เหตุการณ์ใด เป็นเหตุการณ์แรกที่ทำให้เกิดการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรธนบุรี

20 การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรธนบุรี
 สมัยธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 - 2325ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
 การกอบกู้เอกราช
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย" และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310

ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี

การรวมชาติและการขยายตัว(ของอาณาจักรกรุงธนบุรี)
ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311 เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองราม เป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์ทรงโปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ ชุมนุมฝางจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรธนบุรี

การสิ้นสุด
กรุงธนบุรี มีอายุเกือบ 15 ปี ก็เกิดเหตุจลาจลในปลายรัชกาลของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือ พระยาสรรค์ได้ตั้งตัวเป็นกบฎ ได้บุกมาแล้วบังคับให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงผนวช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ทรงทำศึกอยู่ที่กัมพูชา ทรงทราบข่าวจึงได้เสด็จกลับมาที่ กรุงธนบุรี ได้ปราบปรามจลาจลแล้ว สืบสวนหารือควรสำเร็จโทษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325และเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริระยะเวลาในการครองราชย์ได้ 15 ปี และกรุงธนบุรีก็สิ้นสุดลง ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรีและโปรดเกล้าให้ย้ายราชธานีมายังฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำเจ้าพระยาและในต่อมาได้พระราชทานนามใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระราชโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"

สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"

ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร

กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน

กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแล
หัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย

กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของประชากร

การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี

เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง

เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ

เศรษฐกิจ

ช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากขาดการทำนามานาน ราคาข้าวในอาณาจักรสูงเกือบตลอดรัชกาล ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงในตอนปลายรัชกาล จะมีเพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ในปี พ.ศ. 2312 ที่เกิดหนูระบาด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวมาให้แก่ราษฎรทั้งหลาย ช่วยคนได้หลายหมื่น ทั้งยังกระตุ้นให้ชาวบ้านทั้งหลายเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรือกับต่างชาติ เนื่องจากไม่อาจพึ่งรายได้จากภาษีอากรจากผู้คนที่ยังคงตั้งตัวไม่ได้ อีกทั้งการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองยังเป็นการสร้างงานให้กับชาวบ้าน โดยพระองค์ได้ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ทางการค้ามากยิ่งขึ้น
ผลดีประการหนึ่งของสงครามคราวเสียกรุงคือมีผู้คนอพยพมาสร้างความเจริญแก่ท้องที่อื่นให้ดีขึ้นกว่าสมัยอยุธยามาก
 กรุงธนบุรีได้กลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของไทยแทนกรุงศรีอยุธยาเดิมที่ถูกเผาทำลายไป และเนื่องจากเมืองมะริดและตะนาวศรีได้ตกเป็นของพม่าอย่างถาวร จึงทำให้เมืองถลางได้กลายเป็นเมืองท่าสำคัญในการค้าขายกับต่างชาติทางฝั่งทะเลอันดามันแทน โดยในสมัยอยุธยามีความสำคัญเป็นเมืองท่าลำดับสอง และมีดีบุกเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับเมืองไชยาและเมืองสงขลาที่เจริญก้าวหน้ากว่าในสมัยอยุธยาเดิม ชาวต่างชาติยังเขียนอีกว่า ท้องที่ใดมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ท้องที่แห่งนั้นย่อมเจริญแน่ เพราะคนจีนขยันกว่าคนไทย
ไทยมีรากฐานเศรษฐกิจดี มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้อต่อเกษตรกรรม เมื่อเว้นว่างจากศึกสงคราม เสบียงอาหารก็บริบูรณ์ขึ้นดังเดิม ฝ่ายคนจีนและคนไทยบางส่วนได้เอาเงินและทองที่บรรพชนเก็บไว้ในพระพุทธรูปไป บ้างก็ทำลายพระพุทธรูปและพระเจดีย์เสียเพื่อเอาเงิน บาทหลวงคอร์ระบุว่า "การที่ประเทศสยามกลับตั้งแต่ได้เร็วเช่นนี้ ก็เพราะความหมั่นเพียรของพวกจีน ถ้าพวกจีนไม่ใช่เป็นคนมักได้แล้ว ในเมืองไทยทุกวันนี้คงไม่มีเงินใช้เป็นแน่"

สังคม

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1.พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
2.พระบรมวงศานุวงศ์
3.ขุนนาง
4.ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5.ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
หลังจากบ้านเมืองแตกแยก เพราะการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาแล้ว เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น พม่าจึงเล็งเห็นว่า ไม่ต้องการให้อาณาจักรสยามเจริญได้อีก จึงต้องมีการรบราญกันอยู่บ่อย การเรียกกำลังพลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการหลบหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงตรากฎหมายการสักเลกขึ้น โดยไพร่ชายใดอายุถึงกำหนด ต้องสักเลก เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนคนได้ และถ้าหากมีการหลบหนีเมื่อใด อาจจะมีโทษถึงประหารชีวิต โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีจะเป็นผู้ตัดสินคดีด้วยตัวของพระองค์เอง ส่วนชนชั้นอื่น ๆ ที่เหลือนั้นก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับอยุธยา

พระเจ้าตากทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบใดเป็นอันดับแรก

ประการแรก ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องความอดอยากและขาดแคลน ด้วยการพระราชทานข้าวสารให้แก่บรรดาข้าราชการทหารและพลเรือนทั้งไทย/จีน คนละ 1 ถังต่อ 20 วัน นอกจากนี้ ยังทรงแจกจ่ายอาหารเลี้ยงดูพลเรือนที่อดโซด้วย

สมุดภาพไตรภูมิเป็นผลงานชิ้นสำคัญของอาณาจักรธนบุรีในข้อใด

เป็นผลงานจิตรกรรมประเพณีที่เขียนบนเอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทย เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องไตรภูมิ หรือเตภูมิกถา บทพระราชนิพนธ์ของพระยาลิไท พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยรวบรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ๓๐ คัมภีร์ เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรม

ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีมีน้อย

ขาดแคลนกำลังทรัพย์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา พระเจ้าตากชำนาญในการรบมากกว่างานด้าน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต้องทำสงครามเป็นส่วนใหญ่จึงไม่มีเวลาฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

ปลายสมัยธนบุรีเกิดเหตุการณ์อะไร

เหตุการณ์ตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี 1. สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงมีสติฟั่นเฟือน สำคัญว่าพระองค์บรรลุเป็นพระอรหันต์และบังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้ 2. พระยาสรรค์ ขุนนางผู้หนึ่งก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ.2324 ยกกำลังเข้ายึดกรุงธนบุรีและคุมตัวสมเด็๋จพระเจ้าตากสินฯเอาไว้

พระเจ้าตากทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบใดเป็นอันดับแรก สมุดภาพไตรภูมิเป็นผลงานชิ้นสำคัญของอาณาจักรธนบุรีในข้อใด ข้อใดคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีมีน้อย ปลายสมัยธนบุรีเกิดเหตุการณ์อะไร สมุดภาพไตรภูมิ เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของอาณาจักรธนบุรีในด้านใด การเสื่อมอํานาจของอาณาจักรธนบุรี เฉลย เพราะเหตุใด ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยธนบุรี มีลักษณะอย่างไร ข้อใดอธิบายการจัดการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ถูกต้อง เฉลยใบงานที่ 3.6 การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรธนบุรี การเสื่อมอํานาจของอาณาจักรธนบุรี สรุป กรุงธนบุรี