ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด

SCB Group ปรับโครงสร้างใหม่  จัดตั้ง SCBX (เอสซีบี เอกซ์) ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ และเข้าตลาดหลักทรัพย์แทน SCB เดิม
เหตุผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่คือ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับภูมิภาคสร้างบริษัทสู่หลากธุรกิจการเงินและแพลตฟอร์ม วางรากฐานรองรับบริบทใหม่ของโลก

การเปลี่ยนแปลงนี้

SCB จะให้ SCBX  เป็นบริษัท โฮลดิ้งส์ เพื่อเป็นบริษัทแม่ลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ของ SCB

โดย SCBX ไม่ได้เป็นบริษัทใหม่เพราะแต่เดิมมีชื่อว่า ไทยพาณิชย์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากที่ประชุมเพื่อเปลี่ยนชื่อเป็น SCBX

เมื่อ SCBX  ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเป็นที่เรียบร้อย SCB เดิมจะปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ และพาตัวเองออกจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ SCBX  เข้ามาแทนที่

โดยการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจะมีดังนี้

ก่อน

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด

หลัง

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด

ซึ่งการปรับโครงสร้างของ SCB คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2-3 ของปี 2565 และเมื่อปรับโครงสร้างเสร็จบริษัทต่าง ๆ จะจัดตามกลุ่มดังนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด
ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด

เหตุผลในการปรับโครงสร้างอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ให้เหตุผลว่าธุรกิจธนาคารเริ่มถูก disrupt เมื่อหกปีก่อนและชัดเจนมากในอีกสามปีข้างหน้า ซึ่งที่ผ่านมา SCB ได้ตั้งโจทย์และเพิ่มศักยภาพตัวเองมาโดยตลอด

และวันนี้ SCB ต้องการแปลงสภาพตัวเองเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นและผู้บริโภค รวมถึงสามารถเติบโตไปกับโลกใหม่ได้

การเปลี่ยนแปลงนี้แผนระยะยาวของ SCB คือไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิม

โดยใช้ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เพื่อเร่งขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ และสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงการบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (technology platform) ขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก เข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วเพื่อที่จะอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้

“SCB จะไม่เท่ากับธนาคารในความหมายเดิมอีก แต่จะแปลงสภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินที่มีธุรกิจธนาคารที่แข็งแรงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และจะขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคลที่มีการเติบโตสูงที่ธนาคารไม่สามารถตอบสนองได้ โดยแต่ละธุรกิจ SCB จะร่วมมือกับพันธมิตรระดับประเทศ และระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง ที่จะเริ่มเปิดตัวในอนาคตอันใกล้นี้”

 นอกจากการขยายเข้าสู่ธุรกิจการเงินส่วนบุคคลแล้ว SCB จะต้องยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มในการสามารถสร้างและบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (technology platform) หลังจากนำร่องด้วย “โรบินฮู้ด ฟู้ดเดลิเวอรี” เป็นโครงการแรก เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับแพลตฟอร์มระดับโลก และได้สร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านเทคโนโลยี โดยเริ่มจากการก่อตั้งบริษัท “SCB Tech X” และบริษัท “Data X” ร่วมกับพันธมิตรระดับโลก เพื่อสร้างขีดความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยีภายในที่จะสามารถสร้างและ scale platform ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น  

นอกจากนั้น SCB จะขยายเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset business) ในระดับโลกเพื่อเข้าสู่โลกการเงินแห่งอนาคตผ่าน SCB 10X และบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) โดยการร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตรกองทุนระดับโลก และการพัฒนาธุรกิจ digital asset ด้านต่าง ๆ ใน business model ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มในระยะยาว

ในปี 2568 ความคาดหวังของ SCB  คือการสามารถสร้างมูลค่าของบริษัทจากธุรกิจใหม่ให้มีขนาดที่มีนัยสำคัญนอกเหนือจากผลกำไรพื้นฐานและความมั่นคงของธุรกิจธนาคารหลัก  ซึ่งรวมถึงการสร้างฐานลูกค้าในระบบให้ได้ถึง 200 ล้านคน  การขยายธุรกิจใหม่ออกสู่ต่างประเทศ และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (technology platform) ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

Marketeer FYI

บริษัทดิจิทัลและบริษัทใหม่ที่อยู่ภายใต้ SCBXประกอบด้วย

บริษัท เอไอเอสซีบี จำกัด (AISCB)

กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทร่วมทุนระหว่าง “เอไอเอส” และ “ธนาคารไทยพาณิชย์” เพื่อร่วมกันให้บริการสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending) บนแพลตฟอร์ม ครอบคลุมฐานลูกค้าทั้งสององค์กรกว่า 50 ล้านคน ก่อนขยายสู่บริการทางการเงินอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

บริษัทร่วมทุนกับเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อบริหารจัดการกองทุนในกองทุน Venture Capital  

(SCB – CP Group JV)

บริหารจัดการกองทุน โดย SCB 10X บริษัทโฮลดิ้งคอมพานีในเครือธนาคารไทยพาณิชย์

มุขยา พานิช

Managing Partner

  • เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือร่วมกันก่อตั้งกองทุน Venture Capital ภายใต้การทำหน้าที่เป็น Fund General Partner ด้วยสัดส่วนถือหุ้น 50:50
  • ร่วมลงทุนในกองทุน Venture Capital ขนาด 600 – 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นจำนวนเงินฝ่ายละ 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และได้รับการร่วมลงทุนจากนักลงทุนที่ได้รับการรับรองในจำนวน 400 – 600 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
  • มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน (Blockchain), สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets), เทคโนโลยีด้านการเงิน (FinTech) และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก

บริษัท เอสซีบี เทคเอกซ์ จำกัด (SCB TechX)

ตรัยรัตน์ สุวรรณประทีป      

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทร่วมทุน ระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ และ ผู้ให้บริการโซลูชันทางดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลก
  • ตั้งเป้าสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านฟินเทคแพลตฟอร์มในอาเซียน มุ่งขยายขีดความสามารถด้าน Technology Development เพื่อให้บริการในหลากหลายอุตสาหกรรม

บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X)

ดร. อารักษ์ สุธีวงศ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • ผู้นำด้านนวัตกรรมดิจิทัล (disruptive digital innovation) และการลงทุนในกองทุน (Venture Capital)
  • ลงทุนในกองทุนระดับโลก (VC) กว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ 6 ยูนิคอร์น และกลุ่มที่ได้รับผลตอบแทนสูง (top quartile returns)
  • บล็อกเชนระดับโลก (Blockchain) และสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset)/ ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง (DeFi Network)

บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X)

จิตตินันท์ ชาติสีหราช

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร ครอบคลุมบริการที่ปรึกษาและวางแผนธุรกิจเกี่ยวกับ Tokenization (การทำให้สินทรัพย์ต่าง ๆ กลายไปอยู่ในรูปแบบโทเคน) รวมถึงวางแผนในการพัฒนาด้านบล็อกเชนและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ตั้งเป้าหมายทางธุรกิจสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้าน Digital Asset Tokenization ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2025

บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด (Digital Ventures)

อรพงศ์ เทียนเงิน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • ผู้นำด้านการพัฒนาโซลูชันแพลตฟอร์มด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
  • ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี มีลูกค้ากว่า 15,000 องค์กรเข้าร่วมในซัพพลายเชนแพลตฟอร์ม

บริษัท มันนิกซ์ จำกัด (MONIX)

ถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล

ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

  • บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพร่วมทุนระหว่างประเทศ ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ และ Abakus Group ฟินเทคยูนิคอร์นจากประเทศจีน
  • ให้บริการแพลตฟอร์มการเงินครบวงจร ที่ผสานพลังดิจิทัลของเทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) อันชาญฉลาด แม่นยำ และปลอดภัยระดับโลก
  • มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกว่า 4 ล้านครั้ง พร้อมปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 4 พันล้านบาท ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปีครึ่ง

บริษัท อัลฟ่า เอกซ์ จำกัด (Alpha X)

วศิน ไสยวรรณ   

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ MGC Group ผู้ประกอบธุรกิจคำปลีกยานยนต์ชั้นนำในประเทศไทย
  • มุ่งเน้นประกอบธุรกิจเช่าซื้อลีสซิ่ง และให้สินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับพาหนะระดับลักซ์ชัวรี

บริษัท ออโต้ เอกซ์ จำกัด (Auto X)

อภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์  

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทใหม่ที่จะบุกตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ (title loan)
  • เตรียมเปิดตัวให้บริการในไตรมาส 1/2565

บริษัท ดาต้า เอ็กซ์ จำกัด (Data X)

Yizhak Idan

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทที่ทำหน้าที่เป็น Center ในการ Integrate Data ของทั้ง SCBX Group รวมถึงในส่วนของภาพรวมทั้งหมด เพื่อที่จะสร้างขีดความสามารถในการทำงานควบคู่กับบริษัทที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ในการแข่งขันที่ยังไม่รุนแรง (Blue Ocean)

บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures)

สีหนาท ล่ำซำ

กรรมการผู้จัดการ

  • โรบินฮู้ด แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย ที่ผสานขีดความสามารถด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เอไอ (AI) และ แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ด้วยฐานลูกค้าผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มกว่า 2 ล้านคน
  • ตั้งเป้าพัฒนาแพลตฟอร์มเป็น Super App ในระดับภูมิภาคที่มีศักยภาพในการระดมทุน

บริษัท เอสซีบี อบาคัส (SCB ABACUS)

ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์    

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันสินเชื่อออนไลน์ ระดมทุนผ่านซีรีส์ A ด้วยเงินลงทุน 400 ล้านบาท
  • มียอดดาวน์โหลด 5 ล้านดาวน์โหลด ตั้งเป้าเป็นเบอร์ 1 ในด้านรายได้และสินเชื่อด้วยเป้าหมายเติบโต10 เท่า

บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (Card X)

สารัชต์ รัตนาภรณ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • บริษัทที่แยกตัวออกมาจากธนาคาร ทำธุรกิจด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อทุกคนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ด้านบัตรเครดิต และสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
  • ตั้งเป้าจะมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งในสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ด้วยฐานลูกค้ากว่า5 ล้านราย และจำนวนสินเชื่อ 1.20 แสนล้านบาท
  • ตั้งเป้า IPO ในปี 2024

บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB Securities)

ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

  • ผู้นำด้าน Digital Securities และ Brokerage Services
  • คนแรกที่เข้ามาในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
  • ตั้งเป้าเป็นผู้นำในเรื่องการลงทุนและบริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่น่าเชื่อถือในภูมิภาคอาเซียน

SCB Digital Banking

ยรรยง ไทยเจริญ 

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center

พิกุล ศรีมหันต์  

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME

ชาลี อัศวธีระธรรม  

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking

อรรัตน์ ชุติมิต   

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Retail and Business Banking

วิฑูรย์ พรสกุลวานิช 

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Integrated Channels

  • หน่วยงานภายใต้ธนาคารไทยพาณิชย์ มุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถทาง Digital Banking อย่างเต็มรูปแบบ
  • ลูกค้าที่ใช้บริการผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มจำนวนกว่า 5 ล้านคน ด้วยจำนวนธุรกรรมทางการเงินกว่า 356 ล้านธุรกรรมต่อเดือน

I



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด
ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธุรกิจรูปแบบใด