ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

          สรุปแล้วจะเห็นว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีรายได้  แล้วต้องยื่นภาษีครึ่งปีกันหมด เพราะกฎหมายกำหนดไว้ให้เฉพาะคนที่มีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด และต้องเป็นเงินได้ประเภท 5, 6, 7, 8 เท่านั้น หากใครที่เข้าข่ายแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ก็รีบไปยื่นได้เลย ส่วนใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องยื่นภาษีครึ่งปีหรือเปล่า หรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถสอบถามได้ที่ กรมสรรพากร โทร. 1161

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี คือ ส่วนประกอบหนึ่งของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาบางกลุ่มมีหน้าที่ยื่นภาษี เมื่อมีเงินได้บางประเภทตามที่กฎหมายกำหนดไว้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด

Advertisements

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา สามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้เลยครับ

1) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีสิ้นปี ครึ่งปี และหัก ณ ที่จ่าย

2) ใครมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

3) กำหนดระยะเวลายื่นภาษี และบทลงโทษของการไม่ยื่นภาษีครึ่งปี

4) วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

4.1) ความแตกต่างระหว่างค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ครึ่งปี กับ เต็มปี

5) ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

6) สรุป

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีสิ้นปี ครึ่งปี และหัก ณ ที่จ่าย

ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

Advertisements

ก่อนอื่น ผมอยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่เราได้เสียไว้นั้น สามารถนำไปหักออกจากภาษีสิ้นปีได้ โดยความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จะหมายความถึง ภาษีสิ้นปี ภาษีครึ่งปี และภาษีหัก ณ ที่จ่ายครับ

โดยคำว่า ภาษีสิ้นปี หรือ ภาษีเงินได้ปลายปี หมายถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องเสีย โดยคำนวณจากเงินได้สุทธิหรือกำไรสุทธิทั้งปี ส่วน ภาษีครึ่งปี หมายถึง ภาษีที่จ่ายไว้ล่วงหน้าสำหรับรอบครึ่งปีของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น ๆ และสุดท้าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หมายถึง ภาษีที่ผู้มีเงินได้ถูกคนจ่ายเงินหักล่วงหน้าและนำส่งให้กับสรรพากรไว้ โดยที่เรา (ผู้รับเงิน) มีหน้าที่เก็บหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมารวบรวมไว้และนำมายื่นภาษีให้ถูกต้องต่อไปครับ

Advertisements

ดังนั้นความสัมพันธ์ในการจ่ายภาษีเพิ่มหรือขอคืนนั้น จะมาจากการนำ ภาษีสิ้นปีที่คำนวณได้ หักออกด้วย ภาษีที่เสียล่วงหน้าไปตอนครึ่งปี และ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้ระหว่างปี นั่นเองครับ

ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน) นายบักหนอมมีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง เลยตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ครึ่งปีไปจำนวน 15,000 บาท พอสิ้นปีนายบักหนอมมาคำนวณภาษีได้จำนวน 28,000 บาท นายบักหนอมก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีก 13,000 บาทในตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีนั่นเองครับ

แต่ถ้าหากช่วงครึ่งปีหลังรายได้นายบักหนอมไม่ค่อยจะดี พอคำนวณภาษีออกมาได้แค่ 10,000 บาท นายบักหนอมสามารถขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินตั้งแต่ครึ่งปีจำนวน 5,000 บาทได้เช่นเดียวกันครับ

Advertisements

หรือสมมติว่า ตอนครึ่งปีแรกนายบักหนอมมีภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 20,000 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องยื่นภาษีครึ่งปีครับ เพราะคำนวณภาษีครึ่งปีออกมาได้น้อยกว่าจำนวนภาษีที่หักไว้ (แต่ไม่สามารถขอคืนตอนยื่นภาษีครึ่งปีได้ ต้องไปขอคืนตอนคำนวณภาษีสิ้นปี) และถ้าหากปลายปีพบว่า นายบักหนอมต้องเสียภาษีจำนวน 10,000 บาท (จากการคำนวณภาษีทั้งปี) แบบนี้นายบักหนอมถึงจะมีสิทธิขอคืนภาษีจำนวน 10,000 บาทนั่นเองครับ

ใครมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

คนที่มีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี (บุคคลธรรมดา) ต้องมีคุณสมบัติ 2 ข้อ ได้แก่ เป็นบุคคลธรรมดาตามกฎหมาย และ มีเงินได้ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยแต่ละข้อนั้นมีรายละเอียดดังนี้ครับ

