ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดเมื่อใด

ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นความรับผิดเมื่อใด

คําถาม ผู้ค้ําประกันถึงแก่ความตายไปก่อนลูกหนี้ผิดนัด สิทธิหน้าที่ความรับผิด ตามสัญญาค้ําประกันเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้ค้ําประกันหรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๖๓/๒๕๖๒

จําเลยที่ ๑ ทําสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินกู้ยืม ๔๐,๐๐๐ บาท ไปจากโจทก์แล้ว ในวันทําสัญญา หนี้เงินกู้ของจําเลยที่ ๑ จึงเป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๖๘๑ วรรคหนึ่ง จําเลยที่ ๒ และ ส. ผู้ค้ําประกัน ย่อมผูกพันตนต่อ เจ้าหนี้เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้นตามมาตรา ๖๕๐ วรรคหนึ่ง ผู้ค้ําประกัน หาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้อง กระทําเป็นการเฉพาะตัวไม่ จึงถือได้ว่าเป็นความผูกพันต่อเจ้าหนี้ในทางทรัพย์สินเท่านั้น ผู้ค้ําประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดต่อเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตามมาตรา ๖๙๔ แม้ภายหลังทําสัญญาค้ําประกันจะได้ความว่าโจทก์และจําเลยที่ ๑ ต่างไม่ถือเอากําหนด เวลาในการชําระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสําคัญอีกต่อไป อันมีความหมายว่าสัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญาที่มิได้กําหนดเวลาชําระหนี้ไว้ แต่เมื่อจําเลยที่ ๑ ผิดนัดในเวลาต่อมาและโจทก์ บอกเลิกสัญญา ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ ส. ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อ หนี้กู้ยืมดังกล่าวยังคงมีอยู่อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนวันที่ ส. จะถึงแก่ความตาย และสัญญา ค้ําประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ ส. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิด ต่าง ๆ ตามสัญญาค้ําประกันที่ ส. ทํากับโจทก์จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายและตกทอด แก่ทายาทตามมาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๖๐๐ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจําเลย ที่ ๓ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีและได้รับ ชําระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของ ส. ตามมาตรา ๑๗๓๔ และมาตรา ๑๗๓๗

สรุป ผู้ค้ําประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดต่อเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตามมาตรา ๖๙๔ สิทธิหน้าที่และความรับผิด ต่าง ๆ ตามสัญญาค้ําประกันที่ ส. ทํากับโจทก์จึงเป็นกองมรดกของผู้ตายและตกทอด แก่ทายาทตามมาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง

ความเห็นส่วนตัว ค่อนค้างเห็นแย้งกับฎีกาดังกล่าวเพราะความรับผิดในการค้ำประกันควรสิ้นสุดลงเมื่อผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

เข้าใจกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ หรือ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 หรือ กฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสิทธิของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 แน่นอนแล้วนั้น
การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ว่า
มีผู้ค้ำประกันที่เป็นผู้ค้ำประกันรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาจำนวนมาก ได้ไปค้ำประกันการกู้เงินให้แก่ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือพวกพ้อง ซึ่งในกฎหมายเดิมได้ระบุว่า ผู้ค้ำประกันจะเป็นเสมือน “ลูกหนี้ร่วม” ทำให้ทางสถาบันการเงินจะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้ ซึ่งถือว่าสิ่งนี้ไม่เป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันรายย่อย จึงทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา
“ปกติแล้วเจ้าหนี้ไปทวงเงินจากลูกหนี้ พอลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินก็ค่อยไปเอาเงินจากผู้ค้ำประกัน แต่ที่ผ่านมาหากเจ้าหนี้บอกว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องจ่ายเงินคืนเสมือนเป็นลูกหนี้ร่วม ก็หมายความว่า เจ้าหนี้จะเรียกเก็บเงินจากใครก่อนก็ได้ แต่กฎหมายฉบับนี้ คือ ผู้ค้ำประกันจะไม่ต้องรับผิดชอบเหมือนเป็นลูกหนี้ร่วมแล้ว แม้ผู้ค้ำประกันจะยินยอมใช้หนี้ แต่ศาลก็จะไม่อนุญาต”
“ที่ผ่านมาปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืมมักจะอาศัยความได้เปรียบในทางการเงิน กำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีนี้จึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา”
สามารถสรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20 ) พ.ศ.2557 โดยง่ายได้ดังนี้
(1) กฎหมายใหม่นี้จะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป
(2) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากไม่ความชัดเจน อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
(3) สัญญาค้ำประกันถ้ามีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ข้อตกลงในส่วนนั้นจะตกเป็นโมฆะ (หมายความว่า ข้อตกลงนั้นใช้บังคับกันไม่ได้)
(4) ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตามมาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ หากฝ่าฝืน ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ
(5) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจน แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ (กำหนดขั้นตอนการปฎิบัติของเจ้าหนี้)
(6) ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกันลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะและหากมีการตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่าเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ
(7) การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่
(8) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน 1 ปี (โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จำนองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)

สืบค้นจาก : http://www.thanaiphorn.com/content.php?type=4&id=187

ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเกิดขึ้นเมื่อใด

ผู้ค้ำประกัน จะไม่จำกัดความรับผิดหรือจะจำกัดความรับผิดชอบของตนไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน แต่ถ้าไม่จำกัดความรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้ ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดจนสิ้นเชิง ...

สัญญาค้ำประกันจะระงับลงเมื่อใด

9. ความระงับสิ้นไปของสัญญาค้ำประกันได้แก่ หนี้ปรธานระงับแล้ว ตามมาตรา698 การค้ำประกันหนี้ที่เกิด ขึ้นในอนาคตไม่จำกัดเวลา ผู้ค้ำประกันอาจบอกเลิกสัญญาในหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้ ตามมาตรา 699 , เมื่อหนี้มีำกำหนดชำระเวลาที่แน่นอน แต่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้น ตามมาตรา 700 หรือกรณีผู้ค้ำประกันขอ ...

คนค้ำประกันต้องรับผิดชอบไหม

ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบมูลหนี้ทั้งหมดเหมือนกับลูกหนี้ทุกประการอีกต่อไป ซึ่งหมายถึง ผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบชำระหนี้แทนในส่วนของตนเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบดอกเบี้ย โดยหลังจากที่ผู้ค้ำประกันใช้หนี้แทนลูกหนี้แล้ว ก็สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ย โดยฟ้องลูกหนี้เรียกเงินตามจำนวนที่ชำระไปแทนพร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ได้

ทำอย่างไรจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีเอากับผู้ค้ำประกันได้

การที่จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญมิใช่ตกลงกันด้วยปากเปล่าซึ่งฟ้องไม่ได้ตามธรรมดาถ้าทำสัญญาค้ำประกันตามแบบซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปก็ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเป็นแบบซึ่งทำโดยผู้รู้กฎหมายแต่ถ้าทำกันเองก็อาจเกิดปัญหาได้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ก็ต้อง ...