สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

          �͡�ҡ�м�Ե���ͤ�Ң������ͧ���ǹѡ����ѵ���ʵ���ѧ�ѹ��ɰҹ��� ���з����Թ�����仢���ѧ��ҧ����ȴ��� �������¢ش������ͧ���ͺ�ѡɳ����ǡѺ�ѧ��š������⢷�µ����ͧ��蹷�����͡� �� ��� ���Ի�Թ�� �Թⴹ���� ��� ���������к������� �繵� �Ѻ����� ����ͧ�ѧ��š���ص��ˡ�������Ӥѭ���ҧ˹��������⢷�� 

Show

�Ѩ��·���ռŵ���ѡɳзҧ���ɰ�Ԩ�ͧ�ҳҨѡ���⢷��

��þԨ�óҶ֧��Ҿ���ɰ�Ԩ�ͧ�ҳҨѡ���⢷�¹�� ���繨е�ͧ�Ԩ�óҶ֧��Ҿ�Ǵ�����ͧ��⢷������ռŵ������зҧ���ɰ�Ԩ�ͧ��⢷�����ҧ�ú�ҧ ��駹�����ͨ������㨶֧�ŷҧ���ɰ�Ԩ�����Դ�����

�Ѩ��·������͵���ѡɳ����ɰ�Ԩ�ͧ�ҳҨѡ���⢷�� �մѧ���

��Ҿ��鹴Թ������觹��
��鹷��ͧ�ҳҨѡ���⢷����ǹ�˭���������������л�١���кҧ��ǹ�繾�鹷��������� ������Դ��ӷ����ͧ�������� �����˹ͧ�֧�ҡ ��鹷��������Шзӡ���ɵ���������Ǥ�� ��鹷�����ͺ��������dz���ͧ�ͧ��(��ɳ��š) ��ǹ��÷�����ӹ�Ӣ�Ҵ�˭���ż�ҹ�֧ 3 ��¤�� �ӹ�ӻԧ ��ҹ���ͧ�ҡ��Ъҡѧ��� (��ᾧྪ�) �ӹ���� ��ҹ��⢷���������Ѫ����� �ӹ�ӹ�ҹ ��ҹ������ (�صôԵ��) �ͧ�� ��������ǧ ( �ԨԵ�) �ӹ�ӷ�������¹���Ҩ������觹�ӷ���������Դ�����ش�����ó��͡�÷ӡ���ҵ� ������繨�ԧ���� �ӹ�ӷ�������¡�Ѻ����Ҿ��ӹ����˹����� ����Ĵٹ����ҡ��ӡ���ŷ������ 2 �ҡ��觷���������������÷ӹ� ���ҧ�á��� �ҧ�ҳҨѡ���⢷�¡������������䢻ѭ������ҹ�� ���¡�èѴ�к��Ż�зҹ��Ҫ��� ������ա�����ҧ�ӹ��ѡ�纹��������մ���� ��е�оѧ�ͺ����dz��ا��⢷�� ������ͧ�Ӥѭ���������л�١�Ӥѭ�ͧ�ҳҨѡ� �������ö��䢻ѭ����Ҿ��鹴Թ�������ó���С�âҴ�Ź������������

����駢ͧ��⢷��
��⢷���繪����������ӹ����ż�ҹ�͡������ŷ�������¹͡�ҡ����ѧ�繨ش�������� ���ͧ�ҧ�͹�˹�͡Ѻ�͹�����дǡ ���������ö���ٹ���ҧ��ä�ҷ�駷ҧ����зҧ����������ҧ��

��º�¢ͧ��黡��ͧ�ҳҨѡ���⢷��
��º�����ҧ����ѹ��Ҿ�Ѻ�����鹵�ҧ�ͧ��ѵ��������ҳҨѡ���⢷�� ��������ǹ������������ҧ������ԭ������ͧ�ҧ��ҹ��ä�� �� ��͢ع����Թ��ҷԵ�� ��������ҧ����ѹ��Ҿ�Ѻ��鹹����ո����Ҫ ��͢ع������˧����Ҫ �ç�վ�к���Ҫҹحҵ������Ҫ�ԴҢͧ���ͧ��������ɡ�Ѻ�С�� ���Ӫ���ͭ������ͧ˧��Ǵ� �������·�����ä�Ң�¢ͧ��⢷�¡Ѻ�����Ҥ�ҧ�͹��ͧ�����Թ⴨չ��仴��¤����Һ��� �͡�ҡ�����¡��鹡�èѴ�������Թ��Ҽ�ҹ��ҹ������¡��� ��ѧ�ͺ� ������ǹ���·�����ä�Ңͧ�ҳҨѡ���⢷�¢��µ�Ǵ���

