สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ด้วยกระแสเรื่องการดูแลสุขภาพที่กลายเป็นเทรนด์ของคนยุคใหม่ ส่งผลให้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมสูงตามไปด้วย และหนึ่งในเครื่องปรุงยอดนิยมที่เรารู้จักกันดีคือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะเป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้หลากหลาย โดยปัจจุบันนี้มีสารให้ความหวานหลายชนิดและหลายยี่ห้อที่ผลิตมาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกัน อีกทั้งในทางการเเพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงอีกด้วย

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหลากหลายประเภทที่มีจำหน่ายหลากหลาย พร้อมคำแนะนำจากนักกำหนดอาหารโดยเฉพาะ นอกจากนี้ เราก็ยังมีการแนะนำ 10 สารให้ความหวานแทนแทนน้ำตาลที่ได้รับความนิยมสูงในบ้านเรา เพื่อให้การเลือกซื้อตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานและช่วยให้คุณได้ของดีมีคุณภาพและคุ้มค่าที่สุดค่ะ

  • แก้ไขล่าสุด: 05-10-2022

ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำการเลือกสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

เราได้เชิญ "คุณว่าน รัชรี แสงบุดดี" นักกำหนดอาหารผู้มีประสบการณ์การใช้ความรู้ด้านโภชนาการในการบำบัดโรคต่าง ๆ มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาล และนี่คือประวัติโดยย่อของคุณว่านค่ะ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหาร ปัจจุบันทำงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนโดยใช้ความรู้ด้านโภชนาการเพื่อใช้ในการบำบัดโรค และทำงานด้านวิทยากรให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้กับบริษัทเอกชนต่าง ๆ อีกด้วย ในวันหยุด ชอบไปตะลุยชิมเครื่องดื่มและขนมตามคาเฟ่ต่าง ๆ รวมถึงศึกษาเรื่องเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพและความรู้ด้านอาหารเพื่อชะลอวัยสม่ำเสมอ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

รัชรี แสงบุดดี

เนื้อหาที่ปรากฏในบทความนี้ถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและนำมาเรียบเรียงโดยทีมงานมายเบสท์อีกครั้ง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลคืออะไร?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือ เป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่งที่ใช้เพิ่มความหวานแทนน้ำตาล โดยเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงาน รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักอีกด้วย สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะมีทั้งแบบให้พลังงาน และให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงานเลย ซึ่งรสชาติของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอาจจะให้รสชาติไม่เหมือนน้ำตาลเสมอไป เพราะอาจมีรสชาติขมเฝื่อน ที่ไม่เป็นธรรมชาติได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะให้พลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงานเลย และมีความปลอดภัยสูง ไม่มีสารสะสมหรือตกค้างในร่างกาย เราก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ด้วยนะคะ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อันตรายไหม?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ถึงแม้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะให้แคลอรีต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังแบ่งการใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้สำหรับอาหาร เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ แต่ถ้าหากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น 

  • กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล เพราะน้ำตาลชนิดนี้ไม่สามารถย่อยได้หมด ก็อาจจะเกิดอาการมวลท้อง ท้องอืดและท้องเสียได้ 
  • ​ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรใช้อย่างเหมาะสมและควบคุมพฤติกรรมการบริโภคพร้อมกับติดตามการรักษาร่วมกับเเพทย์ด้วย 
  • หญิงตั้งครรภ์ ผู้ให้นมบุตร หรือมีโรคประจำตัวควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เนื่องจากยังมีงานวิจัยและการศึกษารองรับไม่มากพอ 

อย่าลืมว่าสารให้ความหวานเป็นแค่หนึ่งในทางเลือกสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนัก ซึ่งข้อเสียของการใช้สารให้ความหวานเป็นประจำ อาจจะทำให้เรารู้สึกติดหวานได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยพบว่า การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำ อาจส่งผลให้เพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นใครที่ต้องการลดความหวานให้เป็นนิสัย ก็ควรที่จะลดบริโภคของหวาน และหลีกเลี่ยงการใช้สารให้ความหวานลงจะดีมาก ๆ เลยค่ะ

วิธีการเลือกสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่ใช้ในการประกอบอาหารและชนิดที่เป็นส่วนผสมในเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งในบทความนี้เราจะขอกล่าวถึงสารให้ความหวานสำหรับประกอบอาหารที่มีคุณสมบัติเด่นและเป็นที่นิยมในบ้านเราเท่านั้นค่ะ 

เลือกตามประเภทสารให้ความหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ดังที่ได้กล่าวไป สารให้ความหวานแทนน้ำตาล จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบให้พลังงาน

ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำตาลปกติแล้วจะดูดซึมได้ช้ากว่า จึงอาจจะมีส่วนช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ตัวอย่างเช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) มอลทิทอล (Maltitol) อิริทริทอล (Erythritol) โดยจะมักพบในพวกหมากฝรั่งหรือลูกอมไม่มีน้ำตาล ไอศกรีม ยาอม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ ถือเป็นกลุ่มที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อยและให้พลังงานต่ำ

2. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบให้พลังงานต่ำมากหรือไม่ให้พลังงาน หรือ น้ำตาลเทียม (Artificial Sweeteners)

น้ำตาลเทียม เป็นสารให้ความหวานที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาทางเคมี ซึ่งให้ความหวานกว่าน้ำตาลหลายร้อยเท่า ตัวอย่างเช่น แอสปาร์แตม (Aspartame) ขันฑสกรหรือแซคคาริน (Saccharin) ซูคราโรส (Sucralose) สตีวิโอไซด์หรือน้ำตาลหญ้าหวาน (Stevioside) และสารสกัดจากหล่อฮังก๊วย ถึงแม้ว่าจะได้รับการยอมรับให้ใช้อย่างปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง แต่สำหรับน้ำตาลเทียมก็ยังคงมีข้อจำกัดและข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จึงต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้เสมอ

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอาจจะไม่ได้ให้รสชาติที่ดีเหมือนน้ำตาล บางชนิดอาจจะให้รสชาติขมเฝื่อนหรืออาจไปเปลี่ยนแปลงรสชาติอาหารได้ เราจึงควรศึกษาข้อมูลและศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเลือกซื้อ และเลือกใช้ให้เหมาะกับอาหารที่ต้องการจะปรุงเพื่อหลีกเลี่ยงรสชาติที่ไม่พึงประสงค์ค่ะ

การเลือกสารให้ความหวานแทนน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น หากต้องการที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลถือว่าตอบโจทย์เลยค่ะ แต่สำหรับกลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นจะเป็นกลุ่มชนิดที่ไม่ให้พลังงานหรือพลังงานต่ำมาก เช่น ซูคราโลส สารสกัดจากหญ้าหวาน เป็นต้น เพราะสารกลุ่มนี้ไม่ให้พลังงานและไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

อย่างไรก็ตาม หัวใจหลักของการควบคุมโรคนี้ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้เกิคความยั่งยืนในการรักษาโรค เพราะการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำจะส่งผลเสียต่อพฤติกรรมการบริโภค และกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารรสชาติหวานบ่อยขึ้นอีกด้วยค่ะ

10 สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีอะไรบ้าง สำหรับสายคลีน

หลังจากที่ได้ทราบถึงคุณสมบัติของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแต่ละชนิดไปแล้ว เรายังมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีคุณภาพดีและเป็นที่นิยมสูงทั้งหมด 10 อันดับ พร้อมกับตารางเปรียบเทียบให้คุณเลือกดูได้ง่ายดายขึ้นดังนี้ค่ะ

※ 10 อันดับสินค้านี้เป็นการจัดอันดับโดยนักเขียนและกองบรรณาธิการของเว็บไซต์มายเบสท์ ไม่ได้เป็นการจัดอันดับของนักกำหนดอาหารหรือ คุณว่าน รัชรี แสงบุดดี 

TOP 5 แนะนำสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ :

  • Equal - สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หญ้าหวานธรรมชาติ
  • FITNE' - สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซูคราโลส+มอลโทเดกซ์ทริน
  • Sweet Slim - สารให้ความหวานแทนน้ำตาล วัตถุให้ความหวานแทนนํ้าตาล
  • Equal - สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซูคราโลส + อิริทริทอล
  • NIZE - สารให้ความหวานแทนน้ำตาล น้ำตาลหล่อฮังก๊วย

ตรวจสอบสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเพิ่มเติมได้จากตารางเปรียบเทียบข้อมูลด้านล่าง

รูปสินค้า

1

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Equal

2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

FITNE'

3

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Sweet Slim

4

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Equal

5

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

NIZE

6

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Equal Classic

7

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Kontrol

8

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

NIZE

9

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Club No Sugar

10

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

Healtholicious

ชื่อสินค้า

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อิควล สตีเวีย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซูคราโลส+มอลโทเดกซ์ทริน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล วัตถุให้ความหวานแทนนํ้าตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซูคราโลส + อิริทริทอล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล น้ำตาลหล่อฮังก๊วย

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล แอสปาร์แตม

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มอลทิทอล+ซูคราโลส

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หญ้าหวานผง (เกรดพรีเมี่ยม)

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ไซรัปหญ้าหวาน

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อินนูลิน พรีไบโอติก

คุณสมบัติ

ไม่มีคอเลสเตอรอล สะดวก ทานง่าย เหมาะกับผู้รักสุขภาพ

แคลอรี 0% รสชาติไม่ขมลิ้น ให้รสหวานเหมือนน้ำตาลทั่วไป

รสชาติไม่มีเพี้ยน หวานเฮลตี้ ปรุงอาหารได้เกิน 100 องศา

แคลอรีเป็นศูนย์ หวานปลอดภัย โดยไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำหนัก

รสกลมกล่อม หอมสดชื่น และไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ช่วยลดน้ำหนัก ฟันไม่ผุ ไร้คอเลสเตอรอล ใช้แทนน้ำตาลได้

หาซื้อง่าย ใช้สะดวก ราคาย่อมเยา ให้พลังงาน 15 แคลอรี

หญ้าหวานผงละลายในน้ำง่าย หวานละมุน ไม่ทำร้ายสุขภาพ

ให้รสหวาน หอมอร่อย แร่ธาตุสูง พร้อมทั้งมีดัชนีน้ำตาลน้อย

มีพรีไบโอติกและใยอาหารสูง ช่วยดูแลระบบลำไส้ให้แข็งแรง

ราคาเริ่มต้น88 บาท 198 บาท 180 บาท 98 บาท 119 บาท 173 บาท 65 บาท 32 บาท 147 บาท 267 บาท
ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ สารให้ความหวานสังเคราะห์ สารให้ความหวานสังเคราะห์ สารให้ความหวานสังเคราะห์ สารให้ความหวานจากธรรมชาติ สารให้ความหวานสังเคราะห์ สารให้ความหวานสังเคราะห์ สารให้ความหวานจากธรรมชาติ สารให้ความหวานจากธรรมชาติ สารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ2 กรัม x 40 ซอง 250 กรัม 250 g 150 กรัม 80 กรัม 1 กรัม x 100 ซอง 340 กรัม 50 กรัม 300 ml 400 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่ อาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ อาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ อาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ อาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ เครื่องดื่มและเบเกอรี่ อาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่ เครื่องดื่มและชาสมุนไพร เครื่องดื่มและเบเกอรี่ เครื่องดื่มและเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X X X X X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์
ลิงค์สินค้า
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ TOPS
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ TOPS
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LOTUS
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ TOPS
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE
  • ดูได้ที่ LAZADA
  • ดูได้ที่ SHOPEE

1

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ2 กรัม x 40 ซอง
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

2

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานสังเคราะห์
ปริมาณ250 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารอาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

3

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานสังเคราะห์
ปริมาณ250 g
เหมาะกับเมนูอาหารอาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

4

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานสังเคราะห์
ปริมาณ150 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารอาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

5

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ80 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารอาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

6

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานสังเคราะห์
ปริมาณ1 กรัม x 100 ซอง
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

7

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานสังเคราะห์
ปริมาณ340 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารอาหารคาว-หวาน เครื่องดื่ม และเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้X
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

8

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ50 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและชาสมุนไพร
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

9

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ300 ml
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

10

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

ประเภทสารให้ความหวานจากธรรมชาติ
ปริมาณ400 กรัม
เหมาะกับเมนูอาหารเครื่องดื่มและเบเกอรี่
เบาหวานทานได้
คีโตทานได้
ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหมาะสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนักและทานคีโตหรือไม่

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

สำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก สารให้ความหวานแทนน้ำตาลถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการควบคุมพลังงานและปริมาณของน้ำตาล โดยเราสามารถที่จะเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ทั้งชนิดที่ไม่ให้พลังงานและให้พลังงานต่ำได้ แต่ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า การใช้สารให้ความหวานเป็นประจำ อาจจะทำให้ลิ้นของเราเสพติดรสหวานได้ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากรับประทานอาหารบ่อยขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ก็ควรที่จะใช้สารให้ความหวานด้วยปริมาณที่เหมาะสมและพยายามบริโภคอาหารที่เป็นรสธรรมชาติของอาหารให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

แต่สำหรับ ผู้ควบคุมน้ำหนักแบบคีโต จะมีวิธีการเลือกใช้ที่เคร่งครัดมากกว่า เนื่องจากสายคีโตจะต้องเน้นการรับประทานอาหารที่มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตต่ำเพื่อให้เกิดกระบวนการคีไตซิส (Ketosis) หรือสภาวะที่ร่างกายนำไขมันในร่างกายออกมาเผาผลาญเป็นพลังงาน ดังนั้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลสำหรับชาวคีโตต้องเป็นเเบบไม่มีคาร์โบไฮเดรตหรือมีต่ำมากที่สุด เพื่อให้ร่างกายนำไขมันออกมาเผาพลาญแทน ซึ่งสารเหล่านั้นมักจะเป็นสารสกัดจากหญ้าหวาน หล่อฮังก๊วย ซูคราโลส เป็นต้น ทั้งนี้ ก่อนซื้อก็ควรที่จะต้องระมัดระวังเพิ่มเติมในการดูส่วนผสมอื่น ๆ ที่อาจมีคาร์โบไฮเดรตและให้พลังงานเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยเช่นกันนะคะ

บทส่งท้าย

การดูแลสุขภาพเราสามารถเริ่มได้ด้วยตัวเองในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับอาหารที่เราแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างน้ำตาลนั้น การปรับมาใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมพลังงาน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งจะเป็นตัวช่วยให้เราไม่เสี่ยงที่เจ็บป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในอนาคตได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความยอดฮิต

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ น้ำสลัดคลีน ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 ไขมันต่ำ ไม่อ้วน ตอบโจทย์สายคลีน

    สลัดเป็นเมนูอาหารที่คนรักสุขภาพและคนที่อยู่ในช่วงไดเอทนิยมรับประทาน ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่าสลัดให้พลังงานต่ำและช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ความเชื่อนั้นอาจจะยังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะถึงแม้สลัดจะเป็นเมนูที่ประกอบไปด้วยผักและผลไม้สดที่ล้วนแต่อุดมไปด้วยเส้นใยธรรมชาติและแคลอรีน้อย แต่สิ่งที่ทำให้มีความแตกต่างนั่นก็คือน้ำสลัด ซึ่งแต่ละชนิดล้วนทั้งมีส่วนผสมและให้พลังงานต่างกันและจะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อน้ำหนักของเรานั่นเองค่ะ ในปัจจุบันน้ำสลัดมีด้วยกันเกือบ 10 ชนิด แต่ในที่นี้เราจะขอเล่าถึงน้ำสลัดคลีน ที่มีจุดเด่นในเรื่องการเลือกใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ปราศจากสารปรุงแต่ง ให้พลังงานต่ำและให้ความสำคัญเรื่องประโยชน์มากกว่ารสชาติ โดยเรามีวิธีการเลือกซื้อน้ำสลัดคลีนแต่ละแบบ พร้อมคำแนะนำและคำอธิบายเกี่ยวกับความเข้าใจผิดต่าง ๆ รวมถึงคำตอบของคำถามยอดฮิตต่าง ๆ จากเทรนเนอร์ผู้มีความรู้ด้านโภชนาการโดยเฉพาะ อีกทั้งยังมี 10 อันดับน้ำสลัดคลีนที่ได้รับการคัดสรรแล้วว่าทั้งมีคุณภาพดี ให้แคลอรีต่ำ และได้รับความนิยมสูงอีกด้วยค่ะ

