การละครไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 มีลักษณะ อย่างไร

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางทีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น 1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่น การรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุดได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ 3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน 3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
4.มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น

โขนตอนพระรามตามกวาง

เป็นตอนหนึ่งของการแสดงโขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง คือ มารีจพระยายักษ์เป็นลูกของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิดความรักใคร่อยากได้ พระรามจึงเสด็จตามกวางทองไปในป่า จุดเด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่ ท่ารำของพระรามและกวางทอง ที่หนีและไล่ในท่วงทีลีลานาฏศิลป์โขน ตามทำนองและจังหวะเพลง โดยเฉพาะในเพลงหน้าพาทย์เชิดฉาน ซึ่งมีท่วงทำนองที่ระทึกใจ ตื่นเต้น เมื่อกวางทอง

ในบรรดาพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 งานพระราชนิพนธ์เป็นพระราชกรณียกิจหนึ่งที่พระองค์ทรงใส่พระทัยยิ่ง ตลอดพระชนมายุทรงมีงานพระราชนิพนธ์มากกว่า 1,200 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนั้นมี “บทละครพูด” งานพระราชนิพนธ์ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในรัชกาลของพระองค์

รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเป็นจำนวนมาก ทั้งบทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ และบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลหรือแปลงงานจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ งานนิพนธ์ประเภทละครของพระองค์ได้รับอิทธิพลจากงานประพันธ์ของกวีต่างชาติหลายคน เช่น เอมิเล่ แฟแบร์ (Émile Fabre) ในเรื่อง ตั้กแตน ซึ่งมาจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส เรื่อง เลซ์ โซเตอะแรลซ์ (Les Sauterelles) หรือเรื่อง ท่านรอง ของโรเบริ์ต มาร์แชลล์ (Robert Marshall) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง เซกั่น อิน คอมมานด์ (Second in Command)

วัตถุประสงค์ในการพระราชนิพน์บทละครพูด นอกจากจะใช้สำหรับเล่นละครและใช้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว หน้าที่สำคัญของงานบทละครพูดที่ทรงพระราชนิพนธ์คือ การถ่ายทอดแนวพระราชดำริของพระองค์ผ่านตัวละคร เพื่อสื่อสารต่อผู้อ่านหรือผู้ชม บทละครพูดที่แต่งขึ้นสามารถให้วาทกรรมเสียดสี วิพากษ์สังคมขณะนั้น, โน้มน้าวใจประชาชนให้คล้อยตาม รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ตามพระราชประสงค์

งานพระราชนิพนธ์บทละครมักปรากฏ “ทหาร” เป็นตัวละครเอกของเรื่อง หรือเป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุที่มีพระราชนิยมโปรดให้ผู้ชายอยู่ในสถานะนักรบ โดยมุ้งเน้นการนำเสนอภาพของความเป็นนักรบที่กล้าหาญเช่นเดียวกับอัศวินของยุโรป ลักษณะทหารในงานพระราชนิพนธ์จึงมีภาพลักษณ์กล้าหาญ สุภาพบุรุษ เสียสละ และที่สำคัญคือจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้

ฉวยอำนาจ รัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้เสือป่าเล่นระหว่างการซ้อมรบเสือป่า ที่ค่ายหลวงบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2466 โดยทรงใช้นามปากกาว่า “ศรีอยุธยา” ฉวยอำนาจ เป็นเรื่องราวของนายทหารกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองกว่า “คณะกู้ชาติคอโรเนียน” ที่พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นระบบสาธารณรัฐ ด้วยสมาชิกในคณะกู้ชาติต่างมีความเห็นว่า ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของพระเจ้าวิคเตอร์ที่ 6 แห่งคอโรเนีย แต่แท้จริงแล้วต้นเหตุของปัญหามาจากบรรดานักการเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เรื่องจบลงด้วยพระเจ้าวิคเตอร์ที่ 6 อภัยโทษให้คณะกู้ชาติ ด้วยทรงเห็นว่ากระทำไปเพราะโดนยุยง

จะเห็นได้เค้าโครงเรื่อง ฉวยอำนาจ คล้าย ๆ กับเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ ฉวยอำนาจ สร้างภาพความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระองค์กับทหาร และอธิบายถึงความล้มเหลวงของระบบรัฐสภาที่กบฏ ร.ศ.130 ต้องการนำมาใช้แทนระบอบราชาธิปไตยในเวลานั้น

หัวใจนักรบ บทละครพูดในพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งยังถูกนำมาเล่นเป็นละครเรื่อยมา เค้าโครงเครื่องของ หัวใจนักรบ พระภิรมย์วรากร-ข้าราชการเกษียณที่มองว่า กิจการเสือป่าเป็นเรื่องเหลวไหล ผู้ที่มาเป็นเสือป่าล้วนแต่ถูกบังคับ หรือไม่ก็เข้าร่วมเพื่อหาประโยชน์ในหน้าที่ราชการ กระทั่งวันหนึ่งมีกองกำลังข้าศึกยกเข้ามา พระภิรมย์วรากรจึงได้เห็นเสือป่าป้องกันประเทศอย่างกล้าหาญ

รัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง หัวใจรักรบ ขึ้นในปี 2456 โดยทรงมีจุดมุ่งหมายชักจูงให้คนไทยหันมาสนับสนุนกิจการเสือป่าที่พระองค์ทรงก่อตั้งขึ้นในปี 2454

นอกจากนี้ยังมีงานพระราชนิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจการทหารอื่นๆ อีก เช่น เสียสละ, ท่านรอง, มหาตมะ, ผิดวินัย ฯลฯ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารให้กับพระองค์ ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ผู้นำทางทหาร และให้ความสําคัญแก่พระองค์ในฐานะจอมทัพของชาติ ผู้ที่จะนำพาชาติให้รอดพ้นจากอันตราย อริราชศัตรู

งานพระราชนิพนธ์เหล่านี้ยังถ่ายทอดภาพลักษณ์ ทหารที่ดีที่จะต้องมีความจงรักภักดี และพร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อปกป้ององค์พระมหากษัตริย์ ทรงใช้งานพระราชนิพนธ์ประเภทบทละครในการตอบโต้ข้อวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลต่าง ๆ ต่อพระราชกรณียกิจทางทหารในพระองค์ทั้งเรื่องเสือป่า การเรี่ยไรเงินเพื่อซื้อเรือหลวงพระร่วง รวมทั้งยังใช้งานเหล่านี้อธิบายถึงกระแสต่อต้านจากทหารที่เกิดขึ้นกับพระองค์ในเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ฯลฯ

งานพระราชนิพนธ์ยังถูกใช้เพื่อสนับสนุนพระบรมโชบายทางการทหารของพระองค์ เกี่ยวกับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรของสยาม ด้วยความจำเป็นที่จะต้องชักจูงให้คนไทยจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินพระราชหฤทัยของพระองค์ในการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์อันเจ็บปวดที่ทั้งสองชาติเคยกระทําย่ำยีประเทศสยาม ให้หันมาสนับสนุนพระบรมราโชบายของพระองค์ในครั้งนี้ หรืออย่างน้อยก็ไม่ลุกขึ้นมาต่อต้านพระบรมราโชบาย

รัชกาลที่ 6 ยังทรงใช้งานพระราชนิพนธ์สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระองค์กับบรรดาทหาร และสร้างภาพลักษณ์ทหารที่ดีตามพระราชประสงค์ของพระองค์ โดยการสร้างภาพลักษณ์ให้ทหารในงานพระราชนิพนธ์เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม กล้าหาญ และเสียสละไม่ว่าจะทหารของสยามหรือศัตรู และที่สำคัญที่สุดคือความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งงานพระราชนิพนธ์ประเภทบทละครพูดที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการทหารมักจบลงด้วย การกล่าวสรรเสริญพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์ในฐานจอมทัพของชาติ

แม้งานพระราชนิพนธ์จะเผยแพร่กันอยู่ในวงจำกัดอย่างในกลุ่มข้าราชบริพารในพระองค์และบรรดาเสือป่า แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของพระองค์ในการสร้างภาพลักษณ์ทางการทหารผ่านงานพระราชนิพนธ์เหล่านี้

ละครไทยในสมัยอยุธยามีลักษณะอย่างไร

3.สมัยอยุธยา มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิม ที่เล่นเป็นละครเร่ จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ ให้มีการแต่งการที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง

ละครชนิดใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 1. บทละครพูดต่างๆ หัวใจนักรบ มัทนะพาธา พระร่วง วิวาหพระสมุทร โพงพาง เวนิสวาณิช เห็นแก่ลูก ตามใจท่าน โรเมโอและจูเลียต 2. บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์ 3. บทละครดึกดำบรรพ์ 4. บทละครร้อง เช่น สาวิตรี ท้าวแสนปม

ละครไทยมีความสําคัญอย่างไร

ความสาคัญของนาฏศิลป์ และการละคร - เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อจิตใจของมนุษย์ - เป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์โดยเฉพาะการแสดง ละครเป็นสิ่งที่ช่วยในการกล่อมเกลาจิตใจ - ให้แง่คิดและให้กาลังใจในการที่จะสร้างความ เจริญรุ่งเรืองในชาติสืบต่อไป แสดงถึงความเป็นอารยประเทศ

รัชกาลที่ 6 อยู่ในสมัย ใด

ครองราชย์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468. ราชาภิเษก 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453.