ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

  1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างการ อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
  2. กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  3. กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ
  4. หากท่านกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ท่านสามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
  5. หากท่านมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  6. ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  7. สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
  8. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
  9. กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่องดตรวจเอกซเรย์
  10. ท่านสามารถเข้ารับบริการตรวจสุขภาพได้ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

 

ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

As our hospital is JCI accredited, should you feel that we do not meet this international standard,
you can direct your concern to JCI (Joint Commission International) Click

 

ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

Copyright © 2021
Bangkok Hospital Pattaya
All rights reserved.

ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจตอนไหน

ปัญหาเรื่องสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการช่วยหาสาเหตุของโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ขณะเดียวกันก็ทำให้รู้ถึงสภาพร่างกายว่าเป็นปกติดีหรือไม่ ซึ่งการตรวจสุขภาพแต่ละบุคคลมีปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่แตกต่างกัน เมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง แพทย์จะมีการตรวจร่างกายทั่วไปก่อนเสมอ เช่น ดูน้ำหนัก ความสูง ประเมินภาวะอ้วนและผอม ตรวจดูระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ตลอดจนซักถามข้อมูลของผู้รับการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นอายุ ประวัติของคนในครอบครัว และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อคัดกรองความผิดปกติและประเมินความเสี่ยงของโรคเบื้องต้นได้

ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพ

  • กลุ่มเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0-18 ปี)
  • กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 18-60 ปี)
  • กลุ่มวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป

การตรวจสุขภาพแต่ละช่วงวัยควรตรวจสุขภาพอย่างไร
กลุ่มเด็กและวัยรุ่น อายุ 0 – 18 ปี

  • ตรวจเช็กสุขภาพทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุกครั้งที่มาตรวจพัฒนาการและรับการฉีดวัคซีนในวัยรุ่นควรเช็กด้วย BMI ด้วย
  • ได้รับวัคซีนที่เหมาะสมตามช่วงวัย
  • ตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการ
    – ตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่องมือ OAE ภายใน 6 เดือนหลังคลอด
    ตรวจเลือด เพื่อค้นหาภาวะซีด ในทารกแรกเกิดและให้การดูแลรักษาภาวะซีดเพื่อป้องกันไม่ให้ IQ ต่ำ ช่วงอายุ 6 – 12 / 3 – 6 ปี / ช่วงวัยรุ่น (หญิง)
  • ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
    – ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็ก
    – ด้านการใช้ภาษาและการสื่อสาร
    – ด้านการช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม
    – ด้านสติปัญญาและจริยธรรม
  • ค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงตามวัย
    – การปล่อยปละละเลยจนเสี่ยงอันตราย
    – ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์
    – ปัญหาการเรียน ติดเกม เครียด
    – ปัญหาครอบครัว เรื่องเพศ ยาและสารเสพติด
  • ส่งเสริมสุขภาพด้านอื่นเพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสม
    – ดูแลช่องปากและฟัน
    – การมีโภชนาการที่ดีและการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

กลุ่มวัยทำงาน อายุ 18 – 60 ปี

  • ตรวจรายการทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจสายตา อายุระหว่าง 40 – 60 ปี ควรตรวจวัดสายตา 1 ครั้ง
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งที่จำเป็น
    – มะเร็งเต้านม อายุ 30 – 39 ปี ควรตรวจทุก 3 ปี อายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจทุกปี ควรคลำเต้านมด้วยตนเอง หากมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
    – มะเร็งปากมดลูก อายุ 30 – 65 ปี ควรตรวจทุก 3 ปี
    – มะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจอุจจาระทุกปี
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    – ตรวจหาภาวะซีด อายุ 18 – 60 ควรตรวจหาภาวะซีด 1 ครั้ง เพื่อให้การดูและรักษาที่เหมาะสม
    – ตรวจหาเบาหวาน อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 3 ปี ถ้าตรวจเจอเร็วจะรักษาได้เร็ว ป้องกัน และชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
    – ตรวจหาไขมันในเลือด อายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจทุก 5 ปี ช่วยคัดกรอง และป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • แบบประเมินสภาวะสุขภาพของคนวัยทำงานที่จำเป็น สามารถคัดกรองได้ด้วยตนเอง หรือ บุคลากรสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมิน ภาวะซึมเศร้า ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด การติดบุหรี่ สุรา ยาและสารเสพติด เพื่อให้รับคำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม

กลุ่มวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

  • ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ตรวจสายตา อายุ 60 – 64 ปี ตรวจทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น
    – ตรวจปัสสาวะ ควรตรวจทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
    – ตรวจหาภาวะซีด ควรตรวจทุกปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
    – ตรวจหาไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี
    – ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจทุกปี
    – ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต
  • ตรวจคัดกรองมะเร็ง
    – มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
    – มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี
    – มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี
  • ประเมินสภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ
    – ภาวะโภชนาการ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม
    – ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาติ
    – ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก
    – ภาวะสมองเสื่อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต
    – ภาวะซึมเศร้า เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า และได้รับการวินิจฉัยช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสม

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้รับการตรวจสุขภาพมีการดูแลตนเองมากขึ้นและไม่ปล่อยปะละเลย หรือเพิ่มความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคกับตนเองได้นะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
สสส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
ควรตรวจสุขภาพอย่างไรในแต่ละช่วงวัย
www.thaihealthcenter.org

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.5]

ตรวจสุขภาพประจำปี ตอนไหน

การตรวจสุขภาพประจำปี ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัย 30 ปีขึ้นไปเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพและป้องกันหรือรักษาอาการเจ็บป่วยที่อาจจะแอบแฝงและไม่แสดงอาการได้อย่างทันท่วงที นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพรายบุคคลแล้วยังเป็นการวางแผนสุขภาพสำหรับสมาชิกในครอบครัวในกรณีที่มีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย ...

การตรวจสุขภาพประจําปีควรตรวจปีละกี่ครั้ง

ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI และวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจสายตา อายุ 60 – 64 ปี ตรวจทุก 2 – 4 ปี อายุ 65 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 1-2 ปี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็น การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น

การตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง

การตรวจสุขภาพประจำปี คือการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ประกอบด้วย การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ หรือที่นิยมเรียกว่า ตรวจแล็บ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ตรวจไขมัน

ตรวจสุขภาพ ทุกปีไหม

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ควรตรวจทุกปี เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของไต ตรวจหาเบาหวาน ควรตรวจทุกปี ตรวจหาไขมันในเลือด ควรตรวจทุก 5 ปี.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจอุจจาระทุกปี.
มะเร็งเต้านม ตรวจทุกปีจนถึงอายุ 69 ปี.
มะเร็งปากมดลูก ตรวจทุก 3 ปีจนถึงอายุ 65 ปี.