รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

รู้หรือไม่ ว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไปในท้องตลาด ที่เคยพบเห็น จะสามารถกันความร้อนจากภายนอกและลดแสงที่สอดส่องเข้ามาหาเราได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟิล์มทั่วไปจะสามารถป้องกัน UV400 ได้ ฟิล์มกรองแสงคุณภาพเยี่ยม ที่มีราคาสูง ส่วนมาก จะสามารถป้องกันแสงที่มีความยาวคลื่นได้มากถึง 400 นาโนเมตร ไม่ให้ผ่านทะลุมาถึงดวงตาได้ หรือพูดง่ายๆว่า สามารถป้องกันอันตรายจากรังสียูวีเอและยูวีบี ได้อย่างสมบูรณ์ UV400 คืออะไร? UV400 (Ultra-Violet 400) คือ ช่วงความยาวคลื่นของรังสียูวีทั้งหมด นับตั้งแต่ความยาวคลื่น 100 – 400 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นความยาวที่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศสู่พื้นผิวโลกได้ พร้อมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้อีกด้วย โดยในรังสี UV400 นั้นยังประกอบไปด้วยรังสี UVC, UVB, UVA และ UV-Tmax

เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่ของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100~400 นาโนเมตร ความถี่ 1015~1217Hz ซึ่งตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ มีคุณสมบัติไม่แตกตัว (non-ionizing)

แหล่งกำเนิดรังสีอัลตราไวโอเลต

1.การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ (solar radiation) เป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการแผ่รังสีที่ส่องมาถึงโลก โดยประกอบด้วยรังสี

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด
  • UVA (Long wave UVR หรือ Black light) มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 320~400 นาโนเมตร และไม่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก หากสัมผัสในระยะเวลานานๆ จะสร้างความเสื่อมโทรมให้กับคอลลาเจนและอิลาสตินจนหมดความยืดหยุ่น ก่อให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้

  • UVB (Middle UVR หรือ Sunburn radiation) มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 290~320 นาโนเมตร ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกดูดซับรังสีชนิดนี้ไม่ได้ทั้งหมด ทำให้มีบางส่วนตกลงมายังพื้นโลก เมื่อสัมผัสร่างกาย จะผ่านเข้าไปที่ชั้นผิวหนังกำพร้าและผิวหนังแท้ด้านบนเท่านั้น แต่รังสี UVBนั้นมีอยู่มาก และเป็นสาเหตุของการเกิดผิวไหม้ จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน

  • UVC (Short wave UVR หรือ Germicidal radiation) เป็นรังสีคลื่นสั้น ช่วงความยาวคลื่น 200~290 นาโนเมตร แสงช่วงนี้ส่วนใหญ่จะถูกดูดซับโดยก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบในรังสีชนิดนี้ แต่หากในอนาคต ชั้นบรรยากาศไม่สามารถดูดซับได้หมด รังสี UVC ก็จะเป็นอีกหนึ่งรังสี ที่เราจะต้องหาทางรับมือป้องกันมัน

  • ช่วงคลื่นที่มนุษย์มองเห็น และรังสีอินฟาเรด แต่รังสีบางส่วนจะถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่วนที่เหลือสามารถส่องมาถึงผิวโลกในระดับไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

2.แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (Artificial sources) ได้แก่วัตถุทุกชนิดที่ถูกทำให้ร้อน จนมีอุณหภูมิสูง มากกว่า 2500 องศาเคลวิน (2227 องศาเซลเซียส) สามารถปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ทางการแพทย์ ทางการเกษตร เป็นต้น

ประโยชน์ของรังสีอัลตราไวโอเลต

หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต ที่ในปริมาณที่พอเหมาะจะมีประโยชน์ต่อการสร้างวิตามิ(D) ช่วยการเจริญเติบโตของร่างกาย และรังสีอัลตราไวโอเลตยังมีส่วนช่วยในด้านการแพทย์และทางการเกษตร ด้วยเช่นกัน

