สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อม หมายถึงอะไร? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง

สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอยู่รอบตัวมนุษย์ และเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมทั้งที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

ประเภทของสิ่งแวดล้อม

จากความหมายข้างต้น เราสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment)

1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural environment) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ใช้ระยะเวลาสั้นในการเกิด และสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ขณะเดียวกันก็สูญสิ้นไปได้หากเกิดการทำลายธรรมชาติให้เสียสมดุล ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ ทุ่งหญ้า เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่อาจมองเห็นได้หรือไม่ได้ เช่น อากาศ เสียง แร่ธาตุ เป็นต้น เป็นสิ่งแวดล้อมที่ธรรมชาติสรางขึ้น บางชนิดใช้เวลานานในการเกิดยาวนานจนไม่สามารถรอใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้ เช่นเชื้อเพลิง แร่ธาตุ ดิน หิน น้ำ อากาศ เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ได้ หรือมองเห็น จับต้องได้ หรือมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง อันจะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ลักษณะ  

  • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical  Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นและจับต้องได้ มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตนเอง ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social  Environment) มีลักษณะเป็นนามธรรม มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น ประเพณี กฎ ระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ อาจหมายถึง ความเชื่อ ศาสนา พิธีกรรม เป็นต้น

คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เพราะฉะนั้นการเข้าใจคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในด้านโครงสร้าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี หรือกระบวนการสร้างขึ้น ทำให้สามารถระบุได้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นอะไร เช่น ป่าชายเลน ป่าสน ภูเขา พื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น
  2. สิ่งแวดล้อมไม่มีความโดดเดี่ยว แต่จะมีสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อยู่ด้วยเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ เพื่อการอยู่รอด สัตว์ป่าต้องการป่าไม้เพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย
  3. สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกว่าระบบนิเวศ ในระบบนิเวศมีองค์ประกอบหลายชนิด ที่มีหน้าที่เฉพาะ
  4. สิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่าง ๆ และทำงานร่วมกัน มีความเกี่ยวโยงและสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ เมื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งถูกทำลายย่อมส่งผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง
  5. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีความทนทาน และมีความเปราะบางมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต จึงมีความสำคัญไม่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้อีกด้วย โดยผูกโยงสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่

ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

  • การบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้ไม่สามารถรักษาสมดุลของระบบนิเวศตามธรรมชาติได้
  • การปล่อยควันเสีย ทำให้สภาพอากาศในกรุงเทพมหานครมีฝุ่นควัน PM2.5 นำมาซึ่งโรคทางเดินหายใจ
  • ภาวะน้ำเน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา จากการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • การปลูกป่ากลางกรุง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง และช่วยบำบัดควันพิษ
  • การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) แทนการใช้รถยนต์เชื้อเพลิง เพื่อลดการปล่อยควันเสียจากท่อไอเสีย

   
สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง
 

                   ลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัว ลักษณะทางภายภาพ หมายถึง ลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก ที่เป็นองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์ เช่น ขนาด ที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง

ที่มารูปภาพ : https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse1/wiki/1fa7a/

          1. ที่ตั้ง คือ การบอกตำแหน่งสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก ซึ่งมีลักษณะการบอกเป็น 2 แบบ ดังนี้
                    1) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นการบอกตำแหน่งของสถานที่เป็นพิกัด เช่น
                              - หมู่บ้าน ก ตั้งอยู่ที่พิกัด ละติจูด 16 องศาเหนือ ลองติจูด 102 องศาตะวันออก
                    2) ที่ตั้งสัมพันธ์ เป็นการบอกตำแหน่งของสถานที่แวดล้อมด้วยสิ่งใดบ้าง เช่น ที่ตั้งของจังหวัดอ่างทอง
                              ทิศเหนือ จด จ. สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และลพบุรี
                              ทิศใต้ จด จ.พระนครศรีอยุธยา
                              ทิศตะวันออก จด จ. พระนครศรีอยุธยา
                              ทิศตะวันตก จด จ. สุพรรณบุรี

          2. รูปร่าง คือ ลักษณะรูปร่างของจังหวัด ภาค ประเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าคล้ายกับอะไร เช่น ประเทศมีรูปร่างคล้ายขวาน ประเทศอิตาลีมี รูปร่างคล้ายรองเท้าบูท

          3. ขนาด เป็นการเปรียบเทียบพื้นที่ระหว่างจังหวัด ประเทศ เช่น
                              จ. แพร่ มีพื้นที่ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร
                              จ. พะเยา มีพื้นที่ 6,335 ตารางกิโลเมตร

          4. ลักษณะภูมิประเทศ คือ พื้นผิวที่เป็นที่สูง ที่ต่ำ ที่ราบ หุบเขา ซึ่งเป็นลักษณะทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
                    ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 6 ภาค ดังนี้
                              - เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ
                              - เขตที่ราบลุ่มภาคกลาง
                              - เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก
                              - เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                              - เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก
                              - เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้

          5. ลักษณะภูมิอากาศ คือ ลักษณะอากาศของท้องถิ่นหรือของประเทศใดประเทศหนึ่งที่เกิดขึ้นประจำเป็นเวลานาน ทั้งนี้ลักษณะภูมิอากาศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ที่ตั้ง ภูมิประเทศ อุณหภูมิ ลมประจำ และปริมาณน้ำฝน

          6. พืชพรรณธรรมชาติ คือ ลักษณะของชนิดและพรรณไม้ประจำถิ่นชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ ได้แก่ ป่าไม้ และทุ่งหญ้า
                   
ป่าไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                              ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่ต้นไม้มีใบเขียวตลอดปี มีกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าที่ต้นไม้จะทิ้งใบ พร้อมกันในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นดินขาดน้ำ สภาพอากาศแห้งแล้งและจะผลิใบใหม่ในฤดูฝน ป่าประเภทนี้พบมากในบริเวณที่ราบและเชิงเขา
                              ทุ่งหญ้า เป็นไม้ชั้นล่างที่ขึ้นอยู่ในเขตป่าไม้ที่ถูกทิ้งร้าง เช่น หญ้าแฝก หญ้าเพ็ก หญ้าคา

สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง

ที่มารูปภาพ : http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Nan_z_doi_phuka_2006_1003.jpg

ที่มาข้อมูล : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1929-00/

สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง
สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง

   
สิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ มี อะไรบ้าง