ห้องสมุด ประเภท ใด ที่ ถือว่า เป็น มหาวิทยาลัย ของ ประชาชน

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

6.  ประเภทของห้องสมุด

ห้องสมุดเป็นสถาบันสารสนเทศอันดับแรกที่เก่าแก่และคุ้นเคยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  โดยแบ่งตามเป้าหมายในการให้บริการ   แบ่งออกเป็น  5  ประเภท  ดังนี้

            6.1  ห้องสมุดโรงเรียน  (School  Libraries)  คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียน  ตั้งแต่ระดับอนุบาล  ระดับประถมศึกษา  และระดับมัธยมศึกษา  มีทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร  และนอกเหนือหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร  เป็นแหล่งปลูกฝังการมีนิสัยรักการอ่านและใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองให้แก่เยาวชน  สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการใช้ห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ขนาดของห้องสมุดโรงเรียนจะเล็กหรือใหญ่โตเพียงใด  ขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในโรงเรียนและจำนวนหนังสือในห้องสมุด  ห้องสมุดควรจัดไว้ในที่ที่อยู่เป็นศูนย์กลางของนักเรียนและครู  เพื่อจะได้เข้าใช้บริการได้สะดวก   ซึ่งจะเพาะนิสัยในการอ่านและการค้นคว้าให้แก่นักเรียน  ห้องสมุดโรงเรียนควรจัดดังนี้

                    6.1.1  สนับสนุนให้เด็กรักการอ่านหนังสือ  เด็กต้องอ่านหนังสือเป็น  ครูรู้จักเลือกอ่านหนังสือที่ดีและอ่านแล้วรู้จักคิดวิเคราะห์ได้

                    6.1.2  ฝึกให้เด็กรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  เพราะหนังสือสนองความต้องการได้ ทั้งความรู้  สติปัญญา  การสังคม  การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  และได้ความสนุกเพลิดเพลินเด็กต้องรู้จักเลือกอ่าน  และแสวงหาความรู้เองแทนที่จะคอยเรียนรู้จากครูเท่านั้น

                    6.1.3  ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวต่าง ๆ  รอบตัวอย่างกว้างขวางขึ้น  เข้าใจคนที่แวดล้อม  เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อื่นตั้งแต่เล็ก ๆ  เท่าที่จะสามารถเข้าใจได้ เพราะมนุษย์แต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจะอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้  ทุกคนมีสิ่งแวดล้อม  มีครอบครัว           ญาติมิตรและคนอื่น ๆ  ที่เราต้องพบปะเกี่ยวข้องด้วย  จะทำให้เด็กเกิดความเห็นใจ  เข้าใจและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต  และดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างเป็นสุข  เช่น  อ่านหนังสือพิมพ์ได้ทราบข่าวความเคลื่อนไหว  รู้เหตุการณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยทันโลก  หนังสือชีวประวัติ  และนวนิยายช่วยให้เข้าใจผู้อื่น  อ่านหนังสือภูมิศาสตร์ได้รู้โลกกว้างขวางขึ้นทำให้จิตใจเด็กตื่นตัวอยู่เสมอ  มีความอยากรู้อยากเห็นในทางที่เหมาะสมและถูกต้อง  ช่วยให้เด็กค้นพบตนเองว่าต้องการอะไร  มีความถนัดและชอบสิ่งใดบ้าง

                     6.1.4  ฝึกให้เด็กรู้จักรักความสวยงาม  ฝึกความเป็นระเบียบ  และมีวินัยโดยการจัดหาต้นไม้  ดอกไม้ประดับ  ม่านหรือภาพสวยงามไว้ตกแต่งเพื่อแลดูสวยงามสบายตา  หนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จัดวางเป็นระเบียบบนชั้น  โต๊ะ  เก้าอี้  สะอาดจัดวางเข้าที่เรียบร้อยไม่เกะกะช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนมีระเบียบ  กฎข้อบังคับของห้องสมุด  ซึ่งเด็กต้องปฏิบัติตามจะฝึกให้เด็กรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น  รู้จักหน้าที่ของตนเองที่พึงปฏิบัติ  รู้จักระวังรักษาสมบัติของส่วนร่วมและฝึกการมีมารยาทในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

                    6.1.5  ส่งเสริมการสอนของครู  และการเรียนของเด็ก  โดยจัดหาหนังสือและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ  ดังนี้

                                6.1.5.1  จัดหาให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนตามหลักสูตร  ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้

                                6.1.5.2  จัดหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมนอกเวลา

                                6.1.5.3  จัดหาหนังสือสารคดีต่างๆ  ที่ไม่ยากจนเกินไป  หนังสือทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  และการท่องเที่ยวประเทศต่าง ๆ  หนังสือวรรณคดี

                                6.1.5.4  จัดหาหนังสืออ้างอิงต่าง ๆ เช่น  พจนานุกรม  สารานุกรม  ฯลฯ

                                6.1.5.5  จัดหาหนังสือความรู้ทั่วไป  หนังสือที่ช่วยให้รู้จักคิด  รู้จักประพฤติตนช่วยให้เด็กปรับแนวความคิด  และบุคลิกลักษณะของตน  หนังสือที่แนะนำเรื่องกิริยามารยาท  รู้สิ่งที่ควรประพฤติหรือสิ่งที่ไม่ควรประพฤติ  ชี้แนะแนวทางแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีบางประการ  เพราะเด็ก          ในวัยนี้กำลังอยู่ในระยะสร้างอุปนิสัย  ยังไม่เข้าใจชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพียงพอ

                                6.1.5.6  จัดหาหนังสือทางศาสนา  หนังสือชีวประวัติ  และนวนิยายบางเล่มที่มีส่วนในการจูงใจเด็กให้เป็นคนดี  ใฝ่ในทางดี  รู้จักคิดและประพฤติตนได้ถูกต้อง

                                6.1.5.7  จัดหาหนังสือที่แนะแนวในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกี่ยวกับงานอดิเรก  เช่น  การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ  จากวัสดุเหลือใช้  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  การวาดภาพ  งานเย็บปักถักร้อย  การสะสมสิ่งต่าง ๆ  ทำให้เด็กได้ทราบว่ามีอะไรที่น่าสนใจ

                                6.1.5.8  จัดหาหนังสือที่ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน  ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส  จิตใจเบิกบาน  หายเมื่อยล้าจากการเรียน  เช่น  นิทานต่างๆ  เรื่องชวนขัน

                                6.1.5.9  จัดหาหนังสือสำหรับครู  และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ได้แก่  หลักสูตรใหม่ ๆ  หนังสือแนะนำสถานที่ที่นักเรียนจะเข้าศึกษาต่อ  วารสาร  จุลสาร  และหนังสือพิมพ์

                                6.1.5.10  จัดหาโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ  เช่น  ภาพต่าง ๆ  แผนที่  ลูกโลก  แผนผัง  แผนภูมิ  ของเลียนแบบ  เป็นต้น

             6.2  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  (College  and  University  Libraries)  คือ  ห้องสมุดระดับอุดมศึกษา  ซึ่งตั้งอยู่ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ปัจจุบันส่วนมากใช้คำว่าสำนักหอสมุด  หรือสถาบันวิทยบริการ  แทนคำว่า  ห้องสมุด  นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมของแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการค้นคว้าด้านการเรียนการสอน  และการวิจัยของอาจารย์และนักศึกษา  ให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน  ตลอดจนส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยอาจเป็นห้องสมุดกลาง หรือห้องสมุดคณะ  หรือห้องสมุดเทียบเท่าคณะที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น  ในสังกัดมหาวิทยาลัย  และจะต้องมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์   และนโยบายของมหาวิทยาลัย  หนังสือ  โสตทัศนวัสดุ  และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดประเภทนี้ประกอบด้วย

                    6.2.1  หนังสือและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ  โสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนตามสาขาวิชาที่เปิดสอนและตรงตามความต้องการของอาจารย์และนักศึกษา  สำหรับการค้นคว้าวิจัย

                    6.2.2  หนังสืออ้างอิง  ฐานข้อมูลอ้างอิงในสาขาวิชาต่างๆ  ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนรวมทั้งจัดให้มีหนังสืออ้างอิง  ฐานข้อมูลอ้างอิงเฉพาะด้านการศึกษาทั่ว ๆ ไป

                    6.2.3  หนังสือที่ให้ความจรรโลงใจต่าง ๆ  เพื่อให้ผู้อ่านเป็นผู้เจริญ  และหนังสือที่อ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลิน  เช่น  หนังสือวรรณคดี  ชีวประวัติ  ศาสนา  ปรัชญา  จิตวิทยา  ข้อคิดเกี่ยวกับศีลธรรม  หนังสือท่องเที่ยว  นวนิยายที่มีคุณภาพสูงและจัดหาในจำนวนจำกัด

            6.3  ห้องสมุดประชาชน  (Public  Libraries)  คือ  ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป  ไม่จำกัด  เพศ  วัย  ศาสนา  อาชีพ  และระดับความรู้ในชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ  ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงห้องสมุด  ค่าเช่าหนังสือ  ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้เสียภาษีให้แก่รัฐแล้วห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย  คือ ห้องสมุดวัดพระเชตุพนฯ  หรือ   วัดโพธิ์  ให้บริการส่งเสริมการอ่านแก่ประชาชนในท้องถิ่น  ประชาชนสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารได้ตามความต้องการได้อย่างอิสรเสรี   ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดประชาชนขยายขอบเขต การให้บริการกว้างขวางออกไป  ขยายสาขาไปยังชุมชนที่ห่างไกล  มีทั้งห้องสมุดประชาชนระดับอำเภอ  ระดับตำบล  จัดบริการห้องสมุดเคลื่อนที่โดยใช้รถยนต์   หรือเรือไปยังที่ต่างๆ  เป็นการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง  เพื่อช่วยยกระดับชีวิต และสติปัญญาทำให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งดังนี้

                     6.3.1  เพื่อให้การศึกษา  ห้องสมุดประชาชนถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยชาวบ้าน  เพราะทุกคนสามารถศึกษาหาความรู้ให้กับตนเองได้แม้ว่าจะไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียนหรือผู้ที่เรียนจบจากการศึกษาในระดับสูง ๆ แล้ว  ก็ยังต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ  เพื่อพัฒนาตนเองไปจนตลอดชีวิต  ส่วนผู้ที่มิเคยได้เข้าโรงเรียนเลย  แม้จะอ่านหนังสือไม่ออกก็อาจเข้าชมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดขึ้น  เช่น  ฟังเล่านิทาน  ฟังปาฐกถา  หรือดูภาพยนตร์

                    6.3.2  เป็นศูนย์รวมข่าว  เป็นที่พบปะของชุมชน  จะได้รับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ  รู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น  การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ

                    6.3.3  เพื่อสนับสนุน  ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  โดยการอ่านหนังสือและสื่อความคิดอื่น ๆ  เป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  เพราะการอ่านให้ประโยชน์มากมายที่จะเกิดการพัฒนาทางอาชีพ  ให้แนวคิดอันถูกต้อง  เกิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล  เกิดการปรับปรุงบุคลิกลักษณะส่งผลให้คิดและทำแต่สิ่งที่ดีงาม  ช่วยในการพัฒนาจิตใจให้มีทัศนคติอันถูกต้อง  ช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ  อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

                    ในปัจจุบันได้มีห้องสมุดประชาชน  จัดให้บริการอยู่ตามชุมชนต่างๆ  ตั้งแต่ระดับจังหวัด  อำเภอ  ตำบล  ไปจนถึงเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  สถานที่ตั้งของห้องสมุดประชาชน ควรตั้งอยู่ในที่คนไปมาได้สะดวกอยู่ใจกลางชุมชน  เช่น  ตลาด  โรงเรียน  วัด  อีกทั้งยังสามารถจัดบริการ  หน่วยห้องสมุดเคลื่อนที่ออกไปตามแหล่งชุมชนซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปยังที่ต่าง ๆ โดยใช้  รถ  รถไฟ    เรือ  เครื่องบิน  เกวียน  หรือยานพาหนะอื่น ๆ ตามความเหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศนั้น ๆ  แล้วหาที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของชุมชนสักแห่ง  ใช้เป็นที่เก็บหนังสือ  อาจเป็นศาลาวัด  ห้องใดห้องหนึ่งในอาคารเรียน  สหกรณ์ของหมู่บ้าน  หน่วยเคลื่อนที่นี้จะต้องมีเส้นทางแน่นอน  และทำเป็นประจำ  ห้องสมุดประชาชนในต่างจังหวัด  อยู่ในความดูแลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  กระทรวงศึกษาธิการ

                    สำหรับห้องสมุดประชาชนในกรุงเทพมหานคร  ได้เปิดบริการขึ้นหลายแห่ง  เช่น  ห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง  ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี  อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักสวัสดิการสังคม  กรุงเทพมหานคร  ห้องสมุดประชาชนของหน่วยงานเอกชน  องค์กรระหว่างประเทศ  เช่น  ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล  ห้องสมุด  เอ.ยู.เอ.  เป็นต้น  หนังสือในห้องสมุดประชาชนควรจัดหา  ดังนี้

                                 6.3.3.1  จัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน  และผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป

                                6.3.3.2  จัดหาให้เหมาะสมกับพื้นความรู้และความสามารถของผู้อ่านหรือผู้ใช้บริการ

                                6.3.3.3  จัดหาวัสดุการอ่านให้ครบทุกประเภท  เช่น  สารคดี  นวนิยาย  วารสาร  หนังสือพิมพ์  หนังสือวิชาการ  หนังสืออ้างอิง  และจัดหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ

            6.4  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries)  คือห้องสมุดที่เก็บรวบรวมสารนิเทศ เพื่อสนองตอบ  ความต้องการของบุคคลเฉพาะสาขาวิชาวิชาใดวิชาหนึ่งและวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม  ซึ่งเป็นสมาชิกในหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัดอยู่  และการให้บริการของห้องสมุดเฉพาะนี้จะช่วยส่งเสริมให้กิจการของหน่วยงานนั้นๆ  เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ห้องสมุดเฉพาะนี้มักจะสังกัดอยู่ในหน่วยราชการ  องค์การ  บริษัท  สมาคมวิชาชีพ  ธนาคาร  พิพิธภัณฑ์  มหาวิทยาลัย  องค์การระหว่างประเทศ  และหน่วยงานอื่น ๆ  เป็นต้น  สำหรับชื่อห้องสมุดเฉพาะมีชื่อแตกต่างกันมากกว่าห้องสมุดประเภทอื่น  ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ห้องสมุดนั้นสังกัด  รวมทั้งลักษณะ ของการดำเนินงานและการให้บริการ  เช่น  ในปัจจุบันใช้คำว่า  ศูนย์ข่าวสาร  ศูนย์เอกสาร  ศูนย์บริการเอกสาร  เป็นต้น  เช่น  ห้องสมุดคณะต่าง ๆ  ในมหาวิทยาลัย  ห้องสมุดวัดบวรนิเวศฯ  (รวบรวมหนังสือที่ระลึกในโอกาสพิเศษของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ)  ห้องสมุดของสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ  ห้องสมุดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดสยามสมาคม  ห้องสมุดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดเนติบัณฑิตยสภา  เป็นต้น  หนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุดประเภทนี้มีแต่หนังสือซึ่งเกี่ยวกับหน่ายงานนั้น ๆ  เป็นส่วนใหญ่  เพราะวัตถุประสงค์หลักของห้องสมุดประเภทนี้มีไว้เพื่อช่วยการค้นคว้าและวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานเท่านั้น  สิ่งพิมพ์ส่วนมากจะเป็นรายงานเกี่ยวกับการวิจัย  เอกสารของรัฐบาล  รายงานทางวิชาการของสมาคมซึ่งสิ่งพิมพ์เหล่านี้จะหาได้จากแหล่งผลิตเท่านั้นไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป  โดยทั่วไปจะให้บริการ แก่บุคลากรของหน่วยงาน หรือนักศึกษาของคณะนั้น ๆ

            6.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National  Libraries)  คือ  ห้องสมุดประจำชาติหรือประเทศ   หอสมุดแห่งชาติของไทยเดิมชื่อว่า  หอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร  ปัจจุบันตั้งอยู่  ณ  ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน  สร้างขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัชต์  วางศิลาฤกษ์เมื่อ  พ.ศ.  2506  เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการ  ตั้งแต่วันที่ 5  พฤษภาคม  พ.ศ.  2509  มีฐานะเป็นสำนักหอสมุดแห่งชาติ  สังกัดกรมศิลปากร  กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดบริการให้ประชาชนเข้าอ่านได้ทุกวันตั้งแต่เวลา  9.30-19.30 น. เว้นวัดหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์  แต่ไม่อนุญาตให้ยืมทรัพยากรสารนิเทศออกนอกห้องสมุด  หอสมุดแห่งชาติเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศไว้อย่างสมบูรณ์  และอนุรักษ์ให้คงทนถาวร  จัดให้ใช้ประโยชน์ในด้านประกอบการค้นคว้าวิจัย  หอสมุดแห่งชาติจะต้องได้รับสิ่งพิมพ์ทุกเล่มที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศตามกฎหมาย เก็บรวบรวมทรัพยากรสารนิเทศทุกชนิดโดยเฉพาะทรัพยากรสารนิเทศที่ผลิตในประเทศนั้นๆ  จัดทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารนิเทศแห่งชาติ[1]  กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ  (ISBN = International  Standard  Book  Number)  ส่วนบรรณานุกรม[2]  ประเภทอื่น ๆ  ที่หอสมุดแห่งชาติจัดทำ  ได้แก่  บรรณานุกรมเฉพาะวิชา[3]  บรรณานุกรมผู้แต่ง[4]  โดยจะทำเฉพาะผู้แต่งที่มีชื่อเสียง  และแต่งหนังสือไว้หลายชื่อ   และนอกจากนี้หอสมุดแห่งชาติยังมีหน้าที่รวบรวมสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย  ซึ่งผลิตที่ต่างประเทศ  รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่า  มีราคาสูงทั้งของไทยและของต่างประเทศ  ซึ่งห้องสมุดอื่นไม่มี 

            หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ในหอสมุดแห่งชาตินั้นได้รับมาจากหลายทาง  เช่น  หนังสือที่พิมพ์ในประเทศไทย  จะได้รับตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ที่ระบุไว้ว่า  “บรรดาหนังสือที่มีกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ  ผู้มีกรรมสิทธิ์จะต้องมอบให้เพื่อเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ  2 ฉบับ”             อีกทั้งยังได้จัดหาหนังสือประเภทมีคุณค่าหายาก  มีราคาแพงจากต่างประเทศทั่วโลก  อาจจัดหาโดยวิธีการซื้อด้วยเงินงบประมาณของหอสมุด  หรือแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานราชการ  ห้องสมุด  และสมาคมต่าง ๆ  ในต่างประเทศหรือมีผู้บริจาคให้  จึงทำให้หอสมุดแห่งชาติมีหนังสือสำคัญต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมากและมีหนังสือหลากหลายภาษา  อีกทั้งยังเก็บรวบรวมหนังสือฉบับตัวเขียนด้วยมือ  เหรียญกษาปณ์  เหรียญตราต่างๆ  แผนที่  รูปภาพและวัสดุย่อส่วนนานาชนิด

            การให้บริการจะเน้นทางด้านช่วยเหลือในการอ่าน การค้นคว้าและวิจัยภายใน  ห้ามยืมออก  เพื่อให้ทุกคนได้ใช้หนังสือโดยทั่วถึงกัน  บริการช่วยค้นคว้ามีหลายอย่าง  เช่น  ช่วยค้นหาหนังสือ    และสิ่งพิมพ์  ช่วยรวบรวมรายชื่อหนังสือในเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ  จัดทำดรรชนีค้นเรื่อง  เป็นศูนย์รวมบัตรรายการ  หรือสหบัตรรายการ  (Union  Catalog)  คือ  รวบรวมบัตรรายการหนังสือของห้องสมุดอื่นๆ มาไว้เพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะค้นเรื่องได้ทราบว่า  หนังสือที่ตนต้องการถ้าไม่มีในหอสมุดแห่งชาติแล้วจะมีอยู่ที่ใด  แล้วหอสมุดแห่งชาติจะทำหน้าที่ขอยืมมาให้เรียกบริการนี้ว่า  “การยืมระหว่างห้องสมุด”  (Inter  Library  Loan  Service)

             ปัจจุบันหอสมุดแห่งชาติมีสาขาอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  โดยมากจัดไว้ในบริเวณเดียวกันกับพิพิธภัณฑสถานของจังหวัดนั้น ๆ  โดยหอสมุดแห่งชาติในกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้จัดหาหนังสือดำเนินการจัดหมวดหมู่  และทำบัตรรายการส่งให้แก่หอสมุดแห่งชาติสาขาในจังหวัดต่างๆ  ทั้งหมด  17  สาขา  ดังนี้

                    6.5.1  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่

                    6.5.2  หอสมุดแห่งชาติลำพูน

                    6.5.3  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  จันทบุรี

                    6.5.4  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  กาญจนบุรี

                    6.5.5  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี  สิงห์บุรี

                    6.5.6  หอสมุดแห่งชาติชลบุรี

                    6.5.7  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ  ร.9  นครราชสีมา

                    6.5.8  หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย  บุรีรัมย์

                    6.5.9  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  นครพนม

                    6.5.10  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช

                    6.5.11  หอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจ  ภูเก็ต

                    6.5.12  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ตรัง

                    6.5.13  หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก  สงขลา

                    6.5.14  หอสมุดแห่งชาติวัดตอนรัก  สงขลา

                    6.5.15  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  สงขลา

                    6.5.16  หอสมุดแห่งชาติ  จังหวัดสุพรรณบุรี  เฉลิมพระเกียรติ

                    6.5.17  หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง  เฉลิมพระเกียรติ


[1]  รายชื่อหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  ที่เขียนหรือตีพิมพ์ขึ้นในประเทศนั้น ๆ  ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน  เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาค้นคว้า  เป็นคู่มือจัดหาและคัดเลือกหนังสือ  เป็นสถิติการผลิตหนังสือของชาติ

[2]  คือการทำบัญชีรายชื่อหนังสือ  โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือดังนี้  ชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  ผู้จัดพิมพ์  ปีที่พิมพ์  จำนวนหน้า

[3]  คือบัญชีรายชื่อหนังสือในแต่ละวิชา

[4]  คือบัญชีรายชื่อหนังสือทั้งหมดของผู้แต่งคนนั้น ๆ  แต่งขึ้น

7.  ลักษณะของห้องสมุดที่ดี

ห้องสมุดที่ดีควรมีการจัดบริการที่สนองความต้องการของผู้ใช้อย่างกว้างขวาง  ผู้ใช้ได้รับความสะดวก  รวดเร็ว  และสามารถใช้ห้องสมุดในการเพิ่มพูนความรู้และตลอดจนนำความรู้  ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น  ห้องสมุดที่ดีควรจัดหาจัดระเบียบ  และจัดบริการดังต่อไปนี้

     7.1  มีหนังสือและวัสดุสิ่งพิมพ์โสตทัศนวัสดุ  สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้อย่างกว้างขวางทุกประเภท

     7.2  มีบริการให้ยืมหนังสือ  วัสดุสิ่งพิมพ์  หรือเอกสาร  แก่ผู้ใช้ห้องสมุด

     7.3  จัดบริการและแนะนำการอ่าน  บริการตอบคำถาม  บริการช่วยการค้นคว้า  จัดบริการหนังสือจอง  บริการหนังสือสำรอง  เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้หนังสือหรือวัสดุการศึกษาอื่น ๆ อย่างทั่วถึงกัน  เพื่อให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการโดยเร็ว  และตรงตามวัตถุประสงค์

     7.4  มีหนังสืออ้างอิงซึ่งสงวนไว้ใช้เฉพาะในห้องสมุด  หรือให้ขอยืมได้ในเวลาจำกัดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้หนังสืออ้างอิงอย่างทั่วถึงกัน  และควรจัดบริการหนังสือจองด้วย

     7.5  มีการจัดหนังสือเป็นหมวดหมู่ตามระบบสากลไว้ในชั้นเปิด  เพื่อให้ผู้ใช้สามารถหยิบได้ด้วยตนเองโดยสะดวก

     7.6  จัดทำคู่มือ  หรือเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารนิเทศ ของห้องสมุด  เพื่อเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ตรงเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างรวดเร็ว  เช่น  ฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด  บัตรรายการ  รายชื่อหนังสือ  คู่มือการใช้ห้องสมุด  รายชื่อโสตทัศนวัสดุประเภทต่าง ๆ  เป็นต้น

     7.7  จัดบริการแนะนำหนังสือดี  หรือหนังสือที่น่าสนใจ  หนังสือที่จัดหาเข้าห้องสมุดใหม่ ๆ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

     7.8  จัดสถานที่สะอาดเรียบร้อยเหมาะสมเป็นห้องสมุด  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายตามสมควร  เช่น  มีแสงสว่างเพียงพอ  มีโต๊ะ  เก้าอี้นั่งสบายปราศจากเสียงรบกวนหรือทำลายสมาธิ  มีอากาศถ่ายเท  หรือมีพัดลมระบายอากาศ

     7.9  จัดบริการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ  ตามความจำเป็น  และระดับความต้องการของผู้ใช้

     7.10  มีงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน  และการจัดบริการเป็นประจำและเพียงพอ

8. บริการของห้องสมุด

     บริการของห้องสมุดมีทั้งทางตรงและทางอ้อม  ดังนี้

     8.1  บริการยืม – คืนโดยยึดระเบียบการยืม - คืนของห้องสมุด

     8.2  บริการถ่ายสำเนาโดยไม่คิดค่าบริการ

     8.3  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า 

     8.4  บริการรวบรวมบรรณานุกรม

     8.5  บริการจัดป้ายนิเทศเพื่อประกาศหรือเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งผู้ใช้ควรทราบตามวาระต่างๆ

     8.6  บริการให้ศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุด  โดยจัดอุปกรณ์และสถานที่ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อผู้ใช้

     8.7  บริการแนะนำวิธีใช้เครื่องมือช่วยค้นต่าง ๆ  เช่น  อธิบายวิธีใช้บัตรรายการ  วิธีการสืบค้นด้วยโปรแกรมห้องสมุด  โดยใช้คอมพิวเตอร์  วิธีใช้บริการอินเทอร์เน็ต  วิธีใช้เครื่องมือโสตทัศน์ต่าง ๆ

     8.8  บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดและการใช้บริการต่าง ๆ

     8.9  บริการข่าวสารที่ทันสมัย  คือจัดบริการความรู้ใหม่ให้ถึงตัวผู้ใช้อย่างรวดเร็วโดยให้บริการตามความสนใจของแต่ละคน  หรือแต่ละกลุ่ม

     8.10  บริการอื่น ๆ  ที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้

ห้องสมุดประเภทใดที่เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาต่อเนื่องของประชาชน

4. ห้องสมุดประชาชน เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน

ห้องสมุดในข้อใดเป็นห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดสาธารณะ (อังกฤษ: Public library) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ให้บริการสำหรับประชาชนทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอายุ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนต่าง ๆ ในลักษณะและกิจกรรมของห้องสมุด โดย ...

ห้องสมุดประเภทใดที่จัดขึ้นในหน่วยงานราชการหรือเอกชน

ห้องสมุดเฉพาะ หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นในหน่วยงานรัฐบาลสถาบันบริษัทสมาคมองค์การระหว่างประเทศ และอื่นๆ ให้บริการสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มที่เป็นสมาชิกของหน่วยงานนั้น บริหารและดำเนินการโดย บรรณารักษ์ และนักวิชาการที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชา

ห้องสมุดประเภทใดที่ให้ความรู้ไม่จำกัดเพศวัยเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลตลอดชีวิต

ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา และพื้นความรู้ ให้บริการสารสนเทศครบทุกหมวดวิชา และอาจมีบริการบางเรื่องเป็นพิเศษตามความต้องการของท้องถิ่น และจะให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า