โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ได้พัฒนาและร่วมลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อตอบรับความต้องการในการใช้พลังงานสะอาดที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่โดยรอบ และการมุ่งสร้างความมั่นคงทางธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานและความเชี่ยวชาญที่แข็งแกร่งในด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวมวล และเชื้อเพลิงขยะมูลฝอย ทำให้เราสามารถยกระดับประสิทธิภาพด้านกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนและควบคุมต้นทุนในการบริหารจัดการต่าง ๆ ให้ลดลงได้อย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน GPSC มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้เรามีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อนำพลังงานและผลผลิตที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนี้ไปจำหน่ายให้แก่คู่ค้าและคู่สัญญาที่บริษัทฯ ได้ทำสัญญาไว้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งในแรงขับเคลื่อนและสนับสนุนสำคัญสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย โดยเราตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

ปัจจุบัน GPSC ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอนรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดการถ่ายเทพลังงานระหว่างกันจนเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current: DC) จากนั้นจึงส่งพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current: AC) และส่งเข้าสู่สายไฟฟ้า โดยมีหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) และสวิตช์เกียร์ (Switch Gear) ทำหน้าที่ในการเพิ่มแรงดันสำหรับการจ่ายไฟเข้าระบบสายส่งของการไฟฟ้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
นอกจากนี้ GPSC ยังได้เริ่มโครงการโรงไฟฟ้าหมุนเวียนจากเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) โดยหลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้จะเริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ เช่น โลหะ แก้ว เศษหิน ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลออกจากขยะชุมชน จากนั้นจึงป้อนเข้าสู่เครื่องสับย่อยเพื่อลดขนาด และนำไปผ่านกระบวนการบำบัดทางกายภาพเพื่อเปลี่ยนองค์ประกอบให้เหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง RDF ก่อนจะส่งเข้าสู่ระบบเตาเผา (Combustion System) เพื่อเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเถ้าที่อุณหภูมิ 850-900 องศาเซลเซียส พร้อมกับนำความร้อนที่ได้ไปใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF นี้ถือเป็นโครงการที่สามารถต่อยอดและแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะชุมชนตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้จะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนและกำจัดขยะชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รูปแบบของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
GPSC ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใน 4 รูปแบบ ได้แก่

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm)

เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าด้วยด้วยวิธีโฟโตโวลตาอิคส์ (Solar Photovoltaics) โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุด 90 เมกะวัตต์ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด โดยมีอุปกรณ์ในระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ หม้อแปลงไฟฟ้า และหม้อแปลงกำลัง

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารหรือโรงงานขนาดต่าง ๆ โดยระบบจะเริ่มทำงานเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ และจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจึงส่งเข้าสู่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ

  • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร

เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการ ราชพัสดุ และสหกรณ์การเกษตร โดยมีหลักการทำงานเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุด 5 เมกะวัตต์ตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด

เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ระบบการเผาไหม้ก๊าซซิไฟเออร์ (Gasification System) หรือกระบวนการแปรสภาพเป็นก๊าซ โดยนำก๊าซที่ได้มาสันดาปภายในเครื่องยนต์รอบต่ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และนำควันที่เกิดจากการเผาไหม้มาผ่านกระบวนการทำความสะอาดและแปลงสภาพเป็นก๊าซเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องปั่นไฟ

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - เปิดตัว “โซลาร์ฟาร์ม โคราช 1” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่สุดในอาเซียน ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง ระบุทุ่มทุนสร้าง 700 ล้าน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ร่วม 3 หมื่นแผง บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ เม.ย. โกยรายได้วันละกว่า 4.3 แสน เผยแผนลงทุน 2.4 หมื่นล้าน ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์พลังงานสะอาดรวม 34 แห่งใน 9 จว.ภาคอีสาน ตั้งเป้าดำเนินการเสร็จในปี 2556

วันนี้ (20 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านดอนชมพู ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา บริษัทโซล่า เพาเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ของประเทศไทย ได้ทำพิธีเปิดตัวโซลาร์ฟาร์มแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเป็นทางการ โดยใช้พื้นที่กว่า 100 ไร่ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 29,160 แผง มีกำลังผลิตไฟฟ้า 6 เมกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนี้

น.ส.วันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท โซล่า เพาเวอร์ มีแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคอีสาน 34 โครงการ รวมกำลังผลิต 205 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 24,000 ล้านบาท โดยจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2556 ซึ่งโครงการทั้งหมดมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยเน้นลงทุนในภาคอีสานซึ่งมีความเข้มข้นของรังสีจากแสงอาทิตย์สูง

ได้แก่ 1.จ.นครราชสีมา 9 แห่ง กำลังผลิต 54 เมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 6,300 ล้านบาท 2.จ.ขอนแก่น 10 แห่ง กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ เงินลงทุน7,000 ล้านบาท 3.จ.บุรีรัมย์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท

4.จ.สุรินทร์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท 5. จ.นครพนม 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท 6. จ.สกลนคร 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,400 ล้านบาท 7. จ.ร้อยเอ็ด 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,400 ล้านบาท 8. จ.หนองคาย 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ และ 9. จ.อุดรธานี 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ เงินลงทุนแห่งละ 700 ล้านบาท

สำหรับโซลาร์ฟาร์มโคราช 1 (ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา) แห่งนี้ ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และใหญ่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้การบริหารงาน ของ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 1) จำกัด มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สำคัญ เช่น มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม, บริษัท ไทยฟ้า เพาเวอร์ จำกัด เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 700 ล้านบาท ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เดือนเม.ย.2553 ที่ผ่านมา สร้างรายได้วันละ 4.3 แสนบาท

นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ยังได้ทำการพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มแห่งที่ 2 ภายใต้บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (สกลนคร 1) ที่ จ.สกลนคร สามารถจำหน่ายไฟฟ้าได้แล้วตั้งแต่เดือนก.พ. 2554 ที่ผ่านมา และ แห่งที่ 3 ภายใต้ บริษัทโซล่า เพาเวอร์ (นครพนม 1) จำกัด ที่ จ.นครพนม ซึ่งจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าได้ภายในเดือน มี.ค.2554 นี้

“การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลิษที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาน้อย และยังสามารถพัฒนาคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย” น.ส.วันดี กล่าว
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีที่ไหนบ้าง

โรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีที่ไหนบ้าง

พลังงานแสงอาทิตย์.
ชัยภูมิ : บำเหน็จณรงค์ -1 (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว) ... .
กาญจนบุรี : ท่าม่วง (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว) ... .
สระบุรี : พระพุทธบาท (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว) ... .
ชัยภูมิ : บำเหน็จณรงค์ (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว) ... .
นครราชสีมา : ด่านขุนทด (ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว).

โรงงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ของไทยตั้งอยู่จังหวัดใด

ดำเนินการโดย บริษัท สยาม โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ 1 จำกัด ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ํา มีที่ไหนบ้าง

ข้อมูลโรงไฟฟ้าและเขื่อน.
โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (จ.ลำปาง) โรงไฟฟ้าบางปะกง (จ.ฉะเชิงเทรา) โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (จ.นนทบุรี) ... .
เขื่อน เขื่อนศรีนครินทร์ (จ.กาญจนบุรี) เขื่อนภูมิพล (จ.ตาก) เขื่อนสิริกิติ์ (จ.อุตรดิตถ์) ... .
โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อน ท้ายเขื่อนแม่กลอง (จ.กาญจนบุรี) ท้ายเขื่อนขุนด่านปราการชล (จ.นครนายก).

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ใด

สำหรับโซลาร์ฟาร์มโคราช 1 (ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา) แห่งนี้ ถือเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และใหญ่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้การบริหารงาน ของ บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 1) จำกัด มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สำคัญ เช่น มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม, บริษัท ไทยฟ้า เพาเวอร์ ...