Ref : http://www.geocities.com/m6_7_mp/new_page_11.htm 19/02/2008

ด้านเศรษฐกิจ[แก้]

ความเจริญด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย

จากการที่อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ยม น่าน และป่าสัก ทำให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับดินแดนของบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทย นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็ก สังกะสี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว

                อาชีพหลักที่สำคัญของอาณาจักสุโขทัย 
1. ด้านเกษตรกรรม
2. ด้านหัตถกรรม
3. ด้านการค้าขาย
1.  ด้านเกษตรกรรม
1.1 การทำนา ทำไร่ ทำสวน
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการ  ทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว นอกจากนั้นปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู จากความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า  “…เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว…”

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

การทำนาของเกษตรกร ที่มาภาพ  หนังสือรุ่งอรุณแห่งความสุข หนังสืออ่านเพิ่มเติมสังคมศึกษา 2539. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 14.

1.2 การใช้น้ำภายในตัวเมือง
1) การสร้างเขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง สร้างเป็นแนวคันดินกว้าง ประมาณ 10 – 14 เมตร บนหลังเขื่อนกว้าง 3 – 4 เมตรยาว 400 เมตร การสร้างเขื่อนสรีดภงส์มีวัตถุประสงค์  เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร
    
สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

รูปเขื่อนสรีดภงส์ 
ที่มาภาพ  นางมาลัยวรรณ  จันทร

                                2) การสร้างคูน้ำระหว่างกำแพงเมืองแต่ละชั้น มีคูน้ำกว้างประมาณ 15 เมตร           ขุดขนานไปตลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันข้าศึก และยังใช้เป็นคลอง เพื่อรับน้ำเข้ามาใช้ภายในอาณาจักรสุโขทัย
3) การสร้างตระพังหรือสระน้ำ บริเวณที่ต่อจากคูเมืองมีท่อสำหรับแจกจ่ายน้ำเข้าสู่ตระพัง ลักษณะของท่อเป็นท่อน้ำกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบครึ่งเมตรใช้ในการดักตะกอนดินกรวดทราย ดังนั้น ทำให้น้ำที่ไหลเข้าสู่ตระพังจึงเป็นน้ำที่ใสสะอาด ภายในตัวเมืองสุโขทัยมีตระพังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังตะกวน และตระพังโพยสี
4) การสร้างบ่อน้ำ บ่อน้ำมีลักษณะเป็นบ่อที่กรุด้วยอิฐ รูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ซ.ม. ถึง 2.5 เมตร รับน้ำที่ซึมมาจากตระพังต่างๆ ภายในตัวเมืองสุโขทัย จะพบบ่อน้ำเป็นจำนวนมากบริเวณด้านตะวันออกของอาณาจักสุโขทัย

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

ภาพถ่ายทางอากาศ ภายในเมืองสุโขทัย หากมองมุมสูง จะเห็นว่ามีตระพังหรือสระน้ำต่างขนาดจำนวนมากมาย นับว่า ได้มีการจัดการระบบชลประทานนี้ดี เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับชาวเมืองเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เนื่องจากพื้นที่ของเมืองเก่านี้เป็นบริการที่แห้งแล้ง 
ที่มาภาพ  3 เมืองประวัติศาสตร์รุ่งอรุณแห่งอารยธรรมไทย.หน้า 12.

2. ด้านหัตถกรรม
อาชีพหัตถกรรมของอาณาจักรสุโขทัย ผลผลิตด้านหัตถกรรมที่ประชาชนผลิตขึ้น         ส่วนใหญ่เป็นสินค้าภายในอาณาจักรสุโขทัย เป็นผลผลิตพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ จอบ เสียม ขวาน มีด การทอผ้า การจักสาน นอกจากนั้นยังมีผลผลิตที่ขึ้นชื่อของอาณาจักรสุโขทัยใช้เป็นสินค้าออก ได้แก่ ผลผลิตเครื่องเคลือบดินเผา หรือเครื่องสังคโลก*
เครื่องสังคโลกมีกรรมวิธีการผลิตโดยการนำแร่ธาตุ ได้แก่ ดินขาว หินฟ้าม้า และวัสดุอย่างอื่นมาผสมรวมกัน แล้วเคลือบด้วยน้ำยาสีขาวนวล หรือสีเขียวไข่กา สันนิษฐานว่า อาณาจักรสุโขทัยนำเทคนิคการปั้นมาจากประเทศจีน สังคโลกที่ผลิตขึ้นภายในอาณาจักรสุโขทัย ประกอบด้วย ถ้วย ชาม กระปุก โถ มีรูปทรงและลวดลายแบบจีนทั้งสิ้น

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

รูปเครื่องสังคโลก 
ที่มาภาพ  http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/956/2956images/140China60th/06_China60th.jpg

แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกในอาณาจักรสุโขทัยที่สำคัญมี 2 แหล่ง คือ 
1.  แหล่งเตาบริเวณด้านทิศเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า บริเวณริมลำน้ำโจน เครื่องสังคโลกที่ผลิตจากเตาเมืองสุโขทัยเก่า มีเนื้อหยาบสีเทา  นิยมเขียนเป็นลายดอกไม้  ลายกลีบบัว  ลายปลาในวงกลม ลายจักรภายในวงกลม รูปแบบของภาชนะมี ชาม จาน และ แจกัน
2. แหล่งเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลก แหล่งใหญ่ที่สำคัญ           พบเตาเป็นจำนวนมาก บริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม คือ เตาเผาบ้านป่ายาง เตาเผาบ้านเกาะน้อย และเตาเผาวัดดอนลาน   กลุ่มเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัยมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากมายหลายรูปแบบ เช่น
2.1 ประเภทภาชนะ ได้แก่ จาน ชาม ไห โอ่ง กระปุก
2.2 ประเภทประติมากรรม ได้แก่ ตุ๊กตารูปสัตว์ ตุ๊กตารูปชายหญิง
2.3 ประเภทเครื่องประดับ อาคารสถาปัตยกรรม ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์
เครื่องสังคโลกกลุ่มเตาบริเวณเมืองศรีสัชนาลัย จะมีคุณภาพดี ฝีมือประณีตการตกแต่ง ภาชนะมีการเขียนลายบนเคลือบ เขียนลายใต้เคลือบ ตกแต่งลายใต้เคลือบ โดยการขูดให้เป็นลาย ลวดลายที่นิยมใช้ตกแต่งมี ลายดอกไม้ โดยเฉพาะลายดอกไม้ก้านขด ลายดอกบัว ลายปลา

                                                   เตาทุเรียง เตาที่ใช้ทำเครื่องสังคโลก  ที่มาภาพ  นางมาลัยวรรณ  จันทร

เครื่องสังคโลกเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของสุโขทัยตอนปลาย ตลาดเครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  ญี่ปุ่น และอินเดีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาตะวันออก โดยมีเส้นทางการค้าเครื่องสังคโลกอยู่ 2 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางตะวันตกผ่านเมืองท่าเมาะตะมะ สินค้าที่ส่งไปขายประเภทไหเคลือบสีน้ำตาลขนาดใหญ่ กลุ่มลูกค้าสำคัญ คือ อินเดีย และ ตะวันออกกลาง
2. เส้นทางใต้ ผ่านกรุงศรีอยุธยา แล้วออกทะเลด้านอ่าวไทย สินค้าที่ส่งไปขายประเภท จาน ชาม กระปุก ชนิดเคลือบสีเขียวไข่กา และมีการเขียนลาย กลุ่มลูกค้าที่สำคัญ คือ สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และลูซอน

                การค้ากับต่างประเทศ 
อาณาจักรสุโขทัยนอกจากมีการค้าภายในอาณาจักรแล้วยังมีการค้ากับต่างประเทศ เช่น มลายู อินโดนีเซีย ลูซอน เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้หัวเมืองมอญมาเป็นเมืองขึ้น ทำให้ใช้เมืองท่าที่หัวเมืองมอญค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
สินค้าที่อาณาจักรสุโขทัยส่งออกไปขายกับต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นผลิตผลจากป่า         ซึ่งหายาก ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง น้ำผึ้ง ยางรัก หนังสัตว์ ขนสัตว์และสังคโลก
สินค้าที่สุโขทัยสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม ผ้าต่วน อาวุธ และ
เครื่องเหล็ก

 เส้นทางการค้า เส้นทางการค้าที่อาณาจักรสุโขทัยใช้ติดต่อกับเมืองต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร มีดังนี้ 1. เส้นทางการค้าทางบก อาณาจักรสุโขทัยมีการติดต่อค้าขายกับระหว่างเมืองสุโขทัยสามารถเดินทางได้สะดวกได้แก่ ถนนพระร่วง จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยถึงศรีสัชนาลัย และยังมีเส้นทางที่ติดต่อกับแถบแม่น้ำน่านได้ ส่วนเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองเชียงใหม่ เชียงแสน หลวงพระบาง และเมาะตะมะ ยังมีถนนเชื่อมติดต่อจากอาณาจักรสุโขทัยไปยังเมืองต่าง ๆ ได้สะดวก 2. เส้นทางการค้าทางน้ำ อาณาจักรสุโขทัยมีเส้นทางการค้าที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำป่าสัก โดยสินค้าที่มาจากเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนของแม่น้ำเหล่านี้จะรวมกันที่เมืองนครสวรรค์  แล้วส่งสินค้าผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามเมืองต่าง ๆ ส่วนการขนส่งสินค้าจากสุโขทัยไปขายยังต่างประเทศ อาณาจักรสุโขทัยใช้เส้นทางการค้าที่สำคัญ 2 เส้นทาง คือ 2.1 เส้นทางจากสุโขทัยไปเมืองเมาะตะมะ โดยเริ่มจากเมืองสุโขทัย ผ่านเมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงทองตัดออกช่องเขาที่อำเภอแม่สอด ผ่านเมืองเมียวดีไปถึงเมือง                        เมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าอินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ 2.2 เส้นทางจากสุโขทัยไปยังอ่าวไทย โดยเริ่มต้นจากเมืองสุโขทัย ผ่านมาตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาผ่านอยุธยา ออกสู่อ่าวไทย เส้นทางนี้อาณาจักรสุโขทัยสามารถติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจีน  ญี่ปุ่น  มลายู และอินโดนีเซีย

ระบบเงินตรา 
อาณาจักรสุโขทัย มีการค้าขายทั้งภายในอาณาจักรและมีการค้าขายกับต่างประเทศ            มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันโดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มีเงินพดด้วง     ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ขนาดหนัก 4 บาทและ 1 บาท ประทับด้วยตราราชสีห์ ตราราชวัตร และตราช้าง สำหรับมาตราแลกเปลี่ยนจะใช้เบี้ย ซึ่งเดิมคงใช้เบี้ยจากแม่น้ำโขง ต่อมาพ่อค้าต่างชาติได้นำเบี้ย   ซึ่งเป็นหอยจากทะเลเข้ามาใช้ จึงทำให้เป็นของที่หายากสำหรับเมืองที่อยู่ไกลจากทะเล 
                                
                ภาษีอากร 
พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัย ทรงส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทำการค้ากันอย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้มากขึ้น โดยไม่เรียกเก็บภาษีจังกอบ (ภาษีผ่านด่าน) และมีการค้าขายกันโดยเสรี ส่วนภาษีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากจังกอบคงเก็บตามปกติ เช่น ค่าธรรมเนียม เพื่อนำรายได้ใช้ในการพัฒนาอาณาจักร

3. ด้านการค้าขาย
การค้าขายของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะ ดังนี้
1. การค้าภายในอาณาจักร 
พระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขาย โดยให้ประชาชนทำการค้าได้อย่างเสรี ไม่เก็บภาษีการค้าหรือภาษีผ่านด่าน
ที่เรียกว่า จกอบ* นอกจากนั้นไม่มีสินค้าต้องห้าม ประชาชนมีอิสระในการค้าขาย มีตลาดปสาน** ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของอาณาจักรสุโขทัย สำหรับให้ประชาชนซื้อขายสินค้ากัน สินค้าที่พ่อค้านำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันประกอบด้วย

  • สินค้าพื้นเมือง ประกอบด้วย ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ไม้หอม พริกไทย กานพลู
  • สินค้าหัตถกรรม ประกอบด้วย เครื่องสังคโลก เครื่องเคลือบ ถ้วยชาม
  • สัตว์ ประกอบด้วย ช้างและม้า

สมคิด   ศรีสิงห์. (2525). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย. หน้า 26 – 27.

       * สังคโลก คือ เครื่องถ้วยชามที่ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย โดยรับวิทยาการมาจากจีนแบบอย่างมาจีน  โดยเฉพาะเครื่องดินเผาเคลือบที่ผลิตเลียนแบบเครื่องเคลือบสีเขียวไข่กาของจีน  และผลิตขึ้นโดยเฉพาะที่เตาเมืองศรีสัชนาลัย(เปลี่ยนชื่อเป็นสวรรคโลกในสมัยอยุธยา) ได้ส่งออกไปเป็นสินค้าขาออกที่สำคัญ

       โครงการศูนย์สุโขทัยศึกษา  สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2549). สุโขทัยศึกษา. หน้า 111.

       กรมศิลปากร  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2545). นำชม ห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย          . หน้า 74 – 76.

     กรมศิลปากร  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.(2545).นำชมห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ไทย.หน้า 74-76.

       สมคิด  ศรีสิงห์. (2525). ประวัติศสาสตร์เศรษฐกิจของไทย. หน้า 35 – 36.

         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย. หน้า 96.

         เฉลิม  ยงบุญเกิด. (2509). กระษาปณ์ไทย . หน้า 47.

         กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ 1. หน้า 53 , 173.

       *จกอบในที่นี้ต่อมาเรียกว่า จังกอบ หมายถึง ภาษีชนิดหนึ่ง เก็บแก่สัตว์หรือสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่ายในบ้านเมือง
ตามธรรมดาที่สำหรับดักเก็บจังกอบสะดวกที่สุดคือ ปากทางเข้าประตูเมือง ถ้าเมืองตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ที่สำหรับเก็บจังกอบมักจะอยู่ตรงแพรกของแม่น้ำ ลำคลองที่ไหลมารวมกัน เรียกสถานีสำหรับเก็บจังกอบว่าขนอนบกและขนอนน้ำแล้วแต่ที่ตั้ง พิกัดอัตราเรียกเก็บจากสัตว์หรือสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่ายในอัตรา 10 หยิบ 1

       **ปสานเป็นชื่อของตลาดในสมัยสุโขทัย ที่มีลักษณะเป็นห้องแถวเรียงติดต่อกัน  ภาษาเปอร์เซีย เรียกว่าบาร์ซาร์
โดยสมัยสุโขทัยมีตลาดประจำสำหรับให้ประชาชนซื้อขายสินค้ากัน ตลาดปสานมีที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีบ้านเรือนของราษฎรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ด้านสังคมและศาสนา[แก้]

การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า “…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…”

ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า “…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…”

ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น

   ด้านการปกครอง[แก้]

ความเจริญด้านต่าง ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย

ความเจริญด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้กันมาเป็นเวลานาน ประชาชนให้การเคารพนับถือพระเจ้าแผ่นดินประดุจบุตรที่ให้การเคารพต่อบิดาของตน เนื่องจาก    พระเจ้าแผ่นดินมีความใกล้ชิด มีความเป็นกันเองกับประชาชน หากประชาชนมีความเดือดร้อน   สามารถที่จะกราบบังคมทูลได้ด้วยตนเอง เปรียบเสมือนเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน

อาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครอง ดังนี้ 
                1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก หรือปิตุราชาธิปไตย* ลักษณะการปกครองแบบนี้ถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือนหลายๆ ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในการปกครองของพ่อบ้าน ผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายๆ บ้านรวมกันเป็นเมือง ซึ่งเมืองจะขึ้นอยู่กับการปกครองของเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า “พ่อขุน”  การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มใช้ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยระยะแรกมีอาณาเขตไม่กว้างใหญ่นัก ประชาชนมีจำนวนน้อย พระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิดโดยไม่ถือพระองค์ ไม่ถืออำนาจ ให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎร ตลอดจนให้การอบรมสั่งสอน                ข้าราชบริพาร และประชาชนด้วยความเมตตากรุณา จึงทำให้พระมหากษัตริย์และประชาชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กษัตริย์และประชาชนอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน เป็นผู้นำในยามศึกสงคราม  หากยามสงบพระองค์ทรงเป็นที่ปรึกษาของประชาชนดังข้อความที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า

“…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั่น
ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ
มันจักกล่าวถึง เจ้าถึง ขุน บ่ ไว้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ …”

2. การปกครองแบบธรรมราชา เป็นการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยผู้ปกครองที่ประชาชนพอใจ มีคุณธรรมสูง สามารถที่จะใช้ธรรมะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมที่มีอยู่ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง เชื่อกันว่า พระมหากษัตริย์ที่ดีปกครองอาณาประชาราษฎร ได้ร่มเย็นเป็นสุข บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง จะต้องทรงไว้ซึ่งหลักธรรมได้แก่  ทศพิธราชธรรม* จักรวรรดิวัตร 12 ประการ** ราชจรรยานุวัตร 4 ประการ******

การปกครองพระราชอาณาเขต 
พระราชอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยระยะแรกๆ ไม่กว้างขวางมากนัก พอมาถึงสมัยของพ่อขุนรามคำแหง พระราชอาณาเขตได้ขยายกว้างขวางมาก การปกครองพระราชอาณาเขตในสมัยนั้นแบ่งได้ ดังนี้
1. เมืองหลวงหรือราชธานี เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า และใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
2. หัวเมืองชั้นในหรือเมืองลูกหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เมืองหน้าด่าน” เป็นเมืองที่อยู่รายรอบกรุงสุโขทัย 4 ด้านได้แก่
ทิศเหนือ               เมืองศรีสัชนาลัย เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากที่สุด มีพระมหาอุปราชเป็น
ผู้ปกครอง
ทิศใต้                     เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ทิศตะวันออก       เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ทิศตะวันตก          เมืองนครชุม (กำแพงเพชร)
แต่ละเมืองอยู่ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เดินทางด้วยเท้าเปล่าไปถึงกัน ประมาณ 2 วัน ห่างกันทุกเมืองพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง พระราชโอรสหรือราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง มีอำนาจในการบริหารภายในเมืองค่อนข้างมาก
นอกจากนั้นเมืองลูกหลวงยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ หากมีข้าศึกเข้ามาประชิดอาณาจักรสุโขทัย เมืองลูกหลวงจะเป็นเกราะป้องกันราชธานีไว้ชั้นหนึ่ง ทำให้ข้าศึกไม่สามารถเข้าถึงเมืองหลวงได้ทันที 

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

แผนภูมิแสดงเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย

                3. หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานีออกไป เมืองพระยามหานครมีเมืองในปกครองมากบ้างน้อยบ้าง โดยพระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปครองเมืองพระยามหานคร ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง สันนิษฐานว่าผังเมืองพระยามหานคร ดังนี้
ทิศเหนือ          ได้แก่                      เมืองแพร่
ทิศใต้                ได้แก่      เมืองแพรก (สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (อู่ทอง) เมืองราชบุรี
เมืองเพชรบุรี เมืองตะนาวศรี
ทิศตะวันออก ได้แก่            เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ  เมืองเหล่านี้เป็นคนไทย
และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้คนไทยไปปกครองทุกเมือง 
                4. เมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจนถึงชายพระราชอาณาเขต            ซึ่งถูกรวมเข้ากับอาณาจักรสุโขทัย เพราะการสงคราม หรือยอมอ่อนน้อมเพื่อมาขอพึ่ง                       ความคุ้มครอง   ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ ต่างภาษา ได้กำหนดให้เจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครองกันเอง           มีอำนาจสิทธิ์ขาด ในการปกครองบ้านเมืองของตนเช่นเดิม   แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมายังอาณาจักรสุโขทัยตามกำหนด 3 ปีต่อครั้ง และเมื่อมีศึกมาประชิดกรุงสุโขทัยเมืองประเทศราชต้องเกณฑ์ไพร่พลมาช่วย เมืองที่เป็นเมืองประเทศราช ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงสันนิษฐานว่ามี  ดังนี้
ทิศใต้                                     ได้แก่      เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮว์
ทิศตะวันตก                          ได้แก่      เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ และเมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ    ได้แก่      เมืองน่าน เมืองเซ่า (เมืองหลวงพระบาง)
เมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคำ 

