กฎหมายจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมประเภทใด

   คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนกล่าวถึง นอกจากมิติทางด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมแล้ว สิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ภาคธุรกิจต้องคำนึงถึง หากต้องการก้าวสู่การเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี ในปัจจุบัน มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมจำนวนมากที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้น ๆ โดยเฉพาะหากเป็นธุรกิจที่มีโรงงานแล้ว การควบคุมมลพิษในด้านต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่ต้องดำเนินการให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

 

 

   แนวคิดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นกฎหมายที่มีลักษณะของการควบคุมและป้องกันให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ โดยมีหลักการสำคัญที่เรียกว่า “ใครก่อมลพิษ คนนั้นจ่าย” ซึ่งถือว่าผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดมลพิษที่ตนเองได้ก่อให้เกิดขึ้น แนวคิดนี้จะแทรกอยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับ ในที่นี้ จึงขอนำเสนอภาพรวมและความมุ่งหมายของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเฉพาะที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ

 

 

กฎหมายจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมประเภทใด

 

 

   กฎหมายหลักฉบับแรกที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการประกอบธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษ ด้วยการที่ภาคธุรกิจต้องจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ทางเสียง มลพิษอื่น ๆ  และของเสียอันตราย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษ หรือกระทั่งกรณีของโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 

 

กฎหมายจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมประเภทใด

 

 

   สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีโรงงานเป็นของตัวเองแล้ว ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ได้จำแนกประเภทของโรงงาน และกำหนดสิ่งที่โรงงานแต่ละประเภทต้องปฏิบัติ เช่น ที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของอาคารและลักษณะภายในโรงงาน เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อป้องกันหรือระงับบรรเทาอันตราย ความเสียหายที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียง มาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยกฎหมายฉบับนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ที่มุ่งหมายให้มีมาตรการควบคุม กำกับดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่ผู้ใช้แรงงานอย่างเหมาะสม นอกจากนั้นแล้ว หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรม ยังต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ พ.ศ.2522 ที่กำหนดเงื่อนไขบางอย่างให้ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการของเสียในกระบวนการผลิตอีกด้วย

 

 

กฎหมายจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมประเภทใด

 

 

   กฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎหมายฉบับนี้มีความมุ่งหมายสำคัญในการเข้ามาคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กิจการบางประเภทของผู้ประกอบธุรกิจจึงอาจถูกควบคุมในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน รวมถึงการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย การกำหนดสุขลักษณะของอาคาร การกำหนดเหตุรำคาญที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น เป็นต้น ซึ่งจะให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขเข้ามากำกับดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมาย

 

   สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการนำเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายมาใช้ในกิจการ จะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งครอบคลุมวัตถุอันตรายต่าง ๆ เช่น วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุที่มีกัมมันตรังสี วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุอันตรายบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม กฎหมายฉบับนี้จึงมีการจำแนกชนิดของวัตถุอันตราย และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมวัตถุอันตรายแต่ละชนิดให้มีความเหมาะสม ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามเช่นกัน

 

 

กฎหมายจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมประเภทใด

 

 

นอกจากกฎหมายที่ยกตัวอย่างข้างต้นแล้ว กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคำนึงถึงนั้น ยังมีมากมายหลายฉบับ ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่นั้นจะมีความเชื่อมโยงกับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นอกจากนั้นแล้วกฎหมายสิ่งแวดล้อมยังเป็นกฎหมายที่มีความเป็นพลวัตร อันเนื่องมาจากสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยให้ความสำคัญ ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องติดตามและรู้เท่าทันกฎหมายเหล่านี้ เพราะนอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วนรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคมต่อไป

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  หรือ พรบ.             สิ่งแวดล้อมฯ ได้ประกาศใช้ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535  จัดเป็นมาตรการหนึ่งของนโยบายของรัฐ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพดี  และมีการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมีมากมาย  ฉบับแรกที่ประกาศใช้  คือ  พรบ.  ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518  ซึ่งจัดเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยตรง และได้มีการแก้ไขจนกระทั่งมี พรบ.  ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  ซึ่งมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

1.  เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  หรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2.  เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไข  ระงับหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉิน  หรือเหตุภยันตรายจากภาวะมลพิษ

3.  เพื่อประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  ข้อมูลหรือข่าวสาร  เพื่อสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4.  เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งริเริ่มโครงการหรือกิจกรรม  เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้น

5.  เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และเสนอแนะความคิดเห็นต่อรัฐบาลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

6.  เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษอันเกิดจากการรั่วไหล  หรือแพร่กระจายของมลพิษ  รวมทั้งเป็นผู้แทนในคดีที่มีการฟ้องร้อง     ต่อศาล  เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน  หรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับอันตรายหรือความเสียหาย     นั้นด้วย

เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลับทวีความรุนแรง  ดังนั้นประเทศไทยต้องมีการปรับให้เข้ากับสภาวะการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยในประเด็นหลักของ พรบ. สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ. 2535 นี้ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่คล้ายกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมทั่วไปของต่างประเทศ  คือ

1.  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

2.  กองทุนสิ่งแวดล้อม

3.  การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม  การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม  การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.  การควบคุมมลพิษประกอบด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ  มลพิษอื่นและของเสียอันตราย  การตรวจสอบและควบคุม  ค่าบริการและค่าปรับ

5.  การมีมาตรการส่งเสริม

6.  ความรับผิดชอบทางแพ่ง

7.  บทกำหนดโทษและบทเฉพาะกาล  รายละเอียดต่างๆ ในกฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการควบคุมร่วมกับการให้สิ่งจูงใจให้ปฏิบัติตาม  และการกำหนดมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดที่บันทึกภายในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ    พ.ศ. 2535  ประกอบด้วยทั้งหมด 7 หมวด  115 มาตรา

ตารางที่ 8.3  หมวดและมาตราของกฎหมายสิ่งแวดล้อม

หมวด

มาตรา

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535

หมวด 1

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

มาตรา 12-21

หมวด 2

กองทุนสิ่งแวดล้อม

มาตรา 22-31

หมวด 3

การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 8.3  หมวดและมาตราของกฎหมายสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

หมวด

มาตรา

ส่วนที่ 1  มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มาตรา 32-34

ส่วนที่ 2 การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มาตรา 35-41

ส่วนที่ 3  เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

มาตรา 42-45

ส่วนที่ 4  การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

มาตรา 46-51

หมวด 4

การควบคุมมลพิษ

ส่วนที่ 1  คณะกรรมการควบคุมมลพิษ

มาตรา 52-54

ส่วนที่ 2 มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด

มาตรา 55-58

ส่วนที่ 3  เขตควบคุมมลพิษ

มาตรา 59-63

ส่วนที่ 4  มลพิษทางอากาศและเสียง

มาตรา 64-68

ส่วนที่ 5  มลพิษทางน้ำ

มาตรา 69-77

ส่วนที่ 6 มลพิษอื่นและของเสีย

มาตรา 78-79

ส่วนที่ 7  การตรวจสอบและควบคุม

มาตรา 80-87

หมวด 5

มาตรการส่งเสริม

มาตรา 94-95

หมวด 6

ความรับผิดทางแพ่ง

มาตรา 96-97

หมวด 7

บทกำหนดโทษ

มาตรา98-111

บทเฉพาะกาล

มาตรา112-115

สรุป

การอนุรักษ์พลังงาน  คือ  การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด      การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานแล้ว  ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย

พลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  อุตสาหกรรม  คมนาคม  เกษตรกรรม  และอื่นๆ  การใช้พลังงานเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  การอนุรักษ์พลังงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานแล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ     และยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย

กฏหมายสิ่งแวดล้อมจัดอยู่ในนโยบายประเภทใด

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือ พรบ. สิ่งแวดล้อมฯ ได้ประกาศใช้ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 จัดเป็นมาตรการหนึ่งของนโยบายของรัฐ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพดี และมีการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมีมากมาย ฉบับแรกที่ประกาศใช้ คือ ...

กฎหมายสิ่งแวดล้อมมีลักษณะอย่างไร

กฎหมายสิ่งแวดล้อม คือ กฎหมายประเภทหนึ่ง มักตราขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เนื้อหาครอบคลุมการป้องกันและเยียวยาความเสื่อมโทรมแห่งสุขภาพทั้งของมนุษย์และอมนุษย์ และมักคาบเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี สนธิสัญญา ข้อตกลง พันธกรณี กฎระเบียบ และนโยบาย ฯลฯ หลากชนิด

กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

กฎหมาย ข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม.
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพน้ำและการควบคุมมลพิษทางน้ำ pdf. ... .
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ pdf. ... .
กฎหมายว่าด้วยการสำรวจและใช้ประโยชน์ทรัพยากร pdf. ... .
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันสิ่งแวดล้อม pdf. ... .
ประกาศกำหนดเขตควบคุมมลพิษ.

กฎหมายสิ่งแวดล้อมมีกี่ฉบับ

ในปัจจุบันมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่ตํ่ากว่า 26 ฉบับที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษทางนํ้าทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และงานด้านนี้ก็อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างๆ อย่างน้อย 6 กระทรวง คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงคมนาคม ตัวอย่างของ ...