เหาฉลามกับปลาฉลามกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันแบบใดและมีลักษณะแบบใด

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน

ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นกลุ่ม เป็นฝูง มีความสัมพันธ์ ทั้งในด้านบวกและลบ ผลดีก็คือ การอยู่ร่วมกันเป็นฝูง จะทำให้มีการปกป้องอันตรายให้กัน มีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ เป็นผู้นำ ฝูง เช่น การรวมฝูงของช้าง ลิง ผึ้ง ต่อ แตน และนก ขณะเดียวกันก็มีผลในทางลบ เพราะ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและดำรงชีวิตแบบเดียว กันนั้น ก่อให้เกิดการแก่งแย่งแข่งขัน และเกิด ความหนาแน่นของประชากรมากเกินไป

๒. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน

เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใน ลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

๑. ภาวะการเป็นผู้อาศัย

เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ฝ่ายผู้อาศัยเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ผู้ที่ให้อาศัยเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น ต้นกาฝาก ซึ่งเกิดบนต้นไม้ใหญ่ มีรากพิเศษที่เจาะลงไปยังท่อน้ำและท่ออาหารของต้นไม้เพื่อดูดน้ำและธาตุอาหารหรือสัตว์ประเภทหมัด เรือด เห็บ ปลิง ทาก เหา ไร เป็นต้น

๒. การล่าเหยื่อ

เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ที่ชีวิตหนึ่งต้องตกเป็นอาหารของอีกชีวิตหนึ่ง เช่น กวางเป็นอาหารของสัตว์ ปลาเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตล่าชีวิตอื่นเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า และชีวิตทีต้องตกเป็นอาหารนั้น เรียกว่า เหยื่อ

๓. การได้ประโยชน์ร่วมกัน

เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์กันและกัน แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา นั่นคือ บางครั้งอาจอยู่ด้วยกัน บางครั้งก็อาจแยกใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังได้ เช่น นกเอี้ยงกับควาย การที่นกเอี้ยงเกาะอยู่บนหลังควายนั้นมันจะจิกกินเห็บให้กับควาย ขณะเดียวกันก็จะส่งเสียงเตือนภัยให้กับควาย เมื่อมีศัตรูมาทำอันตรายควาย หรือแมลงที่ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ มันก็จะช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ไปด้วยพร้อมกัน

๔. ภาวะแห่งการเกื้อกูล

เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์อย่างเช่น กล้วยไม้ป่า ที่เกาะอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ใหญ่ในป่า อาศัยความชื้นและธาตุอาหารจากเปลือกไม้ แต่ก็ไม่ได้ชอนไชรากเข้าไปทำอันตรายกับลำต้นของต้นไม้ ต้นไม้จึงไม่เสียผลประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการเกาะของกล้วยไม้นั้น

๕. ภาวะที่ต้องพึ่งพากันและกัน

เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าแยกจากกัน เช่น ไลเคน ซึ่งประกอบด้วยราและสาหร่าย สาหร่ายนั้นสามารถสร้างอาหารได้เอง แต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา และราก็ได้อาหารจากสาหร่าย เช่น ปลวกกินไม้เป็นอาหาร แต่ในลำไส้ของปลวกไม่มีน้ำย่อย สำหรับย่อยเซลลูโลส ต้องอาศัยโปรโตซัว ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวกเอง เป็นตัวช่วยย่อยเซลลูโลส และโปรโตซัวเอง ก็ได้อาหารจากการย่อยนี้ด้วย

๖. ภาวะของการสร้างสารปฎิชีวนะ

เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ที่ฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียประโยชน์ เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตบางชนิด ได้สกัดสารออกจากร่างกาย แล้วสารนั้นไปมีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ราเพนิซิเลียม สร้างสารเพนิซีเลียม ออกมา แล้วไปมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของบัคเตรี

๗. ภาวะการกีดกัน

เป็นภาวะที่การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ไปมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เช่น ต้นไม้ใหญ่บังแสงไม่ให้ส่องถึงไม้เล็กที่อยู่ข้างล่าง ทำให้ไม้เล็กไม่อาจเติบโตได้

