ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของวรรณคดีไทย

ให้ทดลองทำครั้งแรก ตอบครั้งเดียวในแต่ละข้อ เพื่อจะได้รู้ว่าทำได้คะแนนเท่าไหร่
แล้วจึงทำครั้งที่สอง ไปตอบข้อที่ตอบผิด ให้เลือกตอบให้ถูก เป็นการเฉลยว่าคำถามข้อนั้น ตอบว่าอะไร(คลิกที่แสดงข้อสอบทั้งหมด)

  1. 1 ข้อใดแสดงความหมายของวรรณกรรมไทยได้ถูกต้อง

    1.   ?    งานเขียนที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา
    2.   ?    งานเขียนที่อ่านสนุกและมีสาระ
    3.   ?    งานเขียนด้านบันเทิงคดี
    4.   ?    งานเขียนที่เป็นเรื่องของคนไทยล้วนๆ
    5.   ?    งานเขียนให้ความรู้คู่คุณธรรม
  2. 2 ข้อใดส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณผู้สร้างและผู้อ่านวรรณกรรมได้มากที่สุด

    1.   ?    ความก้าวหน้าของการพิมพ์
    2.   ?    ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
    3.   ?    พระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมวรรณกรรม
    4.   ?    อิทธิพลจากวรรณกรรมต่างประเทศ
    5.   ?    การเปิดโอกาสให้แสดงออกอย่างอิสระ
    1.   ?    วรรณกรรรมสะท้อนภาพสังคม
    2.   ?    สังคมส่งผลกระทบต่อวรรณกรรม
    3.   ?    วรรณกรรมและสังคมมีความเกี่ยวข้องกัน
    4.   ?    วรรณกรรมชี้นำสังคมได้ทุกสมัย
    5.   ?    วรรณกรรมเป็นเครื่องมือสื่อสารในสังคม
  3. 4 ข้อใด ไม่ใช่ ผลของความเจริญด้านอุปกรณ์การผลิตวรรณกรรม

    1.   ?    ทำให้วรรณกรรมแพร่หลาย
    2.   ?    มีส่วนส่งเสริมการอ่านวรรณกรรม
    3.   ?    ทำให้วรรรกรรมเพิ่มประเภทขึ้น
    4.   ?    ปริมาณหนังสือเพิ่มขึ้น
    5.   ?    ให้ความรู้ความบันเทิงและจรรโลงสังคม
  4. 5 ข้อใดเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดวรรณกรรมหลีกหนี

    1.   ?    คนส่วนมากชอบอ่านเรื่องไร้สาระ
    2.   ?    ผู้เขียนขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
    3.   ?    ผู้อ่านต้องการอ่านเฉพาะสิ่งบันเทิง
    4.   ?    การเปลี่ยนระบบสะกดการัตน์ในภาษาไทย
    5.   ?    ผู้เขียนมีการศึกษาระดับสูงเพิ่มขึ้นจำนวนมากขึ้น
  5. 6 วรรณกรรมเรื่องใดที่มีมาจากต่างประเทศแปลกจากข้ออื่น

    1.   ?    ไตรภูมิพระร่วง
    2.   ?    มหาชาติคำหลวง
    3.   ?    สามก๊ก
    4.   ?    ปฐมโพธิกถา
    5.   ?    พระมาลัยคำหลวง
  6. 7 วรรณกรรมคำสอนเรื่องใดมุ่งสอนคนเฉพาะกลุ่ม

    1.   ?    โคลงราชสวัสดิ์
    2.   ?    โคลงโลกนิติ
    3.   ?    สวัสดิรักษา
    4.   ?    สุภาษิตพระร่วง
    5.   ?    เวสสันดรชาดก
  7. 8 วรรณกรรมเกี่ยวกับประเพณีเรื่องใดมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศรัทธาในองค์พระมหากษัตริย์

    1.   ?    พระราชพิธีสิบสองเดือน
    2.   ?    กาพย์เห่เรือ
    3.   ?    ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
    4.   ?    ลิลิตโองการแช่งน้ำ
    5.   ?    รามเกียรติ์
  8. 9 วรรณกรรมบทละครจัดอยู่ต่างจากนิยายร้อยกรอง เพราะเหตุใดมากที่สุด

    1.   ?    ใช้คำประเภทเดียวคือกลอนบทละคร
    2.   ?    ใช้ได้ทั้งการแสดงและการอ่าน
    3.   ?    ไม่มีลักษณะของนิยายหรือนิทาน
    4.   ?    มีรูปแบบเฉพาะเพื่อการแสดง
    5.   ?    เป็นเรื่องเล่าที่นิยมกันทั่วไป
  9. 10 นิยายร้อยกรองเรื่องใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดชีวิตคนไทยสมัยรัตนโกสินทร์

    1.   ?    พระอภัยมณี
    2.   ?    ขุนช้างขุนแผน
    3.   ?    สมุทรโฆษ
    4.   ?    พระลอ
    5.   ?    พระไชยสุริยา
  10. 11 บทละครประเภทใดที่เกิดก่อนละครประเภทอื่น

    1.   ?    ละครดึกดำบรรพ์
    2.   ?    ละครใน
    3.   ?    ละครชาตรี
    4.   ?    ละครนอก
    5.   ?    ละครพันทาง
  11. 12 ข้อใด ไม่ใช่ เนื้อหาของนิราศ

    1.   ?    สรรเสริญผู้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง
    2.   ?    เล่าเรื่องการเดินทาง
    3.   ?    รำพึงถึงสตรีอันเป็นที่รัก
    4.   ?    บันทึกประสบการณ์ระหว่างเดินทาง
    5.   ?    บอกเล่าประวัติของผู้แต่ง
  12. 13 วรรณกรรมปัจจุบันเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาใด

    1.   ?    รัชกาลที่ 3
    2.   ?    รัชกาลที่ 4
    3.   ?    รัชกาลที่ 5
    4.   ?    รัชกาลที่ 6
    5.   ?    รัชกาลที่ 7
  13. 14 นวนิยายต่างจากเรื่องสั้นในข้อใดมากที่สุด

    1.   ?    ตัวละคร
    2.   ?    ฉาก
    3.   ?    องค์ประกอบ
    4.   ?    แนวคิด
    5.   ?    บทสนนทนา
  14. 15 หนังสือพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อใด

    1.   ?    รัชกาลที่ 2
    2.   ?    รัชกาลที่ 3
    3.   ?    รัชกาลที่ 4
    4.   ?    รัชกาลที่ 5
    5.   ?    รัชกาลที่ 6