ระบบกฎหมายของอาณาจักรสุโขทัย 
จากหลักฐานเท่าที่ปรากฏพบว่า กฎหมายไทยมีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง                แห่งอาณาจักรสุโขทัย มีลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จารึกลงบนหลักศิลาจารึกของ     พ่อขุนรามคำแหง

กฎหมายไทยในสมัยสุโขทัยเท่าที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก มีดังนี้

1. กฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในการค้าขาย อาณาจักรสุโขทัยให้เสรีภาพในการค้าอย่างเต็มที่ ไม่มีการผูกขาดสินค้าแต่อย่างใด ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกว่า “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า…”

 2. การเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศ อาณาจักรสุโขทัยไม่เก็บภาษีระหว่างทาง หรือภาษีผ่านด่าน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะมีการเก็บภาษีประเภทนี้ เพราะถ้าไม่มีการเรียกเก็บเหตุใดจึงต้องมีข้อบัญญัติให้ยกเลิกหรืองดเว้น ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกว่า “…เจ้าเมืองบ่อเอาจกอบ   ในไพร่ลู่ทาง…”

3. กฎหมายมรดก ในสมัยโบราณเมื่อครั้งมนุษย์รวมกันเป็นหมู่เหล่าได้มีข้อบัญญัติว่า ผู้ใดก็ตามที่หาทรัพย์สินมาได้ให้ไว้เป็นส่วนรวม ไม่อาจตกทอดถึงลูกหลานได้ ข้อบัญญัตินี้มีข้อเสีย
ทำให้มนุษย์ขาดความกระตือรือร้นในการทำมาหากิน จะหาทรัพย์ให้พอกินไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น
เป็นเหตุให้เศรษฐกิจไม่รุ่งเรือง ไม่มั่นคง จึงได้ยกเลิกข้อบัญญัติดังกล่าว และทำให้เกิดธรรมเนียมประเพณีให้ลูกหลานสามารถรับมรดกของผู้ตายสืบต่อๆ กันมา ส่วนรายได้ของอาณาจักรใช้วิธีเก็บภาษีแทน

 4. กฎหมายว่าด้วยลักษณะตุลาการ ตุลาการในอาณาจักรสุโขทัยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

4.1 ต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม โดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

4.2 ต้องไม่ยินดีอยากได้ของของผู้อื่น

  5. กฎหมายระหว่างประเทศ ข้อความในหลักศิลาจารึกเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศปรากฏ ดังนี้

5.1  ถ้าเมืองใดมาอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ก็จะให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ         ดังปรากฏในข้อความหลักศิลาจารึกว่า “…คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหลือเฟื้อกู้…”

5.2 ผู้ที่มาอ่อนน้อมไม่มีช้าง ม้า ผู้คนชายหญิง เงินทองก็ให้ช่วยเหลือไป              ตั้งบ้านเมือง ดังปรากฏในข้อความหลักศิลาจารึกว่า “…มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทองให้แก่มัน ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง…”
5.3  อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อมีชัยชนะแก่ข้าศึกหรือจับเชลยได้พระองค์ทรงพระกรุณาไม่ให้ลงโทษหรือไม่ให้ฆ่า ดังปรากฏในข้อความหลักศิลาจารึกว่า            “…ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…”

6. กฎหมายว่าด้วยสิทธิในที่ดิน เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองและรับรองสิทธิในทรัพย์สินมิให้ผู้ใดมาแย่งชิง

วิธีทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 
อาณาจักรสุโขทัย ไม่มีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาเป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจาก                              พ่อขุนรามคำแหง ทรงแขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูวัง ราษฎรที่มีเรื่องทุกข์ร้อนก็สามารถไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ทรงตัดสินคดีความโดยพระองค์เอง

วิธีการพิจารณาความ 
วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความของอาณาจักรสุโขทัยให้การตัดสินคดีความด้วย                    ความยุติธรรม  มีความซื่อสัตย์ ให้การสอบสวนข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้ก่อนตัดสิน

สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร
 
สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยคือสินค้าอะไร

กระดิ่งร้องทุกข์ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง 
ที่มาภาพ  นางมาลัยวรรณ  จันทร

       * ปิตุราชาธิปไตย มาจากการผสมคำระหว่างปิตุ (พ่อ) + ราช + อธิปไตย หมายความถึง การที่ราชาหรือองค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นเจ้าของผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ในฐานะผู้ปกครอง ทั้งนี้ในการใช้อำนาจดังกล่าวพระมหากษัตริย์
ทรงปกครองราษฎรประดุจบิดาหรือพ่อกับลูก

       มาตยา  อิงคนารถและคณะ. (2546). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณ  – กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. หน้า 27.

       วัลลภา  รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545).บรรพบุรุษไทย : สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย. หน้า 64.

       *ทศพิธราชธรรม  จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมืองมี 10 ประการ คือ ทาน  ศีล  บริจาค  อาชวะ  มัททวะ  ตปะ  อักโกธะ  อวิหิงสา  ขันติ  อวิโรธนะ

      ** จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ประกอบด้วย 1) ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข
2) ควรผูกไมตรีกับแคว้นอื่น ๆ   3) ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์   4) ควรเกื้อกูลพราหมณ์และภิกษุ   5) ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบทและผู้ที่เดือดร้อนขัดสน   6) ควรอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีล   7) ควรจัดรักษาฝูงเนื้อ นกและสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์   8) ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรมและชักนำให้อยู่ในกุศลจิต  9) ควรเลี้ยงดูคนจน  เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตเป็นภัยต่อสังคม  10) ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศลและอกุศลให้แจ้งชัด
11) ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ   12) ควรดับความโลภมิให้ปรารถนาลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

       *** ราชจรรยานุวัตร 4 ประการ ประกอบด้วย 1) สะสะเมธัง ความที่ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์
2) ปุริสะเมธัง ความที่ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี 3) สะสะมาปะลัง ความที่ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร 4) วาจาเปยยัง การตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้น โดยควรแก่ฐานะ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%

B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%

B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit03_03.html

งานหัตถกรรมส่งออกประเภทใดที่ทำชื่อเสียงให้อาณาจักรสุโขทัย

2. หัตถกรรมที่สำคัญและทำรายได้ให้เมืองสุโขทัย ได้แก่ เครื่องถ้วยชามสังคโลก หลักฐานที่พบคือ เตาเผา ที่เรียกว่า “เตาทุเรียง” มากกว่า 200 เตา ในเมืองศรีสัชนาลัยและสุโขทัย 3. การค้า สุโขทัยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในดินแดนตอนในกับหัวเมืองท่าชายทะเล เศรษฐกิจ ของสุโขทัยจึงมี ความรุ่งเรืองตลอดมา

สินค้าที่ทำรายได้ให้แก่อาณาจักรสุโขทัยมากที่สุดคือสินค้าประเภทใด

อุตสาหกรรม ผลผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่อง สังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจากการ

อาชีพหลักของชาวสุโขทัยมีอะไรบ้าง

สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประชาชนดำรงชีพด้วยความสบาย ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ใครใคร่ประกอบอาชีพใดก็ตามใจชอบ เจ้าเมืองไม่เก็บจังกอบ จึงอยู่กันด้วยความเป็นสุขสบาย ดังปรากฏตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ดังนี้

สิ่งใดแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "… ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "... เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ และส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก