สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปรับจากบทความของ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณดคี มหาวิทยาลัยศิลปากร
(คลิกที่ชื่อเพื่ออ่านประวัติ)

เพิ่มเติมรูปภาพและนำเสนอโดย นฤพนธ์  สายเสมา
ครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โรงเรียนประสาทวิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ (จังหวัดสุรินทร์)

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่เลย…คลิก

ในการศึกษาศิลปะขอมในประเทศไทย ได้ใช้การเรียกชื่อศิลปะอย่างเดียวกับศิลปะขอมในประเทศกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งในการกำหนดอายุของปราสาทขอมนั้นได้แบ่งออกเป็น ๒ สมัยใหญ่ๆ ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๑- ๑๔) และสมัยเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๘) และแบ่งออกเป็นสมัยย่อยเรียกเป็นชื่อศิลปะ แบบต่างๆ รวม ๑๔ แบบ ดังนี้

ก.  สมัยก่อนเมืองพระนคร
๑.  ศิลปะแบบพนมดา ราว พ.ศ. ๑๑๐๐ – ๑๑๕๐
๒.  ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ – ๑๒๐๐
๓.  ศิลปะแบบไพรกเมง ราว พ.ศ. ๑๑๘๐ – ๑๒๕๐
๔.  ศิลปะแบบกำพงพระ ราว พ.ศ. ๑๒๕๐ – ๑๓๕๐

ข.  สมัยเมืองพระนคร
๕.  ศิลปะแบบกุเลน ราว พ.ศ. ๑๓๗๐ – ๑๔๒๐
๖.  ศิลปะแบบพระโค ราว พ.ศ. ๑๔๒๐ – ๑๔๔๐|
๗.  ศิลปะแบบบาแค็ง ราว พ.ศ. ๑๔๔๐ – ๑๔๗๐|
๘.  ศิลปะแบบเกาะแกร์ ราว พ.ศ. ๑๔๖๕ – ๑๔๙๐
๙.  ศิลปะแบบแปรรูป ราว พ.ศ. ๑๔๙๐ – ๑๕๑๐
๑๐. ศิลปะแบบบันทายสรี ราว พ.ศ. ๑๕๑๐ – ๑๕๕๐
๑๑. ศิลปะแบบคลัง (หรือเกลียง) ราว พ.ศ. ๑๕๕๐ – ๑๕๖๐
๑๒. ศิลปะแบบบาปวน ราว พ.ศ. ๑๕๖๐ – ๑๖๓๐
๑๓. ศิลปะแบบนครวัด ราว พ.ศ. ๑๖๕๐ – ๑๗๒๐
๑๔. ศิลปะแบบบายน ราว พ.ศ. ๑๗๒๐ – ๑๗๘๐

สำหรับปราสาทขอมที่พบในประเทศไทยอาจกำหนดตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ดังนี้ คือ

ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ ซึ่งตรงกับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร และร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย อันเป็นสมัยแรกที่เริ่มปรากฏหลักฐานการรับศาสนาจากอินเดีย ในระยะแรกนี้สิ่งปลูกสร้างที่เป็นปราสาทนั้นแทบจะไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาเลย เนื่องจากปราสาทในสมัยนี้ส่วนใหญ่ก่อด้วยอิฐ จึงพังทลายไปตามกาลเวลา ยกเว้นเพียงชิ้นส่วนที่เป็นหิน เช่น ทับหลัง หน้าบัน และเสาประดับกรอบประตูเท่านั้นที่ยังคงปรากฏอยู่มี ปราสาทที่ยังหลงเหลือหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์อยู่เพียงหลังเดียวเท่านั้นคือ ปราสาทภูมิโปน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ที่สามารถศึกษารูปแบบได้

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปราสาทภูมิโปน

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ทับหลังของปราสาทภูมิโปน ศิลปะไพรกเมง
ปัจจุบับเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ (ภาพถ่ายของผมเอง)

หลักฐานที่พบในช่วงนี้จะอยู่ในภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี ความสำคัญของภาคตะวันออกนั้น นอกจากเป็นดินแดนที่ รับอารยธรรมจากภายนอกในระยะแรกแล้ว ยังเป็นจุดเชื่อมต่อทางวัฒนธรรม เช่น มีความสัมพันธ์กับทางภาคใต้ และแสดงการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างทวารวดีภาคกลางกับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร หน้าบันหลายชิ้นที่พบที่วัดทองทั่ว ซึ่งปัจจุบันชิ้นหนึ่งจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร อีก ๒ ชิ้นเก็บรักษาไว้ที่วัดทองทั่ว และวัดบน บริเวณเขาพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี หน้าบันดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับศิลปะที่พบบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา และทางตอนใต้ของประเทศลาว หลักฐานที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือ ทับหลัง ซึ่งพบที่ปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กำหนดอายุอยู่ในศิลปะแบบไพรกเมง

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปราสาทเขาน้อย (ภาพจาก http://www.mapculture.org/coppermine/albums/userpics/10001/normal_DSC01496.jpg)

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ทับหลังศิลปะไพรกะเมงของปราสาทเขาน้อย (ภาพจาก http://www.nectec.or.th/oncc/province/pictures/c21/sakaeo-101-2.jpg)

ในด้านประติมากรรม ได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นรูปเทวสตรี ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระอุมาเทวี พบที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด จัดเป็นประติมากรรม รุ่นเก่าสุดที่พบในประเทศไทย ตรงกับสมัยสมโบร์ไพรกุก (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) โดยดูจากการนุ่งผ้ายาวและมีจีบหน้านาง ยกเป็นริ้วตามธรรมชาติ คาดเข็มขัดที่ส่วนหัวเป็นรูปไข่ ใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ จนถึงสมัยหลังคุปตะเป็นอย่างมาก

ประติมากรรมเนื่องในศาสนาฮินดูอีกจำนวนหนึ่งที่พบในแถบจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ ศิวลึงค์ และพระนารายณ์ โดยเฉพาะพระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอกนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับศิลปะที่พบทางภาคใต้ และที่เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย

นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานที่สำคัญคือ ร่องรอยของปราสาทแบบสมโบร์ไพรกุก บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมประติมากรรมหินทราย ที่สำคัญคือ ทับหลัง หรือหน้าบันที่วัดสุปัฏนาราม ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อีกชิ้นหนึ่งพบที่วัดสระแก้วใกล้กับแก่งสะพือ จัดอยู่ในศิลปะแบบไพรกเมง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จากลักษณะลวดลายแสดงว่า มีความสัมพันธ์กับงานประติมากรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย

ปราสาทภูมิโปน จังหวัด สุรินทร์ อยู่ที่ตำบลดม อำเภอสังขะ เชื่อกันว่าเป็นหลักฐานทางสถาปัตยกรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนครที่เก่าที่สุด ในประเทศไทยที่ยังเหลือหลักฐานอยู่ จัดเป็นศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกต่อไพรกเมง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ โดยดูจากระบบโครงสร้างทาง สถาปัตยกรรมที่มีแบบแผนของศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร เช่น การมีเสาประดับมุม ซึ่งต่างจากสมัยหลังเมืองพระนครที่มีการเพิ่มมุม รวมทั้งมีการประดับปราสาทจำลองตรงส่วนของเหนือกรอบประตูแต่ละด้าน และที่มุมหลังคาในแต่ละชั้น ในขณะที่สมัยหลังเมืองพระนครจะเปลี่ยนจากปราสาท จำลองมาเป็นบันแถลงแล้ว นอกจากนี้การประดับทับหลังที่มีส่วนวงโค้งรูปเกือกม้ากับหน้าบันก็เป็นงานใน ลักษณะที่ใกล้เคียงกับศิลปะของประเทศอินเดีย รวมทั้งลวดลายที่หน้าบันที่เหลืออยู่ก็มีความสัมพันธ์อย่างมากกับศิลปะทวารวดีในภาคกลางและในอินเดีย สมัยคุปตะ

ที่ปราสาทภูมิโปนยังพบอาคารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า และทับหลังชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่แสดงลวดลายสิงห์ที่มีปากเป็นนก มีวงโค้ง ๔ วง ประดับรูปเหรียญ ๓ วง อันเป็นลักษณะของทับหลังศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกต่อไพรกเมง เป็นหลักฐานสำคัญในการกำหนดอายุศาสนสถานแห่งนี้

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทภูมิโปน จ.สุรินทร์ ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกต่อไพรกเมง (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓)

ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕

ในช่วงระยะเวลานี้จัดเป็นช่วงแรกของศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร ซึ่งเป็นศิลปะแบบพระโค บาแค็ง เกาะแกร์ และแปรรูป ตามลำดับ หลักฐานปราสาทขอมในช่วงเวลานี้ ที่พบในประเทศไทยมีน้อยมาก และส่วนใหญ่อยู่ในสภาพพัง เพราะเป็นปราสาทที่ก่อด้วยอิฐ การกำหนดอายุทำได้ค่อนข้างยาก สิ่งที่สามารถกำหนดอายุได้ดีที่สุด คือทับหลัง รวมทั้งอาจมีศิลาจารึกที่กล่าวถึงการก่อสร้างไว้ด้วย ตัวอย่าง ปราสาทที่จัดอยู่ในช่วงระยะเวลานี้ ได้แก่ ปราสาทสระเพลง ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก ที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และปรางค์แขก ที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ส่วนแหล่งอื่นๆ พบเฉพาะทับหลัง แต่องค์ปราสาทพังทลายไปหมดแล้ว เช่น ทับหลังที่พบในบริเวณ เทวสถานพระนารายณ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา เป็นศิลปะแบบพระโค ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา
(ภาพจาก http://www.skn.ac.th/skl/project/korage92/n-21.jpg)

หลักฐานจากปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา น่าจะเป็นแหล่งหนึ่งที่เคยมีปราสาทขอมในช่วงระยะเวลานี้ เพราะได้พบทับหลังและจารึกที่กรอบประตู กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์เขมร ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๔๒๐ – ๑๔๓๒) และพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๔๓๒ – ๑๔๔๓) โดยทับหลังชิ้นหนึ่งเป็นศิลปะแบบพระโค และอีกชิ้นหนึ่งเป็นศิลปะแบบบาแค็ง สำหรับศิลปะแบบเกาะแกร์ได้พบหลักฐานทับหลังหลายชิ้นจากปราสาทหลายแห่ง เช่น ที่ปราสาทเมืองแขก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และที่ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสำคัญแห่งหนึ่ง เป็นฐานปราสาทขนาดเล็กที่ก่อด้วยอิฐ บริเวณปราสาทพนมรุ้ง จากลวดลายบน เสาประดับกรอบประตูและศิลาจารึก แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีการสร้างปราสาทมาแล้วก่อนที่จะสร้างปราสาทพนมรุ้งขึ้นในภายหลัง

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี
(ภาพจาก http://suvanai.files.wordpress.com/2010/02/20100221_g002_p1450657s.jpg?w=360&h=270)

ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี อยู่ที่อำเภอเมืองฯ นับเป็นหลักฐานปราสาทขอมในภาคกลางที่สำคัญ และเหลืออยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ศาสนสถานแห่งนี้เป็นปราสาทอิฐ ๓ หลัง โดยมีปราสาทหลังกลางที่มีขนาดใหญ่เป็นประธาน จากลักษณะทางสถาปัตยกรรม แสดงให้เห็นถึงวิธีการก่อสร้างที่สืบทอดมาจากในสมัยก่อนเมืองพระนคร กล่าวคือ เป็นปราสาทที่ก่ออิฐแบบไม่สอปูน และยังไม่มีการเพิ่มมุมชัดเจน ในขณะที่ในสมัยหลังจะทำเป็นแบบเพิ่มมุมแล้ว การเข้ากรอบประตูศิลายังเลียนแบบเครื่องไม้ คือ มีลักษณะเป็นเสาติด ผนังปรากฏอยู่ แต่ที่ศาสนสถานแห่งนี้ไม่ได้พบหลักฐานอื่นๆ เช่น ทับหลัง หรือลวดลายที่จะสามารถกำหนดอายุได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ที่ปรางค์แขกยังแสดงถึงความเป็นศิลปะพื้นเมืองที่ต่างไปจากศิลปะของขอมคือ การประดับลายปูนปั้นที่ฐานสูงขึ้นอย่างมาก และเครื่องบนหลังคาก็เพิ่มมุมมากยิ่งขึ้น อันเป็นต้นเค้าของปราสาทและปรางค์ที่มียอดเป็นทรงพุ่มในระยะต่อมา สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และจัดเป็นปราสาทขอมที่เก่าที่สุดในภาคกลางของประเทศไทย

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ส่วนยอดปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม

ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗

ในช่วงระยะเวลานี้ตรงกับศิลปะขอมแบบคลังบาปวน และแบบนครวัด ได้พบปราสาทขอม ในประเทศไทยหลายแห่ง เช่น ปราสาทพนมวัน และปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทกู่สวนแตง ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทบ้านพลวง และปราสาทศีขรภูมิ ที่ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ที่จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทกู่กาสิงห์ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทสด็อกก็อกธม ที่จังหวัดสระแก้ว

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

(บน) ทับหลังปราสาทประธานปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
(ล่าง) ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พร้อมรูปผมเอง (เพื่อนถ่าย) รูปเดียวกับหัวบล็อกนั่นแหละครับ

รูปแบบและแผนผังของปราสาทในช่วงระยะเวลานี้ มีระเบียบแบบแผนเดียวกับปราสาทในกัมพูชาสมัยเมืองพระนคร และเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ที่จัดเป็นศาสนสถานประจำเมือง มีโครงสร้างที่สำคัญ คือ ปราสาทประธานที่อยู่ตรงกลางอาจมีหลังเดียว เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง หรือเป็นหมู่ ๓ หลัง ๕ หลัง หรือ ๖ หลัง เช่น ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทศีขรภูมิ

การกำหนดอายุของปราสาทในช่วงระยะเวลานี้ พิจารณาจากแผนผังของอาคารโดยรวม รวมทั้งรูปแบบของปราสาท เช่น มีการเพิ่มมุม และยอดปราสาทเป็นทรงพุ่ม สิ่งสำคัญที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบและอายุ ได้แก่ ลวดลายประดับที่ทับหลัง หน้าบันและเสาประดับกรอบประตู ลักษณะที่จัดเป็นศิลปะแบบคลัง-บาปวน ซึ่งปรากฏอยู่มาก ได้แก่ ทับหลังที่ประกอบด้วยลายหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัยอยู่ตรงกึ่งกลางด้านล่าง หน้ากาลมีลิ้นเป็นสามเหลี่ยม มีมือมายึดท่อนพวงมาลัย มีภาพเล่าเรื่องเล็กๆ อยู่เหนือหน้ากาล เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้หรือลายกระหนกม้วนออกทั้ง ๒ ข้าง ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วนเข้า หากมีลายเฟื่องอุบะมาแบ่งท่อนพวงมาลัยออก เป็น ๔ ส่วน จะจัดเป็นแบบคลัง แต่ถ้า ไม่มีจะจัดเป็นแบบบาปวน ส่วนใหญ่ของปราสาทขอมในประเทศไทย ในสมัยนี้จะพบลายดังกล่าวปะปนกันในศาสนสถานแหล่งเดียวกันหรือในปราสาทหลังเดียวกัน ทำให้อาจกำหนดได้ว่าศิลปะแบบคลังบาปวนที่พบในประเทศไทยนั้นเป็น ศิลปะต่อเนื่องสมัยเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ที่ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทสระกำแพงใหญ่

ทับหลังในศิลปะแบบนครวัดส่วนใหญ่ จะนิยมสลักภาพเล่าเรื่องประกอบด้วยรูปบุคคลเล็กๆ เต็มพื้นที่ เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทศีขรภูมิ นอกจากนี้ยังใช้หลักฐานของงานประติมากรรมประดับศาสนสถานเป็นตัวกำหนดรูปแบบทางศิลปะ เช่น ประติมากรรมรูปบุคคลในศิลปะแบบบาปวน จะสังเกตได้จากทรงผม ที่ถักและเกล้าขึ้นไปเป็นมวยอยู่เหนือศีรษะคางเป็นร่อง ชายผ้านุ่งด้านหน้าเว้าใต้พระนาภี ด้านหลังสูงขึ้นมาถึงกึ่งกลางหลัง ในขณะที่ศิลปะแบบนครวัดนิยมมงกุฎทรงกรวย มีเทริด (กระบังหน้า) และประดับเครื่องทรง

มีข้อสังเกตที่สำคัญทางด้านรูปแบบของปราสาทขอมศิลปะแบบนครวัดที่พบในดินแดนไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ที่มีลักษณะเฉพาะเกิดขึ้น โดยอาจถือเป็นงานที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น ได้แก่ การทำยอดปราสาทที่เป็นทรงพุ่ม เช่น ที่ปราสาทหินพิมายและปราสาท พนมรุ้ง โดยเปลี่ยนการประดับชั้นหลังคาจากปราสาทจำลอง เป็นการประดับแผ่นหินที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยม ที่เรียกว่า นาคปักแทน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศกัมพูชาก่อนแล้ว

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์
(ภาพจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d4/Prasat_Ta_Muen_Thom-3-HDC.jpg)

หลักฐานที่น่าสนใจในช่วงระยะเวลานี้คือ ได้พบว่ามีการสร้างปราสาทที่มีความสำคัญ และมีขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งได้พบหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น ศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระนามผู้สร้าง ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้ในระดับหนึ่งว่า บริเวณภาคอีสานตอนล่างนี้เป็นดินแดนสำคัญของอาณาจักรขอม โดยในบางสมัยอาจมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงที่มีบุคคลสำคัญมาปกครอง หลักฐานจากจารึกได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ซึ่งทรงสร้างปราสาทในแคว้นรอบนอกเมืองพระนคร หรือ “ดินแดนนอกกัมพุช” เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ซึ่งทรงสร้างปราสาทหินพิมาย และนเรนทราทิตย์ซึ่งสร้างปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ ที่ควรกล่าวถึง มีดังต่อไปนี้

๑. ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

อยู่ที่ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย ปราสาทแห่งนี้ไม่พบประวัติการก่อสร้าง และศิลาจารึก แต่จากรูปแบบศิลปกรรมจัดอยู่ในสมัยของศิลปะแบบคลัง-บาปวน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ทับหลังชิ้นหนึ่งที่ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ มีแผนผังแบบล้อมรอบจุดศูนย์กลาง ประกอบด้วยกำแพง สระน้ำ และระเบียงคดล้อมรอบตัวปราสาท ภายในมีปราสาท ๕ หลังอยู่บนฐานเดียวกันเรียงเป็น ๒ แถว แถวหน้ามี ๓ หลัง แถวที่ ๒ มี ๒ หลังในลักษณะสับหว่างกัน องค์กลางด้านหน้าเป็นปราสาทประธาน เพราะมีขนาดใหญ่สุดแต่เหลือเฉพาะส่วนฐานตัวปราสาทก่อด้วยอิฐขัดผิวจนเรียบที่หน้าบันและทับหลังสลักด้วยศิลา ส่วนกำแพงและระเบียงคดก่อด้วยหินทราย

การกำหนดอายุของปราสาทพิจารณาจากลวดลายบนทับหลัง ซึ่งจัดอยู่ในศิลปะแบบคลัง-บาปวน ประกอบด้วยลายที่สำคัญคือ มีหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยอยู่กึ่งกลางด้านล่าง หน้ากาลมีลิ้นเป็นสามเหลี่ยมมีมือมายึดท่อนพวงมาลัย มีภาพเล่าเรื่องเล็กๆ อยู่เหนือหน้ากาล เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้หรือลายกระหนกม้วนออกทั้ง ๒ ข้าง ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีลายเฟื่องอุบะมาแบ่งท่อนพวงมาลัยออกเป็น ๔ ส่วน จัดเป็นศิลปะแบบคลัง อีกกลุ่มหนึ่งไม่มีลายเฟื่องอุบะ จัดเป็นศิลปะแบบบาปวน แต่ส่วนใหญ่จะพบลายดังกล่าวร่วมกัน ดังนั้นจึงควรจัดเป็นสมัยต่อเนื่องกัน

สำหรับรูปเล่าเรื่องที่ปรากฏบนทับหลังเป็นเรื่องในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระอิศวร เช่น พิธีสยุมพรพระอิศวร พระอุมามเหศวร (พระอิศวรและพระอุมาทรงโค) และเรื่องรองลงมา ได้แก่ พระกฤษณะและเทพเจ้าประจำทิศ นอกจากนี้ได้ค้นพบศิวลึงค์ และประติมากรรมเทวสตรี (พระอุมา) จึงทำ ให้สันนิษฐานได้ว่าศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย

๒. ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

อยู่ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จัดเป็นปราสาทขอมสำคัญแห่งหนึ่งที่พบในประเทศไทย มีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีหลักฐานการก่อสร้างจากศิลาจารึกที่กรอบประตู ใน พ.ศ. ๑๕๘๕ กล่าวถึงการสร้างและอุทิศเทวาลัยแห่งนี้เพื่อถวายพระอิศวร

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ถ่ายจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
(ภาพจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/8/87/Place_Sripruetesuan1.jpg/800px-Place_Sripruetesuan1.jpg)

ปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นปราสาท ๓ หลังอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้ามีวิหาร หรือ
บรรณาลัย ๒ หลังคู่ ส่วนด้านหลังมีปราสาทอีกหนึ่งหลัง หมู่ปราสาทล้อมรอบด้วย ระเบียงคด ถัดออกไปเป็นสระน้ำรูปคล้าย ตัวแอล (L) และมีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง จากลักษณะของแผนผังจะมีความใกล้เคียงกับ ปราสาทเมืองต่ำอย่างมาก แตกต่างกันเฉพาะจำนวนปราสาทและการเรียงแถวเท่านั้น

ลักษณะแผนผังและลักษณะศิลปกรรมโดยเฉพาะลวดลายบนหน้าบัน และทับหลังจัดอยู่ใน ศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน มีอายุสัมพันธ์กับจารึกในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตามศิลาจารึกที่กล่าวถึงการอุทิศถวาย และงานศิลปกรรมที่ปรากฏเกี่ยวเนื่องกัน

๓. ปราสาทหินพิมาย จังหวัด นครราชสีมา

อยู่ที่อำเภอพิมาย จัดเป็นศาสนสถานขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยชื่อ “พิมาย” มาจาก“วิมาย” ตามที่ปรากฏในจารึกที่กรอบประตูปราสาทว่า “กมรเตงชคตวิมาย” และ “พิมาย” เป็นชื่อของเมืองโบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่กล่าวถึงเมือง “ภีมปุระ” และจารึกรุ่นหลังที่ปราสาทพระขรรค์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๘) กล่าวถึงเมือง “วิมายะปุระ” ดังนั้นปราสาทหินพิมาย และเมืองพิมายจึงเป็นศูนย์กลางทางศาสนา และเป็นเมืองที่สำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ศิลปะขอมแพร่หลายในดินแดนไทย

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม
ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

หลักฐานในการก่อสร้างปราสาทหินพิมายนี้ เชื่อว่าเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาล พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (พ.ศ. ๑๖๒๓ – ๑๖๕๐) และสร้างเพิ่มเติมสมัยต่อมาในรัชกาลพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ ๑ (พ.ศ. ๑๖๕๐ – ๑๖๕๕) และรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๖ – หลัง พ.ศ. ๑๖๙๓) จากหลักฐานได้พบจารึกที่กรอบประตูโคปุระด้านทิศใต้ระบุ พ.ศ. ๑๖๕๑ จึงอาจถือเป็นศักราชของการสถาปนาปราสาทหินพิมาย*

ก.  แผนผังและองค์ประกอบของปราสาทหินพิมาย

–   ประตูเมือง และกำแพงเมืองปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานศูนย์กลางของเมือง
พิมาย ดังนั้นจึงมีกำแพงเมืองคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ที่กำแพงเมืองแต่ละด้านประกอบด้วยประตูทางเข้า

