องค์ประกอบใดไม่จำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค pcr

เทคนิคพีซีอาร์ (PCR)  

เทคนิคพีซีอาร์ (PCR)  มีชื่อเต็มว่าเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction)  เป็นเทคนิคเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมคือดีเอ็นเอ  ให้มีปริมาณมากเป็นล้านเท่า ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการจำลองตัวของสายดีเอ็นเอ (DNA Replication) เลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ที่มีการสร้างสายดีเอ็นเอสายใหม่อีกหนึ่งสายจากดีเอ็นเอเดิม

องค์ประกอบใดไม่จำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค pcr

หลักการทำงานของเทคนิคพีซีอาร์ 

เทคนิคนี้ใช้หลักการพื้นฐานในการเพิ่มดีเอ็นเอด้วยการจำลองดีเอ็นเอสายใหม่จากสายดีเอ็นเอที่เป็นต้นแบบหนึ่งสาย ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส (DNA polymerase)  โดยใช้ดีเอ็นเอเริ่มต้นหรือไพรเมอร์ (Primer) 1 คู่ ทำให้สังเคราะห์ดีเอ็นเอได้คราวละ 2 สายพร้อมกัน ประกอบด้วยปฏิกิริยาสำคัญ 3 ขั้นตอน และหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมของแต่ละขั้นตอน

องค์ประกอบใดไม่จำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค pcr

  1. การแยกสายดีเอ็นเอเกลียวคู่ออกจากกัน (Denaturation) ใช้อุณหภูมิ ประมาณ 94 องศาเซลเซียส เมื่อเริ่มต้นดีเอ็นเอแม่แบบ จะอยู่ในลักษณะที่เป็นเกลียวคู่ เมื่อเพิ่มอุณหภูมิถึงประมาณ 94 องศาเซลเซียส จะทำให้พันธะไฮโดรเจนระหว่างคู่เบสของดีเอ็นเอถูกทำลาย ทำให้เส้นดีเอ็นเอแยกออกจากกัน โดยขั้นตอนนี้จะแตกต่างจากการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในธรรมชาติ คือ ในสิ่งมีชีวิติจะมีเอนไซม์เฮลิเคส(Helicase) ช่วยในการแยกสายและคลายเกลียวดีเอ็นเอ
  2. การจับของไพร์เมอร์กับดีเอ็นเอแม่แบบ (Annealing) ใช้อุณหภูมิประมาณ 40-62 องศาเซลเซียส เมื่อแยกสายดีเอ็นเอออกจากกันแล้ว จะลดอุณหภูมิลงเหลือ 40-62 องศาเซลเซียส เพื่อให้ดีเอ็นเอสังเคราะห์ขนาดสั้นประมาณ 15-25 เบส ที่เรียกว่าไพร์เมอร์ (Primer) เข้ามาจับบริเวณที่มีลำดับเบสคู่สมกัน ในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ไม่สามารถที่จะเริ่มจากศูนย์ได้เนื่องจากเอ็นไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอร์เรส (DNA polymerase) ต้องการปลาย-OH ทางด้าน 3’เพื่อนำ นิวคลีโอไทด์ตัวต่อมาต่อ ซึ่งในสิ่งมีชีวิตจะมีเอ็นไซม์ที่มีชื่อว่า ไพรเมส (Primase) เป็นตัวสร้างอาร์เอ็นเอไพรเมอร์ขึ้น
  3. การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ต่อจากไพรเมอร์ (Extension) ใช้อุณหภูมิ ประมาณ 68-72 องศาเซลเซียส ในขั้นตอนนี้จะเป็นการสร้างสายดีเอ็นเอต่อจากไพร์เมอร์ โดยอุณหภูมิที่ใช้จะพอเหมาะกับ การทำงานของ Taq DNA polymerase

จากขั้นตอนที่ 1-3 ซึ่งนับเป็นจำนวน 1 รอบ (One cycle) ให้ผลผลิตเป็นดีเอ็นเอสายคู่ที่มีลำดับเบสเป็นคู่สม (หรือเข้ากัน) กับดีเอ็นเอที่เป็นต้นแบบ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และเมื่อจัดให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่จากขั้นที่ 1 ถึง 3 หมุนเวียนไปอีกหลาย ๆ รอบ จะเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้จำนวนมาก ประมาณว่าปฏิกิริยา 30 – 40 รอบ สามารถเพิ่มปริมาณสารดีเอ็นเอได้ไม่น้อยกว่าพันล้านเท่า  ดังนั้น แม้ตัวอย่างที่นำมาศึกษามีปริมาณสารพันธุกรรมน้อยมาก เราก็ใช้เทคนิคพีซีอาร์เพิ่มจำนวนได้หลายเท่าทวีคูณ

องค์ประกอบใดไม่จำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค pcr

ดีเอ็นเอที่เกิดจากเทคนิคนี้ในหลอดทลอง มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  ดังนั้นเพื่อตรวจหาดีเอ็นเอผลผลิต ต้องนำตัวอย่างที่ทำพีซีอาร์มแยกหาดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟริสิส (Agarose gel electrophoresis) ซึ่งเป็นการแยกดีเอ็นเอด้วยกระแสไฟฟ้าบนแผ่นวุ้น (Agarose gel) โดยระยะทางที่ดีเอ็นเอเคลื่อนที่ไปได้ขึ้นกับขนาดของดีเอ็นเอและกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ดีเอ็นเอที่แยกโดยวิธีนี้ มองเห็นได้เมื่อย้อมด้วยสีพิเศษ ซึ่งเรืองแสงภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเลต

องค์ประกอบใดไม่จำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค pcr

ประโยชน์ของ PCR ในการตรวจวินิจฉัยโรค

PCR เป็นเทคนิคสำคัญมากในงานอณูชีวโมเลกุล ทั้งในส่วนที่เป็นงานพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ และการเกษตรสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคจากพันธุกรรม ศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรม ศึกษากลายพันธุ์ของยีน ทำแผนที่ยีน และศึกษาลำดับเบสของยีนของสิ่งมีชีวิตได้ทุกชนิด โดยสามารถสรุปได้ตามหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ด้านการแพทย์ ได้แก่ การตรวจหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค (เช่น โรคเอดส์ วัณโรค มาเลเรีย) การตรวจหายีนก่อมะเร็ง (เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่) ทำให้การวินิจฉัยโรค เพื่อป้องกันและรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้านการเกษตร PCR มีบทบาทมากในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช การตรวจสอบสายพันธุ์พืช การตรวจวินิจฉัยโรค สายพันธุ์พืชต้านทานโรค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับเชื้อโรครวมทั้งศึกษายีนกับตัวอื่น ๆ ของพืชและเชื้อโรค และการแสดงออกของยีนเหล่านั้น ตลอดจนการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส หรือเชื้อสาเหตุโรคอื่น ๆ
อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาท แต่ในปัจจุบันนี้เกษตรกรเริ่มประสบปัญหาจากโรคระบาดในบ่อเลี้ยงกุ้ง ทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก สาเหตุของโรคระบาดในกุ้ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยใช้เทคนิค PCR ทำให้สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ทันท่วงที นอกจากนี้สามารถใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งที่ดี เพื่อใช้ในการผสมพันธุ์
นิติวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันการตรวจวิเคราะห์หลักฐานจากที่เกิดเหตุ เช่น เลือด ผิวหนัง เส้นผม ได้ถูกนำมาเป็นหลักฐานสำคัญในการสอบสวน และการเอาผิดกับผู้ต้องหาในหลายคดี ซึ่งจากตัวอย่างที่ได้จากที่เกิดเหตุเหล่านี้ สามารถนำมาเพิ่มปริมาณ ดีเอ็นเอของผู้ต้องสงสัยได้ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ และจากการศึกษาด้านลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ได้ถูกนำมาใช้ในการระบุชี้ตัวบุคคล จึงทำให้สามารถบ่งชี้บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจหาผู้กระทำผิดคดีข่มขืนเด็กและหญิงสาว และการตรวจสอบพ่อแม่ลูกด้วย

ข้อสอบ

  1. หลักการของเทคนิคพีซีอาร์ ใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการใดของสิ่งมีชีวิต

ก.กระบวนการสังเคราะห์แสง

ข.กระบวนการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ

ค.กระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ

ง.กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน

2. ความแตกต่างของเทคนิคโคลนนิ่ง(Cloning) กับ เทคนิคพีซีอาร์ (PCR) คือ

ก.โคลนนิ่งเป็นเทคนิคในการสร้างสารพันธุกรรมที่เหมือนกันในหลอดทดลอง แต่พีซีอาร์เป็นการสร้างดีเอ็นเอจำนวนเพิ่มขึ้น

ข.โคลนนิ่งเป็นเทคนิคการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต แต่พีซีอาร์เป็นการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง

ค.โคลนนิ่งไม่ต้องใช้เอนไซม์ในการเพิ่มจำนวน แต่พีซีอาร์ต้องใช้เอนไซม์ DNA polymerase ในการเพิ่มจำนวน

ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย

1.ค

2.ข

{ cr https://sites.google.com/site/biology2012science/what-is-dna/thekhnikh-pcr-ni-kar-pheim-canwn-dna }

องค์ประกอบใดจำเป็นต่อการเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองของเทคนิค PCR

องค์ประกอบที่สำคัญในการทำ PCR ได้แก่ -ดีเอ็นเอแม่แบบ (Template DNA) -ไพรเมอร์ Primer. -เอ็นไซม์DNA Polymerase ชนิดทนความร้อน (Taq DNA polymerase)

องค์ประกอบที่จำเป็นต้องใช้ในการทำเทคนิค PCR คือข้อใด

องค์ประกอบที่สำคัญในการทำ PCR ได้แก่ ดีเอ็นเอแม่แบบ (Template DNA) ไพรเมอร์ Primer. เอ็นไซม์DNA Polymerase ชนิดทนความร้อน (Taq DNA polymerase)

Polymerase Chain Reaction ใช้ทําอะไร

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสหรือที่รู้จักกันในชื่อ พีซีอาร์ (PCR : Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่ถูก พัฒนาขึ้นโดย แครี มุลลิส (Kary Mullis) ในปี 1983 ปัจจุบันเทคนิค PCR ได้เข้ามามีบทบาทในงานทางด้านเทคนิค การแพทย์ไม่ว่าจะเป็น การใช้ตรวจหาเชื้อก่อโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรีย รา หรือไวรัส ใช้ในการเพิ่มจํานวนของยีนดื้อยา ...

ปฏิกิริยา PCR ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ทุกๆ รอบ (cycle) ของปฏิกิริยา PCR มี 3 ขั้นตอน โดยปรกติจะให้ปฏิกิริยา PCR เกิดขึ้นซ้ำๆ จำนวน 20-30 รอบ ทำให้ได้ผลิตผล (PCR product) จำพวกที่สังเคราะห์ได้ มากคือ "short product" ที่มีขนาดความยาวกำหนดจากปลาย 5" ของ primers ทั้งสองสาย (รูปที่ 7.1) ถ้าคำนวณตามทฤษฎีแล้วจำนวนสายของ short product นี้ควรจะเพิ่ม 2 เท่า ใน ทุก ...