ผลกระทบของรังสีอัลตราไวโอเลตต่อร่างกาย

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

สำหรับค่าดัชนียูวีนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

สีเขียว (0-2) Low : มีผลต่อผิวหนังต่ำ
สีเหลือง (3-5) Moderate : เริ่มมีผลต่อผิวหนัง ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดด
สีส้ม (6-7) High : ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชม.
สีแดง (8-10) Very High : ปฏิบัติเช่นเดียวกับ ระดับสีส้ม แต่ความเข้มข้นระดับนี้เริ่มส่งผลเสียรุนแรงต่อผิวหนังและดวงตา
สีม่วง (มากกว่า 11 ขึ้นไป) Extreme : ควรหลีกเลี่ยงการออกแดด เพราะแสงอาทิตย์จะเผาไหม้ผิวหนัง และส่งผลเสียต่อดวงตาในเวลาไม่กี่นาที

หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

  • ผลกระทบต่อผิวหนัง เช่น ผิวคล้ำแดด ริ้วรอย ไปจนถึงอาการแพ้แดด ผิวไหม้จากแดด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้

  • ผลกระทบต่อดวงตา เช่น ต้อเนื้อ, ต้อกระจก, กระจกตาอักเสบ และเยื่อบุตาอักเสบ

  • ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน รังสีอัลตราไวโอเลตอาจเป็นอันตรายต่อ DNA และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคมะเร็งตามมา นอกจากนี้ การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณสูงยังส่งผลให้วัคซีนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

การป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต

การป้องกันด้วยวิธีง่าย ๆอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตได้ ดังนี้

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

หลีกเลี่ยงการออกแดด ในช่วง 9.00-14.00 น. เนื่องจากมีความเข้มของรังสี อัลตราไวโอเลตมากและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวผ้าทอที่รัดรูปและมีสีเข้ม ในปัจจุบันเสื้อผ้า บางยี่ห้อหันมาใช้สารเคลือบวัสดุสิ่งทอที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

สวมหมวกและแว่นกันแดด ที่มีคุณสมบัติป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

กางร่ม วิธีนี้แม้จะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากทา ครีมกันแดดร่วมด้วยจะช่วยป้องกันร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ร่มเพียงอย่างเดียว

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

ทาครีมกันแดด ที่มีค่าป้องกันรังสี UVB (Sun Protection Factor: SPF) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ทาในปริมาณที่เพียงพอและทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง 

รังสีอัลตราไวโอเลตประเภทใดอันตรายมากที่สุด

หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำผิวสีแทนและหลอดไฟแสงยูวี รังสีอัลตราไวโอเลตจาก อุปกรณ์สร้างรังสียูวีนั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ไม่ต่างจากรังสีอัลตราไวโอเลต จากแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ในปัจจุบันหลอดไฟแสงยูวียังถูกนำมาใช้งานในหลาย ด้าน เช่น การทำเล็บเจล ซึ่งแม้จะมีปริมาณรังสียูวีไม่มาก แต่ก็ควรป้องกันด้วยการ ทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนใช้อุปกรณ์เหล่านี้

รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงใดที่ทำอันตรายต่อผิวหนัง

1. รังสียูวีเอ (UVA) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนมิเตอร์ สามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ได้ ในระยะยาวเชื่อกันว่าหากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย สีผิวคล้ำเข้ม ขาดความสดใส

ช่วงเวลาใดที่รังสีอัลตราไวโอเลตมีอันตรายมากที่สุด

- ช่วงเวลาที่ UV รุนแรงที่สุด คือ ประมาณ 10.00-16.00 น. - ยิ่งอยู่ในพื้นที่สูง รังสี UV ก็ยิ่งรุนแรง ถ้าต้องขึ้นเขา ขึ้นดอยละก็ ถึงจะอากาศหนาว แต่ก็ขาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไม่ได้เลย

รังสีอัลตราไวโอเลตมีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร

หากได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้ ผลกระทบต่อผิวหนัง เช่น ผิวคล้ำแดด ริ้วรอย ไปจนถึงอาการแพ้แดด ผิวไหม้จากแดด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ผลกระทบต่อดวงตา เช่น ต้อเนื้อ, ต้อกระจก, กระจกตาอักเสบ และเยื่อบุตาอักเสบ

รังสี UltraViolet (UV) ชนิดใดที่มีความรุนแรงต่อชั้นหนังแท้

รังสี UVA เจาะลึกผ่านลงไปในผิวชั้นล่าง (ชั้นหนังแท้) มีบทบาทสำคัญในการที่ผิวถูกทำร้ายจากแสงแดดในระยะยาวมากกว่าที่จะเกิดความเสียหายรุนแรง