สาเหตุที่รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนาขึ้นใหม่ คืออะไร

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา  ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล  พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรวบรวมเรื่องอิเหนาเล็กสมัยอยุธยามาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อรักษาเป็นสมบัติของชาติ  ทรงนำอิเหนาเล็กมาพระราชนิพนธ์เป็นบทละคร

บทละครเรื่องอิเหนา  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1  ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 6 ตอน ดังนี้

1. ตอนตั้งวงศ์เทวา จนถึงอิเหนาไปอยู่เมืองหมันหยาครั้งแรก

2. ตอนเข้าห้องจินตะหรา  จนถึงอิเหนาตอบสารกุเรปันตัดอาลัยบุษบา

3. ตอนวิหยาสะกำเที่ยวป่า จนถึงท้าวหมันหยารับสารกุเรปัน

4. ตอนศึกกะหมังกุหนิง

5. ตอนเข้าเมืองมะละกา  จนถึงอุณากรรณขึ้นเขาประจาหงัน

6. ตอนย่าหรันตกไปเมืองมะงาดา  จนถึงระเด่นดะราหวันตามย่าหรันมาเมืองกาหลัง

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ. อิเหนา. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516.

เรื่องย่ออิเหนา

ตัวละคร

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องอิเหนา

สาเหตุที่รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนาขึ้นใหม่ คืออะไร

          เป็นบทละครที่มีคุณค่าสมควรรักษาไว้เป็นมรดกไทย ประกอบด้วยศิลปะในการแต่งที่ประณีต บทละครมีขนาดกะทัดรัด รักษาขนบในการชมเมืองที่ได้แบบอย่างจากเรื่องรามเกียรติ์และเน้น องค์ห้าของละครดี จนกลายเป็นแบบ แผนของการแต่งบทละครในสมัยหลัง สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงยกย่องว่าบทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนี้ เป็นบทละครที่ครบองค์ห้าของละครดี คือ
๑. ตัวละครงาม (หมายถึง เครื่องแต่งตัวหรือรูปร่าง)
๒. รำงาม
๓. ร้องเพราะ
๔. พิณพาทย์เพราะ
๕. กลอนเพราะ

          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (ครองราชย์ปี พ.ศ ๒๓๕๒ – ๒๓๖๗) เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณความดีทั้งในด้านการปกครอง การสาธารณสุขและศิลปวัฒนธรรมหลายด้าน เช่น ด้านสถาปัตยกรรม ดนตรี วรรณคดี และการละคร

          เนื้อเรื่องของบทละครเรื่องอิเหนามาจากพงศาวดารชวา กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวัญสื่อองค์ซึ่งเป็นพี่น้องกัน และครองนคร ๔ นคร คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาแห่งเมืองกุเปันได้หมั้นหมายกับบุษบาราชธิดาเมืองดาหา ต่อมาได้พบกับจินตะหราก็หลงรักเมื่อถูกบังคับให้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับบุษบา จึงลอบหนีออกจากเมืองไปหาจินตะหรา จนกระทั่งเมื่ออิเหนาไปช่วยท้าวดาหารบกับท้าวกะหมังกุหนิงและได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำอุบายเผาเมืองดาหา แล้วลักพาบุษบาไป ท้าวอสัญแดหวาโกธรแค้นในการกระทำอันมิชอบของอิเหนา จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปตกที่แคว้นปะมอตันอิเหนาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายระหว่างตามหาบุษบา จนกระทั่งได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส เรื่องจึงจบลงด้วยความสุข

          คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำและทำนองเพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถกำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน การดำเนินเรื่อง การแต่งบทร้อง ความยาวของบทเข้ากับลีลาท่ารำ นับเป็นศิลปะการแสดงที่ประณีต งดงามยิ่งของละครไทย

ตัวอย่าง คำประพันธ์ที่แสดงให้เห็นลักษณะอาการของตัวละครเมื่อเสียใจ หรือผิดหวัง

ฯ๑๐คำฯ

(ร่าย)เมื่อนั้น                     โฉมยงองค์ระเด่นจินตะหรา
ค้อนให้ไม่แลดูสารา             กัลยาคั่งแค้นแน่นใจ
แล้วว่าอนิจจาความรัก          พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป   ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน           ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา         จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก           เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
จะออกชื่อฦาชั่วไปทั่วทิศ      เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร
เสียแรงหวังฝังฝากชีวี          พระจะมีเมตตาก็หาไม่

สาเหตุที่รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนาขึ้นใหม่ คืออะไร

วรรณคดีสโมสร ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ให้บทละครเรื่องอิเหนาเป็น “ยอดของกลอนบทละคร”เพราะเนื้อเรื่องสนุก มีครบทุกรสทั้งบทรัก กล้าหาญ หึงหวง บทบาทของตัวละครมีความเหมาะสมทุกบทบาท

   เนื้อเรื่องบทละครเรื่องอิเหนาสำนวนรัชกาลที่ ๒ นี้ มีเนื้อเรื่องเหมือนกับบทละครเรื่องอิเหนาสำนวนรัชกาลที่ ๑

อิเหนาฉบับการ์ตูน