การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

คลิกทำแบบทดสอบก่อนเรียน หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

เทคนิคการขับร้องประสานเสียง

1111111111พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการร้องเพลง คือการหายใจ  นักร้องทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบหายใจ และการใช้ลมหายใจเพื่อสร้างเสียง  สร้างความก้องกังวานและสร้างเทคนิคต่าง ๆ
1111111111ขั้นตอนของการเกิดเสียงขับร้อง  เริ่มต้นที่ลมหายใจออกไปผ่านกล่องเสียง  เกิดเสียงขึ้นและลมหายใจได้นำเสียงนั้นไปก้องวังวานในโพรงหน้า (mask) หรือในกะโหลกศรีษะแล้วพาเสียงออกไปนอกกาย  หากผู้ขับร้องสามารถควบคุมลมหายใจในการทำงานได้อย่างราบรื่นก็จะร้องเพลงได้ดี  มีเสียงที่ไพเราะ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก  คือการควบคุมลมหายใจให้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  (ดวงใจ  อมาตยกุล, 2546)

การหายใจ

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

1111111111เสียงเกิดจาก ลมจากกระบังลมเคลื่อนที่มากระทบเส้นเสียง และทำให้เกิดการสั่นสะเทือน การเกิดเสียงสูงและต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณของลมที่มากระทบเส้นเสียง คือ ปริมาณลมน้อย เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนน้อยทำให้เกิดเสียงต่ำ และปริมาณลมมาก เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนมาก ทำให้เกิด เสียงสูง  ดังนั้นหน้าที่ของลม คือการทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ และอีกหน้าที่คือการทำให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ซึ่งเกิดจากการควบคุมปริมาณลมเช่นเดียวกัน

1111111111พื้นฐานสำคัญที่สุดของการร้องเพลงคือ  การหายใจ การหายใจที่ดี ต้องมีความสามารถในการควบคุมการหายใจได้ ควบคุมลมที่จะมากระทบเส้นเสียง ควบคุมลมให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ความนิ่งเรียบ และช่วงประโยคเพลงได้ดี ดังนั้นนักร้องจำเป็นต้องฝึกซ้อมการหายใจอย่างถูกวิธีและเป็นประจำ เพื่อให้สามารถใช้ลมสำหรับการขับร้องได้อย่างเต็มศักยภาพ

 1111111111ขั้นตอนของการเกิดเสียง  เริ่มต้นที่ลมหายใจออกไปผ่านกล่องเสียง  เกิดเสียงขึ้นและลมหายใจนั้นได้นำไปก้องกังวานในโพรงหน้า (Mask) หรือในศีรษะและพาเสียงออกไป  หากผู้ขับร้องสามารถควบคุมลมหายใจให้ทำงานอย่างราบรื่นก็จะร้องเพลงได้ดี  มีเสียงที่ไพเราะ  จะเห็นว่าสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือการควบคุมลมหายใจให้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

