บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนใด

รหัสข้อมูล

TLD-001-212

ชื่อเรื่องหลัก

รามเกียรติ์, บทละคร 4

ยุคสมัย

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

บทละคร 

ฉันทลักษณ์

โคลงสี่สุภาพ 

เนื้อเรื่องย่อ

รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นบทละครที่มีเนื้อเรื่องแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกตั้งแต่หนุมานไปถวายแหวนจนถึงทศกัณฐ์ล้ม อีกตอนหนึ่งมีเนื้อความไม่ต่อเนื่องกับตอนแรก เรื่องเริ่มตั้งแต่พระรามประพาสป่าจนถึงพระอิศวรอภิเษกพระรามกับนางสีดา

รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มุ่งจะใช้เป็นบทแสดงละครรำจึงเลือกเฉพาะตอนที่เหมาะสมจะแสดงละครและทรงปรับเนื้อหาและถ้อยคำให้ไพเราะและเหมาะสมกับการแสดง                              

รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นบทละครรามเกียรติ์ที่มีความไพเราะและถือเป็นแบบแผนของบทละครในดังปรากฏว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐานใน พ.ศ. 2456 ได้มีพระราชดำริว่าจะพิมพ์หนังสือดีพระราชทานแก่ผู้ที่มาช่วยงาน ทรงรำลึกถึงรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ว่า “นักเลงหนังสือก็ดี นักเลงดูละครก็ดี ต้องยอมทั้งนั้นว่าเป็นหนังสืออันดี เป็นบทกลอนไพเราะ และถ้อยคำสำนวนดี เป็นตัวอย่างดียิ่งอันหนึ่งแห่งจินตกวีนิพนธ์ในภาษาไทยเรา สมควรแล้วที่จะเป็นหนังสือซึ่งจะรักษาไว้เป็นแบบแผน”  จึงได้ทรงเลือกบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือที่จะพิมพ์พระราชทาน

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1 – 3. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2498.

คำสำคัญ

รหัสข้อมูล

TLD-001-211

ชื่อเรื่องหลัก

รามเกียรติ์, บทละคร 3

ยุคสมัย

วันที่แต่ง

พ.ศ. 2340

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

บทละคร 

ฉันทลักษณ์

โคลงสี่สุภาพ 

เนื้อเรื่องย่อ

บทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นรามเกียรติ์ฉบับไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ตอนต้นเรื่องเป็นร่ายสดุดีพระมหากษัตริย์ เนื้อเรื่องแต่งเป็นกลอนบทละครเริ่มตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดินจนถึงพระรามเสด็จกลับเมืองอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์นี้นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักช่วยกันแต่งเรื่องรามเกียรติ์ที่เคยใช้เป็นบทละครในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยาและสูญหายไปเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายในปี พ.ศ.2310 เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงแก้ไขจนพอพระทัยแล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้ประทับตราเป็นฉบับพระราชนิพนธ์ 

เนื้อเรื่องเริ่มตั้งแต่หิรันตยักษ์ได้พรจากพระอิศวรจึงกำเริบม้วนแผ่นดินไปไว้ใต้บาดาล พระนารายณ์จึงอวตารเป็นหมูป่ามาสังหารหิรันตยักษ์แล้วกลับไปบรรทมที่เกษียรสมุทรจนเกิดดอกบัวผุดจากพระนาภี ภายในดอกบัวมีกุมารองค์หนึ่ง พระนารายณ์นำกุมารนั้นไปถวายพระอิศวร พระอิศวรประทานนามว่าอโนมาตันและบัญชาให้สร้างเมืองอยุธยาให้แก่พระกุมาร

เนื้อความตอนต้นกล่าวถึงกำเนิดตัวละครทั้งฝ่ายเมืองอยุธยาและเมืองลงกาตลอดจนตัวละครวานรและเทวดาต่างๆ กำเนิดตัวละครสำคัญของเรื่อง เช่น นนทกมาเกิดเป็นทศกัณฐ์โอรสท้าวลัสเตียน ทศกัณฐ์มีนิสัยเป็นพาลมักก่อความเดือดร้อนให้เทวดาและฤาษีเสมอ ฤาษีทั้งหลายจึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารไปปราบยักษ์ พระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามโอรสท้าวทศรถ สังข์ จักรและบัลลังก์นาค รวมทั้งพระลักษมีตลอดจนเทวดาทั้งหลายก็แบ่งภาคมาเป็นบริวารพระรามด้วย เมื่อพระรามเจริญวัยขณะที่กำลังเล่นในอุทยานได้ใช้กระสุนยิงนางค่อม คนรับใช้พระนางไกยเกษี นางค่อมผูกพยาบาทพระราม ต่อมาเหล่าฤาษีเชิญพระรามไปปราบกากนาสูรและบริวารที่คอยรบกวนเหล่าฤาษี และพระรามได้อภิเษกกับนางสีดาที่เมืองมิถิลา เมื่อพระรามจะอภิเษกเป็นพระยุพราช นางค่อมทูลยุยงพระนางไกยเกษีให้ขอราชบัลลังก์ให้พระพรตครองก่อน และให้พระรามออกเดินป่าเป็นเวลา 14 ปี ท้าวทศรถจำต้องให้พรตามที่นางไกยเกษีขอพระราม นางสีดาและพระลักษณ์ออกจากเมืองอยุธยา ระหว่างที่ผจญภัยในป่า นางสำมะนักขาหลงรักพระรามจึงเข้ายั่วยวนและถูกพระลักษณ์ลงโทษ นางสำมะนักขาไปขอให้ พญาทูษณ์ พญาขร และตรีเศียรพี่ของตนมาแก้แค้น ทั้งสามถูกพระรามสังหาร นางสำมะนักขาจึงนำความไปทูลทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์หลงรักนางสีดาจึงให้มารีศแปลงเป็นกวางทองมาล่อนางสีดา เมื่อพระรามออกตามกวางทอง ทศกัณฐ์ก็ลักนางมาไว้ในสวนเมืองลงกา พระรามและพระลักษณ์ออกติดตามจนได้พบหนุมาน หนุมานนำสุครีพมาเฝ้าพระราม พระรามรับปากจะปราบพาลีเจ้าเมืองขีดขินที่ไม่อยู่ในธรรม พระรามได้พลวานรของเมืองขีดขินและเมืองชมพูจึงเตรียมถมถนนไปเมืองลงกา ส่วนทศกัณฐ์ไม่ฟังคำเตือนของพิเภกและขับไล่พิเภกออกจากเมืองลงกา พิเภกจึงมาสวามิภักดิ์กับพระราม ทศกัณฐ์เชิญญาติวงศ์หลายตนมาร่วมรบแต่ถูกสังหารจนหมด ทศกัณฐ์จึงออกรบเองและถูกสังหารในที่สุด เมื่อปราบอสูรเมืองลงกาหมดแล้ว พระรามให้พิเภกครองเมืองลงกาแทนส่วนพระองค์ก็เสด็จกลับเมืองอยุธยา ต่อมาท้าวมหาบาลสหายทศกัณฐ์ยกทัพมาแก้แค้นแต่พลวานรมาช่วยไว้ได้ หลังจากนั้นไพนาสุริวงศ์เป็นกบฏไปเข้ากับท้าวจักรวรรดิให้ยกทัพมายึดเมืองลงกา พระรามให้พระพรตและพระสัตรุดมาปราบ 

ครั้งหนึ่งนางอดูลปีศาจหลอกให้นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ พระรามเข้าพระทัยผิดสั่งให้นำนางสีดาไปประหาร พระลักษณ์ปล่อยนางไป นางจึงไปอาศัยอยู่กับพระฤาษี จนประสูติพระมงกุฎและฤาษีชุบพระกุมารอีกองค์หนึ่งชื่อพระลบ กุมารทั้งสองเรียนศิลปศาสตร์กับพระฤาษีจนชำนาญ ครั้งหนึ่งได้แสดงฤทธิ์จนสะเทือนไปถึงเมืองอยุธยา พระรามให้ปล่อยม้าอุปการหาตัว พระมงกุฎจับม้าไว้ได้ ภายหลังพระรามทราบว่าพระมงกุฎเป็นพระโอรส นางสีดาไม่ยอมกลับเมืองอยุธยา พระรามแสร้งทำเป็นสวรรคต นางสีดาจึงยอมเข้าเมืองอยุธยา แต่เมื่อทราบว่าโดนหลอกนางก็แทรกแผ่นดินหนีไป พระรามออกประพาสป่าอีกและได้ปราบอสูรอีกหลายตน พระอิศวรต้องการให้พระรามและนางสีดาปรองดองกัน จึงทรงไกล่เกลี่ยและให้อภิเษกกันอีกครั้ง ทั้งสองจึงคืนดีกัน ต่อมาคนธรรพ์มารบกวนฤาษีและโจมตีเมืองไกยเกษ พระรามจึงให้พระมงกุฎและพระลบไปปราบคนธรรพ์ หลังจากนั้นเมืองต่างๆ ก็รุ่งเรืองสืบมา

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 1 – 4. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2540.

คำสำคัญ

รามเกียรติ์ , พระราม , พระลักษณ์ , นางสีดา , ทศกัณฐ์ลักพานางสีดา , หนุมาน , นางลอย , นาคบาศ , อินทรชิต , พิธีพรหมมาสตร์ , ช้างเอราวัณ , สุครีพ , สุครีพหักฉัตร , องคต , เผากรุงลงกา , เมืองขีดขิน , เมืองชมพู , พาลี , นางเบญกาย , สุพรรณมัจฉา , มัจฉานุ , ท้าวภาณุราช , ไมยราพ , พิเภก , พระพรต , พระสัต , พระมงกุฎ