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ น้ำจิ้มลูกชิ้น ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 สูตรเด็ด ทั้งรสเผ็ด รสหวาน

    ลูกชิ้นเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทยที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ เครื่องปรุงรสและเครื่องเทศ ซึ่งนิยมทำเป็นเมนูอาหารหลักและเมนูอาหารทานเล่น และเมื่อทานคู่กับน้ำจิ้มลูกชิ้นก็จะยิ่งช่วยเสริมรสชาติความกลมกล่อมมากขึ้น ปัจจุบันเราสามารถหาซื้อน้ำจิ้มลูกชิ้นสำเร็จรูปพร้อมทานได้ง่ายจนกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ทำอาหารมือใหม่ ผู้ที่ต้องการลดความยุ่งยากของขั้นตอนการทำหรือผู้บริโภคที่ไม่สะดวกทำน้ำจิ้มลูกชิ้นด้วยตนเอง ซึ่งมีมากมายหลายสูตร หลากรสชาติและสารพัดยี่ห้อวางจำหน่ายอีกด้วยในวันนี้เราจะมาบอกต่อเคล็ดลับวิธีเลือกการน้ำจิ้มลูกชิ้นและ 10 อันดับ น้ำจิ้มลูกชิ้นที่มีรสชาติอร่อยและถูกสุขอนามัยมาเป็นแนวทางให้คุณพิจารณาเลือกซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมแบ่งปันสูตรน้ำจิ้มลูกชิ้นฉบับง่าย ๆ สำหรับทำทานเองที่บ้านมาให้ทุกคนได้อ่านกัน ถ้าหากคุณพร้อมแล้ว เราไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ น้ำปลาร้า ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 รวมเจ้าดัง สูตรปรุงสำเร็จ

    ส้มตำเป็นอาหารประจำถิ่นของภาคอีสานที่ไม่ว่าคนภาคไหน ๆ ก็ติดอกติดใจนิยมรับประทานกัน ทั้งยังเป็นเมนูที่โด่งดังไปไกลยังต่างประเทศ และแน่นอนว่าเมื่อพูดถึงส้มตำแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า ซึ่งช่วยเสริมรสชาติอาหารให้มีความเข้มข้น อร่อยกลมกล่อมที่เรียกกันว่าเป็นรสอูมามิ พร้อมทั้งกลิ่นที่เย้ายวน เรียกน้ำลาย น้ำปลาร้านอกจากจะใช้ในส้มตำแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ต้ม แกง หรือยำ เพิ่มความฟินจนต้องแย่งกันซดน้ำเลยทีเดียวยี่ห้อน้ำปลาร้าในท้องตลาดมีมากมาย บรรดาคนดังก็ต่างมีน้ำปลาร้าเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาร้าของพิมรี่พาย ไมค์ หม่ำ สุนารี อีสานพาสวบ อีกทั้งยี่ห้ออื่น ๆ อย่างแม่บุญล้ำ นางฟ้า แม่เหรียญ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปลาร้าเพื่อสุขภาพอย่างน้ำปลาร้าคีโต เป็นต้น วันนี้เรามีวิธีการเลือกซื้อน้ำปลาร้าพร้อมรีวิว 10 อันดับ น้ำปลาร้า รสอร่อยที่ขายดียี่ห้อต่าง ๆ ให้ไปลิ้มลองกัน

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ พริกหม่าล่า ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 สำหรับปิ้งย่าง ทำซุป

