หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

บริการออกใบรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก)

หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก)

ปัจจุบันสินค้าที่ สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐาน แห่งชาติ มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมอก.ได้นั้น ต้องได้รับการตรวจสอบจากสมอ.แล้วว่ามีคุณภาพเป็นไปตาม ที่กำหนดถ้าผ่าน สมอ.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตแสดงเครื่องหมาย มอก.ที่ผลิตภัณฑ์ของตนได้ หลังจากนั้นสมอ.ก็จะมีการติดตามผลโดยการตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานและสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ทั้งจากโรงงานสถานที่นำเข้าและสถานที่จำหน่ายมาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดง เครื่องหมายมอก. จะมีคุณภาพตามมาตรฐานและโรงงานยังสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ตามที่กำหนด

หลักเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อขออนุญาต

คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาต ของ สมอ. มีหลักการ 2 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด และ ผู้ผลิตมีระบบการควบคุมคุณภาพเพียงพอที่จะรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ

หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตประกอบด้วย

1) การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต
2) การตรวจติดตามภายหลังการออกใบอนุญาต

การดำเนินงานการตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต มี 2 แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 การอนุญาตทั่วไป เป็นการพิจารณาออกใบอนุญาต
(1) การอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ตามมาตรา 16 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายตามมาตรฐานทั่วไป)
(2) การอนุญาตให้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 20 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานบังคับ)
(3) การอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 21 (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานบังคับ
แบบที่ 2 การอนุญาตเฉพาะครั้ง
เป็นการอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามมาตรา 21 สำหรับการประกอบกิจการนำเข้าเฉพาะครั้ง (สมอ. เรียกย่อ ๆ ว่า ออกใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้ง) ใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะครั้งมีเพียงบางมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตกำหนด

รายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

Rating

Organizations : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" (Thai Industrial Standard) หรือ มอก. หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก. แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ). กำหนดเป็นมาตรฐาน ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น มอก. มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้ 1. ประโยชน์ต่อผู้ผลิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำหนดให้สินค้านั้น ๆ ต้องได้รับ มอก. 2. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และ สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้ ในกรณีที่ชำรุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้ วิธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน
3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน ช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความ เข้าใจที่ตรงกัน ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

   หมายเลข มอก. คือหมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุลำดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่สมอ.ประกาศ เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า

   เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน

   เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐาน และต้องแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

Data source cannot be displayed.

รายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

Visualization

{{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1

Resource Info : {{cur_meta.name}}

Resource last updated date
Resource creation date
Resource format
Resource ID
Description
Accessible Condition
Data Collect
Created date
Last updated date

Data Key aa7c0a65-dab4-4a2a-8c76-3950bbde26e7
Groups เศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรม
Tags เศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรม
Visibility Public
Dataset create date August 28, 2021
Maintain date November 8, 2022
Data Type ข้อมูลระเบียน
Contact Person ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Contact Email
Objective เพื่อการให้บริการประชาชน
Update Frequency Unit เดือน
Update Frequency Interval 1
Geo Coverage ประเทศ
Data Source สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
Data Format
  • CSV
  • XLS
Data Category ข้อมูลสาธารณะ
License Creative Commons Attributions
Data Collect บริษัท/ห้างร้าน/สถานประกอบการ
URL http://appdb.tisi.go.th/tis_dev/p3_tis/p3tis.php
Data Language ไทย
Last updated date 2022-09-02
High Value Dataset No Show

Related

รายชื่อผู้ได้รับการรับรอง มอก. เอส ประเภทการรับรองผลิตภัณฑ์

Last update dataset : November 11, 2022  

หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

ข้อมูลใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ประเภทหน้ากาก

Last update dataset : November 10, 2022  

หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

ข้อมูลโรงงานในเขตจังหวัด ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา (EEC)

Last update dataset : November 4, 2022  

หน่วยงานใดเป็นผู้ออกเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

E-mail * :

Objective * :

Objective Description * :

You can copy and paste the embed code into a CMS or blog software that supports raw HTML