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงมาทางใต้แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน ฯ

พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด

- พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

ชนชาวมิลักขะอาศัยอยู่ส่วนใดของชมพูทวีป

ทราวิฑะ, มิลักขะ, ดราวิเดียน ภูมิภาค: เอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในอินเดียใต้และศรีลังกา