1111111111อวัยวะที่สำคัญในการหายใจ  ได้แก่
1111111111.  ปอด (Lungs)  ภายในปอดจะมีถุงลมเล็กๆ มากมาย  มีหน้าที่ในการเก็บลมเพื่อนำมาใช้ในการหายใจ ฟอกโลหิต ฯลฯ โดยปกติคนเราไม่สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้ครบทุกถุง แต่การร้องเพลงจำเป็นที่จะต้องฝึก เพื่อให้สามารถหายใจเข้าไปในถุงลมได้มากที่สุด
1111111112.  กะบังลม (Diaphram)  กล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด  ที่อยู่เหนือกระเพาะอาหารประกอบด้วยซี่โครง และกล้ามเนื้อส่วนชองหน้าท้อง กระบังลมเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งที่เราสามารถบังคับให้ช่วยปอดในการกักเก็บลมได้มากขึ้น เมื่อเราหายใจเข้าปอดซี่โครงจะขยายตัวเพราะถูกดึงโดนกล้ามเนื้อที่ติดอยู่กับหัวไหล่ เมื่ออากาศเข้าสู่ปอดกระบังลมต้องเคลื่อนตัวลงต่ำ และจะมีหน้าที่ดันอวัยวะภายในช่องท้องมิให้เคลื่อนตัวขึ้นตามการขยายตัวของซี่โครง เพื่อที่จะสามารถกักเก็บลมได้มากๆ
11111111111 กะบังลม  เป็นโครงสร้างรูปโดม  ทำหน้าที่เป็นผนังกั้นแบ่งระหว่างช่องทรวงอกกับช่องท้อง  กระบังลมมีบทบาทสำคัญในการหายใจสำหรับการขับร้อง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ขอบและส่วนที่เป็นพังผืดอยู่ตรงกลาง  เมื่อหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะหดตัว  ทำให้ความสูงของโดมลดลง  และเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องทรวงอกในแนวดิ่งจะยาวขึ้น  จึงมีเนื้อที่ในช่องอกเพิ่มขึ้นและปอดขยายตัวเต็มที่  (ดวงใจ  อมาตยกุล : 2546)
11111111113.  ซี่โครง เมื่อเราหายใจเข้า  ปอดจะขยายตัวออก  และเมื่อปอดขยายตัวออกจะไปดันซี่โครงให้เกิดการขยายตัว  โดยการขยายตัวของซี่โครงนั้นจะขยายจากด้านล่างก่อน
11111111114.  กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Front Muscles)   มีหน้าที่บังคับลมเข้าออกในปริมาณน้อยไปหามาก ดังนั้นการออกเสียงในลักษณะ จากเสียงค่อยไปหาเสียงดัง หรือเสียงแคบไปหากว้างนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้อวัยวะส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราหายใจเข้ากล้ามเนื้อหน้าท้องจะขยายตัวออกมาทางด้านหน้า การหายใจออกจะเกิดจากการที่ปอดหดตัวลง ซี่โครงกลับคืนสู่ตำแหน่งปกติ กระบังลมยกตัวขึ้นกลับเข้าที่ กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัวลง
1111111111การหายใจเพื่อการขับร้องที่ถูกวิธี  คือการหายใจเต็มที่ให้ลึกถึงปอดส่วนล่างจนปอด (Lung) ขยายตัวเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ซี่โครงขยายออก  ดังนั้นส่วนของลำตัวช่องท้อง (abdomen)  จะขยายออกเมื่อมีการหายใจเข้า

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  12   ภาพแสดงอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558

กล้ามเนื้อในการหายใจเข้าตามปกติ

  1. กระบังลม (Diaphragm) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุด ในการหายใจ กระบังลมเกาะตามผิว ด้านในของกระดูกซี่โครงที่ 7-12 ,กระดูกลิ้นปี่ และกระดูกสันหลังระดับเอวอันที่ 1-3 โดยกล้ามเนื้อไปเกาะกันตรงกลาง เรียงCentral tendon เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะทำให้ Central tendon ถูกดึงต่ำลงเพิ่มเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวดิ่ง
  2. กล้ามเนื้อซี่โครงชั้นนอก (External intercostal muscle) หดตัวยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ทรวงอกขยาย ปอดที่อยู่ภายในทรวงอกจะถูกขยายออก ทำให้ความดันในถุงลมในปอดลดลงต่ำกว่าความดันในบรรยากาศ(ปรกติ 760 mmHg.) ทำให้อากาศไหลเข้าไปในถุงลมในปอด จนมีความดันในถุงลมเพิ่มขึ้นเป็น 762 mmHg.

การหายใจออกตามปกติ

            เป็นการคลายตัวของกล้ามเนื้อกระบังลม และถุงลมคลายตัวกลับสู่ภาวะปกติ และความดันในถุง ลมมากกว่าในบรรยากาศจะถูกดันกลับออกมาภายนอก ทำให้ความดันในถุงลมลดลงเหลือ 756 mmHg. น้อยกว่าในบรรยากาศเล็กน้อย

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  13   ภาพแสดงอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558

การหายใจในเพลง

            ต้องเตรียมพร้อมที่จะหายใจอย่างสมบูรณ์ก่นจะถึงประโยคเพลง  หากไม่ลากเสียงโน้ตตัวสุดท้ายของประโยคเพลงก็จะมีเวลาในการหายใจก่อนประโยคเพลงถัดไปอีกมาก  การที่ต้องหายใจระหว่างเพลงและต้องหายใจให้เต็มที่นั้น  มีเทคนิคพิเศษที่จะทำให้หายใจได้ทันคือ  ให้สังเกตในเพลงว่าตรงไหนที่ต้องหายใจอย่างรวดเร็ว ก็ให้ขโมยเวลาจากโน้ตตัวหลังสุดของประโยคเพลงก่อนหน้านั้น  และการหายใจเข้าอย่างรวดเร็วต้องเตรียมร่างกายก่อนหายใจ  โดยยกอกขึ้นให้ซี่โครงขยายออกได้ก่อนและเตรียมโพรงหน้าให้ถูกต้องด้วย  ไม่ให้อัดลมอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้เตรียมร่างกาย

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

1111111111กระบวนการหายใจประกอบด้วย  2  ลักษณะคือ การหายใจเข้าและการเป่าลมออก
1111111111การหายใจเข้า  การหายใจเข้าที่ถูกต้องไม่ว่าจะนั่งหรือยืนควรอยู่ในลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง (แต่ไม่ยกไหล่) อย่างธรรมชาติ  คือไม่เกร็งอ้าปากโดยดึงขากรรไกรล่างลงแล้วปิดหลอดลมให้กว้างออกเหมือนอาการหาว  แล้วสูดลมเข้าทางปากจนเต็มท้องน้อย กะบังลม ปอดและหน้าอก การหายใจเข้าอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1111111111หายใจเข้าระยะที่  1  โดยเพิ่มลมบริเวณกะบังลมส่วนล่าง  อาจจะใช้มือข้างใดข้างหนึ่งแตะบริเวณหน้าท้องโดยให้นิ้วก้อยอยู่บริเวณสะดือหรือบริเวณซี่โครงซี่สุดท้าย เมื่อหายใจเข้าจะรู้สึกว่าท้องป่องออกเล็กน้อย
1111111111หายใจเข้าระยะที่  2  โดยเพิ่มลมจากระยะที่  1 ลมจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณกะบังลมส่วนบน  เอามืออีกข้างหนึ่งจับบริเวณซี่โครงใต้รักแร้เมื่อหายใจเข้าระยะที่ 2  จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นขยายออกเล็กน้อย
1111111111หายใจเข้าระยะที่  3  โดยเพิ่มลมให้เต็มปอดจนรู้สึกว่าหน้าอกยกขึ้นเล็กน้อย

การทำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
1111111111ระยะที่หายใจเข้าจะรู้สึกว่ากระบังลม  ปอด  หน้าอกขยายออก

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
ภาพที่  14   แสดงการทำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
( ที่มา :  การหายใจ, 2558 )

การเป่าลมออก

            การหายใจออกในชีวิตประจำวันนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะไม่ต้องควบคุมลม
แต่การเป่าลมออกสำหรับเครื่องเป่าต้องมีการควบคุมลมให้ออกอย่างสม่ำเสมอหรือตามความต้องการ  ขณะที่ปล่อยลมออกกะบังลมและกล้ามเนื้อส่วนล่างจะดันให้ลมออกมาทางปาก  ดังภาพ

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  15  แสดงการทำงานของอวัยวะเมื่อเป่าลมออก
( ที่มา :  การหายใจ, 2558 )

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

แบบฝึกหัดที่  1

111111111111ฝึกความถูกต้องของการหายใจ
111111111111ให้ยืนในลักษณะอกผายไหล่ผึ่งหน้าตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกันเล็กน้อย   มือทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าสะเอว  แต่ให้เอามือจับเบา ๆ ในบริเวณข้อต่อระหว่างซี่โครงและผนังหน้าท้อง หายใจเข้าช้า ๆ จนเต็มปอดและกะบังลม

111111111111ข้อควรระวังระหว่างหายใจเข้า ไม่ยกไหล่หรือเกร็งบริเวณต้นคอทุกอย่างอยู่ในลักษณะธรรมชาติ แบบฝึกหัดนี้  จะสังเกตเห็นการขยายตัวของกะบังลมเมื่อหายใจเข้า และการหดตัวของกะบังลมเมื่อหายใจออก ฝึกประมาณวันละ 3 ครั้ง

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

1111111111111111111111การยืน                      หายใจเข้า               หายใจออก

ภาพที่  16   ภาพแสดงการฝึกความถูกต้องของการหายใจ
ที่มา : อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558

แบบฝึกหัดที่  2

1111111111111.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 4 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ) ทำติดต่อกัน 4-5  ครั้ง

1111111111112.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 8 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ)  ทำติดต่อกัน 4-5  ครั้ง

1111111111113.  หายใจเข้า 4 จังหวะ กลั้นหายใจ 4 จังหวะ เป่าลมออก 12 จังหวะ (หมายเหตุพยายามควบคุมลมให้สม่ำเสมอ)  ทำติดต่อกัน  4-5  ครั้ง

แบบฝึกหัดที่  3

            นอนหงายชันเข่า โดยเข่าทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ เท้าทั้งสองวางอยู่บนพื้น แล้วดึงลำตัวให้สูงขึ้นเป็นเส้นตรง  ระหว่างเข่ากับไหล่ โดยน้ำหนักตกอยู่บนไหล่ทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างวางอยู่บนพื้นขนานกับลำตัว หายใจเข้าช้า ๆ จนเต็มแล้วเป่าลมออกทางปากเหมือนกับเป่าหลอดกาแฟหรือเป่าเทียน ฝึกท่านี้วันละครั้ง ๆ ละไม่เกิน 1 นาที  จุดประสงค์ของแบบฝึกหัดนี้เพื่อฝึกการหายใจโดยไม่ให้ยกไหล่

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  17   ภาพแสดงการฝึกการหายใจตามแบบฝึกหัดที่ 3
ที่มา : อัญชลี  เมฆวิบูลย์ , 2558

แบบฝึกหัดที่  4

1111111111111.  ยืนด้วยท่าทางสำหรับการขับร้อง
1111111111112.  ทำปากรูปสระอูแล้วหายใจเข้า นับ 3  จังหวะ
1111111111113.  ขณะหายใจออกให้หดท้องและดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องขึ้นเพื่อผลักลม
1111111111114.  หายใจออกช้า ๆ ภายในเวลา 10 วินาที  ด้วย  ซ  หรือ  S
1111111111115.  ขณะฝึกให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เกร็ง

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

แบบฝึกหัดที่  5

1111111111111.  ยืนด้วยท่าทางสำหรับการขับร้อง
1111111111112.  หายใจเข้า
1111111111113.  ขณะหายใจออกให้หดท้องและดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องขึ้นเพื่อผลักลม
1111111111114.  ร้องเสียงสั้น ๆ ด้วย ซ  หรือ  S
1111111111115.  ขณะฝึกให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เกร็ง

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ข้อสังเกต

11111111111.  การหายใจที่ถูกต้องในการเป่า หลอดลมจะเปิดตลอดเวลา  สามารถทดสอบได้โดยหายใจเข้าจนเต็มที่  กลั้นลมหายใจแล้วยังสามารถพูดได้แสดงว่าหายใจถูกต้อง
11111111112.  หยุดลมโดยใช้กล้ามเนื้อของกะบังลมบังคับ ไม่ใช้วิธีการปิดหลอดลม
11111111113.  ขณะที่เป่ากล้ามเนื้อจะตึงอันเกิดจากแรงดันของกระบังลม กล้ามเนื้อหน้าท้องจะค่อย ๆ เข้าทีละนิด ๆ  ขณะเป่าแต่ไม่เร็วจนเกินไปเพราะแรงดันของกะบังลมดันให้ลมออกสู่ช่องปาก

ข้อสังเกตความไม่ถูกต้องในขณะฝึกปฏิบัติ

11111111111.  หายใจทางจมูก
11111111112.  หายใจบ่อยขณะที่เป่าโดยไม่จำเป็น
11111111113.  หายใจมีเสียงดัง
11111111114.  มีลมไม่เพียงพอ
11111111115.  ยกอก ยกไหล่ หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอขณะหายใจเข้า
11111111116.  ไม่สามารถควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับเดียวกัน

ข้อสังเกตความถูกต้องของการหายใจ

11111111111.  เปิดหลอดลมและหายใจทางปาก
11111111112.  มีลมพอที่จะเป่าให้หมดประโยคเพลง
11111111113.  หายใจเข้าอย่างรวดเร็วโดยได้ปริมาตรของลมที่ต้องการ
11111111114.  หายใจเต็มปอดทุกครั้ง
11111111115.  ไม่เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น ไหล่  เป็นต้น
11111111116.  สามารถควบคุมลมให้ออกมาอย่างสม่ำเสมอตามต้องการ

ค้นคว้าเพิ่มเติม

1.  การฝึกหายใจ

2.  การหายใจและการควบคุมลม

3.  ตัวอย่างวิธีฝึกหายใจ

ธรรมชาติของเสียง

111111111111เสียงของมนุษย์จัดอยู่ในประเภทเครื่องดนตรีชนิดเป่าลม  เสียงพื้นฐานจะเกิดขึ้นได้จากช่องคอ (Larynx) และมีคลื่นเสียงก้อง (Harmonics)  อยู่อย่างสมบูรณ์  เสียงพื้นฐานจะถูกกลั่นกรองหรือเพิ่มกำลังขึ้นโดยช่องปากและโพรงจมูก  การกระทำอันนี้จะเพิ่มกำลังให้แก่เสียงสะท้อนตัวอื่นด้วย

111111111111เสียงเกิดจาก ลมจากกระบังลมเคลื่อนที่มากระทบเส้นเสียง และทำให้เกิดการสั่นสะเทือน การเกิดเสียงสูงและต่ำ ขึ้นอยู่กับปริมาณของลมที่มากระทบเส้นเสียง คือ ปริมาณลมน้อย เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนน้อยทำให้เกิด“เสียงต่ำ” และปริมาณลมมาก เส้นเสียงเกิดการสั่นสะเทือนมาก ทำให้เกิด “เสียงสูง”  ดังนั้นหน้าที่ของลม คือการทำให้เกิดเสียงสูงต่ำ และอีกหน้าที่คือการทำให้เกิดความดัง-เบาของเสียง ซึ่งเกิดจากการควบคุมปริมาณลมเช่นเดียวกัน  อวัยวะในการเปล่งเสียง  ประกอบด้วย

11      1111.  เส้นเสียง

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  18  เส้นเสียง
( ที่มา :  ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558 )

11111111111เส้นเสียง  เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประจำอยู่ในร่างกายของเรา  เส้นเสียงเป็นกล้ามเนื้อบาง ๆ สั้น ๆ มีความยาวประมาณ  1.2-1.7  เซนติเมตร กว้าง 0.2-0.3  เซนติเมตร  ขวางอยู่เหนือหลอดลม  นอกจากจะทำหน้าที่ทำให้เกิดเสียงแล้ว  เส้นเสียงยังทำหน้าที่เป็นประตูไม่ให้สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ผ่านเข้าไปในหลอดลม

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  19   แสดงการเคลื่อนไหวของเส้นเสียง
( ที่มา :  ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล , 2558 )

111111.  เส้นเสียงขณะหายใจเข้า จะเปิดออกในรูปแบบสามเหลี่ยม
111112.  เส้นเสียงขณะสร้างเสียง โดยจะปิดเข้าชิดกันและเกิดการสั่นพลิ้วทั้งเส้นสำหรับระดับเสียงต่ำ
111113.  เส้นเสียงพลิ้วด้านหน้า  สำหรับระดับเสียงกลาง
111114.  เส้นเสียงพลิ้วด้านหลัง  สำหรับระดับเสียงสูง

มารู้จักเส้นเสียงกันเถอะ

11      1112.  ช่องคอ

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  20   ช่องคอ
( ที่มา :  http://www.google.co.th , 2558 )

11      1113.  ช่องปาก

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  21   ช่องปาก
( ที่มา :  http://www.google.co.th , 2558 )

การออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขระวิธี

11111การออกเสียงคำต่าง ๆ ในการขับร้องต้องประสานกับการฝึกลมหายใจ  การเปล่งเสียงและการสร้างเสียงสะท้อน  การฝึกการออกเสียงเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การร้องเพลงได้ดี       การออกเสียงพยัญชนะ  สระและวรรณยุกต์อย่างไม่ถูกต้อง  ยางครั้งทำให้ความหมายของเพลงเปลี่ยนไป  ในทางกลับกัน  ถ้าผู้ขับร้องออกเสียงภาษานั้น ๆ ได้ถูกต้องตามอักขระวิธีก็จะเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ฟัง

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์  และเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันทั้ง 5  เสียงนั้นทำให้ความหมายของคำต่างกัน  ฉะนั้นผู้ขับร้องควรคำนึงและให้ความสำคัญในเรื่องนี้

11111ส่วนการฝึกร้องเพลงภาษาตะวันตกนั้นมีเสียงสระพื้นฐาน  คือการออกเสียงตามอักษรโฟเนติคส์สากล  หรือ  I.P.A  (International Phonetic Alphabet) ทั้งหมดมี  5  ตัวคือ  a  e  i   o  u

11111รูปปากของการออกเสียงสระทั้ง  5  มีดังนี้

[a]  :อ้าปากโดยยกขากรรไกรบนขึ้น  ปล่อยขากรรไกรล่างตามสบาย  ลิ้นวางราบปล่อยเป็นธรรมชาติ  อ้าปากตามสบายแต่อย่ากว้างเกินไป

[e]  :อ้าปากครึ่งเดียว  ลิ้นหดเล็กน้อย  ตำแหน่งลิ้นค่อนไปทางด้านหลัง

[i]  :ฉีกมุมปาก  ลิ้นด้านหน้าเกือบแตะเพดานแข็ง

[o]:ห่อปาก  ตำแหน่งลิ้นค่อนไปทางด้านหลัง  ช่องปากครึ่งบนเป็นรูปทรงกระบอก  ใช้กำลังเต็มปาก

[o]:ห่อปาก  ลิ้นส่วนหลังสูงจนเกือบแตะเพดานอ่อน

 

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  22  ภาพแสดงรูปปากในการออกเสียงสระต่าง ๆ
ที่มา : ดุษฎี  พนมยงค์  บุญทัศนกุล ,  2558

การปิดคำ

1111111ในการร้องเพลงนักร้องต้องออกเสียงสระมากกว่าพยัญชนะ  เพราะการออกเสียงของคำแต่ละคำเราจะออกเสียงพยัญชนะสั้นกว่าสระ  โดยเฉพาะคำที่ต้องออกเสียงยาว  เช่น  คำว่า“ปี”เกิดจาก  พยัญชนะ  ปอ+สระอี  ให้ยาวเป็นเวลา  5 วินาที  จะสังเกตเห็นว่าลักษณะเสียงที่ออกมาจะเป็นดังนี้  ปอ+อี  (เสียง  ปอ. จะได้ยินแค่ครั้งแรกเท่านั้นหลังจากนั้นจะเป็นเสียงสระอี)  ดังนั้นในการปรุงแต่งคำร้องให้สละสวยจึงขึ้นอยู่กับการออกเสียงสระให้ถูกต้องชัดเจน  และมีน้ำหนักซึ่งเกิดจากการขยับขากรรไกร  ลิ้น  ริมฝีปากและทำรูปปากให้ถูกต้อง

1111111ถ้าเป็นการออกเสียงสระผสม  เช่น  คำว่า “ใจ”   เกิดจาก  สระใอ = อา +อี เวลาออกเสียงควรออกเสียงสระอาสั้นกว่าสระอี  เป็น  จอ + อา…+ อี  (จำนวนจุดแทนความยาวของการลากเสียง)  เพราะถ้าออกเสียงสระอายาวกว่าสระอี  จะกลายเป็น  จอ + อา  … + อี  (จาย…+อี)  หรือความว่า  “เกลียว”  เกิดจาก  พยัญชนะ  กล.  และ สระ  อี + อา + อู  ควรออกเสียงเป็น  กล + อี…+ อา + อูหรือ  กล + อี +…+ อา …+ อ   แต่ไม่ควรเป็น  กล + อี + อา + อู  (เพราะเสียงที่ออกมาจะกลายเป็น“กลู”)  การร้องคำที่ไม่มีตัวสะกด  ไม่ควรออกเสียงสระเป็นเวลานาน  เช่น  ฉันรักเธอ  หากร้องอยู่บนสระนาน ๆ โดยไม่รีบปิดคำ  ก็จะออกมาเป็น  ฉาน  ร้าก  เธอ

1111111การออกเสียงวรรณยุกต์ของคำในภาษาไทยนักร้องต้องระวังให้มาก  เพราะถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดก็จะทำให้ความหมายของคำนั้นมีความหมายต่างไปจากเดิมทันที  โดยเฉพาะเนื้อเพลงที่มีโน้ตดนตรีเป็นคนละเสียงกับวรรณยุกต์ของเนื้อเพลง  เช่น  ชื่นชีวันเมื่อฉันและเธอชิดใกล้  (เพลงหนึ่งมิตรชิดใกล้)  ถ้าร้องออกเสียงให้ตรงกับโน้ต จะต้องออกเสียงเป็น  ฉื่นชีวันเมื่อชันและเธอชิดใกล่  นอกจากจะไม่ได้สื่อความหมายตามที่ต้องการแล้ว ยังฟังตลกอีกด้วย  วิธีถูกต้องคือนักร้องจะต้องออกเสียงวรรณยุกต์ของแต่ละคำให้ถูกต้องเสียก่อน  แล้วจึงใช้เทคนิคของการเอื้อนเสียงให้ได้ตัวโน้ตที่ต้องการ (ปิ่นศิริ, 2548: 37-39)

เสียงสะท้อน

 111111111อวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อน  คืออวัยวะที่กลั่นกรองเสียง  ประกอบด้วยช่องคอ  โพรงจมูก  ช่องปาก  เพดานแข็ง  ลิ้น  ฟัน  ริมฝีปาก  เป็นต้น

 

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ภาพที่  23   แสดงอวัยวะในการออกเสียง
( ที่มา :  https://shcoolofphonetic.wordpress.com , 2558 )

อวัยวะในการสร้างเสียงสะท้อน  ประกอบด้วย

111111.  ทรวงอก
111112.  โพรงปากและโพรงจมูก
111113.  โพรงกะโหลก

11111จุดประสงค์ของการ  เสียงสะท้อน  คือทำให้เสียงไพเราะ  สมบูรณ์  สดใส  ชัดเจนมีกังวานทุกเมื่อ  การเปล่งเสียงร้องให้เกิดเสียงสะท้อนได้นั้น  ต้องอาศัยวิธีการหายใจที่ถูกต้องและเปิดช่องคอให้เป็นธรรมชาติและไม่เกร็ง  ปล่อยให้คลื่นเสียงตามธรรมชาติสะเทือนในอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงสะท้อน  เกิดเป็นเสียงอันไพเราะ  มีกังวาน

            เสียงสะท้อนแบ่งออกเป็น

111111.  เสียงสะท้อนในช่องอก (Chest Tone) เป็นการขับร้องในระดับเสียงต่ำ เป็นเสียงที่เปล่งออกมาได้ง่ายที่สุด โดยจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณหน้าอก  เสียงที่ได้จะมีความกังวาน ทุ้ม ใหญ่ เป็นโทนที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกสุขุม รอบคอบ เศร้า เหงา    โรแมนติก ฯลฯ ลักษณะของเนื้อเสียงจะเหมือนกับเสียงพูดปกติของชาวตะวันตก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณ หน้าท้องถึงบริเวณริมฝีปากล่างหลักการร้องเพลงเสียงต่ำ ปฏิบัติได้ดังนี้
1111111113.1  ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ
1111111113.2  เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้
1111111113.3  ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง
1111111113.4  เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง
1111111113.5  และบังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป
1111111113.6  ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้ายเสียงฮัม

111112.  เสียงสะท้อนในโพรงปากและจมูก (Mouth Tone) โทนเสียงกลาง เป็นโทนเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ปกติ สบาย ๆ  เมื่อปล่อยเสียงจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนบริเวณช่องปากและในโพรงอากาศบริเวณจมูก ลักษณะของเนื้อเสียงจะเหมือนกับเสียงพูดปกติของชาวตะวันออก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณ ริมฝีปากถึงโหนกแก้ม

111113.  เสียงสะท้อนในช่องกะโหลก (Head Tone) โทนเสียงระดับสูง เป็นเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์ที่ดีใจ   เสียใจ  สนุกสนาน เป็นการขับร้องในเสียงสูง ระดับเทนเนอร์ และ โซปราโน  ขณะเปล่งเสียงจะรู้สึกสั่นสะเทือนก้องบริเวณ เหนือลิ้นไก่และพริ้วไปตามส่วนหลังของศีรษะ เกิดความก้องกังวานในโพรงกะโหลกศีรษะแผ่กระจายมาถึงโพรงอากาศบริเวณหน้าผาก ตำแหน่งเสียงทางกายภาพจะอยู่ที่บริเวณระหว่างคิ้ว  หลักการร้องเพลงในโทนเสียงสูง ปฏิบัติได้ดังนี้ คือ
111111113.1  ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูงให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน
111111113.2  การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ
111111113.3  การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ
111111113.4  เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง
111111113.5  ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง

ค้นคว้าเพิ่มเติม

การออกเสียง  Head  Tone   /     การออกเสียง  Mount  Tone  /   การออกเสียง  Chest  Tone

การรักษาเสียง

111111111สภาพชองเสียง ขึ้นอยู่กับสุขภาพของนักร้องด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม  นอนหลัยบเพียงพอ  และออกกำลังกายสม่ำเสมอ   ไม่ควรตะโกน  ไม่ควรร้องเสียงดัง  หรือกรีดร้องเสียงแหลม  เพราะจะเป็นการทำงานเสียง  การเชียร์กีฬากลางแจ้งที่จะต้องใช้เสียงตะโกนดัง ๆ จะทำให้คอเกร็ง  กล้ามเนื้อคอถูกบีบทำให้เสียงเสีย
111111111การไอหรือกระแอมไอเมื่อระคายคอ  ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพเสียงเช่นกัน  เมื่อมีอาการไอควรรีบพบแพทย์ เพื่อรักษาให้หายโดยเร็ว
111111111นักร้องควรระวังใช้เสียงในทางที่ผิดด้วยการบังคับเสียงในลักษณะที่ไม่สมควร  เช่น  ร้องเพลงดังเกินไปหรือการร้องเพลงเสียงสูงหรือเสียงต่ำเกินความสามารถของตนเอง  เมื่อปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เสียงจะเสีย  จะเกิดอาการเสียงแหบหรือเสียงหาย แสดงว่าเส้นเสียงบวม  ต้องหยุดพูดและหยุดร้องเพลงจนกว่าจะหาย มิฉะนั้นเสียงจะแหบถาวร

การถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลง

111111111สามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกถึงความสุข สนุกสนาน หรือความทุกข์เศร้าโศก ผ่านทางคำพูด สีหน้าแววตาหรือท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไร เช่นเดียวกันกับบทเพลงที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของคนแต่ง ออกมาได้อย่างละมุนละไม นักแต่งเพลงจึงต้องทำผลงานเพลงให้ดี สามารถแสดงถึงความต้องการทางอารมณ์ ที่อยากสื่อสารให้ผู้ฟังได้รับรู้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง แต่ก็ต้องมีความจริงใจในเนื้อหาด้วย เพื่อที่ผู้ฟังจะได้รู้สึกว่า เพลงนี้สามารถสัมผัสถึงหัวใจของเขาได้อย่างแท้จริง

คลิกทำแบบทดสอบหลังเรียน หรือ สแกน QR  Code ทำข้อสอบ

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
 
การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
การ ประสานเสียง ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

การร้องประสานเสียงที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

การร้องประสานเสียง หมายถึง เสียงร้องเพลงของผู้ร้องหลายคนที่เปล่งเสียงออกมาพร้อมๆกันโดยมีระดับเสียงที่ต่างกัน โดยที่เสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องมีความกลมกลืนผสมผสานกันฟังแล้วไม่ขัดหู

คนที่จะฝึกหัดขับร้องได้ดีคือคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร

ผู้เรียนจะต้องมีใจรัก มีความอดทน ขยัน หมั่นฝึกฝน การร้องเพลงไทย นั้นประกอบด้วยการออกอักขระ ทำนอง จังหวะ ลีลา และอารมณ์ การหมั่น ฝึกฝนเป็นเนืองนิจจะช่วยให้การขับร้องเพลงไทยดีขึ้น หัวใจสำคัญของศิลปะ การขับร้องอยู่ที่ผู้เรียนมีใจรัก มีความพยายาม ขยัน อดทนไม่ท้อถอย เมื่อได้ รับความสำเร็จแล้วต้องไม่ทะนงตนว่าเก่งแล้วเลิศแล้ว ...

การประสานเสียงมีแบบใดบ้าง

สำหรับการขับร้องประสานเสียง โดยทั่วไปจะมีหมู่ขับร้องที่ใช้อยู่คือหมู่ขับร้อง ประสานเสียง 4 แนว ได้แก่ แนว โซปราโน และแนว อาลโต ซึ่งจะเป็นผู้หญิงร้อง และ แนว เตเนอร์ กับ เบส เป็นหมู่นักขับร้องชาย ถ้าเป็นหมู่ขับร้องชายล้วน มีชื่อว่า “MALE CHOIR” ประกอบด้วยแนว เตเนอร์ 1 เตเนอร์ 2 และ แนว เบส ถ้าเป็นหมู่ขับร้องหญิงล้วน มี ...

การประสานเสียง 3 เสียงขึ้นไปเรียกว่าอะไร

6.2 คอร์ด (Chords) หมายถึงกลุ่มเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป เรียงกันในแนวตั้งและเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน คอร์ดมีมากมายหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการใช้นำไปใช้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคอร์ด 3 ชนิด ใหญ่ ๆ รวมถึงวิธีการสร้างคอร์ด (Chord Construction) ดังนี้