มาตรการ ของ นโยบาย การคลัง ข้อใด เป็นการ กระตุ้น ภาวะ เศรษฐกิจ

นโยบายก​​​​ารเงิน


หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางทุกแห่งคือ การกำหนดนโยบายการเงิน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในกรณีของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) โดยให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ควบคู่ไปกับการดูแลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน 

ประโยชน์ของการรักษาเสถียรภาพด้านราคา

ธปท. เน้นดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ค่าของเงินหรืออำนาจซื้อของประชาชนลดลง โดยเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้น หรือสินค้ามีราคาแพงขึ้น เงินที่อยู่ในมือของประชาชนจะซื้อสินค้าได้ในปริมาณน้อยลง ซึ่งเมื่อมองในแง่นี้ เงินเฟ้อจึงเป็นเหมือนสิ่งที่ฉุดให้ประชาชนทั้งประเทศยากจนลง นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงหรือผันผวนจนเกินไปยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วย เพราะส่งผลให้การคาดการณ์ราคาสินค้าในอนาคตเพื่อประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจตลอดจนวางแผนการบริโภคและการออมของประชาชนทำได้ยาก ในทางกลับกัน อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเกินไปจนติดลบ หรือที่เรียกว่าภาวะเงินฝืด ก็ไม่เป็นผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด ประชาชนและธุรกิจจะคาดว่าราคาสินค้ามีโอกาสปรับลดลงอีกในระยะต่อไป จึงไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจบริโภคและลงทุนในปัจจุบัน

กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น

ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ธนาคารกลางในหลายประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นกรอบนโยบายที่เอื้อให้เกิดวินัยในการดูแลเสถียรภาพราคา ผ่านการประกาศเป้าหมายเงินเฟ้อที่ชัดเจน ตลอดจนให้ความยืดหยุ่นต่อการดำเนินนโยบายการเงินในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืน รวมถึงจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ ต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ทั้งนี้ การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่นโยบายการเงินต้องพยายามบรรลุเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้นโยบายการเงินมีความชัดเจน (clarity) โปร่งใส (transparency) และสามารถตรวจสอบได้ (accountability) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นโยบายมีความน่าเชื่อถือ (credibility) และช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

การตัดสินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้เต็มศักยภาพและยั่งยืน กนง. ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 ท่าน ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามที่กฎหมายกำหนด จะประชุมกันปีละ 6 ครั้ง โดยมีการวางกำหนดการประชุมล่วงหน้าหนึ่งปี ในการประชุมแต่ละนัด กนง. จะประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงิน ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ พร้อมทั้งพิจารณาประมาณการแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ตลอดจนความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน เพื่อตัดสินใจขึ้น/คง/ลด อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และแจ้งผลการประชุม กนง. ให้สาธารณชนทราบในช่วงบ่ายของวันที่มีการประชุม 

การสื่อสารผลกา​รตัดสินนโยบายการเงิน

เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจแนวคิดและมุมมองของ กนง. เกี่ยวกับภาวะและแนวโน้มของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงเหตุผลของการตัดสินนโยบายการเงินอย่างละเอียด ธปท. จึงได้จัดทำและเผยแพร่รายงานการประชุม กนง. ฉบับย่อ หลังการประชุมผ่านไปแล้วสองสัปดาห์ รวมถึงจัดทำและเผยแพร่ รายงานนโยบายการเงิน เป็นประจำทุกไตรมาสอีกด้วย

ความหมายของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

กนง. ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ในปัจจุบันคืออัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีระยะ 1 วัน) เป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงิน ตามปกติแล้ว การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นการส่งสัญญาณของ กนง. ว่า มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปจะเร่งตัวขึ้นสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่กำหนดไว้ และ/หรือ เศรษฐกิจเติบโตเกินกว่าศักยภาพ ดังนั้น จึงปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและฉุดเงินเฟ้อให้ชะลอลง ในทางตรงกันข้าม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นการส่งสัญญาณของ กนง. ว่ามีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปอาจอยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย และ/หรือ เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ ดังนั้น จึงปรับดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ 

ในการพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงิน กนง. จะให้ความสำคัญต่อเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ได้กำหนดไว้ พร้อมทั้งชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียของการดำเนินนโยบายการเงิน (policy trade-off) แต่ละทางเลือก เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างเป้าหมายด้านเสถียรภาพราคา การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพระบบการเงินอย่างเหมาะสม โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ควรอยู่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความเสี่ยงในภาคการเงิน ซึ่งอาจเป็นต้นตอให้เกิดวิกฤตการเงินได้ ในขณะเดียวกัน หากภาคการเงินประสบปัญหา เช่น การขยายตัวของสินเชื่อชะลอลงรุนแรง กนง. อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ภาคการเงินกลับมาทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ

การกำหนดเป้าหมา​​ยของนโยบายการเงิน

การดำเนินนโยบายการเงินของ กนง. ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น ให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับการดูแลการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน โดย กนง. จะพิจารณารักษาความสมดุลของเป้าหมายด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และมีความพร้อมที่จะใช้เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีอยู่สนับสนุนให้ระดับราคามีเสถียรภาพและเป็นไปตามเป้าหมายและเศรษฐกิจของประเทศเติบโตเต็มศักยภาพและยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิดความเปราะบางต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

ทั้งนี้ ในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี กนง. จะต้องทำความตกลงร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนที่รัฐมนตรีจะนำเสนอเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลาง และสำหรับปี 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วงดังกล่าวเป็นระดับที่เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจาก (1) แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าและในระยะปานกลางจะเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics)  (2) สามารถยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อของสาธารณชนได้ดี โดยในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่กำหนด (well-anchored) และ (3) เป้าหมายแบบช่วงที่มีความกว้างร้อยละ 2 เอื้อต่อการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอในการรักษาเสถียรภาพราคา การขยายตัวของเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงิน

"ในการดำเนินนโยบาย แบงก์ชาติไม่สามารถดำเนินการทุกอย่างได้เพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องประสานนโยบายในเชิงเศรษฐกิจมหภาคกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของประเทศ" ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรการของนโยบายการคลังใดเป็นการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ

นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ

นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องใด

นโยบายการคลัง เป็นนโยบายที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรและการใช้จ่ายของ รัฐบาล ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น กรณีเกิดปัญหาการว่างงาน ภาวะ เงินเฟ้อ ตลอดจนราคาสินค้าสูงหรือต ่าเกินไป โดยมีมาตรการในการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ทั้ง ทางด้านเพิ่มหรือลดอัตราภาษี การเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล ...

เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังแบบใด

ในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลควรกระตุ้นโดยด าเนินนโยบายขาดดุล ทางการคลัง คือ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือลดอัตราภาษี หรือทั้งสอง อย่างรวมกัน แต่หากเศรษฐกิจมีภาวะเฟื่องฟูหรือขยายตัวมากเกินไป จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ

นโยบายการคลังคืออะไร และมีความสําคัญต่อการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจอย่างไร

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง