หินหนืดที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟระเบิด เรียกว่าอะไร

เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น

สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)

บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีปเพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน

ตัวอย่างเช่น นักธรณีวิทยาพบว่า บริเวณจังหวัดลำปางและบุรีรัมย์ เคยมีบริเวณที่หินหนืดถูกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และมีบางแห่ง เกิดการปะทุแบบภูเขาไฟ แต่ไม่รุนแรงมากนัก

หินหนืดที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟระเบิด เรียกว่าอะไร

            ดังนั้นภูเขาที่อาจจะเกิดการประทุขึ้นได้คือภูเขาไฟมีพลังนั้นเองเมื่อมีการประทุขึ้นของภูเขาไฟ หินหนืดที่อยู่ในแผ่นเปลือกโลกชั้นในซึ่งประกอบไปด้วยธาตุต่างๆที่รวมตัวกันเป็นของเหลวหรือที่รู้จักกันในนามแมกมา ธาตุบางชนิดซึ่งเป็นส่วนประกอบของหินหนืดจะกลายเป็นแก๊สและเมื่อหินหนืดที่มีความร้อนสูงเคลื่อนตัวเข้าใกล้ผิวโลกก๊าซซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าลอยตัวอยู่เหนือหินหนืดและพยายามดันตัวเองผ่านเปลือกโลกออกมา หากปล่องของภูเขาไฟถูกปิดอยู่ก็จะเกิดก๊าซจำนวนมากสะสมอยู่บริเวณปากปล่อง 

       ภาพตัดขวางแสดง Subduction Zone Volcanoes, Mid-ocean Rift  Volcanoes และ Hot Spot Volcanoes

ที่มา : http://www.dmr.go.th/main.php?filename=case_eq

เมื่อมากพอก๊าซดังกล่าวก็จะดันจนชั้นหินที่ปิดอยู่นั้นแตกกระจาย กลายเป็นเศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อย พร้อมกับถูกดันขึ้นไปในอากาศพร้อมกับหินหนืด หลังจากนั้นก็จะไหลลงสู่พื้นโลก การดันตัวและไหลของหินหนืดหรือแมกมานี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งแบบการไหลที่มีลักษณะเคลื่อนตัวอย่างช้าๆหรือปะทุอย่างรุนแรงทำให้ฝุ่นละอองและเศษหินลอยครอบคลุมอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ความแตกต่างของการที่หินหนืดจะดันตัวออกมาในลักษณะของการระเบิดหรือไหลเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่าส่วนประกอบของหินหนืดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่ทำให้ภูเขาไฟระเบิดแต่ละครั้งมีลักษณะของความรุนแรงที่แตกต่างกันแบ่งเป็นกรณีดังนี้

1) หากหินหนืดประกอบไปด้วยเหล็กและแมกนีเซียมเป็นจำนวนมากก็จะมีความหนืดน้อยจึงทำไหลออกมาอย่างช้าๆ

2) หากหินหนืดประกอบด้วยซิลิกามาก ก็จะมีความหนืดมาก ดังนั้นเมื่อมีการปะทุขึ้นมันจึงระเบิดออกมา

3) หินหนืดที่มีก๊าซประปนอยู่มาก การปะทุในลักษณะนี้จะเป็นการระเบิดที่รุนแรง

 ดังนั้นเมื่อมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นสิ่งที่ถูกดันผ่านชั้นเปลือกโลกออกมาก็จะมีทั้งสถานะ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ

ของแข็ง จะพบในลักษณะของลาวาหลาก(lava flow) ที่จะไหลแผ่ไปเป็นรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร มีขนาดตั้งแต่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็กหรือมีขนาดใหญ่หนักหลายตันเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลายเป็นหินที่เรียกว่า ตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) ส่วนที่ปลิวว่อนไปในอากาศเมื่อเย็นตัวลงจะเรียก เถ้าธุลีภูเขาไฟ (volcanic ash)  เป็นต้น

 ของเหลว ลาวาเป็นของเหลวที่พุ่งผ่านปล่องภูเขาไฟขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศลาวาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันในการระเบิดแต่ละครั้ง เช่น ธาตุส่วนประกอบที่แตกต่างกันก่อให้เกิดการประทุของภูเขาไฟที่แตกต่างกันดั่งที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น และในลักษณะรูปร่างของภูเขาไฟที่แตกต่างกันก็มีผลโดยตรงมาจากคุณสมบัติและลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันของลาวาด้วยเช่นกัน

ก๊าซ ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะประกอบด้วย ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซต์ คลอรีน และก๊าซไข่เน่า เป็นต้น ตั้งแต่อดีตและปัจจุบันมีการระเบิดของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบว่าโลกของเรามี

ภูเขาไฟอยู่ประมาณ 1300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว 700 ลูก อีก 600 ลูกยังมีชีวิตอยู่ซึ่งอาจจะเกิดการประทุขึ้นได้ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่า ในทุกๆปี จะมีภูเขาไฟประทุอยู่ราว 20-30  ลูก จากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ โลกเราเคยประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับภูเขาไฟระเบิดมาแล้วหลายครั้ง ครั้งที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ ก่อให้เกิดความเสียหายมากทั้งในแง่ทรัพย์สิน

และชีวิตของประชากรโลกมีดังนี้

ปี ค.ศ                       ชื่อภูเขาไฟ                    จำนวนผู้เสียชีวิต

97                       ภูเขาไฟวิสุเวียส-อิตาลี                     16,000

1169               ภูเขาไฟเอ็ตนา เกาะชิชิลี-อิตาลี     15,000

1631               ภูเขาไฟวิสุเวียส-อิตาลี                       4,000

1669               ภูเขาไฟเอ็ตนา เกาะชิชิลี-อิตาลี     20,000

1772               ภูเขาไฟปาปันดายัง-อินโดนีเซีย       3,000

1792               ภูเขาไฟอุนเซ็นดาเกะ-ญี่ปุ่น             10,400

1815               ภูเขาไฟแทมโบร่า-อินโดนีเซีย             12,000

26-28 ส.ค. 1883     ภูเขาไฟกรากะตัว-อินโดนีเซีย             35,000

8 เม.ย. 1920       ภูเขาไฟซานตามาเรีย-กัวเตมาลา       1,000

8 พ.ค. 1902       ภูเขาไฟปิเล-เกาะมาร์ตินิก             10,000

1911               ภูเขาไฟทาอาล-ฟิลิปปินส์               1,400

1919                ภูเขาไฟเคบัด-ชวา-อินโดนีเซีย       5,000

18-21 ม.ค. 1951ภูเขาไฟแลมิงตัน-นิวกินี                       3,000

26 เม.ย. 1966        ภูเขาไฟเคบัด-ชวา-อินโดนีเซีย       1,000

 18 พ.ค. 1980        ภูเขาไฟเซ็นต์ เฮเลนส์-สหรัฐอเมริกา   60,000

 13 พ.ย. 1985        ภูเขาไฟเนวาโดเดลรูซ-โคลัมเบีย     22,940

 24  ส.ค. 1986         ภูเขาไฟในแคเมอรูน                       1,700+

รวม 17 ประเทศ    ประมาณ 191,500  คน

ตารางแสดง การประสบภัยพิบัติเกี่ยวกับภูเขาไฟระเบิด

ที่มา : http://www.dmr.go.th/main.php?filename=case_eq

การแบ่งภูเขาไฟตามรูปร่าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท(ในบางตำราอาจจะแบ่งเป็น4ประเภท)

1. Shield Volcano หรือภูเขาไฟแบบโล่ห์ ภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากธารลาวาเหลวไหลออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก การปะทุของภูเขาไฟชนิดนี้จะไม่ระเบิดรุนแรง แต่เป็นแบบน้ำพุลาวา โดยลาวาจะมีลักษณะที่เหลวและมีอุณหภูมิสูงมากทำให้ไหลไปได้เป็นระยะทางไกลภูเขาไฟที่จัดอยู่ในประเภทนี้จะมีลักษณะกว้างและไม่ชัน ภูเขาไฟ Mauna Loa ในฮาวาย เป็น Shield Volcano ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ภูเขาไฟ Mauna Loa ซึ่งจัดเป็นแบบ Shield Volcano

ภาพจาก http://vulcan.wr.usgs.gov/

2. Composite Cone  หรือแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น การเกิดภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวาและชั้นเศษหินและจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประทุอย่างกระทันหัน ในขณะที่แมกมาจะมีความหนืดและอุณหภูมิที่สูงมาก การระเบิดของภูเขาไฟแบบนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ภูเขาไฟแบบนี้ได้แก่ภูเขาไฟ ภูเขาไฟฟูจิ (Mt Fuji) ในญี่ปุ่น ภูเขาไฟมายอน (Mt Mayon) ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ภูเขาไฟ Mayon

ภาพจาก http://siliconium.net/

3. Cinder Cone Volcano หรือกรวยกรวดภูเขาไฟ ภูเขาไฟแบบนี้ จะมีลักษณะสูงชันมาก เนื่องจากลาวามีความหนืดมากทำให้ไหลได้ไม่ต้องเนื่อง ลาวาที่ไหลออกมามีลักษณะเป็นทรงกลม พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟเพียงปล่องเดียว ดังนั้นเมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟชนิดก็มักจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก 

ภูเขาไฟแบบ Cinder Cone Volcano อยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลี

                ภาพจาก http://siliconium.net/

4. Steep cone หรือภูเขาไฟแบบกรวยสูง 

เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือAcid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อน

ตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง

               ภูเขาไฟแบบ กรวยสูง

            ภาพจาก http://siliconium.net/

ภูเขาไฟในประเทศไทย

                  ในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่ายดังนั้นหากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง ซ้ำภูเขาไฟในทุกภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว

ภาคเหนือ   พบในเขตจังหวัด ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ 

ภาคกลาง  พบในเขตจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์  สระบุรี และลพบุรี

ภาคตะวันออก พบในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี  จันทบุรี นครนายก และตราด

ภาคตะวันตก พบในเขตจังหวัด กาญจนบุรีและจังหวัดตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในเขตจังหวัด นครราชสีมา ศรีษะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ เลย และสุรินทร์

-ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และปล่องภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู จังหวัดลำปาง

-ภูเขาพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

-ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย

-ภูเขาพนมสวาย (วนอุทยานพนมสวาย) จังหวัดสุรินทร์ สถิติอยู่ที่ 52 ครั้ง

-ภูเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

-เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

                  ภูเขาไฟที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ในเขตจังหวัดเลยโดยมีอายุราว 395-435 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งมีอายุมากกว่าปล่องภูเขาไฟที่พบในจังหวัดสุโขทัยและบุรีรัมย์ที่มีอายุเพียง 20 -30 ล้านปีเท่านั้น

สาเหตุของการเกิดภูเขาไฟระเบิด
         กระบวนการระเบิดของภูเขานั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกระจ่างชัดนัก นักธรณีวิทยาคาดว่ามีการสะสมของความร้อนอย่างมากบริเวณนั้น ทำให้มีแมกมา ไอน้ำ และแก๊ส สะสมตัวอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดความดัน ความร้อนสูง เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะระเบิดออกมา อัตราความรุนแรงของการระเบิด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระเบิด รวมทั้งขึ้นอยู่กับความดันของไอ และความหนืดของลาวา ถ้าลาวาข้นมากๆ อัตราการรุนแรงของการระเบิดจะรุนแรงมากตามไปด้วย เวลาภูเขาไฟระเบิด มิใช่มีแต่เฉพาะลาวาที่ไหลออกมาเท่านั้น ยังมีแก๊สไอน้ำ ฝุ่นผงเถ้าถ่านต่างๆ ออกมาด้วย มองเป็นกลุ่มควันม้วนลงมา พวกไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นน้ำ นำเอาฝุ่นละอองเถ้าต่างๆ ที่ตกลงมาด้วยกัน ไหลบ่ากลายเป็นโคลนท่วมในบริเวณเชิงเขาต่ำลงไป ยิ่งถ้าภูเขาไฟนั้นมีหิมะคลุมอยู่ มันจะละลายหิมะ นำโคลนมาเป็นจำนวนมากได้ เช่น ในกรณีของภัยพิบัติที่เกิดในประเทศโคลัมเบียเมื่อไม่นานนี้
แหล่งที่มา:คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์.สารานุกรมวิทยาศาสตร์.2534. 

ภาพการเกิดภูเขาไฟระเบิดตามแนว subduction zone

วิธีปฏิบัติตนขณะภูเขาไฟระเบิด


1.สวมเสื้อคลุม กางเกงขายาว ถุงมือเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟและความร้อนจากการระเบิด

ภาพจาก : http://202.129.59.73/nana/160354/tsunami.htm

1.
ใส่หน้ากากอนามัย แว่นตาทุกชนิดเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟ

ภาพจาก : http://202.129.59.73/nana/160354/tsunami.htm


3.เตรียมเสบียง ยารักษาโรค เครื่องใช้ที่จำเป็นรวมทั้งเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์ วิทยุFM,AM

ภาพจาก : http://202.129.59.73/nana/160354/tsunami.htm

4.ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างเคร่งครัดและเมื่อทางการสั่งอพยพให้อพยพออกจากพื้นที่ทันทีอาจไปรวมตัวกันที่สถานที่หลบภัยทันที

ที่มา :http://202.129.59.73/nana/160354/tsunami.htm

ประโยชน์และโทษของการเกิดภูเขาไฟระเบิด

ประโยชน์ของภูเขาไฟ

1. ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในสมดุล

2. ช่วยให้หินที่ถูกแปรสภาพมีความแข็งมากขึ้น

3. เกิดแร่ที่สำคัญขึ้น เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ทับทิม ไพลิน และพลอยอื่นๆ ที่สวยงาม จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศ

4. เป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดผู้คนให้ไปเยี่ยมชม

5. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟมักจะเป็นดินดี เหมาะแก่การเพาะปลูก

โทษของภูเขาไฟ

1. เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้

2. การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้

3. ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย

4. สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

5. เกิดคลื่นสึนามิ ขณะเกิดภูเขาไประเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร คลื่นนี้จะโถมเข้าหาฝั่งสูงกว่า 30,000 เมตร

7.3 ตำแหน่งแผ่นดินไหวและภูเขาไฟบนโลก

Ring of Fire

ตามรอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกว่า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีก แม้เราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้ว นักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ว่า Ring Of Fire เช่นเดิมเพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมาก จะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต “วงแหวนไฟ” หรือเขตรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งต้องเผชิญภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง

ภาพแสดง : วงแหวนแห่งไฟที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

วงแหวนแห่งไฟ เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟ เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน  ตูวาลู สหรัฐอเมริกา เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา  แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวอัลไพน์ (อีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหว) ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซียและรวมถึง นิวซีแลนด์ ที่เพิ่งเกิด “วิปโยคแผ่นดินไหว”เมื่อไม่นานมานี้ด้วย

ภาพแสดง : วงแหวนแห่งไฟที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย ขนาด 9 ริกเตอร์ เมื่อ ค.ศ.1700, แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย, แผ่นดินไหวภาคคันโต ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.1923 มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน, แผ่นดินไหวเกรตฮันชิน ในปี 1995 และอีกครั้งใหญ่ที่เคยบันทึกไว้คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ.2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียถูกถล่มด้วยคลื่นสูงราว 10 เมตร มีผู้เสียชีวิตรวมราว 230,000 คน  ล่าสุด เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่11มี.ค.2011 ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ครั้งใหญ่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก จากแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 9.0 ริคเตอร์ ในทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ แรงไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูง 10 เมตร พัดกระหน่ำเข้าหาชายฝั่ง ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้าพังพินาศ มีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและสูญหายจำนวนมาก

นักธรณีวิทยาประมาณว่า โลกเกิดแผ่นดินไหวราว 1,000 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกระดับต่าง ๆ ของผิวโลก โดยแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะหนาต่างกัน บางแผ่นหนาถึง 70 กิโลเมตร บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร หนาเพียง 6 กิโลเมตร และแผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งจะมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน เมื่อเคลื่อนที่แยก หรือชนกัน ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมากน้อยต่างกัน


ภาพแสดง : วงแหวนแห่งไฟที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

วงแหวนสีแดงที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิกแสดงถึงพื้นที่ที่มีการเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว

Ring of Fire มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด สึนามิ ซึ่งสรุปง่ายๆได้เป็นข้อๆ ดังนี้

1.โลกของเราทั้งส่วนที่เป็นมหาสมุทรและทวีปประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลก (plates) เป็นชิ้นๆต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์  ดังนั้น plates เหล่านี้จึงมีทั้งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (oceanic plates) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป(continental plates) ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 70-250 กิโลเมตร

2.plates เหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการหมุนเวียนหรือไหลวนของหินหลอมละลายภายในโลกที่รองรับ plates เหล่านี้อยู่3.การเคลื่อนที่ของ plates เหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวซึ่งไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดที่ไหน เมื่อไรและด้วยความรุนแรงเท่าใด

4.บริเวณรอยต่อของplates เหล่านี้ที่เกิดขึ้นแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า วงแหวนไฟ(Ring of Fire)

5.ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะถูกล้อมด้วยวงแหวนไฟ

การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ล้วนมีผลมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งเมื่อขอบเปลือกโลกชนกันก็เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้ยืนยันว่าการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาเป็นร้อยหรือเป็นพันปี และความเสียหายจะจำกัดเฉพาะจุดเท่านั้น

เขตอันตรายของโลกก็คือบริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเรียกกันว่า


 “วงแหวนไฟ” นี้ ด้วยเป็นเขตที่มีภูเขาไฟเรียงรายและทำนายกันว่าจุดเสี่ยงมากที่สุดก็คือ ญี่ปุ่นกับแคลิฟอร์เนียและลอสแอนเจลิส          แนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องคือแนวขอบ หรือแนวรอยต่อของเพลต  (plate) ต่าวๆตามทฤษฎีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (Plate Tectonic Theory)

ภาพแสดง : วงแหวนแห่งไฟที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

ภาพพร้อมรายชื่อดินแดนและเขตทะเลที่อยู่ใน Ring of Fire

ที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9F

รายชื่อดินแดนและเขตทะเลที่อยู่ใน Ring of Fire

New Zealand                                                Kermadec Trench                                                     Tonga Trench                                               Bougainville Trench                                Java Trench                                                  Indonesia                                                 Philippines                                                   Philippine Trench                              Marianas Trench                                            Izu Bonin Trench                                  Ryukyu Trench                                              Japan                                                   Japan Trench                                                Kurile Trench                                          Kamchatka                                                   Aleutian Islands                                   Aleutian Trench                                             Alaska                                                     Cascade Range                                             California                                                         Mexico                                                       Middle America Trench                               Guatemala
Colombia                                                       Ecuador
Peru                                                    Peru-Chile Trench