    "ปิ้งย่างหม่าล่า" เมนูเรียกน้ำย่อยที่ทานแล้วเผ็ดจนลิ้นชาแต่ก็หยุดทานไม่ได้ ซึ่งทุกวันนี้ได้กลายเป็นเมนูอาหารเรียกน้ำย่อยยอดนิยมที่ต้องมีวางขายตามสตรีทฟู้ดไปโดยปริยาย หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า หม่าล่านั้นคืออาหารที่เสียบไม้แล้วนำไปย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วหม่าล่า คือ ชื่อเรียกรสชาติเผ็ด ๆ ซ่า ๆ ชาที่ปลายลิ้น ซึ่งเครื่องปรุงรสที่ให้ความเผ็ดจนรู้สึกชาปลายลิ้นก็คือ "พริกหม่าล่า" นั่นเอง ปัจจุบันพริกหม่าล่ามีการพัฒนาปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับลิ้นของคนไทยมากขึ้น ยิ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าให้ทุกคนเข้าถึงเครื่องปรุงรสจัดจ้านชนิดนี้ได้ หากคุณกำลังมองหาพริกหม่าล่าเพื่อนำไปประกอบเมนูปิ้งย่างแต่ยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกแบบไหนดี บทความนี้เรามีพริกหม่าล่า 10 ยี่ห้อ ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยถูกปากคนไทยพร้อมวิธีการเลือกพริกหม่าล่าให้อร่อยถูกใจมาแนะนำ รับรองว่าเผ็ดซ่าไม่แพ้ร้านดังเลยค่ะ

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ ซอสพอนซึ ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 ซอสญี่ปุ่น กินกับอะไรก็อร่อย

    สำหรับเมนูอาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาชิมิ โซบะเย็น ชาบูหรือเมนูปิ้งย่างล้วนต้องใช้เครื่องปรุงรสเด็ดต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารหรือนำมาทำเป็นน้ำจิ้ม ซึ่งหนึ่งในประเภทเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ซอสพอนซึ เพราะเป็นซอสที่มีกลิ่นหอม และที่สำคัญคือ สามารถช่วยชูรสชาติอาหารให้มีความกลมกล่อมและอร่อยยิ่งขึ้นได้ดีอีกด้วยปัจจุบันซอสพอนซึถือเป็นเครื่องปรุงญี่ปุ่นที่เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในบ้านเรา จึงทำให้มีการนำเข้าซอสพอนซึหลากหลายแบรนด์มาจากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเจ้าของกิจการอาหารในประเทศไทยก็ได้ผลิตซอสพอนซึที่มีรสชาติถูกปากคนไทยออกมาจำหน่ายด้วย ในบทความนี้ เราจึงนำข้อมูลวิธีการเลือกซอสพอนซึมาให้คุณได้ศึกษากัน รวมทั้งคัดเลือก 10 อันดับ ซอสพอนซึ จากแบรนด์ดังต้นตำรับญี่ปุ่นมาแนะนำให้คุณได้เลือกซื้อไปลองประกอบอาหารเองอีกด้วยค่ะ

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ น้ำตาลคีโต ยี่ห้อไหนดี ปี 2022 รวมอิริทริทอล หญ้าหวาน

    การทานคีโต (Keto) คือ แนวทางการทานอาหารที่เน้นทานไขมันดีเป็นหลัก ร่วมกับการจำกัดคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง น้ำตาล และจำกัดโปรตีนในอาหาร เพื่อกระตุ้นร่างกายให้สลายไขมันมากขึ้น ข้อดีคือ ช่วยลดน้ำหนักตัว และช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ด้วยเหตุนี้การใช้เครื่องปรุงที่ให้ความหวานประเภทต่าง ๆ เช่น น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง จึงสำคัญต่อผู้ทานคีโตมากเลยค่ะน้ำตาลคีโตมีคุณสมบัติที่ไม่กระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินและให้พลังงานน้อยหรือไม่ให้พลังงานเลย ซึ่งในกลุ่มผู้ทานคีโตนั้นจะเน้นเรื่องนี้เป็นหลัก เพราะน้ำตาลคือคาร์โบไฮเดรตที่เป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นไขมันได้ในอนาคตได้ ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักน้ำตาลคีโตในแบบฉบับที่อ่านง่าย เข้าใจเร็ว ทั้งยังมีวิธีการเลือกซื้อน้ำตาลคีโตอย่างไรให้เหมาะสม พร้อมคำแนะนำจากนักโภชนาการโดยเฉพาะ และยังมี 10 อันดับ น้ำตาลคีโต ที่มาพร้อมกับตารางการเปรียบเทียบสินค้า เพื่อให้คุณได้พิจารณาได้ง่ายและตรงใจมากขึ้นค่ะ 

  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

    10 อันดับ ไตปลา ยี่ห้อไหนอร่อย ปี 2022 ปักษ์ใต้แท้ มีทั้งแบบแห้ง แบบน้ำ

    หากพูดถึงเมนูอาหารใต้ที่มีรสชาติเข้มข้น จัดจ้านและเผ็ดร้อน หนึ่งในนั้นจะต้องมีแกงไตปลาอย่างแน่นอนค่ะ แกงไตปลานั้นเป็นเมนูอาหารปักษ์ใต้ที่ใส่เครื่องปรุงที่มีรสชาติเค็มเล็กน้อย ซึ่งเรียกว่า "ไตปลา" ที่ทำมาจากกระเพาะของปลา เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาดุก ปลาช่อน เป็นต้น โดยมีการใส่สมุนไพรนานาชนิด เพื่อช่วยให้มีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวและมีรสชาติอร่อยขึ้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าควรจะเลือกไตปลาอย่างไรดี ?ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมวิธีการเลือกไตปลา ไม่ว่าจะเป็นการเลือกจากประเภทของไตปลา และการสังเกตส่วนผสมที่ปราศจากสารอันตรายต่อสุขภาพในไตปลา รวมไปถึงแนะนำ 10 อันดับ ไตปลาปรุงสำเร็จที่มีรสชาติเผ็ดอร่อย ทั้งแบบคั่วแห้งและแบบน้ำใส่ขวด ให้ทุกคนได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อกันค่ะ

  • Item Lists ยอดฮิต

    ค้นหาจากหมวดหมู่

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      ของใช้ในบ้าน

      ผลิตภัณฑ์ซักรีด, อุปกรณ์ทำความสะอาด, ของใช้ส่วนตัว

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      เครื่องใช้ไฟฟ้า, PC

      อุปกรณ์ไอที, โน้ตบุ๊ก, หูฟัง

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      เครื่องสำอาง, สกินแคร์

      ผลิตภัณฑ์ดูแลผม, ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ, น้ำหอม

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      สุขภาพ

      อุปกรณ์การแพทย์, อาหารเสริม, อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      อาหาร, เครื่องดื่ม

      เครื่องดื่ม, อาหารสุขภาพ, อาหาร

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      เครื่องใช้ในครัว

      อุปกรณ์ครัว, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว, อุปกรณ์เบเกอรี่

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      แฟชั่น

      แว่นตา, กระเป๋า, กระเป๋าแบรนด์เนม

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      รองเท้า

      รองเท้า, อุปกรณ์เสริมรองเท้า, รองเท้ากีฬา

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      นาฬิกา, เครื่องประดับ

      นาฬิกา, เครื่องประดับ

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      แม่และเด็ก

      ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก, ของเล่นเด็กเล็ก, ผลิตภัณฑ์สำหรับคุณแม่

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      เฟอร์นิเจอร์, อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน, รีโนเวท

      ของตกแต่งบ้าน, เฟอร์นิเจอร์, สุขภัณฑ์ห้องน้ำ

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      งานอดิเรก

      ของสะสม , ศาสนาและความเชื่อ , บ้านและสวน

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      DIY, อุปกรณ์

      อุปกรณ์ในบ้าน, เครื่องมือช่าง, อุปกรณ์เครื่องเขียน

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      สัตว์เลี้ยง

      อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง, อาหารสัตว์เลี้ยง, ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์เลี้ยง

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      หนังสือ

      หนังสือพัฒนาตนเอง, หนังสือทั่วไป, นวนิยาย

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      รถยนต์, รถจักรยานยนต์, อุปกรณ์เสริม

      รถยนต์, อุปกรณ์เสริมรถยนต์, รถจักรยานยนต์

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      ท่องเที่ยว

      กระเป๋าเดินทาง, อุปกรณ์เดินทาง, โรงแรม

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      สมาร์ทโฟน, มือถือ, อุปกรณ์เสริมมือถือ

      โทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์เสริมมือถือ

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      การลงทุน

      กองทุน, หุ้น, คริปโตเคอเรนซี่

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      เครดิตการ์ด, สินเชื่อ, ประกัน

      ประกัน, สินเชื่อ, บัตรเครดิต

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      ดนตรี

      เครื่องดนตรีสากล, เครื่องดนตรีไทย

    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท
    • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีกี่ประเภท

      บริการ

      คลินิกความงาม, สุขภาพ, เดลิเวอรี่