๘. ภาวะของการแข่งขัน

เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชีวิต ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัย หรืออาหารอย่างเดียวกันในการดำรงชีวิต และปัจจัยดังกล่าวนั้นมีจำกัด จึงเกิดการแข่งขัน เพื่อครอบครองที่อยู่อาศัย หรือแย่งชิงอาหารนั้น เช่น ต้นไม้สองต้นที่ขึ้นอยู่ในกระถางเดียวกัน

๙. ภาวะการเป็นกลาง

เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ๒ ชีวิต ในชุมชนเดียวกัน แต่ต่างดำรงชีวิตเป็นอิสระแก่กัน โดยไม่ให้ และไม่เสียประโยชน์ต่อกัน

๑๐. ภาวะการย่อยสลาย

เป็นการดำรงชีวิตของพวกเห็ดรา บัคเตรี ที่มีชีวิตอยู่ด้วยการหลั่งสารเอนไซม์ออกมานอกร่างกาย เพื่อย่อยซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นรูปของเหลว แล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ในรูปของเหลว ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารขึ้น ในระบบนิเวศ

ภาวะความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม

เมื่อ :

วันอังคาร, 08 กันยายน 2563

          ในธรรมชาติ  เรามักพบว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต  หรือเป็นสังคมของสิ่งมีชีวิต (community)  กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณแหล่งที่อยู่ (habitat)  แตกต่างกัน  ได้แก่  กลุ่มสิ่งมีชีวิตในสระน้ำจืด  ในทะเล  ในป่า บนต้นไม้ใหญ่   ใต้ขอนไม้ผุ  ริมกำแพงบ้านหรือแม้แต่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดด้วย กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งนั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในลักษณะที่พึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่าง ๆ  และการแก่งแย่งแข่งขันกัน เป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพกลุ่มสิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ  แร่ธาตุ แสงสว่างและ อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ทั้งหมดดังกล่าวประกอบกันเป็นระบบนิเวศ

เหาฉลามกับปลาฉลามกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันแบบใดและมีลักษณะแบบใด

ภาพแสดงระบบนิเวศของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ)
ที่มา https://pixabay.com/ , MemoryCatcher

        ระบบนิเวศ (ecosystem) หมายถึง ระบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มาอยู่ร่วมกัน ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง กับสภาพแวดล้อมโดยรวมของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งภายในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์ในแง่ของกิจกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น ได้แก่ การถ่ายทอดพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ และมีการหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมสู่ตัวของสิ่งมีชีวิต และจากตัวของสิ่งมีชีวิตไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

องค์ประกอบของระบบนิเวศ

          ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ องค์ประกอบทางชีวภาพ และ องค์ประกอบทางกายภาพ 

      1) องค์ประกอบทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้น

      2) องค์ประกอบทางกายภาพ หมายถึง สิ่งไม่มีชีวิตที่มีอยู่ในระบบนิเวศนั้น ๆ จำแนกได้เป็น 3 ส่วน

                2.1 อนินทรียสาร (Inorganic Substance) เช่น คาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน น้ำ ออกซิเจน 

                2.2  อินทรียสาร (Organic Substance) เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฮิวมัส 

                2.3  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) เช่น แสง อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง   

บทบาทและความสำคัญของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

          กลุ่มของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งสิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดยังแสดงบทบาทและความสำคัญภายในระบบนิเวศแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ผู้ผลิต (producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดโดยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีคลอโรฟีลล์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ พืชสีเขียว สาหร่าย โพรทิสต์ รวมทั้งแบคทีเรียบางชนิด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมี และเก็บไว้ในโมเลกุลของสารอาหารพวกแป้งและน้ำตาล จากนั้นจะถ่ายทอดพลังงานนี้ให้กับกลุ่มของผู้บริโภคต่อไป

  2. ผู้บริโภค (consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องอาศัยการบริโภคผู้ผลิตหรือผู้บริโภคด้วยกันเป็นอาหารเพื่อการดำรงชีพ ผู้บริโภคยังสามารถแบ่งออกตามลักษณะและการกินได้ ดังนี้

                 - ผู้บริโภคพืช (herbivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง เช่น กระต่าย วัว ควาย ม้า กวาง ช้าง เป็นต้น

                 - ผู้บริโภคสัตว์ (carnivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สอง เช่น เหยี่ยว นกฮูก เสือ งู เป็นต้น

                 - ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สาม เช่น ไก่ นก แมว สุนัข คน เป็นต้น

                -  ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (scavenger)  ถือว่าเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย เช่น แร้ง ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ปลวก เป็นต้น

  1. ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีพอยู่ได้โดยการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้ย่อยสลาย จึงเป็นผู้ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสาร    อนินทรีย์หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบนิเวศ และผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

          ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศเดียวกัน (Interspecific interaction) แบ่งเป็น 7 แบบ คือ

  1. ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Mutualism : +,+) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยต่างก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น

          - ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับรา สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย

          - โพรโทซัวในลำไส้ปลวก

          - แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์

          - แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว

          - ราในรากพืชตระกูลสน

  1. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + ,+ ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น

          - แมลงกับดอกไม้

          - ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea anemone)

          - มดดำกับเพลี้ย

          - นกเอี้ยงกับควาย

  1. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยหรือความสัมพันธ์แบบเกื้อกูล (Commensalism : + , 0) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น

          - ปลาฉลามกับเหาฉลาม

          - พืชอิงอาศัย (epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ เช่น กล้วยไม้ที่อยู่บนต้นมะม่วง

          - นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้

  1. ความสัมพันธ์แบบปรสิต (Parasitism : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย (host) เช่น

          - เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์

          - พยาธิ ในร่างกายสัตว์

  1. ความสัมพันธ์แบบล่าเหยื่อ (Predation : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ (prey)

  2. ความสัมพันธ์แบบแข่งขัน (Competition : - ,-) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปัจจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่น เสือ , สิงโต , สุนัขป่าแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัยหรืออาหารพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น

  3. ความสัมพันธ์แบบเป็นกลางต่อกัน (Neutralism : 0 , 0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์ เช่น นกกับกระต่ายในทุ่งหญ้า

แหล่งที่มา

อดุลย์   ลิมาน.ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม.สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2562, จาก

 https://sites.google.com/site/dulsci1/bth-thi-2-rabb-niwes/3-khwam-samphanth-rahwang-sing-mi-chiwit-kab-sing-waedlxm

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องที่ 3 ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562 จาก , http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=17&chap=3&page=t17-3-infodetail07.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต, รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันเสาร์, 26 มกราคม 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

เหาฉลามกับปลาฉลามกล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันแบบใดและมีสัญลักษณ์

3. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism +,0) - ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามจะคอยยึดเกาะกับปลาฉลามเพื่อจะได้รับเศษอาหารที่ปลาฉลามกินไม่หมด แต่ก็ไม่ได้ส่งผลเสียตัวปลาฉลาม - นกกับต้นไม้ใหญ่ นกจะฃทำรังบนต้นไม้ใหญ่ ทำให้ได้ที่อยู่อาศัย ส่วนต้นไม้นั้นไม่เสียประโยชน์

ปลาฉลามกับเหาฉลามมีความสัมพันธ์แบบใด

2. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalisms) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ (+,0) เช่น ปลาฉลามกับเหาฉลาม เหาฉลามอาศัยอยู่ใกล้ตัวปลาฉลาม และกินเศษอาหารจากปลาฉลาม ซึ่งปลาฉลามจะไม่ได้ประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไร

กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันแบบใด

ภาวะอิงอาศัย,ภาวะเกื้อกูล ( Commensalism ) ได้แก่พลูด่างกับต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้กับต้นไม้

กาฝากกับต้นไม้ใหญ่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

5. ความสัมพันธ์แบบปรสิต เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายปรสิตได้ประโยชน์ ส่วนฝ่ายที่ถูกเกาะกิน นั้นเสียประโยชน์ โดยมีทั้งแบบปรสิตภายนอก เช่น ต้นกาฝากแย่งอาหารต้นไม้ใหญ่ เหาเกาะกิน อยู่บนศีรษะคนเรา ราเกาะกินบนหลังด้วง แมลง เป็นต้น และแบบปรสิตภายใน เช่น พวก พยาธิในล าไส้ หรือปรสิตที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เป็นต้น