วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำราชกาลที่ ๒

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบล ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดมะกอกนอก เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกัน ชื่อวัดมะกอกใน ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีธาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดีจึงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จและโปรดฯให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ.๒๓๖๓ แล้วโปรดฯพระราชทานนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณ ใหม่หมดทั้งวัด และได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ปูชนียสถานสำคัญของวัดอรุณราชวรารามอีกหลังหนึ่ง คือ พระวิหาร เป็นอาคารยกพื้นสูงเช่นเดียวกับพระอุโบสถ พระประธานในพระวิหารมีนามว่า “พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงปิดทอง

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

ข้อมูลวัด

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 34 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 โทร.0-2466-3167, 0-2465-7740, 0-2462-3762

การเดินทาง

-การเดินทางทางเรือ ขึ้นเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครที่ท่าเตียน ราคาค่าโดยสาร 2 บาท

-รถยนต์ส่วนตัว หากมาจากถนนปิ่นเกล้า ข้ามสะพานอรุณอมรินทร์ ผ่านโรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ วัดเครือวัลย์ กรมสารวัตรทหารเรือ โดยวัดอยู่ทางซ้ายมือ

-รถประจำทาง สายที่ผ่าน สาย19, 83

แผนที่

วัดในเขตพระราชฐานในสมัยอาณาจักรธนบุรีคือวัดอะไร

ข้อมูล

สาเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 

ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ลำดับเจ้าอาวาส
นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดอรุณราชวรารามมีเจ้าอาวาสสืบลำดับมา ดังนี้
1    พระโพธิวงศาจารย์      -
2    พระธรรมไตรโลกาจารย์       -
3    พระพุทธโฆษาจารย์ (คง)     พ.ศ. 2362   -  ?  
4    สมเด็จพระวันรัต (เซ่ง)         ?  -  พ.ศ. 2419
5    พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ทอง)      พ.ศ. 2419  -  พ.ศ. 2424
6    พระเทพโมลี (ฑิต อุทโย)       พ.ศ. 2424  -  พ.ศ. 2431
7    พระราชมุนี (ปุ่น ปุณฺณโก)      พ.ศ. 2438  -   พ.ศ. 2441
8    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ)      พ.ศ. 2444   -  พ.ศ. 2456
9    พระธรรมเจดีย์ (อุ่ม ธมฺมธโร)      พ.ศ. 2456   -   ?
10    พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)    พ.ศ. 2468   -  พ.ศ. 2488
11    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)    พ.ศ. 2489  -   พ.ศ. 2520
12    พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภสฺสโร)    พ.ศ. 2520   -   พ.ศ. 2524
13    พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก)    พ.ศ. 2525   -  พ.ศ. 2551
14    พระธรรมมงคลเจดีย์ (เฉลียว ฐิตปุญฺโญ)    พ.ศ. 2552  -   31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
15    พระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท)    20 มิถุนายน พ.ศ. 2561  -   ปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลที่มาจาก  :  https://th.wikipedia.org/wiki/วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก  :  https://www.facebook.com/papaiwatofficial/

สมัยธนบุรีมีวัดอะไรบ้าง

ไหว้พระ 9 วัดฝั่งธนบุรี อิ่มบุญ เสริมมงคลชีวิต.
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ... .
วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ... .
วัดเครือวัลย์วรวิหาร ... .
วัดนาคกลางวรวิหาร ... .
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ... .
วัดอมรินทรารามวรวิหาร ... .
วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ... .
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร.

วัดใดสร้างในสมัยธนบุรี

ประวัติ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อวัดโพธาราม ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดโพธิ์" เป็นวัดโบราณราษฎรสร้างระหว่าง ปี พ.ศ. 2231-2246 ในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารมหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

ข้อใดคือวัดประจำพระราชวังในสมัยกรุงธนบุรี

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี ทรงสร้างพระราชวังอยู่ระหว่างด้านทิศใต้ของวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) กับด้านทิศเหนือของวัดโมลีโลกยา-ราม (วัดท้ายตลาด) ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกกันว่า “ พระราชวังเดิม ”

วัดใดต่อไปนี้เป็นพระอารามหลวง สำคัญของสมัยธนบุรี

วัดอินทารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิ​ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี รวมทั้งพระราชอัครมเหสีของพระองค์ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ เช่น พระแท่นบรรทม พื้นที่ของวัดแบ่งเป็นสองส่วน ...