วงแหวนแห่งไฟได้แก่บริเวณใด

วันนี้ ผมจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ "วงแหวนแห่งไฟ" หรือ Ring of Fire ต้นตอแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น แต่เราก็ต้องอยู่กับ วงแหวนแห่งไฟ นี้ไปอีกชั่วนาตาปี จนกว่าโลกใบนี้จะแตกดับ และจะต้องเจอกับโศกนาฏกรรม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และ คลื่นยักษ์สึนามิ ตลอดไปเช่นเดียวกัน

นี่คือ ชะตากรรม ที่เราไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้

วงแหวนแห่งไฟ  Ring of Fire เป็นรอยแยกของเปลือกโลกใต้มหาสมุทร แปซิฟิก มีลักษณะโค้งเป็นรูปเกือกม้ายาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร ตลอดรอยแยกของวงแหวนแห่งไฟนี้ มีภูเขาไฟตั้งอยู่ทั้งหมด 452 ลูก เป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นแอ็กทีฟพร้อมที่จะระเบิดได้ทุกเมื่อถึง 75 เปอร์เซ็นต์

แผ่นดินไหวร้อยละ  90  ที่เกิดขึ้นในโลก  และ  แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ร้อยละ 80 ล้วนเกิดขึ้นที่บริเวณ วงแหวนแห่งไฟ ที่เหลือ ร้อยละ 17 เกิดขึ้นใน แนวเทือกเขาอัลไพน์ ตั้งแต่ หมู่เกาะชวา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย ไปถึง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีก ร้อยละ 5–6 เกิดขึ้นแถบ มหาสมุทรแอตแลนติก

มาดูกันต่อครับ ประเทศที่ตั้งอยู่บนวงแหวนแห่งไฟ มีประเทศอะไรบ้าง

เอาเฉพาะชื่อคุ้นๆ เช่น โบลิเวีย, บราซิล, แคนาดา, โคลอมเบีย, ชิลี, คอสตาริกา, เอกวาดอร์, ติมอร์ตะวันออก, เอลซัลวาดอร์, ฟิจิ, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, นิการากัว, ปาปัวนิวกินี, ปานามา, เปรู, ฟิลิปปินส์, รัสเซีย, หมู่เกาะโซโลมอน, สหรัฐฯ เป็นต้น

ไม่กี่ปีมานี้ หลายประเทศรอบวงแหวนแห่งไฟ เจอแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง เช่น ชิลี, อินโดนีเซีย, นิวซีแลนด์ และ ญี่ปุ่น แต่ละครั้งรุนแรงอันดับต้นๆของโลก เช่น ชิลี เจอหนักสุด 9.5 ริกเตอร์, อินโดนีเซีย 9.1 ริกเตอร์, นิวซีแลนด์ 7.1 ริกเตอร์ ล่าสุด ญี่ปุ่น 9.0 ริกเตอร์ เสียหายรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในความเป็นจริง ความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นครั้งนี้ ไม่ใช่เกิดจากแผ่นดินไหวโดยตรง แต่เกิดจาก คลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 10 เมตร ที่ทะลักฝ่าเขื่อนป้องกัน กวาดเอาชีวิตผู้คน รถยนต์ บ้านเรือน แม้กระทั่งเครื่องบินรบ

ทุกประเทศที่ตั้งอยู่บน วงแหวนแห่งไฟ ต่างก็รู้ตัวดี ต้องมีชะตากรรมอย่างนี้ในวันใดวันหนึ่ง อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพราะย้ายประเทศหนีไม่ได้

ตราบใดที่ "ทรัพยากรใต้โลก" ยังถูกมนุษย์ขุดขึ้นมาใช้จนหมดไปเรื่อยๆ  "แผ่นดินไหว–ภูเขาไฟระเบิด–คลื่นยักษ์สึนามิ"  ก็จะเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปรับสมดุล ในขณะที่ "ประชากรโลก" เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แย่งกันกิน แย่งกันใช้ สุดท้ายทรัพยากรในโลกนี้ก็ต้องหมดไป มหันตภัยล้างโลกก็จะตามมา นี่คือ กฎแห่งสัจธรรม.

