ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

คลายสงสัย "โลจิสติกส์" เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านไหนบ้าง?

น้องๆ หลายคนที่กำลังสนใจเรียนต่อและเห็นโอกาสดีในการทำงานทางด้าน "

โลจิสติกส์" แต่อาจจะยังมีข้อสงสัยว่า ที่จริงแล้วสาขานี้เรียนต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรด้านไหนบ้าง? บทความนี้เรามีคำตอบมาให้น้องๆ ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นกันค่ะ

อธิบายอย่างง่ายๆ คือ โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นการผสมผสานของศาสตร์แขนงต่างรวม 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และ การจัดการสารสนเทศ

ซึ่งน้องๆ จะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าสาขาทางด้านโลจิสติกส์ที่เปิดสอนในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น มีอยู่ทั้งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ และเป็นคณะโลจิสติกส์แยกมาเอง ในส่วนรายละเอียดคร่าวๆ ที่น้องๆ จะได้เจอนั้น มีดังนี้ค่ะ

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

วิศวกรรมศาสตร์ 
วิศวกรรมโลจิสติกส์ คือการเรียนและทำงานเกี่ยวกับ กิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้นใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่นใช้เชื้อเพลิง การบรรจุหีบห่อ หรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพสูงสุด

บริหารธุรกิจ 
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศ การบริหารวัสดุคงคลัง พิจารณาเรื่องภาษี หรือรายละเอียดของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบการวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ

การจัดการสารสนเทศ
ถือเป็นศาสตร์ที่สำคัญที่คนเรียนทางด้านโลจิสติกส์ต้องรู้เพราะเกี่ยวข้องกับส่วนของ software และ hardware นำมาผนวกรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น มีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, https://ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ตอบ เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก โดยเรียกรวมๆว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology) ซึ่งเป็นการนำ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆมาผสมผสานประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติประดิษฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ต่างใช้ทักษะการแก้ปัญหาเหมือนกัน และช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดย เทคโนโลยีเข้าไปช่วยทำให้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ง่ายและแม่นยำขึ้น เช่น การสร้างเครื่องคิดเลขเพื่อช่วย คำนวณตัวเลข ขณะเดียวกันการสร้างเครื่องคิดเลข ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับ การดำเนินการทางคณิตศาสตร์

เทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ การเรียนรู้การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่ง ของมนุษยศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการพูด อ่าน และเขียน ซึ่งมนุษยศาสตร์ในที่นี้ยังรวมถึงภาษาศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา พลศึกษา ฯลฯ ตัวอย่างความสัมพันธ์ เช่น

การใช้การจัดการโลจิสติกส์ส่งผลด้านลบทางด้านสังคมอย่างไร

ด้านสังคม ด้านลบ ลดแรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งทำให้เกิดการขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือองค์กรในระหว่างการดำเนินงาน