เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

พระอัฏฐารส วัดตะพานหิน จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย

เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

พระอจนะ ในพระมณฑปวัดศรีชุม

เจดีย์แบบใดที่เป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย

ภาพจิตรกรรมจำหลักลายเส้นบนหินชนวน เรื่องชาดก ประดับผนังมณฑปวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศิลปะสุโขทัย เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18–19 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แถบจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ พิษณุโลก และบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางตอนใต้ของจังหวัดกำแพงเพชร ถือกำเนิดขึ้นมาจากแรงบันดาลใจทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาแบบเถรวาทซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ดังปรากฏในโบราณสถานหลายแห่งที่มีแนวความคิดและลักษณะรูปแบบคล้ายกับสถาปัตยกรรมลังกา เช่น เจดีย์ช้างล้อมมเหยงคณ์ในลังกา พระพุทธรูปวัดตะพานหินที่สุโขทัย พระสี่อิริยาบถที่กำแพงเพชร เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ผสมผสานกับศิลปะอื่น ๆ ได้แก่ พม่า ขอม และจีน

สถาปัตยกรรม[แก้]

ระเบียบทั่วไปสำหรับวัดสุโขทัย มีพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำรอบกำแพงเตี้ย เจดีย์ประธานอยู่ตรงกลางหรือค่อนไปทางด้านหลัง วิหารต่อเนื่องจากเจดีย์ประธานออกไปทางด้านหน้า ทั้งสองเป็นแกนหลักของวัด รายล้อมด้วยเจดีย์บริวาร อาจมีวิหารน้อยหรืออาคารชนิดอื่นบ้าง การสร้างเสริมเพิ่มเติมในสมัยหลังย่อมทำให้แผนผังเดิมเปลี่ยนไป

เจดีย์แบบสุโขทัย เป็นเจดีย์แบบใหม่ซึ่งไม่มีที่ใดเหมือน เช่น เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ช่างสุโขทัยนำลักษณะบางประการมาจากปราสาทแบบขอม และบางลักษณะของเจดีย์แบบพม่าสมัยเมืองพุกาม นำมาปรับปรุงอย่างเหมาะสมพอดี จนเป็นเจดีย์แบบใหม่ เจดีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราสาทแบบขอมโดยตรงที่มีให้เห็น เช่น เจดีย์ทรงปราสาทประเภทเรือนชั้น หมายถึง ชั้นลดหลั่นเหนือเรือนธาตุ ชุดชั้นที่ลดหลั่นกันนี้เป็นชั้นสมมติโดยจำลองมาจากเรือนธาตุ ได้แก่ เจดีย์ประจำทิศตะวันออกของพระศรีมหาธาตุ วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ยังมี เจดีย์ทรงปราสาทยอด ที่ผนวกกับศิลปะล้านนา[1] เจดีย์ได้รับอิทธิพลศิลปะลังกา มีฐานสี่เหลี่ยมยกสูง เช่น เจดีย์ช้างล้อม ที่วัดช้างล้อม อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่มาของชื่อ เจดีย์ช้างล้อม

สำหรับอาคารที่รียกว่า มณฑป เป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลง หลังคาจะใช้ศิลาแลงเรียงซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุดที่ไปบรรจบกัน ทรงอาคารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีหลังคาเป็นชั้นแหลมลดหลั่นกันไปถึงยอดทำเป็นชั้นประมาณ 3 ชั้น มีทั้งแบบที่มีผนังและแบบมีโถง เข่น มณฑปวัดศรีชุม เป็นต้น

วิหารทำเป็นกำแพงทึบแล้วเจาะหน้าต่างเป็นช่องเล็ก ๆ มีลูกกรงทำด้วยอิฐหรือดินเผาปั้นเป็นลูกแก้วกั้น เพื่อให้แสงลอดเข้าไป อุโบสถสมัยสุโขทัยแทบทุกหลังจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยโครงสร้างศิลาแลงฉาบปูน โครงสร้างหลังคานิยมเรียงด้วยก้อนศิลาเหลี่ยมซ้อนกันเป็นรูปกลับบัว หรือเรียงตั้งแต่ใหญ่ไปหาเล็ก เป็นทรงยอดมณฑป นอกจากนี้ก็มีโบสถ์ที่มีโครงสร้างเป็นไม้แบบศาลาโถง มีหลังคาปีกนกคลุมต่ำ ไม่มีบานหน้าต่าง แต่เจาะผนังเป็นลูกกรงประดับด้วยปูนปั้น[2]

ประติมากรรม[แก้]

พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยเป็นไปตามแบบแผนของชาวพุทธศาสนาเถรวาท ถ่ายทอดผ่านรูปทรงอันเกิดจากสัดส่วน เส้นนอก และปริมาตรซึ่งประสานกลมกลืนกันอย่างเรียบง่าย ส่วนศาสนาฮินดูมีด้วยแต่มีอยู่น้อยด้วยสุนทรียภาพไม่แตกต่างจากพระพุทธรูป

วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรม มีปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืด ผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด ยางไม้ และน้ำอ้อย นำมาโขลกให้เหนียว แล้วนำมาปั้น เมื่อแห้งจะแข็ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้ โลหะสำริด และทองคำ แบ่งประติมากรรมสมัยสุโขทัย เป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยังแสดงอิทธิพลของศิลปะลพบุรี การสร้างพระพุทธรูปในยุคนี้ มีแบบเฉพาะเป็นของตนเองที่ เรียกกันว่า แบบวัดตะกวน เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ลังกา และสุโขทัย ผสมผสานกัน มีพระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นแบบลังกา พระวรกาย และชายสังฆาฏิสั้นแบบเชียงแสน

ยุคที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างพระพุทธรูป จนก่อรูปพุทธลักษณะอันงดงามของสกุลช่างสุโขทัยเอง ไม่นิยมสลักหิน แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดใดก็ตาม จะปั้นด้วยปูน หรือหล่อด้วยโลหะมีค่าต่าง ๆ รวมทั้งทองคำบริสุทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยยุคนี้ คือ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระเศียรสมส่วนกับพระศอ และพระอังสา หมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระอุระผายสง่า พระอังสาใหญ่ กว้าง พระถันโปน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวจรดมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระกรเรียวดุจงาช้าง นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาททำแบบธรรมชาติ ดุจมีชีวิต ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง ปางที่นิยมคือ ปางมารวิชัย

ยุคที่ 3 มีความประณีต ดูเสมือนมีระเบียบ และกฎเกณฑ์มากขึ้น พระรัศมีเป็นเปลวมีขนาดใหญ่ขึ้น พระพักตร์รูปไข่สั้น พระอุณาโลมเป็นตัวอุหงายระหว่างหัวพระขนง พระวรกายมีความอ่อนไหวน้อยลง พระอาการสงบเสงี่ยมแลดูนิ่งสงบขึ้น พระกรยาว นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 เสมอกัน ฝ่าพระบาทเรียบสั้น พระบาทยาว ตัวอย่างพระพุทธรูปยุคนี้เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระศรีศากยมุนี เป็นต้น[3]

สำหรับการทำเครื่องสังคโลกได้รับการถ่ายทอดวิทยาการมาจากประเทศจีน เป็นเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ประดับตกแต่งศาสนสถาน และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยมากทำเป็นจาน ชาม ไห แจกัน ตุ๊กตา เครื่องตกแต่ง มีเนื้อละเอียด เช่น รูปช้างศึก ตุ๊กตา เจดีย์ ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง สีเขียว สีเขียวไข่กา และสีขาวทึบ

จิตรกรรม[แก้]

จิตรกรรมสมัยสุโขทัยที่วาดขึ้นช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 19 คงไม่หลงเหลืออยู่แล้ว แม้ในช่วงที่วาดหลังจากนั้นก็หลงเหลือเพียงเล็กน้อย มีแบบอย่างประเพณีเช่นเดียวกับจิตรกรรมสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ระบายสีเรียบและตัดเส้นเป็นขอบเขต ถ่ายทอดเรื่องอดีตพระพุทธเจ้า พุทธประวัติและชาดก[4] นอกจากนั้นยังมีภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหินชนวน เช่นที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

อ้างอิง[แก้]

  1. "เจดีย์แบบสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๓๗.
  2. "ผลงานทัศนศิลป์สมัยสุโขทัย".
  3. "ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๔.
  4. เล็กสุขุม, สันติ. ศิลปะสุโขทัย (4 ed.). เมืองโบราณ. ISBN 9786167767963.

เจดีย์ในสมัยสุโขทัยมีกี่แบบอะไรบ้าง

พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม พระเจดีย์แบบนี้มียอดเป็นรูปดอกบัวตูม หรือเรียกกันว่า ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงทนาฬ ... .
เจดีย์ทรงระฆัง หรือดอกบัวคว่ำ ... .
เจดีย์ทรงพระปรางค์ ... .
เจดีย์บุษบก หรือเจดีย์ทรงวิมาน ... .
เจดีย์จอมแห ... .
เจดีย์ทรงปราสาท.

เจดีย์ในข้อใดที่เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย

เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ 1. เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 2. เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา 3. เจดีย์แบบศรีวิชัย

พระเจดีย์สมัยกรุงสุโขทัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดคืออะไร

เจดีย์ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นเจดีย์ในศิลปะสุโขทัยที่ได้รับความ นิยมอย่างสูงเช่นเดียวกับเจดีย์ทรงระฆังโดยชื่อของเจดีย์ได้ถูกตั้งขึ้นตามรูป ทรงส่วนยอดกล่าวคือ “ข้าวบิณฑ์” หมายถึง ข้าวตอกปั้นเป็นรูปทรงคล้าย ดอกบัวตูม (ราชบัณฑิตยสถาน 2554: 192) หรือเรียกว่าเจดีย์แบบดอกบัว ตูม รูปดอกบัวตูมหรือทรงดอกบัวตูม (กรมศิลปากร 2512, ...

เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยตั้งอยู่ที่ใด

เมื่อไปเที่ยว สุโขทัย ก็ต้องห้ามพลาด อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย แหล่งรวม วัดดัง ที่มีความสำคัญต่อเมืองสุโขทัย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ วัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะเจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะแบบสุโขทัยแท้ หาดูได้ยากจากวัดอื่นค่ะ