ของมนุษย์ต่อเภทภัยธรรมชาติทั้งหลายต่างหาก

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ จึงมีอารมณ์ความรู้สึกอันละเอียดอ่อน และรู้จักใช้สมองเพื่อดำรงชีวิตให้รอดปลอดภัยในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ไม่แน่นอน ความพยายามที่จะคาดการณ์ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติ คือสิทธิ์อันชอบธรรมและคือจุดกำเนิดของโหราศาสตร์

โหราศาสตร์ยุคเริ่มต้นจึงเป็นโหราศาสตร์บ้านเมือง จน 500 ปีก่อนคริสต์กาล โหราศาสตร์บุคคลค่อยถือกำเนิดและพัฒนาเรื่อยมา ดวงชะตาบุคคลที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ในยุคแรกๆ ของโลก (ที่มีหลักฐานปรากฏ) ถูกบันทึกเป็นภาษากรีก โดยผูกดวงเมื่อ 28 ตุลาคม ค.ศ. 497 เวลา (ท้องถิ่น) 12:35 น.ที่เมืองอเล็กซานเดรีย อาณาจักรอียิปต์

ธรรมชาติยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก ธรรมชาติทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างง่ายดาย แทบไม่มีวิธีใดต่อต้าน โหราศาสตร์จึงเกิดขึ้นเพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ถ้ามันเป็นทางร้าย มนุษย์จะได้เตรียมตัวหลบหลีกได้ทัน

ในยุคปัจจุบันที่วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ก้าวหน้าขึ้น มนุษย์เข้าใจและควบคุมธรรมชาติได้มากขึ้น โหราศาสตร์ลดทอนความสำคัญลงไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ศาสตร์นี้จะถดถอยตกต่ำ โหราศาสตร์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อใช้ประกอบกับวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ โหราศาสตร์ยิ่งเพิ่มพูนระดับความถูกต้องในการทำนายอนาคต

องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเป็นประโยชน์มหาศาลแก่โหราศาสตร์ มันเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์วิจัยระดับลึก วงแหวนแห่งไฟคือตัวอย่างที่ดีมาก

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) คือพื้นที่ตามแนวมหาสมุทรแปซิฟิกที่มักเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง เป็นรูปเกือกม้าที่ยาวถึง 40,000 กม.วางตัวตามแนวร่องมหาสมุทร แนวภูเขาไฟ และขอบแผ่นเปลือกโลกมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในถึง 452 ลูก โดยเป็นภูเขาไฟที่คุกรุ่นกว่า 75% ของทั้งโลก

วงแหวนแห่งไฟเกิดจากการเคลื่อนที่และปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นด้านตะวันออกในทวีปอเมริกากลางและใต้ ด้านแปซิฟิกในอเมริกาเหนือ ด้านเหนือและตะวันตกเลียบแปซิฟิก ผ่านหมู่เกาะอะลูเชียน คาบสมุทรคัมชัทกะในรัสเซีย ไปถึงตอนใต้ของญี่ปุ่น ด้านใต้เป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กประชิดกันอยู่ ตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ฟิลิปปินส์ บูเกนวิลล์ตองกา และนิวซีแลนด์ (ยกเว้นออสเตรเลีย)

90% ของแผ่นดินไหวในโลกและ 81% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในโลก เกิดขึ้นตามแนววงแหวนแห่งไฟ ภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ของโลก 22 จาก 25 ครั้งในช่วง 11,700 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นในแนววงแหวนนี้เช่นกัน วงแหวนแห่งไฟจึงมีความสำคัญมาก

ภูเขาไฟที่อยู่ในแนววงแหวน ได้แก่ เซนต์เฮเลนส์ในอเมริกาซึ่งระเบิดใหญ่ในปี 1980 ฟูจิในญี่ปุ่นซึ่งระเบิดครั้งสุดท้ายปี 1707 ปินาตูโบในฟิลิปปินส์ที่ระเบิดในปี 1991 ทาอัลในฟิลิปปินส์ที่ระเบิดปี 1911 แทมโบราในอินโดนีเซียที่ระเบิดในปี 1815

ส่วนแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ได้แก่ คาสคาเดียในอเมริกาขนาด 9 ริกเตอร์ปี 1700 คันโตในญี่ปุ่นปี 1923 เซนไดในญี่ปุ่นขนาด 9 ริกเตอร์ปี 2011 มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซียปี 2004

จุดสำคัญมากจุดหนึ่งคืออินโดนีเซีย ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแนววงแหวนแห่งไฟทางทิศเหนือและตะวันออกกับตะเข็บอัลไพด์ (Alpide Belt) ทางทิศใต้และตะวันตกของสุมาตรา ชวา บาหลี อินโดนีเซีย อยู่บนรอยต่อของเปลือกโลก 3 แผ่น คือ Eurasian, Pacific และ Indo-Australian Plate จึงเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งเกิดภูเขาไฟระเบิดมากที่สุดของวงแหวน

ภูเขาไฟกรากะตั้ว (Krakatau) ที่ระเบิดในวันที่ 26-27 สิงหาคม 1883 คือการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก กรากะตั้วเป็นเกาะของถ่านภูเขาไฟ ตั้งอยู่ในช่องแคบซุนดราระหว่างเกาะชวากับสุมาตราของอินโดนีเซีย แรงระเบิดเทียบเท่า TNT ถึง 200 เมกกะตัน หรือ 13,000 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิม่า มันทำลายพื้นที่ไป 2 ใน 3 ของเกาะเสียงระเบิดได้ยินไปไกลถึง 4,800 กม.

ที่สำคัญ มันก่อให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์ที่คร่าชีวิตผู้คน 36,417 คน (ตัวเลขของชาวดัชท์ที่เป็นเจ้าอาณานิคมขณะนั้น) อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลง 1.2 องศาเซลเซียส และไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติจนปี 1888 อีกทั้งสภาพอากาศก็แปรปรวนไปหลายปี

แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกเกิดขึ้นใกล้ ๆ กัน วันที่ 26 ธันวาคม 2004 เวลา (ท้องถิ่น) 7:58 น. เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลอันดามันที่ความลึก 30 กม. ห่างชายฝั่งตะวันตกของสุมาตราไป 160 กม. ด้วยขนาดที่แรงถึง 9.3 ริกเตอร์ มันก่อให้เกิดสึนามิสูง 10 เมตรถล่มชายฝั่งโดยรอบ (รวมไทย) มีผู้เสียชีวิตถึง 230,000 ราย ถือเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์

ถ้ารวมพลังงานของแผ่นดินไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ตั้งแต่1906-2005 พลังงาน 1 ใน 8 ของทั้งหมดมาจากแผ่นดินไหวปี 2004 ที่สุมาตรา-อันดามันนี้เอง

พิกัดภูมิศาสตร์ของภูเขาไฟกรากะตั้วคือ ละติจูด 6:6:7 ใต้ ลองกิจูด 105:25:23 ตะวันออก ส่วนพิกัดของตำแหน่งแผ่นดินไหว 2004 คือ ละติจูด 3:18:58 เหนือ ลองกิจูด 95:51:14 ตะวันออกทั้งคู่อยู่ใกล้กันและใกล้เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย

องค์ความรู้เรื่องวงแหวนแห่งไฟนี้เอง ทำให้เราทราบว่า สุมาตราคือจุดอ่อนไหวมากต่อการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

ในโหราศาสตร์บ้านเมืองปัจจัยสำคัญที่ใช้ทำนายภัยพิบัติคือคราส หลังเกิดสุริยคราสจันทรคราส มักมีเหตุร้ายเภทภัยรุนแรงเสมอ เช่น ภายหลังคู่สรรพคราสปลายมีนาคม-ต้นเมษายน 2015 เกิดแผ่นดินไหว 7.8 ริกเตอร์ที่เนปาลในวันที่ 25 เมษายน อันเป็นช่วง 1 เดือนหลังคราสที่อิทธิพลแรงสุด

การพยากรณ์ด้วยคราสไม่เพียงดูตำแหน่งในจักรราศี แต่รวมถึงตำแหน่งคราสบนโลกและเส้นทางของคราส (Eclipse Path) ด้วยวันที่ 9 มีนาคม 2016 เวลา 8:56 น.เกิดสุริยคราส (สรรพคราส) ที่ 24 องศา 51 ลิปดาราศีกุมภ์ คราสนี้เป็นคราสสำคัญ มันเห็นได้ในเอเชียตะวันออก ออสเตรเลีย และแปซิฟิก โดยแนวคราสเต็มดวงอยู่ใต้ช่องแคบมะละกา-เหนือช่องแคบซุนดรา ผ่านสุมาตราทะเลชวา บอร์เนียว สุลาเวสี

เส้นทางคราสเต็มดวงเริ่มที่ละติจูด 2:20:14 ใต้ ลองกิจูด 88:14:32 ตะวันออก แล้วโค้งขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ไปเป็นสรรพคราสเต็มที่ที่ละติจูด 10:7:18 เหนือ ลองกิจูด 148:47:36 ตะวันออก จากนั้น เคลื่อนต่อไปบนมหาสมุทรแปซิฟิก

คุณเห็นอะไรไหม? เส้นทางคราสเต็มดวงผ่านสุมาตราพอดี ! และเมื่อมันผ่านลองกิจูด 105 องศาตะวันออก จะได้ละติจูดที่ 3.3 องศาใต้ เกือบทับพิกัดที่ภูเขาไฟกรากะตั้วระเบิด!

สุริยคราส (เต็มดวง) คือปัจจัยที่ให้โทษรุนแรงที่สุด เมื่อมันเกิดตรงตำแหน่งอ่อนไหวที่สุด โอกาสเกิดภัยพิบัติธรรมชาติยิ่งเพิ่มสูง นี่คือสิ่งที่โหราศาสตร์กังวล ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ถ้ามันเกิด มันจะเป็นภัยพิบัติที่รุนแรงมาก (กรากะตั้วปะทุครั้งสุดท้ายพฤษภาคม 2009)

เพราะสุริยคราสมีอิทธิพล (อย่างน้อย) 1 ปี ในปี 2016 จึงเป็นปีแห่งการเฝ้าระวังภัยพิบัติอย่างแท้จริง

บริเวณวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) อยู่บริเวณใด

วงแหวนไฟ (อังกฤษ: Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องลึกก้นสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่ ...

พื้นที่ในข้อใดที่อยู่ในบริเวณ “วงแหวนไฟ”

ประเทศที่ตั้ง หรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะ ...

แหวนแห่งไฟคืออะไร

วงแหวนไฟ คือ จุดที่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ชนกันอยู่ ซึ่งจะเกิดแผ่นดินไหว มีภูเขาไฟอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นความเสี่ยงของประเทศที่อยู่บริเวณแนววงแหวนไฟที่จะเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับประเทศไทยถือว่าอยู่ห่าง ดังนั้นแผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติจึงไม่มีแผนเตรียมพร้อมภูเขาไฟ ส่วนสึนามิที่ ...

วงแหวนแห่งไฟ มีความสําคัญอย่างไร

90% ของแผ่นดินไหวในโลกและ 81% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในโลก เกิดขึ้นตามแนววงแหวนแห่งไฟ ภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ของโลก 22 จาก 25 ครั้งในช่วง 11,700 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นในแนววงแหวนนี้เช่นกัน วงแหวนแห่งไฟจึงมีความสำคัญมาก