ข้อใดคือการนำเอาเทคโนโลยี ar มาใช้ในการท่องเที่ยว

หลายคนอาจจะพอสังเกตเห็นแล้วบ้างว่าในปัจจุบัน Augmented Reality (AR) นั้นได้ถูกพัฒนาจนสามารถสร้างประโยชน์ให้เราในหลากหลายด้าน และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าสนใจของยุค ซึ่งในวันนี้เราจะมาลองดูกันว่า เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกหยิบไปใช้ในด้านไหนแล้วบ้าง

1.การศึกษา

AR นั้นถูกหยิบไปใช้เพื่อการศึกษาอยู่บ่อยครั้ง เพราะภาพ 3 มิติจะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่กำลังศึกษาสามารถเข้าใจถึงเนื้อหาบางอย่างมากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาเรื่องอวัยวะภายในร่างกาย เป็นต้น และถ้าเป็นการศึกษาสำหรับเด็ก ภาพ 3 มิติจะยังช่วยให้นักเรียนตัวน้อย ๆ เหล่านั้นหันมาสนใจเนื้อหาของเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ได้อีกด้วย

2.สื่อบันเทิง

AR ถูกนำไปใช้ร่วมกับสื่อบันเทิงมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่เทคโนโลยีดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีพอจะเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ ส่วนในปัจจุบัน AR ด้านนี้จะเข้าถึงได้ง่ายมาก จากการมีแอพเกมหรือแอพสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ AR ออกมามากมาย เช่น Pokémon go, Minecraft Earth หรือถ้าใครเป็นคนที่ชอบเล่น Instagram, Snapchat อยู่แล้วก็คงจะเคยได้ลองเล่นเจ้า Face Filter กันมาบ้าง…ซึ่งสิ่งนี้เองก็มี AR เป็นส่วนร่วมเช่นเดียวกัน

3.โฆษณา

มีการนำ AR ไปใช้ร่วมกับสื่อโฆษณาเพื่อช่วยในการโปรโมทรูปลักษณ์ของสินค้า และเพื่อเป็นการสร้างสื่อที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ ซึ่งทั้งสองข้อนี้จะมีผลทำให้สื่อโฆษณาตัวนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในบางรายก็นำ AR มาประยุกต์เพื่อเข้าไปช่วยในการตัดสินใจของเหล่าผู้บริโภค เช่น AR ที่เราสามารถทดลองวางเฟอนิเจอร์ไว้ภายในบ้านได้ เป็นต้น แม้ว่าจะไม่แพร่หลายนัก แต่ก็มีบริษัทในไทยเริ่มนำมาใช้แล้วเหมือนกัน

4.การท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งก็ได้นำ AR เข้าไปช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องของข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ เช่น สถานที่สำคัญของพื้นที่นั้น ร้านค้า ที่พัก และอื่น ๆ หรือบางแห่งก็นำ AR ไปใช้โปรโมทจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวของตนนั้นเป็นที่สนใจแก่เหล่านักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

การท่องเที่ยวของไทยเองก็ได้นำ AR ไปใช้เหมือนกัน เช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า (SIPA) ก็ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น AR ตัวหนึ่งขึ้นมาเพื่อช่วยในการนำเสนอข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวอย่างแอปพลิเคชั่น SEE THRU THAILAND  

5.การนำทาง

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน กับการหยิบ AR มาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการนำทาง โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การนำทางสำหรับเส้นทางที่อยู่ภายในอาคารเป็นหลัก เพราะเส้นทางลักษณะดังกล่าวการนำทางในรูปแบบ 2 มิติจะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้มากนัก

แม้ว่า Augmented Reality ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าไปมีประโยชน์กับในเรื่องของสื่อเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอน สื่อเพื่อความบันเทิง หรือสื่อการโฆษณาก็ตาม แต่ว่าเทคโนโลยีนี้ก็เพิ่งจะใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นเวลาไม่นานนัก จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต อาจจะมีการนำ AR ไปใช้ประโยชน์กับในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การทำอาหาร, การฝึกซ้อม เป็นต้น

การสร้าง “ประสบการณ์ลูกค้า” ที่น่าจดจำ เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะในช่วงวิถีปกติใหม่ (New Normal) และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Digital Disruption)

การสนับสนุนให้นำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาปรับใช้ในองค์กรจะช่วยผลักดันความพร้อมในการแข่งขันทางธุรกิจ และดึงดูดความสนใจ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคไปได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ข้อใดคือการนำเอาเทคโนโลยี ar มาใช้ในการท่องเที่ยว

เทรนด์ของ AR ที่จะไม่ใช่เพียงแค่เทคโนโลยีเสริม

Augmented Reality (AR) คือ เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่างความเป็นจริงและโลกเสมือนเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งความจริงมีใช้มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่รับความนิยมมากนัก แต่หลังโควิด-19 แนวโน้มที่ธุรกิจจะใช้ AR คงมากขึ้นตามพฤติกรรมผู้บริโภคยุค New Normal ที่ภาคธุรกิจไว้ใช้สื่อสารทางไกลทุกรูปแบบเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค และยังตอบโจทย์เรื่องลดการสัมผัสกันระหว่างกันได้ด้วย นอกจากนั้นยังเป็นเหมือนการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างข้อมูลดิจิทัลและข้อมูลในโลกความจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างเสริมกันให้ข้อมูลเกิดเป็นภาพเดียวและชัดเจนมากขึ้น

ที่ผ่านมา AR ถูกใช้ในธุรกิจที่สร้างความบันเทิงเป็นหลักผ่านภาพ 3 มิติ จากนี้จะเริ่มเห็นนำ AR ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจที่หลากหลายขึ้นเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจ สร้างประสบการณ์ใหม่ และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้บริโภคโดยเฉพาะบนโลกโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Instagram TikTok และ Snapchat ด้วยการทำวิดีโอใส่เอฟเฟกต์และฟิลเตอร์ หรือธุรกิจเสื้อผ้าที่ใช้เป็นโมเดล 3 มิติให้ผู้บริโภคเสมือนได้ลองสวมใส่ หรือช่วยผลิตสื่อการสอนให้เข้าใจง่ายขึ้น

ข้อใดคือการนำเอาเทคโนโลยี ar มาใช้ในการท่องเที่ยว

ช่วยทำการตลาดและเพิ่มยอดขายด้วยประสบการณ์เสมือนจริง สถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ย่อมกระทบการขายสินค้าเพราะไม่สามารถทดลองหรือเปรียบเทียบสินค้าของจริงได้ แต่ AR สามารถช่วยทำการตลาดเพื่อส่งเสริมยอดขายด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า เช่น แว่นตาแบรนด์ Ray-Ban นำ AR และ Face detection พร้อมพัฒนาระบบ Customer insight นำส่วนประกอบโครงหน้ามาประมวลผลเพื่อแนะนำแว่นตาที่เหมาะกับใบหน้าแต่ละคน หรือ IKEA ให้ลูกค้าเลือกสินค้าตกแต่งบ้านและทดลองวางผ่านแอปพลิเคชันที่แสดงผลเป็นโมเดล 3 มิติ เพื่อให้ได้บรรยากาศเสมือนตกแต่งจริง ซึ่งในอนาคตอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งหน้าร้านอีกต่อไป เมื่อสามารถยกโชว์รูมการแสดงสินค้าขึ้นมาอยู่บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยไร้ข้อจำกัดทางด้านเวลา พร้อมทั้งลดต้นทุนในการจัดการสถานที่ลงได้

พัฒนาความสามารถในการดำเนินงานให้ละเอียดและแม่นยำ AR เข้ามาตอบโจทย์ที่ต้องการให้เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดและแม่นยำภายใต้การทำงานที่ซับซ้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างองค์กร อย่างการปฏิบัติงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการนำแสดงผลอวัยวะภายในผู้ป่วยเป็นภาพ 3 มิติแบบ Real-time ที่ช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติการทำงานของอวัยวะภายในทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ หรือเช่นเดียวกันกับภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้แก้ไขปัญหาในสายการผลิตให้เกิดความรวดเร็ว และลดต้นทุนทางด้านเวลาในการแก้ไขจุดบกพร่อง เมื่อสามารถเข้าใจข้อผิดพลาดและเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน นอกจากนี้เทคโนโลยี AR ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรภายในผ่านการอบรมถึงขึ้นตอนกระบวนการทำงานที่ง่ายและประหยัดเวลา

ข้อใดคือการนำเอาเทคโนโลยี ar มาใช้ในการท่องเที่ยว

หนุนการท่องเที่ยวแนวใหม่ และเสริมข้อมูลสถานที่สำคัญแน่นขึ้น ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักช่วงโควิด-19 แต่ AR จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสบการณ์วิถีการท่องเที่ยวแนวใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ด้วยการจำลองเป็นมัคคุเทศก์เสมือน พร้อมทั้งแสดงแบบจำลองภาพเสมือนจริง เสมือนว่าผู้เข้าชมได้อยู่ใกล้ชิดกับโบราณวัตถุและสถานที่นั้น ๆ ได้จริง และเพิ่มความสามารถให้น่าประทับมากขึ้นด้วยการพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีใกล้เคียงอย่าง Virtual Reality (VR) ที่สร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และ Mixed Reality (MR) ด้วยการเชื่อมต่อโลกดิจิทัลและความเป็นจริงให้สามารถตอบสนองถึงกันได้ และขยายประสบการณ์ผู้ใช้งานให้ได้เหมือนเข้าไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้นได้จริง ถึงแม้ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวจากในบ้านหรือสถานที่ใดก็ตาม ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อ (Seamless Integration) อย่าง Microsoft HoloLens หรือ Google Glass เป็นต้น

ข้อใดคือการนำเอาเทคโนโลยี ar มาใช้ในการท่องเที่ยว

ความสำคัญของเทคโนโลยี AR นั้นไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มยอดขาย หรืออำนวยความสะดวกในกระบวนการทำงานให้ง่ายและว่องไวขึ้น แต่คือการสร้างประสบการณ์ลูกค้าในรูปแบบใหม่ที่ประทับใจ ไร้รอยต่อ และรวดเร็ว ที่สามารถนำไปสู่การตอบสนองต่อวิถีปกติใหม่และความภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty) พร้อมทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีในอนาคต ยิ่งองค์กรปรับตัวได้เร็วเท่าใด โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาการใช้งานของ AR ให้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันคนได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กรประสบความสำเร็จได้ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับผู้บริโภค รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