สมุทรปราการมีชื่อเดิมว่าอะไร

สมุทรปราการหรือเมืองปากน้ำ และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองพระประแดง มีพื้นที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 29 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากอ่าวไทย ดังนั้นจึงเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญมาทุกยุคทุกสมัย ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มไม่มีภูเขา มีลำคลองหลายสาย ในฤดูแล้งน้ำจะเค็มจัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นาและสวน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบัน คือ อำเภอพระประแดง) เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านป้องกันข้าศึกที่จะรุกเข้ากรุงเทพฯ จากทางอ่าวไทย มีการสร้างป้อมปราการหรือป้อมยุทธนาวีขึ้นภายในเมืองหลายป้อม ป้อมแรกคือป้อมวิทยาคม และทยอยสร้างต่อเนื่องมาอีก จำนวนรวมทั้งสิ้น 24 ป้อม จนกระทั่งในยุคล่าอาณานิคม มีกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นที่ปากน้ำบริเวณอำเภอพระสมุทรเจดีย์ในปัจจุบัน เป็นป้อมที่ทันสมัย มั่นคงแข็งแรง พร้อมกันนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะจากเมืองขึ้นเป็นจังหวัด เมืองนครเขื่อนขันธ์จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดพระประแดง ก่อนจะถูกลดฐานะเป็นอำเภอพระประแดง อำเภอหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

แหล่งท่องเที่ยว:

วัดบางพลีใหญ่ใน – ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ เดิมชื่อวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยามาถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2112 และ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกอบกู้อิสรภาพสู่ความเป็นไทยอีกครั้งหนึ่ง จนอาณาเขตของประเทศ (สยาม) ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง ส่วนชื่อตำบลบางพลีก็เนื่องมาจากสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำพิธีพลีกรรมบวงสรวงตามตำรับพิชัยสงครามเมื่อชนะสงคราม วัดพลับพลาชัยชนะสงครามเป็นวัดที่อยู่ด้านใน และมีวัดบางพลีใหญ่กลางอยู่ด้านนอก ดังนั้นจึงเรียกวัดพลับพลาชัยชนะสงครามว่า วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่สมัยสุโขทัยปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) องค์พระเป็นทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ลืมพระเนตร เป็นพระประธานในโบสถ์เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนโดยทั่วไป วัดนี้จึงมีอีกชื่อว่า วัดหลวงพ่อโต

ประวัติหลวงพ่อโต – ตามตำนานได้เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง 3 องค์ ประกอบด้วย หลวงพ่อวัดบ้านแหลม ปางอุ้มบาตร เป็นองค์พี่ หลวงพ่อโสธร ปางสมาธิ เป็นองค์กลาง และหลวงพ่อโต ปางสมาธิ เป็นองค์ใหญ่ที่สุดแต่เป็นองค์น้องสุดท้อง พระพุทธรูปทั้งสามได้แสดงปาฏิหาริย์โดยการลอยน้ำมาจากทางเหนือ ล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงตำบลหนึ่งก็แสดงองค์ให้ประชาชนเห็น ประชาชนมีความศรัทธาจึงอาราธนาพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำ ด้วยการพร้อมใจกันฉุด แต่ฉุดเท่าไรก็ไม่ขึ้นจนต้องเกณฑ์จำนวนคนมาช่วยกันฉุดถึงสามแสนคน พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ก็ไม่ยอมขึ้นจากน้ำ ต่อมาตำบลนี้จึงได้ชื่อว่า ตำบลสามแสน แล้วกลายมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน จนในที่สุด องค์พี่ คือ หลวงพ่อบ้านแหลมลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม องค์กลาง คือ หลวงพ่อโสธรกลับลอยทวนน้ำไปถึงวัดเสาทอน ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วขึ้นประดิษฐานที่วัดนี้ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโสธรวรารามวรวิหาร ส่วนองค์สุดท้อง คือ หลวงพ่อโตได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา และปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนจึงพร้อมกันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น จึงได้ทำพิธีเสี่ยงทาย ต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใดก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด จนแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน ท่านจึงหยุดนิ่ง ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานนำท่านขึ้นจากน้ำได้ในที่สุด และต่อมาได้สร้างพระอุโบสถสำหรับเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตมาจนถึงปัจจุบัน

วัดบางพลีใหญ่ใน

สมุทรปราการมีชื่อเดิมว่าอะไร
ที่มา : http://www.prakan2.com/service/ index.php/2010-04-14-00-53-15

หลวงพ่อโต

สมุทรปราการมีชื่อเดิมว่าอะไร
ที่มา : http://www.dhammajak.net/ board/viewtopic.php?t=16695

นอกจากนี้ติดกับวัดบางพลีใหญ่ในยังมีตลาดริมน้ำโบราณมีอายุยาวนานกว่า 140 ปี เป็นตลาดขายของและร้านอาหารริมน้ำที่มีมานาน ยังเป็นตลาดน้ำที่มีชีวิต โดยการดำเนินชีวิตจริงยังคงเหมือนเช่นอดีต คือมีความเกื้อหนุนจุนเจือกันแบบสังคมไทยยุคก่อนๆ มีประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านที่ยังช่วยกันรักษา ในตลาดยังมีสินค้าดั่งเดิมขาย ได้แก่ กระต่ายขูดมะพร้าว ใต้จุดไฟที่ทำจากน้ำมันดินห่อด้วยเปลือกไม้ สำหรับเป็นเชื้อไฟในการจุดเตาถ่าน หรือสบู่กรดใช้สำหรับซักผ้าให้ขาว หมากพลู และของกินกับหมาก ที่คุณยาย คุณย่า ยังนั่งเคี้ยวหมากให้เห็นพร้อมกับขายของพวกนี้ไปด้วย หรือเดินผ่านร้านขายยาก็จะเห็นตู้ยาเต็มไปด้วยยาไทยล้วนๆ พวกยาธาตุ ยาขับลม ยาหม่อง ยาดม สารพัดอย่างวางเรียงรายอยู่เต็มตู้กระจก ทำให้รู้ว่ายาไทยที่ทำเป็นอุตสาหกรรมนั้นมีมานานแล้ว และมีมากมายหลายชนิดบางอย่างก็ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ – หรือช้างสามเศียร สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของคุณเล็ก วิริยะพันธ์ เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุมรดกทางวัฒนธรรม และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทย ช้างสามเศียรเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดยักษ์สูงเด่นเป็นสง่าด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดงแผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร หรือมีความสูงเทียบเท่าตึก18 ชั้น อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนของตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า ได้แก่ ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ และส่วนล่างของตัวช้างเป็นฐานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในอาคารทรงโดมตกแต่งด้วยงานศิลปะหลากหลายรูปแบบทั้งศิลปะตะวันตก และตะวันออก (ไทย) เช่น งานปูนปั้นเบญจรงค์ฝีมือช่างเมืองเพชรบุรี เพดานอาคารเป็นกระจกสีฝีมือศิลปินชาวเยอรมัน แสดงเรื่องราวแผนที่โลกโบราณล้อมรอบด้วยจักรราศี ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่างๆ และเครื่องลายครามของจีน ฯลฯ ช้างสามเศียรมีลักษณะเด่นอีกอย่างคือ ที่ตัวผิวของช้างและเครื่องทรงของช้างทำด้วยแผ่น ทองแดงบริสุทธิ์ เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี จะเกิดสนิมเขียวจับทำให้ผิวช้างมีลวดลายขึ้นมา และข้อสำคัญทองแดงเป็นวัสดุที่คงทนอยู่ได้นาน รอบๆ ตัวอาคารช้างสามเศียรจะเป็นอุทยานขนาดใหญ่ มีน้ำตก ลำคลอง และพรรณไม้ในวรรณคดี พันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังมีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่องรามเกียรติ์วางเรียงรายล้อมรอบอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ และมีรูปจำลองของท่านช้างเอราวัณไว้ให้สักการบูชาเพื่อเป็นศิริมงคลของชีวิตอีกด้วย

เมืองโบราณ – เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเปรียบเสมือนเป็นบานประตูที่เผยออก ให้เห็นถึงมรดกแห่งภูมิปัญญาไทยบนพื้นที่ 800 ไร่ ในเขตตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ ลักษณะที่ดินมีผังบริเวณคล้ายรูปขวานเหมือนกับอาณาเขตของประเทศไทย โดยรวบรวมวัฒนธรรม โบราณสถาน ปูชนียสถาน วัดโบราณและพระราชวังต่างๆ ของทุกภูมิภาค ปลูกสร้างให้มีขนาดเล็กลงหรือบางแห่งมีขนาดเท่ากับของจริง การสร้างฝีมือประณีตผสมผสานกับงานวิจิตรศิลป์และประณีตศิลป์ การจัดวางโครงสร้างและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่สอดคล้องและสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่นับวันจะสูญหายไปจากสังคมยุคใหม่ ซึ่งผู้มาเยือนจะได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันได้จากเมืองโบราณแห่งนี้ภายในหนึ่งวัน

พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท – ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเมืองโบราณเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เคยทรงใช้พระที่นั่งแห่งนี้ รับรองสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 และพระสวามีในคราวที่เสด็จเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2515 และเมืองโบราณได้ถือเอาวันนี้เป็นวันเปิดเมืองโบราณอย่างเป็นทางการ

ฟาร์มจระเข้ – ตั้งอยู่ในเขตตำบลท้ายบ้าน ซึ่งห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ราว 400 ไร่ ภายในเป็นสถานที่เพาะพันธุ์จระเข้ทุกสายพันธุ์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งแรกของโลก ปัจจุบันมีจระเข้จำนวนเกือบถึง 80,000 ตัว มีขนาดความยาวตั้งแต่ไม่เกินหนึ่งฟุต จนถึง 6 เมตร และในจำนวนนี้มีจระเข้พันธุ์ผสมระหว่างจระเข้น้ำจืดและน้ำเค็มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อว่า “เจ้าใหญ่” โดยได้การรับรองจาก กินเนสบุ๊ค ออฟ เรคคอร์ด ว่าเป็นจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดความยาวเกือบ 6 เมตร น้ำหนักตัว 1114.2 กิโลกรัม ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 35 ปี ภายในฟาร์มจระเข้ยังมีสวนสัตว์ที่ประกอบไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดเกือบทั่วโลกให้ชมและศึกษาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสามารถถ่ายรูปกับสัตว์ต่างๆได้ มีพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ให้ย้อนอดีตศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ และบรรยากาศในยุคดึกดำบรรพ์จากซากฟอสซิลและโครงกระดูก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย ได้แก่ สนามยิงปืน จักยานน้ำ การแสดงดนตรี และที่พลาดไม่ได้คงต้องเป็นการแสดงจระเข้ที่ทั้งแสนจะตื่นเต้นตกใจ หวาดเสียว หลังจากหวาดเสียวกับการแสดงของจระเข้แล้วสามารถเดินผ่อนคลายเลือกซื้อของฝากของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์จากหนังจระเข้ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบพร้อมทั้งมีใบรับรองคุณภาพที่เชื่อถือได้ หรือผู้ที่ชอบเปิบพิสดารก็มีบริการร้านอาหารเนื้อจระเข้ไว้ให้ลิ้มลองรสชาติ

ของฝากประจำจังหวัด:

ปลาสลิดบางบ่อ – ปลาสลิดแห้งของอำเภอบางบ่อ เป็นของดีมีชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ ทำรายได้ให้แก่ชาวบางบ่อ เป็นจำนวนไม่น้อย เดิมชาวบ้านแถบอำเภอบางบ่อมีอาชีพทำนาข้าว ต่อมามีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นและรุกพื้นที่นา ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูงน้ำจืดที่ใช้ในการทำนาจึงกลายเป็นน้ำกร่อย ส่งผลให้ได้ผลผลิตข้าวไม่ดี ชาวบ้านจึงหันมาขุดบ่อเลี้ยงปลาสลิด ใช้น้ำกร่อยเลี้ยงปลา โดยน้ำกร่อยเป็นแหล่งไรแดงซึ่งเป็นอาหารชั้นยอดของปลาสลิด ดังนั้นปลาสลิดจึงมีความสมบูรณ์ เมื่อชาวบ้านนำมาแปรรูปโดยการหมักเกลือแล้วตากแดดจึงได้ปลาสลิดแห้งเนื้อนุ่มเหนียวอร่อย สามารถหาซื้อได้ตามแผงริม ถนนบางนา- ตราด ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ตั้งแต่ กม. 33 เรื่อยมาจนถึง กม. 27 นอกจากนี้ยังมีจำหน่ายตามตลาดทั่วไป

ขนมจาก – เดิมเป็นของฝากขึ้นชื่อมีขายอยู่ทุกแห่งในปากน้ำ แม้เป็นเพียงขนมที่มีราคาเพียงบาท สองบาท โดยเฉพาะ “ขนมจาก” ของร้านลิ้มดำรงค์ที่ดำเนินการสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ที่ถนน? ศรีสมุทร เยื้องทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงร้านเดียวในจังหวัด แต่ก่อนถึงกับมีคนพูดกันเล่นๆ ว่า “มาปากน้ำถ้าไม่ได้ซื้อขนมจาก ถือว่ายังมาไม่ถึง” จากประโยคข้างต้นกลับสามารถพิสูจน์ความโด่งดังของขนมจาก เมืองปากน้ำได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป พร้อม ๆ กับความเจริญทำให้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางสัญจร มีการตัดถนนขึ้นใหม่เพื่อขจัดปัญหาจราจรแออัด ซึ่งส่งผลให้อาชีพที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้ คือร้านค้าขนมจาก พลอยมีผลกระทบตามไปด้วย อีกสาเหตุหนึ่ง คือร้านค้าต่างๆ ต้องปิดตัวเองลงเนื่องมาจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ได้นำสูตรขนมจากที่เลื่องลือชื่อนี้ไปดัดแปลง และทำเป็นรูปแบบขนมของฝากนักท่องเที่ยวในสถานที่นั้นๆ ดังนั้นขนมจากเมืองปากน้ำจึงไม่ใช่ของฝากที่หาซื้อได้ง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว

ทำไมถึงชื่อสมุทรปราการ

ประวัติจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งนั้นเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ "สมุทรปราการ" มาจาก คำว่า "สมุทร" ซึ่งแปลว่าทะเล และ "ปราการ" ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า "กำแพงริมน้ำ"

สมุทรปราการ มีความหมายว่าอย่างไร

สมุทรปราการ” เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องจากที่ตั้งเป็นเขตยุทธศาสตร์ทางน้ำ คำว่าสมุทรปราการ” มาจาก คำว่า “สมุทร” ซึ่งแปลว่าทะเล และ “ปราการ” ที่แปลว่า กำแพง จึงมีความหมายโดยรวมว่า “กำแพงริมน้ำ” และหากย้อนหลังไป 800 ปีเศษ ชนชาติขอมซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ ในขณะนั้นได้สร้างเมืองพระประแดงบริเวณปากแม่น้ำ ...

สมุทรปราการมีอะไรขึ้นชื่อ

จังหวัดสมุทรปราการ (Samut Prakan Province) ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม งามล้ำโพทะเล

จังหวัดสมุทรปราการสร้างขึ้นในสมัยใด

สมุทรปราการ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยของ พระเจ้าทรงธรรม แต่เดิมแล้ว ตั้งอยู่ใกล้คลองปลากด ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา และต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองใหม่ ที่บริเวณบางเจ้าพระยา คือ ตำบลปากน้ำในปัจจุบัน ...