ข้อแรก บุคคลธรรมดาตามกฎหมาย หมายถึง คนทั่วไปอย่างเราๆ กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ คณะบุคคล

ข้อสอง เงินได้ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด หมายถึง มีรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก (1 มกราคม – 30 มิถุนายน) เกินกว่า 60,000 บาท (กรณีบุคคลธรรมดาที่มีคู่สมรสนั้นจะใช้ตัวเลขรายได้ 120,000 บาท) ซึ่งรายได้ที่ว่านั้นคือ เงินได้ประเภทที่ 5 ถึง 8 นั่นเอง ซึ่งหมายความถึงเงินได้ดังต่อไปนี้ครับ

  • เงินได้ประเภทที่ 5 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(5) คือ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ
  • เงินได้ประเภทที่ 6 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(6) คือ เงินได้จากวิชาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป(แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด
  • เงินได้ประเภทที่ 7 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง
  • เงินได้ประเภทที่ 8 หรือเงินได้ตามมาตรา 40(8) คือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจว่ารายได้มีกี่ประเภท แบบไหนยังไงบ้าง ผมแนะนำอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เงินได้ 8 ประเภทมีอะไรบ้าง? ได้เลยครับ

จากที่พูดมาทั้งหมดถึงผู้ที่มีหน้าที่ยื่นภาษี ผมขออธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ภาพของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลครึ่งปีได้ชัดเจนขึ้นตามนี้ครับ

  1. โดยปกติคนส่วนใหญ่ที่ต้องยื่นภาษีบุคคลครึ่งปี คือ คนที่มีรายได้จากการทำธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มนี้น่าจะมีรายได้สูงจนเกินกว่า 60,000 บาทต่อปีอยู่แล้วครับ
  2. คำว่า เงินได้ประเภทที่ 8 หมายความรวมถึง เงินได้ประเภทอื่นๆ อย่างเช่น การขาย LTF หรือ RMF (ในปี 2563 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้ตัดเมนูนี้ออกไปจากระบบเนื่องจากเงินได้จากการขาย LTF หรือ RMF ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 จากเดิมที่เป็นประเภทที่ 8 ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52)) ไปจนถึงเงินได้จากการรับให้ (ภาษีจากการรับให้) ซึ่งตรงนี้ต้องเอามายื่นภาษีครึ่งปีด้วยครับ
  3. คำว่า เงินได้เกิน 60,000 บาท ให้ดูจากรายได้ประเภทที่ 5 – 8 เป็นหลัก ถ้าหากรายได้ทุกประเภทในกลุ่มนี้รวมกันแล้วเกิน 60,000 บาท คน ๆ นั้นก็มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี แต่ถ้าหากมีแล้วไม่เกินก็ไม่ต้องยื่นครับ หรือในกรณีที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตรงนี้ ก็จะถือว่าไม่มีเงินได้ที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปีครับ

ยกตัวอย่างเช่น กรณีมนุษย์เงินเดือนที่ขายของออนไลน์ (มีรายได้ประเภทที่ 1 และ 8) ก็ให้พิจารณาแต่เงินได้ประเภทที่ 8 (ขายของออนไลน์) เท่านั้น หรือ ฟรีแลนซ์ที่มีบ้านเช่า (มีรายได้ประเภทที่ 2 และ 5) ก็พิจารณาแต่เงินได้ประเภทที่ 5 (ค่าเช่า) อย่างเดียวครับ

ดังนั้น ถ้าหากใครเป็นบุคคลธรรมดาที่เข้าเงื่อนไขตามที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์เมื่อไร ย่อมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปีให้ถูกต้อง (แบบ ภ.ง.ด. 94) ถึงแม้ว่าจะไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีก็ตามครับ

  • ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี
  • ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

กำหนดระยะเวลายื่นภาษี และบทลงโทษของการไม่ยื่นภาษีครึ่งปี

โดยปกติแล้ว กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 หรือรายการภาษีเงินได้บุคคลครึ่งปี จะถูกกำหนดไว้ที่วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี โดยอาจจะมีการขยายเวลาให้อีก 8 วันในกรณีที่เป็นการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออาจจะมีการขยายเวลาเพิ่มเติมได้หากมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ

ส่วนบทลงโทษนั้น ผมขอยกข้อความที่เคยเขียนไว้ในบทความ ภาษีครึ่งปี มาให้อ่านอีกครั้งครับว่า สิ่งที่ผู้เสียภาษีอย่างเราจะโดนแน่ๆ คือ ค่าปรับไม่ยื่นแบบ 2,000 บาท และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) จากภาษีทีต้องจ่ายในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) โดยนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ดี มีการลดค่าปรับให้ตามนี้ครับ

  • กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน เราจะต้องเสียเบี้ยปรับ 100 บาท
  • กรณียื่นแบบล่าช้า เกินกว่า 7 วัน เราจะต้องเสียเบี้ยปรับ 200

หลายคนอาจจะมองว่าโทษของการไม่ยื่นภาษีดูไม่ค่อยหนักสักเท่าไร แต่ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะเตือน (ความเห็นส่วนตัว) ในเรื่องของ การยื่นภาษีบุคคลครึ่งปี สำหรับคนที่ทำธุรกิจ เช่น มีคอนโดให้เช่า เปิดสำนัก คลินิก (วิชาชีพอิสระ) รับเหมาก่อสร้าง ขายของออนไลน์ หรือมีรายได้จากการทำธุรกิจประเภทอื่นๆ นั้นคือ การตรวจสอบข้อมูลของสรรพากรในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม ที่อาจจะส่งผลกระทบได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การส่งข้อมูลบัญชีธนาคารให้กับสรรพากร หรือ การตรวจสอบตามเกณฑ์ความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากข้อมูลไม่สอดคล้องกับการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นประเด็นเชื่อมโยงให้ถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้นครับ (ย้ำอีกทีว่า เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)

ทีนี้เรามาลงรายละเอียดกันต่อ ในกรณีที่เราตัดสินใจจะยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีให้ถูกต้อง นั่นคือ เรื่องของการคำนวณภาษีเงินได้นั่นเองครับ

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

มาถึงวิธีการคำนวณภาษีกันบ้างครับ ซึ่งต้องบอกว่าใช้วิธีการเดียวกันกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีไม่มีผิดเพี้ยนเลยครับ นั่นคือ มีวิธีการคำนวณ 2 วิธี ได้แก่ วิธีเงินได้สุทธิ  และ วิธีเงินได้พึงประเมิน (0.5% x รายได้ – ใช้ในกรณีที่มีรายได้รวมถึนเกิน 1 ล้านบาท) และนำมาเปรียบเทียบกันว่าวิธีไหนได้จำนวนภาษีที่มากกว่า ก็ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น (อ่านรายละเอียดการคำนวณภาษีเพิ่มเติมได้ที่บทความ วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ครับ)

ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

Advertisements

โดยหลักการสำคัญในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น มีดังนี้ครับ

1. เราต้องรู้ว่า รายได้ของเรานั้นคือเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย หลังจากนั้นเราค่อยนำมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามแต่ละประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ครับ โดยเฉพาะประเภทที่ 5-8 ที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนครับ

2. การหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น เราจะใช้วีธีการหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันไปตามประเภทของเงินได้ครับ แต่สำหรับรายได้ทุกประเภทที่เอามายื่นภาษีครึ่งปีนั้น มักจะสามารถเลือกได้ว่าจะหักเหมาหรือหักตามจริง (จำเป็นและสมควร)

ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

ดังนั้นตรงนี้ต้องพิจารณาให้ดีครับว่า จะเลือกหักแบบไหนถึงจะคุ้มค่ากว่า โดยถ้าเลือกค่าใช้จ่ายในวิธีไหนในการยื่นภาษีครึ่งปีแล้ว ให้เลือกหักค่าใช้จ่ายตามวิธีนั้นในกรณียื่นภาษีสิ้นปีด้วยนะครับ

3. ค่าลดหย่อน สามารถหักตามที่กฎหมายกำหนดได้ บางตัวที่เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบทั้งจำนวน ซึ่งจะหักได้เพียงครึ่งเดียว เพราะเป็นการยื่นภาษีครึ่งปี เช่น ลดหย่อนส่วนตัวเหลือเพียง 3 หมื่นบาท จาก 6 หมื่นบาท แต่สำหรับตัวที่เป็นการยกเว้นจากเงินได้นั้นสามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนครับ

ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

ความแตกต่างระหว่างค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ครึ่งปี กับ เต็มปี

อย่างที่ทราบกันดีว่า ค่าลดหย่อน คือ ตัวที่นำมาคำนวณเพื่อใช้ในการลดภาษี ตามหลักการคำนวณภาษีด้วยวิธีเงินได้สุทธิ แต่จากตารางข้างบนนี้ จะเห็นว่า ค่าลดหย่อนบางตัวจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ส่วนบางตัวจะดูเป็นเลขแปลกๆ เช่น ประกันชีวิต ลดหย่อนได้ 95,000 บาท แทนที่จะเป็น 100,000 บาท โดยสาเหตุนั้นเนื่องจากประเภทของค่าลดหย่อนในการใช้ลดหย่อนภาษี จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ค่าลดหย่อนจริง ๆ กับ ค่าลดหย่อนที่ยกเว้นจากเงินได้

ค่าลดหย่อนจริง ๆ คือ ค่าลดหย่อนที่เราสามารถนำมาหักได้ทั้งจำนวนโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว หรือค่าลดหย่อนคู่สมรส หักได้ 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตรหรือบิดามารดาคนละ 30,000 บาท หรือ บุตรคนที่สองหักได้เป็น 60,000 บาท ดังนั้นค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้ เมื่อเอามาใช้คำนวณภาษีครึ่งปี จะลดลงเหลือครึ่งนึงทันที โดยที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขอะไรให้ซับซ้อน

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ ค่าลดหย่อนที่ยกเว้นจากเงินได้ คือ ค่าลดหย่อนที่กำหนดให้ยกเว้นเพื่อหักออกจากเงินได้ ตัวอย่างเช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือ RMF ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกลุ่มเกษียณ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. ฯลฯ)

ซึ่งค่าลดหย่อนส่วนนี้เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีรายได้น้อย เราจะหักได้แค่รายได้ที่เรามีเท่านั้น สำหรับกลุ่มนี้เวลาใช้คำนวณภาษีครึ่งปี ก็จะไม่ต้องหารสองให้สับสน เพราะมันคิดจากรายได้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องไปคิดเยอะ หักได้เต็มๆกันไปเลยครับ

ทีนี้ปัญหา คือ ค่าลดหย่อนบางตัวที่เรารู้จักกัน ถือเป็นรายการค่าลดหย่อนที่มีทั้ง 2 ประเภทนี้ปนกันอยู่ เช่น ประกันชีวิต หรือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งเราจะเข้าใจว่าค่าลดหย่อนของกลุ่มนี้ คือ 100,000 บาท

แต่จริงๆ การลดหย่อนของประกันชีวิตหรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืม มันประกอบด้วยค่าลดหย่อนส่วน นั่นคือ ส่วนที่หักเป็นค่าลดหย่อนได้จริง 10,000 บาท และส่วนที่หักจากเงินได้อีก 90,000 บาท

ดังนั้นเวลาเอามาคำนวณภาษีครึ่งปี ค่าลดหย่อนกลุ่มนีจะถูกหารครึ่งในส่วนของค่าลดหย่อนจาก 10,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาทเท่านั้น แต่ส่วนที่หักจากเงินได้ยังได้สิทธิ 90,000 บาทเท่าเดิม นั่นเลยเป็นสาเหตุว่าทำไมค่าลดหย่อนกลุ่มนี้จึงเหลือ 95,000 บาทนั่นเองครับ

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณภาษีกันบ้าง สำหรับคนที่อยากจะยื่นภาษีเงินได้ครึ่งให้ถูกต้อง ผมมีตัวอย่างง่ายๆ มาให้ลองคำนวณกันเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องนี้ให้มากขึ้นครับ

ตัวอย่างมีอยู่ว่า นายบักหนอม เจ้าของแฟนเพจ TAXBugnoms เป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้เดือนละ 100,000 บาท และยังเป็นฟรีแลนซ์รับวาดภาพโดยมีรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก คือ 500,000 บาท นอกจากนั้นนายบักหนอมยังมีรายได้จากการขายของออนไลน์อีกจำนวน 1,200,000 บาท โดยตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา นายบักหนอมไม่เคยวางแผนลดหย่อนภาษีใดๆเลย

จากตรงนี้เราจะได้ข้อสรุปสั้นๆ ก่อนว่า นายบักหนอมจะยื่นเพียงรายได้จากการขายของออนไลน์เท่านั้น เนื่องจากถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ตามกฎหมายที่เข้าเงื่อนไขในการยื่นภาษีครึ่งปี (เงินเดือน = ประเภทที่ 1 ส่วนฟรีแลนซ์ = ประเภทที่ 2)

ทีนี้เรามาตั้งคำถามต่อว่า แล้วนายบักหนอมจะหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไรจากการขายของออนไลน์ ซึ่งจากข้อมูลเพิ่มเติมพบว่านายบักหนอมทำขายของออนไลน์แบบซื้อมาขายไป และมีการเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมดจำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายของทั้งหมด

จากข้อมูลที่เพิ่มเติมทำให้เรารู้ว่า นายบักหนอมสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ แบบเหมากับแบบจริง ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ดีและประหยัดภาษีที่สุด เราจะลองคำนวณภาษีจากวิธีการหักค่าใช้จ่ายทั้ง 2 วิธีเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะออกมาเป็นดังนี้

ผู้มีรายได้ประเภทใดบ้างที่ต้องคำนวณำภาษีครึ่งปี

โดยจำนวนภาษีที่เปรียบเทียบกันในบรรทัดสุดท้าย จะมาจากวิธีคำนวณตามนี้ครับ

1. วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ จะมาจาก รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน โดยการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจะเลือกในอัตรา 60% ของรายได้ ส่วนค่าใช้จ่ายจริง คือ 1,000,000 บาท ในส่วนของค่าลดหย่อนจำนวน 30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวครับ (เนื่องจากไม่มีค่าลดหย่อนอื่น) ซึ่งเงินได้สุทธิ จากทั้งสองวิธีจะได้ออกมาเป็น 450,000 บาทและ 170,000 บาทตามลำดับ ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีออกมาได้จะตัวเลข 22,500 บาท และ 1,000 บาท

2. วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน จะมาจาก เงินได้ x 0.5% โดยคำนวณออกมาได้ 1,200,000 x 0.5%  = 6,000 บาท

3. จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี ในกรณีเลือกค่าใช้จ่ายเหมา จะเสียในจำนวน 22,500 บาท (วิธีเงินได้สุทธิคำนวณได้มากกว่า) ส่วนค่าใช้จ่ายจริงจะเสีย 6,000 บาท (วิธีเงินได้พึงประเมินคำนวณได้มากกว่า) ซึ่งจะทำให้ตัวเลขแตกต่างกันอยู่ระดับนึงครับ (หากใครสนใจ อ่านบทความ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพิ่มเติมได้ครับ)

ดังนั้นข้อสรุปในการคำนวณภาษีตรงนี้ คือ ถ้าหากต้องการเสียภาษีน้อยลง (กรณีหักค่าใช้จ่ายเหมา) อาจจะต้องมีการวางแผนภาษีโดยการเพิ่มค่าลดหย่อนต่าง ๆ เข้ามาเพื่อให้คำนวณออกมาแล้วจำนวนเงินภาษีลดลงแทนครับ และที่สำคัญอย่าลืมประเด็นเรืองการเลือกใช้ค่าใช้จ่ายด้วยครับว่าถ้าเราเลือกแบบไหน (เหมา หรือ จริง) เราต้องใช้แบบนั้นไปตลอดครับ

หรือถ้าหากใครสะดวกดูแบบคลิป สามารถดูคลิปสอน ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากลางปี (ครึ่งปี) สำหรับปี 2564 ได้ที่ด้านล่างนี้ครับ

สรุป

ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ผมอยากฝากไว้สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีสำหรับบุคคลธรรมดาทุกคน คือ การเตรียมตัวที่ดีครับ ซึ่งการเตรียมตัวที่ว่านี้จะมีประโยชน์ทั้งในแง่ของการยื่นภาษีที่ถูกต้อง (ไม่มีปัญหากับพี่ๆสรรพากร) ไปจนถึงการคำนวณภาษีล่วงหน้า รวมถึงใช้วางแผนภาษีเพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีหลังได้อย่างถูกต้อง

ดังนั้นเรามายื่นภาษีครึ่งปีกันดีกว่าครับ

TAXBugnoms

TaxBugnoms

คือ นามปากกาของพรี่หนอม (ถนอม เกตุเอม) ผู้มีความเชื่อว่าภาษีเป็นเรื่องยาก แต่กลับชื่นชอบในการทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องเรียบง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจในการใช้ชีวิต