–   กำแพงและซุ้มประตูทางเข้าปราสาท (โคปุระ) มี ๒ ชั้น ถัดจากประตูเมืองเข้าไป เป็นกำแพงของปราสาทที่ล้อมรอบ ศาสนสถานชั้นนอก ระหว่างทางเดินเข้าไปจะมีอาคารที่เรียกว่า ธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทาง) และสะพานนาคราชปรากฏอยู่แล้ว จึงเข้าสู่ประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ซึ่งมีทั้ง ๔ ด้าน บริเวณนี้มีบรรณาลัยตั้งอยู่ระหว่างทาง ๒ หลัง ถัดจากชั้นนอกจึงเข้าสู่กำแพงชั้นในที่มีโคปุระทั้ง ๔ ด้านเช่นเดียวกัน เมื่อผ่านกำแพงชั้นในจึงเข้าสู่บริเวณปราสาท

–   ปราสาทประกอบด้วยปราสาทประธานและอาคารด้านหน้า ๓ หลัง ได้แก่ ปรางค์พรหมทัต หอพราหมณ์ และปราสาทหินแดง ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

รูปแบบของปราสาทประธานประกอบด้วยอาคารทรงปราสาทที่ตั้งอยู่บนฐานบัวเตี้ยๆ ๒ ฐาน รองรับส่วนกลางที่เป็นเรือนธาตุ ส่วนยอดเป็นหลังคาทรงปราสาทแบบเรือนชั้นซ้อนกัน ๕ ชั้น ที่มุมประธานของแต่ละชั้นประดับนาคปัก ส่วนที่ด้านประดับด้วยบันแถลง ส่วนยอดสุดเป็นทรงกลมคล้ายหม้อน้ำเทพมนตร์ เรียกว่า กลศ รูปแบบพิเศษของชั้นหลังคาปราสาทหินพิมาย คือ เปลี่ยนการประดับปราสาทจำลองในแต่ละชั้นมาเป็นนาคปัก ทำให้ชั้นหลังคาเกิดเป็นทรงพุ่ม อันเป็นวิวัฒนาการสำคัญทางด้านรูปแบบปราสาทขอมในสมัยนครวัด

ตัวปราสาทประธานมีห้องที่เข้าไปภายในได้เรียกว่าห้องครรภคฤหะ อันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา ด้านหน้ามีอาคารห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ายื่นออกมา เรียกว่า “มณฑป” มีทางเดินเชื่อมต่อกันเรียกว่า “มุขกระสัน” หรือ “อันตราละ”

ข.  ภาพเล่าเรื่องบนทับหลังและหน้าบัน

ศิลปกรรมที่ปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องบน
ทับหลังและหน้าบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าปราสาทหินพิมายจะเป็นพุทธสถานนิกายมหายาน แต่ภาพเล่าเรื่องที่ประกอบ อยู่โดยรอบกลับเป็นเรื่องเล่าของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ยกเว้นภาพเล่าเรื่องที่ประดับรอบห้องครรภคฤหะที่เป็นส่วนสำคัญของศาสนสถาน จึงเป็นเรื่องของพุทธประวัติในนิกายมหายาน

ภาพเล่าเรื่องที่ปรากฏมากที่สุด ได้แก่ รามายณะ (รามเกียรติ์) ตอนสำคัญ เช่น พระรามพระลักษมณ์ต้องศรนาคบาศ การรบระหว่างยักษ์กับลิง พระรามจองถนน และท้าวมาลีวราชว่าความ นอกนั้นจะเป็นเรื่องของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เช่น พระศิวนาฏราช พระอุมามเหศวร พระกฤษณะ และรูปเทพเจ้าประจำทิศ ส่วนรูปสำคัญที่อยู่โดยรอบห้องครรภคฤหะ ได้แก่ พุทธประวัติตอนโปรดพญามาร หรือทรมานพญามหาชมพู และพระพุทธรูปนาคปรก นอกจากนี้ยังมีรูปพระโพธิสัตว์ชิ้นสำคัญ ๒ รูป เป็นเรื่องของพระวัชรสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับยกย่องว่ามีฐานะเสมือนพระพุทธเจ้า และเรื่องไตรโลกยวิชัย ผู้กำจัดความโลภ โกรธ หลง เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปราสาทหินพิมายนี้สร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

๔. ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

บางทีเรียกว่า “ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง” ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ตัวปราสาทตั้งอยู่บนภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วดังนั้นจึงมีปากปล่องภูเขาไฟที่เป็นสระน้ำ ธรรมชาติสำหรับปราสาทด้วย

คำว่า “พนมรุ้ง” มาจากศิลาจารึกที่กล่าวถึงชื่อศาสนสถานแห่งนี้ว่า “วนํรุง” ซึ่งหมายถึง ภูเขาอันกว้างใหญ่ หรือรุ่งเรือง มีแสง

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทพนมรุ้งเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ประจำเมือง บริเวณรอบๆ ปราสาทแต่เดิมน่าจะเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ เพราะมีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย และด้านล่างยังมีปราสาทเมืองต่ำที่มี
บารายขนาดใหญ่ สำหรับหล่อเลี้ยงชุมชน จัดเป็นศาสนสถานที่อยู่ในเส้นทางจากเมืองพระนครของเขมรมายังเมืองพิมาย (เส้นทางสายราชมรรคาเหนือ)

ประวัติการก่อสร้างปราสาทพนมรุ้งได้จากหลักฐานศิลาจารึกพบที่ปราสาทจำนวนหลายหลัก โดยมีหลักหนึ่งกล่าวถึงพระนามของ “นเรนทราทิตย์” ซึ่งเป็นวีรบุรุษของชาวเขมรที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ภายหลังพ่ายแพ้ศัตรู ได้เสด็จมาทรงพรตเป็นฤาษีบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงสันนิษฐาน ว่า ปราสาทพนมรุ้งน่าจะสร้างขึ้นโดยนเรนทราทิตย์ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗

เมื่อประมวลจากศิลาจารึกที่ได้พบที่ปราสาทแห่งนี้ถึง ๑๐ กว่าหลัก ทั้งหมดอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบศิลปกรรม เช่น ลักษณะของตัวปราสาท และลวดลายประดับที่เป็นศิลปะแบบบาปวนต่อนครวัด

ปราสาทพนมรุ้งจัดเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย โดยดูได้จากหลักฐานทางศิลปกรรมสำคัญที่เป็นรูปเล่าเรื่องทางศาสนา โดยเฉพาะที่ทับหลังด้านหน้าของห้องครรภคฤหะนั้น เป็นรูปของฤาษี ๕ ตน รวมทั้งรูปของพระอิศวรในพรตของฤาษี ซึ่งสัมพันธ์กับจารึกที่กล่าวถึงนเรนทราทิตย์ที่มาบำเพ็ญพรตเป็นฤาษี ณ ที่แห่งนี้ รวมทั้งในจารึกหลายหลักยังได้กล่าวถึงพิธีกรรมต่างๆ ในลัทธิไศวนิกายอีกด้วย

ก.  แผนผังและรูปแบบปราสาท

ปราสาทพนมรุ้งมีแผนผังแบบตรงเข้าสู่จุดศูนย์กลาง เนื่องจากเป็นศาสนสถาน ที่ ตั้งอยู่บนภูเขา มีทางเดินขึ้นจากด้านล่างขึ้นสู่เบื้องบน มีตัวปราสาทประธานหลังเดียว ล้อมรอบด้วยระเบียงคดที่มีโคปุระทั้ง ๔ ด้าน

–   ปราสาทประธาน มีระเบียบแผนผังเดียวกับปราสาทหินพิมาย ตัวปราสาทอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีมุขยื่นออกมา ๓ ด้าน ด้านหน้าเป็นมณฑปเชื่อมต่อด้วยฉนวนหรืออันตราละ ซึ่งเป็นลักษณะผังของปราสาทในสมัยบาปวนต่อนครวัด ส่วนฐานของตัวปราสาทตั้งอยู่บนฐานบัวเตี้ยๆ สลักลวดลายกลีบบัวและลายดอกสี่เหลี่ยม เรือนธาตุอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีห้องเข้าไปภายในได้ เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงตั้งรูปเคารพคือ ศิวลึงค์ ส่วนยอดเป็นทรงปราสาทเรือนซ้อนชั้น ๕ ชั้น แต่ละชั้นประดับด้วยบันแถลง และนาคปัก ลักษณะของนาคปักที่อยู่ในรูป สามเหลี่ยมนี้เองที่ทำให้ยอดปราสาทเป็น ทรงพุ่มเช่นเดียวกับปราสาทหินพิมาย

ข.  ลวดลายบนทับหลังและหน้าบัน

ที่ทับหลัง และหน้าบันมีลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่องอันเป็นลักษณะนิยมในศิลปะแบบนครวัด รวมทั้งเสาประดับกรอบประตูสลักลายสิงห์คายก้านต่อดอก ก็เป็นลักษณะของศิลปะแบบนครวัดด้วยเช่นกัน

เรื่องราวที่ปรากฏอยู่บนทับหลังและหน้าบันที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ ทับหลังรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งครั้งหนึ่งได้ถูกลักลอบนำไปยังสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยได้ติดตามทวงคืนกลับมาได้ และนำกลับมาติดตั้งในที่เดิม เรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ รูปเล่าเรื่องในลัทธิไศวนิกาย เช่น
พระศิวนาฏราช พระอุมามเหศวร พระศิวะมหาเทพ รูปเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับลัทธิไวษณพนิกาย ได้แก่ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และอวตารปางต่างๆ เช่น วิษณุตรีวิกรม (เป็นพราหมณ์เตี้ย) พระกฤษณะและมหาภารตะ เรื่องเล่าที่ปรากฏอยู่มากที่สุดคือ รามายณะ ตอนพระรามเดินดง วิราธลักนางสีดา นาคบาศ ท้าวมาลีวราชว่าความ และพระรามเสด็จกลับกรุงอโยธยา นอกจากนี้ยังมีรูปเล่าเรื่องเทพชั้นรอง เทพประจำทิศ และที่สำคัญซึ่งปรากฏบนชั้นแรกของหลังคาปราสาท ได้แก่ รูปเล่าเรื่องที่เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นประวัติของนเรนทราทิตย์ นอกจากนี้ยังมีรูปที่น่าสนใจปรากฏตามส่วนประกอบของตัวปราสาท ซึ่งเป็นภาพพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ และฉากแสดงชีวิตความเป็นอยู่

รูปที่ปรากฏบนทับหลังที่สำคัญที่สุด คือ ทับหลังหน้าห้องครรภคฤหะ เป็นรูปฤาษี ๕ ตน ซึ่งหมายถึง พระอิศวรทรงพรตฤาษีในไศวนิกายที่มีลัทธิหนึ่งเรียกว่านิกาย “ปศุปตะ” ซึ่งเป็นหลักฐานว่าศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย

กล่าวโดยสรุป จากรูปแบบศิลปกรรมปราสาทพนมรุ้งจัดอยู่ในศิลปะแบบนครวัดตอนต้น (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗) ช่วงที่ยังมีการรักษารูปแบบของศิลปะแบบบาปวนอยู่ แต่คงสร้างขึ้นหลังปราสาทหินพิมายเล็กน้อย เพราะปราสาทหินพิมายยังมีลวดลายของศิลปะแบบบาปวนปรากฏอยู่ มากกว่า

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม

ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗)

ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งตรงกับศิลปะขอมแบบบายน กษัตริย์ขอมที่มีพระราชอำนาจมากคือ พระเจ้าชัย วรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๒) ซึ่งทรงเป็นผู้กอบกู้เอกราชอาณาจักรขอมจากชนชาติจาม และได้สถาปนาเมืองนครธมขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ ได้เปลี่ยนศาสนาจากเดิมที่เป็นศาสนาฮินดูมาเป็น พระพุทธศาสนานิกายมหายาน และได้สร้างศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระราชอำนาจของพระองค์ ทั้งทางการเมืองและการพระศาสนา

จากหลักฐานทางศิลปกรรมแสดงให้เห็นว่าศิลปะแบบบายนซึ่งเป็นศิลปะรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น ได้แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนไทยทั้งอีสานเหนือและอีสานใต้ รวมทั้งในภาคกลางซึ่งลงไปใต้สุด ได้แก่ ปราสาทวัดกำแพงแลงจังหวัดเพชรบุรี ส่วนตะวันตกสุด ได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และเหนือสุดที่ปราสาทวัดเจ้าจันทร์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

จากหลักฐานทางด้านศิลปะขอมแบบบายนที่พบในดินแดนภาคกลางของประเทศไทยดังกล่าว สอดคล้องกับชื่อเมืองที่ปรากฏในจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ปราสาทพระขรรค์ ซึ่งกล่าวถึงการสร้างอโรคยศาลา (โรงพยาบาล) และธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทาง) จำนวน ๑๐๐ กว่าแห่ง ตามเส้นทางเดินจากเมืองนครธมไปยังศาสนสถานต่างๆ พระองค์ได้พระราชทานพระชัยพุทธมหานาถไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ ๒๓ แห่ง และปรากฏชื่อเมือง ๖ แห่งที่สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยคือ ลโวทยะปุระ (ลพบุรี) ศรีชัยวัชรปุรี (เพชรบุรี) ชยราชปุรี (ราชบุรี) ศัมพูกะปัฏฏนะ (ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี) สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) และศรีชัยสิงหปุรี (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่า นอกเหนือจากอิทธิพลทางศิลปกรรมแล้ว อาจมีอิทธิพลทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แผ่มายังบริเวณภาคกลางของประเทศไทยอีกด้วย

ได้พบหลักฐานปราสาทสำคัญที่จัดเป็นศิลปะแบบบายนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ และเป็นโบราณสถานขนาดเล็กในรูปของอโรคยศาลา และธรรมศาลา ตามเส้นทางเดินจากเมืองพระนครมายังเมืองพิมายและพนมรุ้ง บางแห่งก็เป็นปราสาทที่สร้างเพิ่มเติมในบริเวณที่เคยเป็นปราสาทอยู่ก่อนแล้ว เช่น ปรางค์พรหมทัต และปราสาทหินแดงในบริเวณปราสาทหินพิมาย ปราสาทสำคัญๆ ที่จัดเป็นศิลปะแบบบายน ได้แก่ ปราสาทโคกปราสาท อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทตาเมือนโต๊จ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทเขาโล้น อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โบราณสถานเมืองศรีมโหสถ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนในภาคกลาง ได้แก่ พระปรางค์สามยอด อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี วัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี (เหลือหลักฐานเฉพาะกำแพงวัด) ปราสาทวัดกำแพงแลง อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ศาลตาผาแดง ปราสาทวัดพระพายหลวง ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และปราสาทวัดเจ้าจันทร์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของศิลปะแบบบายนมีข้อสังเกตที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่เป็นปราสาทที่ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน และปั้นปูนประดับภายนอก ในสมัยนี้มีวิธีการก่อสร้างไม่ดีนัก ทำให้ตัว ปราสาทพังทลายได้ง่าย ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องวัสดุ และการเร่งรีบสร้างในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยมีพระประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาและแสดงอำนาจทางการเมือง

จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่พบตามแหล่งโบราณสถานศิลปะแบบบายนจัดเป็นพุทธสถานนิกายมหายาน โดยเฉพาะรูปแบบของปราสาท ๓ หลัง ที่สร้างอยู่บนฐานเดียวกันซึ่งพบอยู่หลายแห่ง เช่น พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย สอดคล้องกับคติรัตนตรัย มหายานที่นิยมการบูชารูปเคารพ ๓ องค์ คือ พระพุทธรูปนาคปรกอยู่ตรงกลาง ด้านขวาของพระพุทธรูปคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และด้านซ้ายคือ นางปรัชญาปารมิตา งานประติมากรรมที่พบโดยทั่วไปในสมัยนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี นางปรัชญาปารมิตา และรูปเคารพในพระพุทธศาสนานิกายมหายานอื่นๆ รวมทั้งเครื่องประดับสถาปัตยกรรม และเครื่องใช้สอยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ปราสาทขอมในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ที่ปรากฏในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่

๑.  พระปรางค์สามยอด เมืองลพบุรี พระปรางค์สามยอดควรจะเรียกเป็น ปราสาทมากกว่าพระปรางค์ แต่ที่เรียกเป็นพระปรางค์เนื่องจากศาสนสถานแห่งนี้ได้รับ การดัดแปลงให้เป็นวัดในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเรียกชื่อตามสถาปัตยกรรมไทยที่นิยมกัน การเรียกชื่อปรางค์แขกในจังหวัด ลพบุรีก็เนื่องด้วยเหตุผลนี้เช่นกัน

พระปรางค์สามยอด เป็นศาสนสถานที่ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน และประดับด้วยลายปูนปั้น ประกอบด้วยตัวปราสาท ๓ หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยมีลักษณะพิเศษกว่าปราสาท ๓ หลังอื่นๆ คือ มีฉนวนเชื่อมต่อกันเรียกว่า มุขกระสัน อันเป็นลักษณะที่ปรากฏในศิลปะแบบบายน ตัวปราสาทประกอบด้วยฐานบัว ซ้อนกัน ๒ ฐาน รองรับส่วนของเรือนธาตุที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน โดยมีมุขกระสันเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ส่วนยอดเป็นหลังคาทรงปราสาทแบบเรือนชั้น มีชั้นบัวเชิงบาตร ๒ ชั้น ชั้นหลังคาแต่ละชั้นประดับด้วยบันแถลงตามแบบปราสาทขอมโดยทั่วไป ส่วนยอดเป็นกลศที่มีรูปแบบคล้ายหม้อน้ำเทพมนตร์

จากรูปแบบของปราสาทและลวดลายประดับสามารถจัดเป็นศิลปะขอมแบบบายน โดยมีลักษณะบางอย่าง เช่น การทำชั้นบัวเชิงบาตร ๒ ชั้น ยอดปราสาทสอบเข้าและสูงขึ้น รวมทั้งลวดลายปูนปั้นบางลายแสดงให้เห็นฝีมือช่างท้องถิ่นปนอยู่ด้วย ลักษณะเฉพาะของงานศิลปกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นที่นี่ ทำให้นักวิชาการกำหนดเรียกชื่อศิลปะแบบนี้ว่า “ศิลปะลพบุรี”

พระปรางค์สามยอดจัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบบายนที่ปรากฏในภาคกลางของประเทศไทยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และเมืองลพบุรีน่าจะมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองของเขมรในภาคกลางในช่วงระยะเวลานี้ รูปแบบของพระปรางค์สามยอดนี้ได้เป็นต้นแบบ ให้แก่เจดีย์ทรงปรางค์ของไทยในระยะเวลาต่อมา เช่น พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น

๒.  ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ศาสนสถานแห่งนี้ประกอบด้วยปราสาทประธาน ๓ หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้ามีอาคารทรงปราสาทที่มีทางเดินทะลุถึงกันได้ ซึ่งน่าจะหมายถึงโคปุระ และมีปราสาทอีก ๒ หลังตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทประธานทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงของศาสนสถาน อาคารทั้งหมดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนและปั้นปูนประดับ แต่ลวดลายส่วนใหญ่ได้ชำรุดสูญหายไปตามกาลเวลา จากรูปแบบของปราสาทที่ก่อด้วยศิลาแลง มีปราสาทประธาน ๓ หลัง จึงน่าจะมีคติการสร้างแบบรัตนตรัยมหายาน ในศิลปะขอมแบบบายนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ รวมทั้งมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่นิยมในช่วงระยะเวลานี้คือ การเจาะช่องหน้าต่างที่สลักลูกกรงลูกมะหวดเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งปิดทึบ หมายถึง ส่วนของผ้าม่านที่ปิดช่องหน้าต่างเป็นการเลียนแบบของจริง

๓.  วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ศาสนสถานแห่งนี้เป็นอีกแห่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบบายนใน ภาคกลางของประเทศไทย แต่หลักฐานที่เหลืออยู่มีเพียงกำแพงวัดเท่านั้นที่ ปรากฏอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายน คือ ก่อด้วยศิลาแลง และบนสันของกำแพงประดับด้วยแนวพระพุทธรูปปางสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งพระพุทธรูปดังกล่าวจะมีวัตถุเล็กๆ อยู่ในพระหัตถ์ มักตีความว่าเป็นหม้อยา จึงเรียกว่า พระไภษัชยคุรุ ลักษณะการประดับพระพุทธรูปเป็นแนวบนกำแพงเช่นนี้เป็นรูปแบบของปราสาทศิลปะแบบบายนทั้งในประเทศกัมพูชา เช่น ที่ปราสาทตาพรมและปราสาทพระขรรค์ และในประเทศไทยในสมัยเดียวกัน ส่วนของปราสาทประธานหลังเดิม ถ้ามีอาจพังทลายไปหรือบูรณะขึ้นใหม่ในภายหลัง เพราะที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว

๔.  ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ศาสนสถานแห่งนี้จัดเป็นปราสาทขอมที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะแบบบายนในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่แผ่มาถึงตะวันตกสุดของประเทศไทย และสันนิษฐานว่าเป็นเมืองหนึ่งที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์คือ “ศรีชัยสิงหปุรี”

ปราสาทเมืองสิงห์ก่อด้วยศิลาแลงเคยพังทลายอย่างมาก ก่อนที่จะได้รับการบูรณะ ขึ้นใหม่ในปัจจุบันประกอบด้วยปราสาทประธานหลังเดียวล้อมรอบด้วยระเบียงคด และมีโคปุระทั้ง ๔ ด้าน หลักฐานสำคัญที่กำหนดว่าปราสาทแห่งนี้มีอิทธิพลของศิลปะ ขอมแบบบายนคือ การพบรูปเคารพที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานิกายมหายานจำนวนมาก โดยเฉพาะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี และนางปรัชญาปารมิตา ที่มีลักษณะรูปแบบเช่นเดียวกับที่พบในประเทศกัมพูชาและแหล่งอื่นๆ ในประเทศไทยในสมัยเดียวกัน

๕.  ปราสาทวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย วัดพระพายหลวงมีปราสาท ๓ หลังอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันเหลือเพียงหลังเดียวด้านทิศเหนือ รูปแบบปราสาทและคติการสร้างมีความสัมพันธ์กับพระปรางค์สามยอดที่เมืองลพบุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับคติของรัตนตรัยมหายานดังกล่าวแล้ว แสดงให้เห็นถึงร่องรอยศิลปะขอมแบบบายนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังได้พบปราสาทหลังอื่นอีก ได้แก่ ศาลตาผาแดง ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และปราสาทวัดเจ้าจันทร์ อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบบายนที่ขึ้นไปเหนือสุด ณ ที่แห่งนั้น

ข้อมูลดีๆ จาก

http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

[URL=http://s08.flagcounter.com/more/3nF][IMG]http://s08.flagcounter.com/count/3nF/bg=FFFFFF/txt=000000/border=CCCCCC/columns=5/maxflags=30/viewers=0/labels=0/[/IMG][/URL]

สถาปัตยกรรมประเภทใดที่เป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติขอม *

โดยทั่วไปแล้วปราสาทขอม มักตั้งอยู่บนฐานบัวเตี้ยๆ ต่อมาในสมัยของศิลปะแบบบายน ฐานบัวนี้ได้พัฒนามาเป็นรูปแบบเฉพาะที่เรียกว่า "ฐานบัวลูกฟัก" หมายถึง ฐานบัวที่มีการประดับท้องไม้ด้วยแถบสี่เหลี่ยมคล้ายกับลูกฟัก

สถาปัตยกรรมที่ใด ที่มีรูปแบบการรับอิทธิพลมาจากขอม

อิทธิพลศิลปกรรมขอมทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สามารถพบได้ในวัดบางแห่ง เช่น วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุโขทัย หรือ ปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

สถาปัตยกรรมขอมมีลักษณะอย่างไร

สถาปัตยกรรมขอม มีการออกแบบก่อสร้างอย่างมีระเบียบแบบแผน ภายในอาณาบริเวณของปราสาท จึงมีการวางตำแหน่งและการสร้างทางสถาปัตยกรรม ภายใต้คติความเชื่อเรื่องศาสนสถานอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในคติการสร้างปราสาท สามารถจำแนกแบ่งแผนผังโครงสร้างได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ

ศิลปะขอมมีลักษณะอย่างไร

ศิลปะขอม ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ศิลปะขอมนับเป็นศิลปะอินเดีย ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมาก่อน ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการ ...