การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR คืออะไร?

CPR ย่อมาจากคำว่า Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง ปฏิบัติการช่วยชีวิตยามฉุกเฉินเพื่อให้ปอดและหัวใจฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก่อนถึงมือแพทย์เพื่อให้การรักษาเฉพาะต่อไป

การทำ CPR เป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยคืนชีวิตให้กับผู้ป่วย โดยผสมผสานระหว่าง

  • การผายปอด เพื่อช่วยเพิ่มอากาศเข้าไปในปอด
  • การกดหน้าอกบนตำแหน่งหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจปั๊มเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนส่งต่อออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ

เมื่อไหร่ถึงจะทำ CPR?
การทำ CPR มักจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เช่น คนจมน้ำ คนถูกไฟฟ้าดูด ผู้ป่วยหัวใจวาย โดยควรรีบทำ CPR ทันทีภายในเวลา 4 นาทีแรกหลังจากหยุดหายใจ เพราะถ้าเซลล์สมองขาดออกซิเจน ก็จะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตายไป

แนวทางปฏิบัติการปฐมพยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพ
ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนที่สำคัญ ตามลำดับ C-A-B

  • Chest compression – กดหน้าอก
  • Airway – เปิดทางเดินหายใจ
  • Breathing – ผายปอด

การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

5 ขั้นตอน ก่อนการทำ CPR

  • ขั้นตอนที่ 1 : สังเกตดูความปลอดภัย
    ตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าช่วยเหลือ ถ้าอยู่ในสถานการณ์ไม่ปลอดภัย เช่น ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ ตึกถล่ม ห้ามเข้าไปช่วยเหลือโดยเด็ดขาด รอดูสถานการณ์ให้ปลอดภัย แล้วเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังสถานที่ปลอดภัย เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 2 : ปลุกเรียก/ตบไหล่ เพื่อดูการตอบสนองตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็ง แล้วปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงดัง และตบที่ไหล่ทั้งสองข้าง หากผู้ป่วยตื่น รู้สึกตัว หรือหายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง
  • ขั้นตอนที่ 3 : ฟังเสียงหายใจและดูจังหวะการหายใจที่หน้าอก
    ตรวจดูว่าหายใจหรือไม่ โดยเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วย เพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้ป่วย และตาจ้องดูการเคลื่อนไหวที่หน้าอกของผู้ป่วยว่ากระเพื่อมขึ้นลงเป็นจังหวะหรือไม่
  • ขั้นตอนที่ 4 : ร้องขอความช่วยเหลือและโทรแจ้ง 1669
    โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 แจ้งว่ามีคนหมดสติ ไม่หายใจ ระบุสถานที่เกิดเหตุ ขอรถพยาบาลและเครื่อง AED พร้อมกับระบุชื่อ+เบอร์โทรคนที่ติดต่อได้
  • ขั้นตอนที่ 5 : เริ่มทำ CPR
    หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ต้องรีบกดหน้าอก

การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

ขั้นตอนการปั๊มหัวใจ

1. วิธีการทำ CPR ในผู้ใหญ่ (อายุเกิน 8 ปี)

  • ขั้นตอนที่ 1 : กดหน้าอก 30 ครั้ง
    จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงตำแหน่งที่กระดูกซี่โครงต่อกับกระดูกอกส่วนล่างสุด วางสันมืออีกข้างบนตำแหน่งถัดจากนิ้วชี้และนิ้วกลางนั้น ซึ่งตำแหน่งของสันมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอกนี้จะเป็นตำแหน่งที่ถูกต้องในการปั๊มหัวใจต่อไป
  • หากไม่แน่ใจว่าตำแหน่งกระดูกซี่โครงอยู่ตรงไหน ง่ายที่สุดก็คือ ให้วางส้นมือ (ข้างที่ไม่ถนัด) ตรงกลางหน้าอก ระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง

วางมืออีกข้าง (ควรเป็นมือข้างที่ถนัด) ทับลงบนหลังมือที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วเหยียดนิ้วมือตรง จากนั้นเกี่ยวนิ้วมือทั้ง 2 ข้างเข้าด้วยกัน เหยียดแขนตรง โน้มตัวตั้งฉากกับหน้าอกผู้บาดเจ็บ ทิ้งน้ำหนักลงบนแขนขณะกดหน้าอกผู้บาดเจ็บ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 2-2.4 นิ้ว ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที

  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    วางมือข้างหนึ่งไว้ที่คางและอีกข้างไว้บนศีรษะ เงยศีรษะขึ้นพร้อมยกคางขึ้นเพื่อให้ศีรษะแหงนไปด้านหลัง จากนั้นบีบจมูก แล้วเป่าลมเข้าปากจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ
  • การเป่าลมเข้าปาก ผู้ช่วยเหลือมีความเสี่ยงต่อการติดโรคจากการช่วยหายใจ เช่น โรคโควิด-19 ไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ช่วยเหลือจึงสามารถเลือกการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง 200 ครั้ง หรือประมาณ 2 นาที

การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

2. วิธีการทำ CPR ในเด็ก (อายุ 1-8 ปี)

  • ขั้นตอนที่ 1 : กดหน้าอก 30 ครั้ง
    กดหน้าอกโดยใช้ส้นมือวางลงบนกึ่งกลางกระดูกหน้าอก (จะใช้มือเดียวหรือสองมือประสานกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดตัวเด็ก) และกดหน้าอกอย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก (ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร) ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    เชยคางให้ท่อหายใจเปิดออก และใช้มืออีกข้างหนึ่งบีบจมูกเด็ก แล้วเอาปากครอบเฉพาะปากเด็กให้สนิท เป่าลมจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ

การทำ cpr ควรทำในเวลาใด

3. วิธีการทำ CPR ในทารก (อายุ 0-1 ปี)

  • ขั้นตอนที่ 1 : กดหน้าอก 30 ครั้ง
    กดหน้าอกโดยใช้ปลายนิ้วมือ 2 นิ้วกดกลางกระดูกหน้าอก ความลึก 1.5 นิ้ว อัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
  • ขั้นตอนที่ 2 : ผายปอด 2 ครั้ง
    เชยคางขึ้นเล็กน้อยเพื่อเปิดท่อหายใจ แล้วเอาปากครอบทั้งปากและจมูกของเด็กทารก เป่าลมจนหน้าอกขยับขึ้นนาน 1 วินาที ผายปอดติดต่อกัน 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก ทำซ้ำเดิมเรื่อย ๆ
  • กรณีที่มีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ปรับเปลี่ยนอัตราการกดหน้าอกจาก 30 ครั้ง ผายปอด 2 ครั้ง มาเป็นกดหน้าอก 15 ครั้ง ผายปอด 2 ครั้ง แล้วประเมินซ้ำเมื่อครบทุก ๆ 10 รอบ

อันตรายจากการทำ CPR ผิดวิธี
1. การวางมือผิดตำแหน่ง อาจส่งผลทำให้ซี่โครงหักได้ ซึ่งถ้าซี่โครงหักอาจจะไปทิ่มแทงโดนอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ ม้าม แล้วทำให้เกิดการตกเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
2. การกดหน้าอกด้วยอัตราความเร็วที่มากเกินไป เบาเกินไป หรือถอนแรงหลังกดออกไปไม่หมด อาจทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อย และทำให้ขาดออกซิเจนได้
3. การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้กระดูกหน้าอกขึ้นลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้กระดูกหัก หรือหัวใจช้ำได้
4. การกดหน้าอกลงไปลึกเกินไป อาจส่งผลให้หัวใจช้ำได้
5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ หรือการเป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้าในกระเพาะอาหาร เกิดอาการท้องอืด อาเจียน ทำให้ลมไม่เข้าปอด หรือเข้าปอดไม่สะดวก และทำให้ปอดขยายตัวได้อย่างไม่เต็มที่

แหล่งข้อมูล : โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย, เว็บไซต์ Hello คุณหมอ

การทำ CPR ควรทำเมื่อใด

เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง

การทำ CPR ควรทำในเวลาใด เพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ

“ที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อล้มลงไม่หายใจแล้ว สมองจะเริ่มเสียหายภายใน 4 นาที ต้องทำให้เลือดคนป่วยไปเลี้ยงสมองให้ได้” เขตนภันต์ เล่าถึงสภาพร่างกายมนุษย์ หากจะช่วยชีวิตคนในช่วงฉุกเฉินที่ไม่มีแพทย์พยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่เรียกว่า CPR จึงจำเป็นมาก

การเป่าปากควรทำกี่ครั้งก่อนปั้มหัวใจ

หากไม่ขยับ ให้เริ่มกดหน้าอกทันทีและช่วยหายใจ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้งและใช้ เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ.
เปิดทางเดินหายใจ แล้วบีบจมูกทั้งสองข้างโดยการจับที่ปีกจมูก.
ให้ลมหายใจโดยการเป่าจากปากสู่ปาก.
ให้ลมหายใจทั้งหมด 2 ครั้ง(อย่างน้อยครั้งละ 1 วินาที).
สังเกต การขยับของหน้าอก.

การทําซีพีอาร์ มีกี่ขั้นตอน

6 ขั้นตอนการช่วยคนหมดสติให้ฟื้นคืนชีพ (CPR).
1. ปลุก ... .
2. โทร ... .
3. ปั๊ม ... .
4. แปะ ... .
5. ช็อก ... .
6. ส่ง.