Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

หากคุณยังไม่รู้จักคุณต้อง-กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล เราขอสรุปให้สั้นๆ ว่าเขาคือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ User Experience คนไทยคนแรกที่ Google แต่งตั้งให้เป็น Google UX Expert ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัท Fourdigit Thailand

คุณต้องจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เอก Industrial Design มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี หลังจากนั้นเริ่มทำงานด้าน Experience Development และเก็บประสบการณ์จากการทำงานที่ต่างๆ และเริ่มเปิดออฟฟิศของตัวเองเมื่อประมาณ ปี 2012 ซึ่ง ณ ตอนนั้นตลาด UX ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในไทย ทำให้หาลูกค้าในไทยยาก คุณต้องจึงร่วมกับคุณแบงค์-อภิรักษ์ ปนาทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน UX อีกคนของเมืองไทย เปิด UX Academy เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ User Experience ให้มากขึ้น 

หลังจากนั้นในปี 2016 คุณต้องได้รับการแต่ตั้งจากกูเกิ้ลให้เป็น Google UX Expert คนแรกของเมืองไทย และเมื่อปีที่ผ่านมาบริษัท Fourdigit บริษัท UX สัญชาติญี่ปุ่น ได้เข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ และรวมบริษัทเข้าด้วยกันเป็น Fourdigit Thailand ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอันดับต้นๆ ของเมืองไทยในเรื่องของ User Experience เราจึงเชิญเขามาสนทนากันสักครั้งว่าสิ่งที่เรียกว่า UX นี้คืออะไรกันแน่ และธุรกิจในทุกวันนี้ต้องการสิ่งนี้มากแค่ไหน

ความแตกต่างของ UX/UI ดีไซน์ กับการรับทำเว็บไซต์ทั่วไป
“จริงๆ ค่อนข้างมีจุดแตกต่างเยอะพอสมควร กระบวนการที่เราเรียกว่า User Experience Design Process ในกระบวนการเหล่านี้ สิ่งที่เราอยากทำคือ ทำอย่างไรให้รู้ว่าผู้ใช้งานรู้สึกอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ หรือบริการของเรา ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการออกแบบ หรือพัฒนาเว็บไซต์ สิ่งเหล่านั้นเป็นปลายน้ำ

กระบวนการของเราคือ ทำอย่างไรให้สิ่งที่เรากำลังจะออกแบบมาถูกทาง ซึ่งจะประกอบไปด้วยการเก็บข้อมูล การทำ Analysis ต่างๆ มากมาย เพื่อที่จะรู้ว่างานที่เราทำออกไปนั้น ตรงกับความต้องการของผู้ใช้จริงๆ เมื่อได้รับข้อมูลเชิงลึกแล้ว นำมาตีความออกมาเป็นดีไซน์ได้ถูกต้องจริงๆ มากกว่าแค่การออกแบบให้สวย ดีไซเนอร์ไม่ใช่อาร์ทิสต์ ดีไซเนอร์คือคนที่แก้ปัญหา คนที่พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด แต่ว่าการที่เขาจะหาทางออกได้ เขาต้องรู้บริบทต่างๆ กระบวนการ User Experience Research เป็นกระบวนการที่ทำให้เขาเข้าใจว่าบริบทเหล่านี้เป็นมาอย่างไร โดยผ่านการวิจัยทั้งทางปริมาณ และคุณภาพ” 

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

การรีเสิร์ชที่เข้มข้น สู่ดีไซน์ที่สมบูรณ์
“ดีไซน์ที่ดี จะต้องมีเหตุผลที่แข็งแรงมารองรับ ไม่งั้นจะไม่มีฐาน ถ้าดีไซน์ที่ดีมีฐานที่แข็งแรงมันก็จะนำไปสู่ Product ที่ดีได้ เพราะถ้าเราพูดถึงเรื่องความสวยงาม มันเป็นนามธรรม ความสวยงามของคุณ ความสวยงามของผมมันอาจจะไม่ใช่ความสวยงามเดียวกัน แต่กระบวนการ User Experience Research ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเรามองที่ User ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่จะมาใช้งาน 

เราจะไปหาข้อมูลว่าคนเหล่านี้เขามีมุมมองเกี่ยวกับความสวยงามอย่างไร คนเหล่านี้มีบริบทในการใช้งานอย่างไร เขามีความชอบอะไร อะไรที่ทำให้เขาพอใจ หรืออะไรที่ทำให้เขาไม่พอใจ เพราะว่าทุกๆ อย่างจะมีกลุ่มผู้ใช้งานที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง บางคนชอบรถแต่งซิ่ง นั่งไม่ต้องสบายขอแค่โฉบเฉี่ยว บางคนชอบรถรุ่นเดียวกันแต่ขับไม่ต้องเร็วก็ได้ ขอนั่งสบาย มีเครื่องเสียงดีๆ ทุกคนมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งหน้าที่ของ UX คือการไปเก็บข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำมาตีความเป็นดีไซน์ที่ถูกจริตกับกลุ่มผู้ใช้งานให้มากที่สุด”

ความเหมือน และความต่างระหว่าง UX/UI
“ปัจจุบัน เนื่องจาก UX (User Experience) ที่ดีก็จะมาจากหลายๆ องค์ประกอบ ซึ่งฟังก์ชันงานจะแตกต่างจากเรื่องของ UI (User Interface) อยู่แล้ว UI คือส่วนที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ หรือปฏิสัมพันธ์กับอะไรก็ตาม ที่เป็นตัวเชื่อมต่อ เช่น หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือโปรแกรม นั่นคือ User Interface ซึ่งถ้าออกแบบได้ดีก็จะนำไปสู่ User Experience ที่ดีได้

ด้านฟังก์ชันงาน UX/UI จึงมีความเกี่ยวข้องกันอยู่ เวลาที่เราจะเริ่มอะไรขึ้นมาจะเริ่มจากคนออกแบบก่อน แต่จริงๆงานของ UX เป็นงานใหญ่ ขอบเขตงานกว้างมาก เป็นไปไม่ได้ที่เราจะโยนงานให้กับดีไซเนอร์คนเดียว เพราะถ้าผมพูดว่า UX คือการที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกดีกับแบรนด์ กับผลิตภัณฑ์ หรือบริการ การที่ทำให้คนรู้สึกดีได้ จะกระทบตั้งแต่ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ลากยาวไปเรื่อยๆ จนถึง Business Direction จนถึงเรื่องของ Marketing คือทุกๆ หน่วยในองค์กรมันนำไปสู่ UX ที่ดีได้ทั้งนั้น 

ดังนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วถ้าเอาเฉพาะฟังก์ชันงานผมจะค่อนข้างที่จะแยกกันชัดเจน UX คือ UX Research เป็นคนที่เก็บข้อมูล ค้นคว้าข้อมูล เป็นทีมวิจัยด้าน UX ส่วนทีมที่ทำ UX Design จะเป็นคนเดียวกับที่ทำ UX Research ก็ได้ หรือจะแยกออกมาก็ได้ ทีมนี้จะนำข้อมูลการรีเสิร์ชทั้งหลายมา Analysis มาตีความแล้วหา Solution ที่เหมาะสม ส่วน UI ผมจะมองเป็นมุมของ Interaction Design ไปเลย เมื่อเราได้ Solution มาแล้ว ทำอย่างไรให้สวยงาม ทำอย่างไรให้ดี และตอบโจทย์การใช้งานให้ได้มากที่สุด เนื้องานเลยจะแยกออกจากกันประมาณนี้”

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

Design Thinking VS. UI
“ต้นแบบของ Design Thinking ก็เริ่มมาคล้ายๆ กันกับ UI รากของมันก็คือ User-Centered Design และคนก็นำมาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น แตกออกมาชัดเจนเป็น Design Thinking Process ซึ่งหน้าที่จริงๆ ของผมก็คือการช่วยลูกค้า Research, Define, Ideate, Prototype, Test จะเห็นได้ว่าทั้งหมดก็คือ Design Thinking ดีๆนี่เอง”

บทบาทของ User Experience Designer ในองค์กร
“ถ้าพูดถึงหน้าที่ของ UX Designer จริงๆ แล้ว สามารถเข้าไปแทรกซึมได้ในทุกจุดขององค์กร เช่น ถ้าเข้าไปแทรกใน Marketing เราสามารถเป็นคนที่สำรวจหาความต้องการของ Target Audience ได้ รู้ว่าจากความต้องการเหล่านี้จะต้องส่ง Marketing Message แบบไหนไปหา สื่อแบบไหนที่จะเลือกใช้ พฤติกรรมที่พวกเขาเป็นอยู่คืออะไร แต่ด้วยความที่ UX จะถูกตีความว่าเป็น Digital Product ซึ่งก่อนที่เราจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง ก็ต้องเริ่มจากการสำรวจก่อน ดูทั้ง Business Requirement และ Technology Feasibility ว่าเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถทำได้ดีหรือยัง และเอาสิ่งเหล่านี้มาหา Solution ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ Solution ที่ใหม่ที่สุด แพงที่สุด แต่เป็น Solution ที่ดีที่สุดจากสิ่งที่เรามี”

วิธีการเก็บข้อมูลเพื่อ Product ที่ดี
“ในกระบวนการของ UX จะมีวิธีการมากมายที่ไม่ใช่แค่การสัมภาษณ์ มีทั้งการที่เราเข้าไปเจาะข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเราจะต้องมาออกแบบว่าเราจะเข้าไปด้วยวิธีการไหน มีทั้งการเจาะตรงๆ เช่นการถาม หรือการเจาะแบบอ้อมๆ เช่นการหลอกให้ทำกิจกรรมหนึ่ง แต่จริงๆแล้วเรากำลังเก็บข้อมูลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเราเข้าไปถามตรงๆ ว่ามีฟีเจอร์นี้เพิ่มขึ้นมาในแอปฯ คุณจะใช้งานไหม ร้อยทั้งร้อยเขาก็ตอบว่าใช้ ซึ่งจริงๆแล้วเขาไม่ใช้หรอก เราจึงต้องมีวิธีการหลบหลีกเพื่อที่จะได้ข้อมูลจริงๆ ออกมาซึ่งก็ต้องผ่านกระบวนการหลายๆ อย่าง”

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

ตัวอย่างงานที่เข้าไปเก็บข้อมูล และสามารถนำมาทำเป็น Product ที่ดี
“ยกตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่ง เราไปทำการวิเคราะห์ และสังเกตพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ซื้อสินค้าในดิวตี้ฟรี และคิดว่าทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้เขาซื้อสินค้ามากขึ้น เราเข้าไปดูว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับโลกออฟไลน์ ถูกเอามาแปลงเป็นออนไลน์ได้อย่างไร เราต้องเข้าไปนั่งดูพฤติกรรมของเขา นักท่องเที่ยวชาวจีนจะมีลักษณะเฉพาะ ถ้ามากับรถบัสคันเดียวกัน กลุ่มเดียวกันเขาจะโชว์ป๋า จะต้องทำให้โลกรู้ว่าฉันซื้อเยอะ ซื้อแพง และการซื้อแพง ซื้อเยอะนำไปสู่การสร้างคอนเนคชั่น ทำให้เกิดการอยากร่วมธุรกิจด้วย ซึ่งนี่คืออินไซต์ของคนกลุ่มนี้ ถ้าเราจะทำแอพพลิเคชั่นสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน นอกเหนือจากสิ่งอำนวยความสะดวกให้เขา ก็จะมีเรื่องของ Top Spender ถ้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ นอกจากแข่งกันในแต่ละคันรถ ก็จะให้แข่งกันระหว่างคันรถด้วย ซึ่งก็สามารถเพิ่มยอดการซื้อขึ้นได้จริงๆ เพราะเราไปศึกษาพฤติกรรม หาว่า Deliver Feature แบบไหนที่เหมาะกับคนกลุ่มนี้”

กลุ่มลูกค้าของ Fourdigit 
“กลุ่มลูกค้าเราค่อนข้างหลากหลาย ในเมืองไทยมีตั้งแต่ Telecommunications, Real Estate, Retail, FMCG และ Banking ทุกคนต้องการที่จะเสิร์ฟสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า น่าจะเคยได้ยินคำว่า Niche = New Mass ปัจจุบันคนต้องการที่จะเจาะพฤติกรรมผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มมากขึ้น การที่เราจะเข้าไปเก็บข้อมูล และนำมาทำเป็นดีไซน์ที่ดีจึงเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว”

การนำเสนอภาพความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน UX
“ในยุคแรกจะเป็นการบอกปากต่อปาก เริ่มจากทำโปรเจ็กต์หนึ่งจากนั้นก็จะมีคนติดต่อมาเรื่อยๆ ต่อมาเป็นยุคที่คนเริ่มสนใจ UX เราจึงเริ่มเปิด UX Academy เริ่มไปงานสัมมนาเพื่อพูดเรื่อง UX Process ว่าทำไมถึงจำเป็น ซึ่งสิ่งที่ทำให้บริษัทเราโตขึ้นก็เป็นเพราะความสม่ำเสมอ และเรายังคงพัฒนาออกไปเรื่อยๆ เมื่อคนเริ่มรู้จักจึงกลายเป็นแบรนด์ของเรา” 

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

กระบวนการทำงานของ User Experience Designer
“เริ่มมาตั้งแต่การเข้าไปทำความเข้าใจกับลูกค้า คือการทำให้ลูกค้าเข้าใจกระบวนการการทำงานของเรา เหมือนการทำเวิร์กช็อปร่วมกัน เซ็ตอัพทุกอย่างเกี่ยวกับ Project Objective, Project Requirements ต่างๆ ร่วมกัน เริ่มออกไปทำการรีเสิร์ช ซึ่งก็จะมี Activities ต่างๆ มากมาย แล้วแต่เวลา และงบประมาณของเราเหมาะกับอะไร ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับว่าลูกค้ารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน เมื่อจบการรีเสิร์ชก็จะเป็นส่วนของการตีความให้เป็น Design หรือเป็น Solution ซึ่งในส่วนนี้จะต้องใช้เวลาในการย่อยข้อมูลสักพัก เมื่อจบจะเข้าสู่พาร์ทที่เป็น User Interface Design และ Development Phase ซึ่งหลังจากนั้นก็จะเป็นในส่วนของการ Maintenance & Optimize ดูว่าเราสามารถทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร Digital Product ถ้าเราหยุดทำมันจะตาย ดังนั้นก็จะมีการปรับ และอัปเดตเรื่อยๆ เพราะผู้ใช้นั้นเปลี่ยนเรื่อยๆ” 

วิธีการทำงานกับลูกค้า 
“ทุกครั้งที่ผมเข้าไปคุยกับลูกค้าผมจะถามเสมอว่า สุดท้ายแล้ว End Solution ที่คุณปักธงว่าจะต้องเป็น แอปพลิเคชั่น จะต้องเป็นเว็บไซต์ จริงๆแล้ว ต้องเป็นแบบนั้นหรือ? เพราะทุกๆ โปรเจ็กต์มีข้อจำกัด ต้องดูว่าสิ่งไหนเหมาะกับเงิน และเวลามากที่สุด ซึ่งเราก็จะพยายามทำให้เล็กแต่ทำให้เร็ว ตรวจสอบความสมเหตุสมผลซ้ำหลายๆรอบ 

เช่น ตั้งสมติฐานขึ้นมาหลายๆ แบบ ลองทดสอบทีละแบบถ้าไม่เวิร์กจะได้เปลี่ยนทันที และเอาสมมติฐานต่อไปขึ้นมาทดสอบจนกว่าจะเจอที่เวิร์ก ซึ่งจะรายงานกับลูกค้าเพราะเรามองลูกค้าเป็นพาร์ทเนอร์ ก่อนที่เราจะลงมือทำอะไรขึ้นมาเราจะคุยกันให้ละเอียด วางเป้าหมายที่ชัดเจน และจัดลำดับความสำคัญก่อน เพื่อที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น”

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

การทำงานร่วมกับเหล่าโปรแกรมเมอร์
“ขึ้นชื่อว่าทำงานเกี่ยวกับ Customer Experience คนที่เราจำเป็นต้องดึงเข้ามามากที่สุดคือ End User ตั้งแต่กระบวนการแรก ตั้งแต่การโน้มน้าวเจ้าของเงิน เจ้าของโครงการให้เข้าใจกระบวนการของเราก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่สุดท้ายทำไปแล้ว User ไม่ใช้งาน 

เราจะดึงเอา User เข้ามาเพื่อสัมภาษณ์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต เสร็จแล้วเราค่อยทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ เพื่อช่วยให้เขาทำงานง่ายขึ้น ซึ่งจริงๆ กลุ่มของ Developer เราก็ดึงเข้ามาตั้งแต่ต้นแล้ว กระบวนการที่จะทำให้เกิด User Experience ที่ดีเราต้องทำงานเป็นทีม และต้องสื่อสารกันเยอะมาก เราคุยกับ Developer เยอะมากว่าถ้า Solution เป็นแบบนี้ทางฝั่งของ Developer ทำได้ไหม? ติดอะไรไหม? อะไรคือข้อจำกัด? อะไรเป็นสิ่งที่ต้องหามาก่อน อะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำขึ้นมาใหม่ หรืออันนี้สามารถทำได้เลย ซึ่งก็ค่อนข้างสนุก และอิรุงตุงนังดี”

หน้าที่ของทีมโปรแกรมเมอร์ในบริษัท 
“งานส่วนใหญ่ของเราจะทำให้กับองค์กรใหญ่ ซึ่งก็จะมีทีมโปรแกรมเมอร์อยู่แล้ว และเราก็จะมีทีมที่ทำในส่วนของ API เพื่อที่จะเข้าไปเชื่อมกับระบบเดิมของลูกค้า รวมถึง User Interface ด้วย เพราะเราก็อยากให้งานดีไซน์เหมือนกับสิ่งที่ดีไซเนอร์ออกแบบให้ได้มากที่สุด และก็จะทำส่วนที่เรียกว่า Front End Development แต่ถ้าเป็นฝั่งของ Back End Development ที่ต้องเข้าไปยุ่งกับ Database ลูกค้าจะไม่ค่อยให้เราเข้าไปเห็นเท่าไร” 

ปัญหาในการทำงานเมื่อเข้าไม่ถึง Database ของลูกค้า
“ถ้าคุยกันก่อนจะไม่มีปัญหาครับ เราจะรู้ว่าข้อจำกัดคืออะไร ลูกค้าจะบอกข้อมูลที่สามารถดึงเข้ามาได้ เราก็จะรู้แล้วว่าเราทำได้เท่านี้ถึงเท่านี้ จากสิ่งที่เรามี แต่ถ้าเราเกิดอยากจะคิด Solution ที่ล้ำมากๆ แต่อีกฝั่งไม่พร้อม การคุยกันก่อนจะป้องกันการเกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น”

ปรัชญาในการทำงาน
“ผมไม่รู้ว่าเรียกว่าปรัชญาหรือเปล่า แต่สิ่งที่ผมปลูกฝังให้ทุกคนในบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Project Manager ไม่ว่าจะเป็น Designer, Reseacher หรือใครก็ตาม คือการเข้าใจกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ เราต้องมีการตั้งสมมติฐาน ต้องวัดผล และนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปทำความเข้าใจกับลูกค้า การออกแบบ หรือ กระบวนการพัฒนาต่างๆ ผมจะพยายามให้ทุกอย่างที่เราทำออกไปมีเหตุผล มีหลักฐานที่อ้างอิงได้เสมอ”

“ถ้าคุณบอกว่าสวย ต้องตอบให้ได้ว่าสวยเพราะอะไร? ถ้าบอกว่าสวยเพราะผมเห็นว่าสวย อันนี้คือหลุดจากความเป็น User-Centered Design แล้ว”

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล
Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

วิธีตามโลกให้ทัน
“เราพยายามที่จะอัพเดทความรู้ของตัวเองทุกวัน เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยนไวมาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับการมีสิ่งใหม่ขึ้นมา ทำให้คนไม่ใช้ของเดิมอีกต่อไป อย่างเช่นยุคของ BlackBerry กับสมาร์ทโฟนที่เป็น iPhone ทำให้ไม่มีใครใช้ BlackBerry อีกเลย และเชื่อว่ามันจะยังคงเปลี่ยนเร็วแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราจำเป็นต้องอัปเดตความรู้ตลอดเวลา เพราะการที่เราจะไปเสนอ Solution ให้กับลูกค้าเราต้องใช้ชีวิตอยู่ในจุดที่เป็น Cutting Edge คือสุดขอบของเทคโนโลยี และความรู้ปัจจุบันให้ได้  ซึ่งคำว่า Cutting Edge ไม่ใช่แค่เฉพาะเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ผมจะต้องอัปเดตความรู้ในด้านอื่นด้วย เช่น เรากำลังก้าวเข้าสู่ Edging Society เรากำลังอยู่ในยุคที่ภูมิศาสตร์ทางการเมืองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราก็ต้องศึกษาเรื่องนี้เพื่อที่เราจะสามารถสร้าง Solution ที่ดีที่สุดได้” 

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

ดีไซน์เทรนด์ และอิทธิพลต่อผู้บริโภค
“ผมมองว่าเทรนด์คือความชอบของคนเฉพาะกลุ่ม ทุกอย่างก็มีเทรนด์ แต่เทรนด์ของกลุ่มนี้ กับอีกกลุ่มอาจจะไม่ใช่เทรนด์เดียวกัน แต่ก่อนหน้านี้ถ้าจะมองว่ามันเป็นเทรนด์ ก็เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นเพราะข้อจำกัดของเทคโนโลยีและอื่นๆ เช่นในยุคที่ iPhone เพิ่งปล่อยออกมาใหม่ๆ แอปพลิเคชั่นจะมีหน้าตาเป็นปุ่มแบบนูนขึ้นมา ทุกอย่างดูคล้ายความเป็นอะนาล็อกที่สุด เพราะยุคนั้นคนค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนถ่ายจากอะนาล็อกสู่ดิจิทัล การออกแบบจึงจำเป็นที่จะต้องเป็นแบบนั้น เมื่อผ่านไปแอปฯ เริ่มใหญ่ขึ้น Processing Power ของ iPhone เริ่มรับไม่ไหว Flat Design จึงถูกสร้างขึ้นมาเพราะกินทรัพยากรเครื่องน้อยกว่า และคนเริ่มเข้าใจว่าไม่จำเป็นที่จะต้องกดแล้วปุ่มบุ๋ม คนเข้าใจโลกของดิจิตัลมากขึ้น Material Design ก็ถูกสร้างขึ้นมาหลังจากนั้นเมื่อ Processing Power ของโทรศัพท์มือถือดีมากขึ้น สามารถใส่ Drop Shadow เข้าไปได้โดยไม่หน่วงเครื่อง สามารถใส่เลเยอร์แล้วไม่ทำให้เครื่องช้าลง สิ่งนี้คือการเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยี และการเรียนรู้ของคนดีขึ้น หลังจากนี้ก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality, Virtual Reality, Mix Reality ซึ่งก็จะมีความสนุกที่ไล่ตามพวกนี้อยู่” 

ทิศทางของ Interface ในไทย
“จริงๆ Interface แบบ Voice ที่ต่างประเทศเกิดแล้ว เพียงแต่ที่ไทยยังไม่มาเพราะคนที่ทำงานเกี่ยวกับตัวตั้งต้น ระบบ Natural Language Processing ยังมีน้อย ทำให้ไม่พอกับความต้องการของตลาดอาจจะยังต้องใช้เวลา สุดท้ายผมมองว่าในอนาคต Service ต่างๆ จะถูกแยกออกไปแบบไม่มีศูนย์กลาง ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องใช้ Server ก็ได้ อาจจะใช้แค่โทรศัพท์มือถือของเราประมวลผลด้วยตัวของมันเอง โดยที่ยืมพลังการประมวลผลจาก Cloud ทุกอย่างจะถูกกระจายออก แต่ Database จะถูกรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง เพราะจะถูกนำไปพัฒนาต่อเป็น AI งานอะไรที่มีระบบและแบบแผนชัดเจนซึ่งใครๆ ก็สามารถทำได้จะถูกแทนที่ด้วย AI ชีวิตคนก็อาจจะง่ายขึ้น โดยที่เราใช้แค่โทรศัพท์มือถือในการเชื่อมต่อกับโลกต่างๆ 

ในด้านของ UI จะไม่อยู่แค่ที่หน้าจออีกต่อไป แต่อาจจะมาในหลายๆ รูปแบบ เช่น ผมเดินเข้าร้านค้า อาจะไม่ต้องมีป้ายขึ้นจอต้อนรับ แต่อาจจะเป็นแค่บลูทูธที่อยู่กับหูของพนักงาน บอกสิ่งที่ผมชอบ และจัดเตรียมไว้ให้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิด UX ที่ดีโดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำให้ดูล้ำ เราสามารถเข้าไปแทรกในบริการเพื่อที่ทำให้เกิด Human Trust เพราะสิ่งนี้จะทำให้คนเกิดความรู้สึกเป็นอภิสิทธิ์ชน แต่ถ้าทุกอย่างดิจิตัลมากไป ก็จะเหมือน Self-Service ซึ่งถ้าเรารีเสิร์ชมาดีเราจะสามารถมอบสิ่งที่ถูกให้เขาได้ 

องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อสายอาชีพ User Experience 
“ถ้าคนที่ทำในส่วนของ UX ก็ค่อนข้างเป็นสาขาที่ใกล้เคียง เช่น Industrial Design, Product Design, Media, Design Psychology แต่ในส่วนของ Interaction Design ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าจบในฝั่งของ Designer ในส่วนของ Developer ก็จะต้องจบการเขียนโปรแกรม”

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

กระบวนการ User Experience เหมาะกับใคร
“ทุกๆ วิชาชีพจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง User อยู่แล้ว ต่อให้คุณขายหมูปิ้ง คุณก็ต้องรู้ว่าคนที่จะมาซื้อหมูปิ้งคุณเขาชอบหมูติดมัน หรือเนื้อล้วน ขนาดควรจะเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรก็ตามจำเป็นจะต้องมีศาสตร์นี้อยู่เสมอ เพียงแต่ว่างบประมาณในการทำ Research ก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจ ถ้าธุรกิจใหญ่กระทบคนเยอะ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องลงทุนงบให้เยอะขึ้น หรือถ้าเป็นบริษัทที่เพิ่งสร้างก็ควรใช้งบน้อย แต่เพิ่มความถี่ วางแผนให้ดี และหาตัวแปรที่เหมาะสม เพราะกระบวนการนี้สามารถปรับให้เข้ากับทุกบริบทได้อยู่แล้ว”

หลักเกณฑ์เชิงสถิติที่ใช้ในการทำแบบทดสอบ
“ทุกๆ การทดสอบเราต้องกำหนดว่าเราอยากจะได้ผลเป็นค่าของอะไร ดังนั้นเรื่องของสถิติ เรื่องของการเก็บข้อมูลเพื่อมาประมวลผลจำเป็นที่จะต้องมี ต่อให้เป็นการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ เราก็ต้องจับรูปแบบที่เหมาะ จำนวนขนาดของกลุ่มตัวอย่างควรจะเท่าไร ทุกอย่างจำเป็นที่จะต้องถูกทำให้กลายเป็นตัวเลขให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งกระบวนการนี้ก็จำเป็นที่จะต้องใช้คนที่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องของสถิติเข้ามาทำ”

การทำงานร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น
“โชคดีมากที่กระบวนการทำงานใกล้เคียงกันอยู่แล้ว ทำให้ปรับแค่นิดเดียว เพราะเดิมทางบริษัทญี่ปุ่นก็ทำเกี่ยวกับเรื่องของ Human-Centered Design อยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีการสอนอะไรกันมากมาย”

สัดส่วนการรับงานในไทย และต่างประเทศ
“ณ ปัจจุบัน เมืองไทยประมาณ 70% แต่เราก็จะเริ่มลดอัตราส่วนลง และจะเริ่มไปรับงานจากภูมิภาคใกล้เคียงก่อน เช่น สิงคโปร เพื่อให้ความเสี่ยงของธุรกิจกระจายไปหลายๆ ที่ครับ”

Ux คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร

อนาคตของ Fourdigit Thailand 
“ในตอนนี้ผมต้องการโฟกัสที่การเติบโต เราต้องการที่จะมีทีมงานที่ใหญ่ขึ้น และมากขึ้นเพื่อที่จะรับงานที่เยอะขึ้น เพราะว่าธุรกิจนี้เป็นสิ่งที่ต้องการมากขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นเป้าหมายของผมภายใน 1-3 ปี คือการสร้างทีมที่แข็งแรงในเมืองไทย และหลังจากนั้นก็จะเริ่มสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรากำลังจะตั้งบริษัทลูกที่เวียดนาม และที่มาเลเซียภายในปีนี้”

เครดิตภาพ: Fourdigit Thailand, อวิกา บัววัฒนา

UX คืออะไร และ ยกตัวอย่าง

UX ย่อมาจาก User Experience หรือก็คือ "ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน" มนุษย์ทุกคนต่างมีความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มเว็บไซต์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น โกรธ, สนุกสนาน, มีความสุข, เครียด, พึงพอใจ ฯลฯ ความรู้สึกเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานบางอย่างเสมอ

UX/UI มีความสำคัญอย่างไร

UX และ UI เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำการตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถติดต่อประสานงานระหว่างผู้ออกแบบหรือดีไซเนอร์ได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าออกแบบ UX มาก่อน จะเป็นการกำหนดกรอบว่า UI ที่อยากได้จะมีหน้าตาออกมาแบบไหน ทำให้ทุกฝ่ายทำงานง่ายขึ้นนั่นเอง

UX ย่อมาจากอะไร

User Experience Design (UX) คืออะไร User eXperience หรือที่เรียกว่า UX คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ต่อการใช้งานของผู้ใช้งาน (Usability) และการเข้าถึง (Accessibility) โดยทั่วไปมักจะโยงในความหมายของการใช้งานของระบบงาน ที่มองถึงประสบการณ์การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งาน (User) ต่อการใช้งานระบบงาน

UX Research คืออะไร

UX Researcher คือ นักวิจัยทางด้าน UX มีหน้าที่หลักเพื่อการศึกษาเป้าหมายของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ ทำการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลสำหรับนำไปใช้งานสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์