หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา คืออะไร

หลักการศึกษาของพระพุทธศาสนา

28 มี.ค.

Show

พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น

พุทธ ศาสนาอุบัติขึ้นท่ามกลางคำสอนของพราหมณ์ที่สอนเพื่อบรรลุโมกษะ ด้วยการบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยการบูชายัญด้วยวิธีอันชุ่มโชคเลือดและการทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ ในชมพูทวีปเมื่อประมาณ 2500 กว่าปีผ่านมาแล้ว ในฐานะอเทวนิยมได้แสดงคำสอนแตกต่างออกไป โดยชี้ให้เห็นปัญหาว่ามนุษย์กำลังมีปัญหาชีวิตคือความทุกข์ จะแก้ปัญหาความทุกข์ของชีวิตนั้นได้อย่างไร ซึ่งคำตอบทั้งปวงสรุปลงในอริยสัจ 4

พระ พุทธศาสนาอุบัติขึ้นท่ามกลางนานาลัทธิศาสนา ซึ่งกำลังแข่งขันและขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในการแสวงหาจุดหมายสูงสุดของชีวิต เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ได้พบความไม่เป็นแก่นสารของโลก และชีวิตจึงเสด็จออกผนวชแสวงหาโมกธรรม ใช้เวลาทดลองพิสูจน์ตามลทธิต่าง ๆ อยู่นานถึง 6 ปี แต่ในทีสุดก็ทรงเห็นว่ามิใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงละเว้นทางเหล่านั้นเสียกลับมาใช้การค้นคว้า ในทางของท่านเอง และในที่สุดก็ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ณ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนทุทธศก 45 ปี

วิธีดำเนินการค้นหาสัจธรรมของพระองค์ ทรงแสดงการหลีกเลี่ยงจากส่วนสุดโต่งจากวิธีการทั้งหลาย คำสอนของศาสนาพุทธประกอบไปด้วยหลัก 2 ประการคือ ธรรม และวินัย รวมกันเข้าเป็นระบอบแห่งความประพฤติอันประเสริฐที่เรียกว่า พรหมจรรย์ พระธรรมคำสอนของพระองค์มีวิมุติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาเป็นแก่นเรียกว่า วิมุตติสารธรรม ซึ่งแสดงหลักปฏิบัติตามลำดับคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่าไตรสิกขา

ศูนย์กลางคำสอนของพุทธศาสนาคือ อริยสัจ 4

อริยสัจคืออะไร อริยสัจคือหัวใจของศาสนาพุทธ หมายถึงธรรมที่เป็นความจริงอย่างประเสริฐมีอยู่ 4 ประการคือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ หลักธรรมคำสอนทั้งหมดที่เรียกว่าธรรมวินัยมีจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ สรุปรวมลงในอริยสัจ 4 ในฐานเป็นศูนย์กลางคำสอนทั้งหมด การปฏิบัติที่ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์พุทธรรมทุกลำดับ ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อการบรรลุอริยสัจ 4 องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยเหตุนี้อริยสัจ 4 จึงเป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนาและมีความสำคัญที่ สุด                                                                                                                                                                                                          

อริยะสัจ 4 คือความรู้หรือหนทางนำไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ความรู้ในอริยสัจสอนว่า ทุกข์คืออะไร สมุทัย หมายถึงเหตุทำให้เกิดทุกข์ เกิดขึ้นได้อย่างไร จะดับทุกข์ (นิโรธ) ได้อย่างไร นิโรธจะทำให้แจ้งได้อย่างไร ทางแห่งการดับทุกข์ (มรรค) นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งอาจอธิบายได้ดังนี้

            1. ทุกขสัจ คือธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ปรากฏในกายและจิตใจของทุกคนที่เรียกว่า ทุกข์กาย หรือทุกข์ใจ เกิดจากความไม่สงบกาย ไม่สงบใจ ทั้งที่เป็นของจริงอย่างหนึ่งที่ทุกคนต้องมีต้องเป็น แต่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของทุกคน พระพุทธองค์ทรงให้คำจำกัดความของทุกข์ไว้ว่า โอ้ภิกษุทั้งหลายนี้คือทุกขอริยสัจ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ทุกข์จึงมีความหมายถึงอุปาทานขันธ์ 5 ด้วยอุปาทานหรือความยึดถือว่าเป็นของตัวเองจึงตรัสว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ หรือความอยากติดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นคืออุปทานในสิ่งนั้น 

1 – รูป ได้แก่วัตถุ ซึ่งเกิดจากการรวมตัว และสลายตัวของธาตุพื้นฐาน 4 อย่าง ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุแต่ละอย่างไม่คงทนอยู่ได้มีการเปลี่ยนและเสื่อมสลาย เช่น ธาตุดินอันได้แก่สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะแข็ง เสื่อมสลายไปได้ ฉะนั้น ร่างกายไม่มีตัวตนที่คงอยู่ตลอดไป

2 – เวทนา เป็นความรู้สึกทางใจ ทั้งในแง่สุขทุกข์ หรือรู้สึกเฉย ๆ โดเกิดจากผัสสะทั้ง 5 และทางใจ

3 – สัญญา คือความจำ เช่น ตาเห็นรูป จิตรับรู้และเกิดสัญญา คือจำรูปนั้นได้จึงเป็การกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่าง ๆ อันเป็นเหตุจำลองนั้น ๆ ได้

4 – สังขาร หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่ง องค์ประกอบต่าง ๆ ของจิตที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ กล่าวโดยสรุปเจตสิกธรรมทั้งฝ่ายดี (กุศล) ฝ่ายไม่ดี (อกุศล) และที่เป็นกลาง ๆ เช่น โลภะ โทสะ โมหะ ศรัทธา วิริยะ อุเบกขา เป็นต้นจัดเป็นสังขาร

5 – วิญญาณ เป็นปรากฏการณ์ทางจิตที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งเมื่อมีปัจจัย และเงื่อนไขพร้อม และดับลงเมื่อปัจจัยและเงื่อนไขไม่พร้อม เช่นว่าการรับรู้ทางตาที่เรียกว่าจักษุวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อตากับรูปอยู่ในระยะที่มองเห็นได้ เมื่อขาดปัจจัยและเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งไปจักขุวิญญาณก็ดับลง ซึ่งการรับรู้ทางโสต หรือทางจมูก หรือฆาน วิญญาณ หรือทางลิ้น หรือชิวหาวิญญาณ การรับรู้ทางกาย ทางใจหรือมโณวิญญาณก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน วิญญาณไม่ใช่ตัวตนที่อยู่ในร่างกายเพื่อรับรูสึกต่าง ๆ แต่เป็นศักยภาพของมนุษย์ที่พร้อมจะเกิดขึ้น เมื่อมีเงือนไขครบถ้วนขันธ์ 5 จึงแสดงให้เห็นว่ามนุษย์แต่ละคนเมื่อแยกออกแล้วก็จะพบส่วนประกอบ 5 ส่วนเท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ หลักขันธ์ 5 นี้แสดงถึงความเป็นอนัตตาคือ ชีวิต เป็นการประชุมข้าวของ ส่วนประกอบต่างๆ การรวมของส่วนประกอบก็ไม่ใช่ตัวตน ส่วนประกอบแต่ละอย่างก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบก็ไม่มี เมื่อยึดติดในขันธ์ 5 จึงตกอยู่ในสามัญลักษณะ หรือไตรลักษณ์คือ อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้)  ทุกขัง อนัตตาพระพุทธองค์ยังจำแนกทุกออกเป็น ทุกข์ 3 ประเภท 10 ประเภท และทุกข์ 12 ประเภท

ทุกข์ 3 ประเภทคือ

1. สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำสังขารคือ ชาติ ชรา มรณะ

2. ทุกข์จร คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส

3. นิพัทธ์ทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ เช่น หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ หรือปวดปัสสาวะเป็นต้น

ทุกข์ 12 ประเภทได้แก่

1. ชาติทุกข์ สัตว์ที่เกิดมาทุกข์

2. ชราทุกข์ อินทรีย์ที่คร่ำคร่านี้เป็นทุกข์

3. พยาธิทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์

4. มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์

5. โสกทุกข์ ความพลุ่งพล่านภายในใจเป็นทุกข์

6. ปริเวททุกข์ ความร่ำไห้คร่ำครวญเป็นทุกข์

7.ทุกขทุกข์ ร่างกายนี้เป็นทุกข์                                                                          

      8. โทมนัสทุกข์ ความทุกข์ใจเป็นทุกข์

9. อุปายาสทุกข์ ความสะอึกสะอื้นอาลัยเป็นทุกข์

10. อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ความตรอมใจเป็นทุกข์

11. ปิเยหิ วิปปโยคทุกข์ ความละห้อยหาสิ่งที่จากไปเป็นทุกข์

12. ยัมปิจฉัง น ลภติ ทุกข์ ความวุ่นวายที่ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาเป็นทุกข์

บรรดาทุกทั้งมวลเหล่านี้ตกอยู่ในความคิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเห็นได้ง่าย และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของทุกคน

2. สมุทัยสัจ เหตุของทุกข์อันเป็นที่ตั้งของอริยสัจธรรมได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก กล่าวคือความอยากทำเรียกว่า ตัณหา การกระทำเรียกว่า กรรม และผลของการกระทำ เรียกว่า วิบาก ในสามประเภทนี้ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดการกระทำ การกระทำเป็นเหตุให้เกิดผลของการะกระทำ และผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดความอยากทำต่อ ๆ ไป ก็เกิดผลขึ้นมาทำนองนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นวงกลมที่วนเวียนอยู่ตลอดไป สึงเรียกว่า สังสารวัฏ ตัณหา ซึ่งเป็นสาเหตุของทุกข์ ได้แก่ความอยากต่าง ๆ มี 3 ประการ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

กามตัณหา คือความใคร่หรืออยากในกามารมณ์ทั้ง 6 ได้แก่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ เช่น อยากเห็นรูปสวย ๆ อยากรับประทานอาหารที่อร่อย อยากฟังเพลงไพเราะ อยากสัมผัสสิ่งนิ่มนวล เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งยั่วกิเลสให้เกิดขึ้นในจิตใจจึงเรียกกามตัณหา ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ วัตถุกาม และกิเลสกาม

3. นิโรจสัจ คือความดับสนิทแห่งทุกข์ทางใจคือ เหตุแห่งทุกข์ที่เกิดจากกิเลสาสวะดับไปโดยปัญญาญาณไม่มีเหลือ เป็นผลสืบเนื่องมาจาก มรรคสัจ คือศีลสมาธิ ปัญญาเป็นผู้ทำหน้าที่แก้กิเลส ตัณหา คือสมุทัยนั้นเอง

อริยสัจ 4 เป็นธรรมที่เกี่ยวโยงกัน เช่น เมื่อปฏิบัติอริยสัจข้อใดข้อหนึ่งย่อมจะมีผลถึงอริยสัจข้ออื่น ๆ โดยตลอด ผู้ปฏิบัติทางสมุทัยจำเป็นต้องทำความรู้ในเรื่องทุกข์ไปจนพบสมุทัยเมื่อมี ปัญญาตัดทอนสมุทัยนิโรธก็ปรากฏ ขึ้น                                                                       

ตัณหา จะสิ้นได้ ณ ที่ใด จะดับได้ ณ ที่ใด ที่ใดในโลกมีสิ่งน่าเพลิดเพลินยินดีที่นั้นตัณหาย่อมสิ้นได้ ดับได้ ดังนั้น ในปัจจุบันหรืออนาคต ถ้าภิกษุรูปใดพิจารณาสิ่งน่าเพลิดเพลินยินดีในโลกว่าเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ และอนัตตา ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้เป็นโรคร้าย และสิ่งชวนสลดสังเวช ถือว่าภิกษุรูปนั้นได้ชื่อว่าพิชิตตัณหาได้

4. มรรคสัจ คือแนวทางในการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือการบรรลุความหลุดพ้น จากอริยสัจข้อ 1 ซึ่งบอกถึงลักษณะของชีวิตว่าเป็นทุกข์ อริยสัจ 2 กล่าวถึงว่าอะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์ อริยสัจข้อ 3 เป็นเป้าหมายการดับแห่งทุกข์คือ การดับตัณหาให้สิ้น อริยสัจข้อ 4 ได้เน้น

ถึง ข้อปฏิบัติที่จะให้บุคคลหลุดพ้นจากความทุกข์โดยหลีกเลี่ยงจากส่วนสุดทั้งสอง เป็นทางแห่งการบรรลุพรหมจรรย์อันประเสริฐ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา อริยมรรคมีองค์ 8 ประการ กล่าวคือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ หน้าที่ต่ออริยมรรคนี้ก็คือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันทั้ง 8 ประการ เรียกว่า มรรคสามัคคี ไปในแนวทางเดียวกัน เหมือนกับเกลียวเชือก 8 เกลียวที่รวมตัวเป็นเชือกเส้นเดียวกันจึงเข้าถึงการดับทุกข์ได้ด้วยเหตุนี้ อริยสัจ 4 จึงถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่ครอบคลุมหลักธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ และยังมีคุณค่าต่อปัญญาอีกหลายประการ อาทิเช่น

– เป็นวิธีแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล

– เป็นการแก้ปัญหา และจัดการกับชีวิตของตนด้วยปัญญาของมนุษย์เอง โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์

– เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่ามนุษย์จะเตลิดออกไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ห่างไกลตัว กว้างขวางมากมายเพียงใดก็ตาม ตัวเขาต้องมีชีวิตของตนเองที่มีคุณค่าและสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกเหล่านั้น อย่างมีผลดี

 เป็น ความจริงกลาง ๆ ที่ติดเนื่องอยู่กับชีวิต หรือเป็นเรื่องชีวิตเองแท้ ๆ ไม่ว่าศิลปวิทยาการหรือกิจการนั้น จะเจริญหรือเสื่อมลงสูญสลายไปหรือเกิดมีใหม่มาแทนอย่างไรก็ตาม หลักความจริงนี้ก็จะคงยืนยงใหม่ และใช้เป็นประโยชน์ได้ตลอดไป

หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา คืออะไร

  • หลักศีลธรรม-จริยธรรม

อริยมรรคสุดท้ายอันได้แก่มรรคมีองค์ 8 ประการนั้น เป็นประมวลหลักจริยธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนภาคปฏิบัติโดยตรง เพื่อช่วยให้การดำเนินไปสู่ความจริงสูงสุดเป็นไปได้ เพราะพุทธธรรมมีความหมายกับชีวิตภาคปฏิบัติเป็นสำคัญ และเป็นกระบวนการแก้ปัญหาชีวิตภาคปฏิบัติอย่างสัมพันธ์กับผล ซึ่งเรียกว่าปฏิเวธกระบวนการดับทุกข์ตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเรียกอีกอย่างคือ การดำเนินชีวิตไปตามระบบพรหมจรรย์ เพราะผู้ดำเนินไปตามระบบนี้ ย่อมบรรลุความสิ้นกรรมคือ การไม่ปฏิบัติผิดทาง ซึ่งเรียกว่าสุดโต่งทั้ง 2 สาย และการดับสังสารวัฏเสียได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ประการนี้ คือพรหมจรรย์ ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคนี้ เรียกว่าพรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ เรียกว่าความจบสิ้นพรหมจรรย์ ดังนั้น คำว่าพรหมจรรย์จึงหมายถึงตัวพระพุทธศาสนาในภาคปฏิบัติที่เดียว พระพุทธองค์แสดงความหมายแห่งมัชฌิมาปฏิปทาและจุดหมายแห่งข้อปฏิบัติไว้อย่าง สมบูรณ์ในฐานะเป็นทางสายกลาง ซึ่งหมายถึงการไม่เข้าไปข้องแวะที่สุด 2 อย่างคือ การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข และการมัวสร้างความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

