ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุข *

           รูปแบบรัฐบาลระบบประธานาธิบดีเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก โดย ผู้นำสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ได้พัฒนาระบบการปกครองแบบประธานาธิบดีนี้ขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ใครมีโอกาสใช้อำนาจมากเกินไป ระบบประธานาธิบดีมีรายละเอียดดังนี้ 

           1. มีการแบ่งแยกอำนาจ(Separation of Powers) ได้แก่การแยกอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ หลักการที่สำคัญของการแบ่งแยกอำ นาจได้แก่ ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ ตรงนี้จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับระบบรัฐสภาที่สมาชิกรัฐสภาเป็นกลุ่มเดียวกับรัฐบาล
           2. ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นคนๆ เดียวกัน ระบบนี้กำ หนดให้ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้แก่ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะหากรัฐบาลมีความแตกแยกกัน จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อระบบรัฐสภาในระบบประธานาธิบดีอำนาจนิติบัญญัติบริหารและตุลาการแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ประธานาธิบดีเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ประธานาธิบดีมีอำ นาจในการบริหารประเทศอย่างมากมาย และได้รับความ เคารพจากประชาชนในฐานะประมุขของประเทศอีกด้วย
           3. ฝ่ายบริหารเป็นอิสระต่อการควบคุมต่อรัฐสภา เนื่องจากรูปแบบการปกครองนี้มี ลักษณะของการแยกอำ นาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้น ประธานาธิบดีจึงเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐสภา รัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติ ไม่ไว้วางใจรัฐบาล
           4. รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดี เนื่องจากประธานาธิบดีเป็นประมุขของฝ่ายบริหารแต่เพียงผู้เดียว จึงหมายความว่าประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งถอดถอนรัฐมนตรีได้ รัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่จำ เป็นต้องไปร่วมประชุมรัฐสภา เพื่อตอบกระทู้ถามจากรัฐสภาแต่ประการใด
           5. ใช้หลักการคานอำนาจ(Balance of Power) เนื่องจากทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน ดังนั้นจึงมีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยใช้วิธีการตรวจสอบอำนาจซึ่งกันและกัน(Check and Balances) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในอำนาจมากเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หลักการค้านอำนาจก็คือ ประธานาธิบดีมีอำ นาจในการใช้สิทธิยับยั้ง(Veto) ตามรัฐธรรมนูญ โดยการไม่ลงนามในกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในขณะที่รัฐสภามีอำ นาจลบล้างสิทธิยับยั้ง ดังกล่าวของประธานาธิบดีได้ด้วย ทั้งนี้โดยการลงคะแนนรอบสอง ซึ่งหาก คะแนนเสียงของสมาชิกสภาทั้งสองเห็นด้วยคะแนน 2 ใน 3 ก็จะถือว่ากฎหมาย นั้นมีผลบังคับใช้ได้ นอกจากนี้รัฐสภามีอำ นาจอย่างหนึ่งที่จะกล่าวโทษประธานาธิบดีได้ อำนาจที่จะกล่าวโทษนั้น เรียกว่าอิมพีชเม้นต์(Impeachment) โดยการอิมพีชเม้นท์นั้นต้องมีคะแนนสองในสามของรัฐสภาและขั้นตอนสุดท้าย วุฒิสภาจะเป็นผู้ปลด(Removal) ตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งใช้คะแนนสองในสามของจำนวนวุฒิสมาชิก
           6. บทบาทของวุฒิสภา(Senate) มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร เช่น รัฐมนตรี หรือเอกอัครราชทูตตามที่ประธานาธิบดีเสนอมา หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็จะดำ รงตำ แหน่งใด ๆ ไม่ได้
           7. อำ นาจตุลาการ สำหรับตำแหน่งผู้พิพากษานั้น อำนาจในการแต่งตั้งเป็นของ ประธานาธิบดี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ตุลาการโดยเฉพาะ ประธานาธิบดีมีอำ นาจในการถ่วงดุลรัฐสภาโดยใช้สิทธิยับยั้ง(Veto) ในขณะที่รัฐสภาใช้วิธีการกล่าวโทษ(Impeachment) เพื่อให้วุฒิสภาเป็นผู้ปลด (Removal) ประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาหน่วยงานใดที่มีหน้าที่ตัดสินว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ? ศาลสูง(Supreme Court) มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายฉบับใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกมานั้นขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติไปด้วยในตัว ซึ่งหากกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นก็เป็นอันตกไป สำ หรับการปกครองระบบประธานาธิบดีนี้ มีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดีของระบบประธานาธิบดี
            1. ประธานาธิบดีมีสิทธิเด็ดขาดในการเลือกคณะรัฐมนตรีของตัวเอง ดังนั้น ประธานาธิบดีจึงสามารถเลือกผู้ที่มีความชำ นาญเฉพาะด้าน เพื่อดำ รงตำ แหน่งสำ คัญ ๆเช่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น
            2. รัฐมนตรีมีเวลาเต็มที่ในการปฏิบัติภาระกิจ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ไม่จำ เป็นต้องประชุมสภา หรือเสียเวลาในการตอบกระทู้ถามของรัฐสภา ซึ่งทำ ให้คณะรัฐมนตรีมีอิสระเต็มที่ในการบริหารกระทรวงตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดี โดยไม่ต้องหาเสียงจากสมาชิกรัฐสภา
            3. หากเกิดวิกฤติการณ์ฉุกเฉิน ประธานาธิบดีมีอำ นาจอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติ หน้าที่อย่างเด็ดขาด เพราะเป็นอิสระปราศจากการควบคุมของรัฐสภา

ข้อเสียของระบบประธานาธิบดี
       หากประธานาธิบดีสังกัดพรรคการเมืองที่เป็นคนละพรรคกับพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา ประธานาธิบดีอาจจะไม่สามารถบริหารประเทศอย่างราบลื่นได้โดยเฉพาะเมื่อต้องการที่จะออกกฎหมายบางฉบับ แต่ตามความเป็นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองหลักในรัฐสภามักจะเป็นคนละพรรคกับพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่การบริหารงานก็ไม่เกิดความขัดแย้งมากมายนัก

ประเทศใดมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุข *