โลจิสติกส์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง

บทความนี้จะมาตอบทุกคำถามของน้องๆ ที่สงสัยเกี่ยวกับการเรียนในคณะหรือสาขาทางด้าน "โลจิสติกส์" โลจิสติกส์ คืออะไร? เรียนยังไง เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

โลจิสติกส์ คืออะไร?
อย่างที่น้องๆ หลายคนพอทราบมาบ้างว่า สาขาวิชาโลจิสติกส์ นั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

เรียนยังไง? เกี่ยวกับอะไรบ้าง? 
สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

ในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4

โลจิสติกส์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง

เรียนโลจิสติกส์ จบไปทำงานอะไรได้?
หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้าง งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

ระดับปฏิบัติการ
เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

ระดับบริหาร
เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน,  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

ประกอบธุรกิจส่วนตัว
เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

รับราชการ 
รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  งานสายวิชาการ
เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

โลจิสติกส์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง

ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชาด้าน โลจิสติกส์ 

สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก
ภาควิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ที่มา: 
adecco.co.th/salary-guide/2018

เรียนโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ต้องเรียนสายอะไร ? วางแผนการเรียนต่อสาขาโลจิสติกส์

แผนการเรียนต่อด้านสาขาโลจิสติกส์ในสายสามัญ เพื่อวางแผนในการเลือกแผนการเรียนในมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – 6) โดยมีสาขาโลจิตสิกต์ อาทิ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับสาขาโลจิสติกส์

  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต มุ่งเน้นในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา นักเรียนที่เลือกเรียนแผนการเรียนนี้ควรมีความสามารถพื้นฐานในด้านการคิดคำนวณ มีระเบียบวิธีในการคิดคำนวณ สามารถอธิบายให้เหตุผล วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจภาษา ตีความ สื่อความหมายได้ดีตลอดจนมีความสามารถในการจินตนาการการมองเห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของสิ่งที่เป็นนามธรรม
  • แผนการเรียนศิลป์-คณิต เน้นในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และภาษา ดังนั้นนักเรียน ที่จะเลือกแผนการเรียนนี้ ควรมีความสามารถพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ด้านจินตนาการพื้นที่ ระยะทาง ขนาด ทรวดทรง และด้านการจดจำรายละเอียดเป็นหลัก
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สอง ดังนั้น ผู้เรียนที่จะเลือกเรียนแผนการเรียนนี้ควรความสามารถพื้นฐานทางด้านการใช้และความเข้าใจภาษา การจดจำรายละเอียดต่าง ๆ และมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์
  • แผนการเรียนศิลป์-ทั่วไป มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนั้น ผู้เรียนที่เรียนแผนการเรียนนี้จึงจำเป็นต้องมีความสามารถพื้นฐานในด้านการใช้และความเข้าใจทางภาษา การจดจำสิ่งต่างๆและมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี และ

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตร 4 ปี)

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตร 4 ปี)

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (หลักสูตร 5 ปี)

ผู้ประสงค์ต้องการเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. ผู้สมัครต้องเป็นเพศชาย สูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. ต้องผ่านการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพทุกรายการ ดังนี้ ที่ รายการที่ทำการตรวจ
ที่รายการที่ทำการตรวจเกณฑ์มาตรฐาน
 1 ลมบ้าหมู (Epilepsy of Attacks)  ไม่มีประวัติเจ็บป่วยเฉียบพลัน
 2 โรคไต (Kidney Disease)  มีการติดเชื้อหรือไม่เคยเปลี่ยนไต
 3 กามโรค (Venereal)  ไม่มี
 4 โรคชัก (Seizures)  ไม่มี
 5 ยาเสพติด (Narcotics History)  ไม่มี
6 วัณโรค (Tuberculosis รายงานผลจากรังสีวินิจฉัยไม่พบ
 7 HTV (not compulsory)  ไม่มี
 8 ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ความดันปกติ
9 โรคติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastro-Intestinal infection disease) ผลปกติจากรายงานการตรวจทางพยาธิวิทยา
 10 โรคอ้วน (Obesity) น้ำหนักและส่วนสูงอัตราเฉลี่ยต่ำกว่า 30
 11 โรคหัวใจ (Heart) ไม่มีประวัติเจ็บปวดหน้าอกเฉียบพลัน
 12 เบาหวาน (Diabetes) ไม่ใช้อินซูลินบำบัดรักษา
 13 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง (Chronic respiratory Disorder)  ไม่มีไซนัส/หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
 14  กระดูก-กล้ามเนื้อ (Muscular – skeletal) ไม่มีการอักเสบของข้อ หรือปวดหลังอย่างรุนแรง
 15 มะเร็ง (Cancer) ตรวจวินิจฉัยไม่พบ
 16 ติดเชื้อที่ผิวหนัง (Skin disease) ปกติ
 17 โรคฟันชนิดเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาต่อการเคี้ยว และการย่อยอาหาร (Chronic dental and digestive System problems) ปกติ
18 การตรวจสายตา ระดับของการมองเห็น   – ไม่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ ไม่ต่ ากว่า 0.1 (20/200) – สวมแว่น ไม่ต่ ากว่า 0.5 (20/40)
19 การตรวจตาบอดสี ต้องมองเห็นชัดเจนครบทั้ง 4 สี คือ สีแดง/ สีเหลือง/สีเขียว/สีน้ าเงิน
 20 การได้ยินของหูทั้ง 2 ข้าง ไม่เกิน 40 เดซิเบล

3. ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายตามที่คณะคณะโลจิสติกส์กำหนด ดังนี้ (ให้เตรียมชุดว่ายน้ำ และชุดกีฬามาด้วย)

3.1 ว่ายน้ำระยะทาง 100 เมตร (ไม่จับเวลา แต่ถ้าไม่ผ่าน ถือว่าตกสัมภาษณ์)
3.2 วิ่งระยะทางประมาณ 1,000 เมตร
3.3 ดันพื้น
3.4 ดึงข้อราวเดี่ยว
3.5 ซิทอัพ
3.6 กระโดดหลบสิ่งกีดขวาง

หมายเหตุ : ที่ระบุว่ารับเฉพาะเพศชายนั้น เนื่องจากในหลักสูตรฯ กำหนดให้ต้องผ่านการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล กับเรือสินค้าเดินทะเลระหว่างประเทศของบริษัทเอกชนเป็นเวลา 1 ปี

ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบริษัทเจ้าของเรือรายใด รับผู้หญิงขึ้นไปทำงานบนเรือ ดังนั้น หากนิสิตไม่สามารถหาเรือฝึกได้ก็จะไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้

  • ในกรณีที่จำกัดส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตรนั้น เพราะบนสะพานเดินเรือมีเครื่องมือบางชนิดที่ ติดตั้งในตำแหน่งที่สูง ดังนั้นผู้ที่จะขึ้นไปทำงานบนสะพานเดินเรือจึงจำเป็นต้องมีความสูงในระดับพอที่จะใช้เครื่องมือ เหล่านั้นได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้ที่จะขึ้นไปท างานบนสะพานเดินเรือจะต้องมีความสูงเพียงพอ ที่จะมองผ่านกระจกออกไปด้านนอกเพื่อให้มีทัศนวิสัยที่มองเห็นได้กว้างไกล หากมีความสูงไม่เพียงพอก็จะเป็น อุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  • ในส่วนที่กำหนดว่ารับเฉพาะผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ นั้น เนื่องจากเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มีรายวิชาเรียนที่ต้องอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ และความรู้ทางเคมี อยู่มาก ผู้ที่จะเข้าศึกษาจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานดังกล่าวมาก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาได้

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรนานาชาติ

  • ทุกแผนการเรียน และมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.80 หรือสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และการค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งกลุ่มประเทศ อาเซียน และเอเชียตะวันออก เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาโลจิสติกส์

ข้อมูลคณะวิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการขนส่งทางทะเล แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ (ทุกสาย)

ข้อมูลในการรับคัดเลือกเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาการขนส่งทางทะเล

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือรับ เฉพาะเพศชายเท่านั้น

  1. ต้องเข้ารับการทดสอบพลศึกษา คือ ลุก-นั่ง (Sit Up) 60 วินาทียึดพื้นหรือดันข้อ 1 นาที วิ่งเก็บของ (วิ่งกลับตัว) 10 เมตร วิ่งระยะไกล 1,000 เมตร และว่ายน้ำ 50 เมตร
  2. ต้องเป็นผู้ที่สามารถว่ายน้ำได้
  3. จะต้องเปน็ผู้ไม่บกพร่องทางการมองเห็นสีของวัตถุ (ตาไม่บอดสี) สัญญาเสียง (หูไม่หนวก) โรคหัวใจ โรคลมชัก และกระดูก – กล้ามเนื้อไม่มีการอักเสบของข้อหรือปวดหลังอย่างรุนแรง

สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาการขนส่งทางทะเล

  • จะต้องเป็นผู้ไม่บกพร่องทางการมองเห็นสีของวัตถุ (ตาไม่บอดสี) สัญญาเสียง (หูไม่หนวก)

สรุปข้อมูลแผนการเรียนต่อด้านโลจิสติกส์

  • สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 25% / PAT P2  : 30 %)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจสิติกส์(แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 30% / PAT P2  : 25 %)
  • สาขาวิชาการจดัการโลจสิติกส์ (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 40 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 30% / PAT P2  : 25 %)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)
  • สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจดัการโลจิสติกส์ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 35% / PAT P2  : 20 %)
  • สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจดัการโลจิสติกส์ (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)

หมายเหตุ : ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ละปี กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับทางมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนต่ออีกครั้ง!

ที่มาข้อมูล :

  • ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทรับตรงในภาคตะวันออก 12 จังหวัด มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2) – http://regservice.buu.ac.th/text/12index.pdf
  • การรับเข้าศึกษาต่อผ่านทางโครงการรับตรง KU Admission มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – http://d251anpwg4t4cw.cloudfront.net/static/files/60-kuad-announcement.pdf
  • ข้อมูลแผนการเรียน : http://www.ppk.ac.th/ao/GuideM3/plan.htm

Related Posts

โลจิสติกส์ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง

อยากสอบติด คณะโลจิสติกส์.
PAT 1..
PAT 2..
PAT 3..
O-NET..

เข้าคณะโบจิสติกส์ใข้คะแนนอะไรบ้าง

ข้อมูลการสอบเข้า.
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์.
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
- รอบที่ 1 รับตรง ใช้ GPAX, Portfolio. - รอบที่ 2 รับตรง ใช้ GPAX, GAT, PAT 1. - รอบที่ 3 รับตรง ใช้ GPAX, GAT, PAT 1. ... .
สายวิทย์-คณิต GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 10%, PAT 1 10%, PAT 2 30% สายศิลป์-คำนวณ GPAX 20%, O-NET 30%, GAT 30%, PAT 1 20%.

โลจิสติกส์ ใช้คะแนนอะไรบ้าง 66

บัญชี/บริหารธุรกิจ โลจิสติกส์.
วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย 2 ส่วน – คณิตศาสตร์พื้นฐาน – คณิตศาสตร์เพิ่มเติม.
วิชาสามัญ วิทยาศาสตร์ประยุกต์.
วิชาสามัญ ฟิสิกส์.
วิชาสามัญ เคมี.
วิชาสามัญ ชีววิทยา.
วิชาสามัญ ภาษาไทย.
วิชาสามัญ สังคมศึกษา.
วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ.

โลจิสติกส์ต้องเรียนสายไหน

คณะโลจิสติกส์มี 4 สาขา 1. สาขาวิทยาการเดินเรือ 2. สาขาการจัดการพาณิชยนาวี 3. สาขาการจัดการโลจิสติกส์ 4. สาขาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งสาขาการจัดการโลจิสติกส์ ปี 1 จะเรียนปูพื้นฐานวิทย์ คณิต อังกฤษ คอมพิวเตอร์ สังคม พอขึ้นปี 2 จะเรียนวิชาของคณะ การจัดซื้อ โซ่อุปทาน ปี 3 จะเรียนวิชาเฉพาะของสาขาการ ...