  • จริยธรรมในพุทธศาสนาสามารถจำแนกได้ 3 ระดับคือ

ระดับมูลฐาน คือศีลห้าได้แก่

–  ละเว้นการฆ่าสัตว์

– ละเว้นการลักทรัพย์ของผู้อื่น

– ละเว้นการประพฤติทางกาม

– ละเว้นการพูดปด

– ละเว้นการดื่มสุราเมรัยและสิ่งเสพติดให้โทษ                                                                         

2. ระดับกลาง คือกุศลกรรมบถ 10 คือ

เป็นไปทางกายสุจริต 3 ประการคือ

– งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

–  งดเว้นจากการลักทรัพย์

– งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

   เป็นไปทางวจีสุจริต 4 คือ

– งดเว้นจากการพูดเท็จ

– งดเว้นจากการพูดส่อเสียด

– งดเว้นจากการพูดคำหยาบ

– งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

เป็นไปในทางมโนสุจริต 3 คือ

– ไม่คิดเอาเปรียบเพ่งเล็งอยากได้ของเขามาเป็นของตัว

– ไม่คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น

– มีความเห็นถูกต้องตามสภาวะความเป็นจริง

ซึ่งรวมเป็นสุจริตกรรม 10 ประการ

3. ระดับสูง คือ มรรค 8 คือ

– สัมมาทิฐิ                   ความเห็นชอบ

– สัมมาสังกัปปะ            ดำริชอบ

– สัมมาวาจา                เจรจาชอบ                                                                           

– สัมมากัมมันตะ           การงานชอบ

– สัมมาอาชีวะ              เลี้ยงชีพชอบ

– สัมมาวายามะ             พยายามชอบ

– สัมมาสติ                   ระลึกชอบ

– สัมมาสมาธิ               ตั้งใจชอบ

ย่อลงเป็น 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าไตรสิกขา

ดังนั้นจริยธรรมในพระพุทธศาสนาจึงสรุปลงในการปฏิบัติเพื่อเป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมนุษย์ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องมือนำทางในทุกระดับ

หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนา คืออะไร

หลักการศึกษาในพระพุทธศาสนาเรียกว่าอะไรมีหลักการอะไรบ้าง

การศึกษาในพุทธศาสนา เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย (1) ศีลสิกขา คือข้อปฏิบัติส าหรับใช้ อบรมทางด้านความประพฤติ(2) จิตตสิกขา คือข้อปฏิบัติสาหรับอบรมจิตให้เกิดสมาธิและ (3) ปัญญาสิกขา คือ ข้อปฏิบัติส าหรับอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ก่อให้เกิดความ เป็นอยู่ที่ดี และเป็นพื้นฐานส า ...

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษาหมายถึงสิ่งใด

พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาที่เน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา เพื่อการพัฒนาตนได้ถูกต้อง พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก สาระการเรียนรู้

ความรู้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นการศึกษาแบบใดในทางพระพุทธศาสนา

ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง) โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด) โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)

การศึกษาหลักธรรมมีจุดมุ่งหมายอะไร

พระราชวรมุนี* (* ปัจจุบัน พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) )ได้กล่าวว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด และ มีความเป็นใหญ่ในตัว สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด