อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามี อะไร บ้าง

ในปัจจุบันนี้เป็นสังคมแห่งความรู้ที่เปิดอย่างกว้างขวาง เป็นยุคที่การศึกษาเข้ามีบทบาทต่อขั้นตอนพัฒนาของประชาชนตลอดจนสังคมในทุกแง่มุม โดยมี ‘อินเทอร์เน็ต’ เป็นช่องทางสื่อสารอันรวดเร็วส่งผ่านข้อมูลไปยังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก มนุษย์ทุกคนล้วนก้าวผ่านยุคสมัยแห่งสังคมข่าวสารมาแล้ว โดยทำให้ได้ข้อสรุปว่าข่าวสารต่างๆนั้น สามารถสร้างประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งในเรื่องของการพัฒนาประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจ , สังคม , การศึกษา , วิธีดำเนินชีวิต และเรื่องอื่นๆ ได้อย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด

ด้วยเหตุนี้การเรียนในปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยจัดการอย่างเป็นระบบ เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์มากขึ้นอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งไม่อาจแยกกันออกได้ โดยเฉพาะระบบ ‘อินเทอร์เน็ต’ ที่เต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆมากมาย เหมือนห้องสมุดโลก ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้จากทั่วโลก ไม่จำกัดแต่เพียงในสถานศึกษาเท่านั้น

โดยถ้าอาจารย์กับนักเรียนมีความรู้ ตลอดจนเข้าใจถึงประโยชน์รวมทั้งเห็นความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะเกิดการเรียนที่นำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย ก็จะสามารถทำให้ทั้งอาจารย์และนักเรียน มีมุมมองต่อสิ่งต่างๆอย่างกว้างไกล ทันต่อข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งยังมีข้อมูลที่จะนำมาประกอบกับการสอนมากขึ้น

‘อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา’ ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษารูปแบบใหม่ ที่อาจารย์ถ่ายทอดผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบสื่อสารทางไกลแบบ Online ซึ่งมีลักษณะพิเศษ มีความแตกต่างจากเรียนในห้องเรียนปกติ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงความรู้ ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของการศึกษาสมัยใหม่กับอินเทอร์เน็ต จึงประกอบด้วยหลัก 3 ข้อ ได้แก่

  • สร้างกิจกรรมการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เหมาะสมกับทักษะของผู้เรียน เพื่อให้เขาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • เสริมทั้งทักษะและความความรู้ เพื่อให้ผู้สอนดำเนินการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำหนดเป้าหมายขั้นตอนศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนอย่างยั่งยืน

ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ณ ปัจจุบันนี้แทรกตัวไปเป็นส่วนหนึ่งของทุกขั้นตอน เช่น จัดหลักสูตร , เนื้อหาเวลาเรียน , ห้องเรียน เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เรียน ด้วยเหตุนี้หลายๆฝ่ายๆ จึงจำเป็นต้องสร้างรูปแบบกิจกรรม เช่น อบรม , สร้างงานวิจัย รวมทั้งกิจกรรมเสริมอื่นๆ ให้มีความสอดคล้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังประยุกต์เนื้อหาในหลากหลายรูปแบบได้อีกด้วย โดยนำไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา คือ พัฒนาทักษะและความสามารถอันได้มาจากการเรียน ดังนั้นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นได้ทั้งเนื้อหาและเครื่องมือในเวลาเดียวกัน จากข้อดีซึ่งเราได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้เด็กยุคใหม่เจริญอย่างรวดเร็ว รวมถึงตัวผู้สอนเองด้วย ส่งผลให้ประเทศเกิดความพัฒนาอย่างรวดเร็ว ยั่งยืน สามารถเรียนได้ตลอดชีวิต

admin

อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามี อะไร บ้าง

อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามี อะไร บ้าง

ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

               คำว่าอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นคำย่อของ Internetwork หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยจำนวนมากมายมหาศาล นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานภายในบ้านและสำนักงานไปจนถึงคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แบบเมนเฟรมในโรงงานอุตสาหกรรมและอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลก

บริการบนอินเทอร์เน็ต

       1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail : electronics mail)
       2. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
       3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
       4. กลุ่มข่าวที่น่าสนใจ (UseNet)
       5. การสนทนาบนเครือข่าย (Talk)
       6. การค้นหาข้อมูลและแฟ้มข้อมูล (Gopher/Archie)
       7.เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

อินเทอร์เน็ตกับการศึกษา

               ตั้งแต่ต้น ปี ค.ศ.1990 เป็นต้นมา การประยุกต์อินเทอร์เน็ตทางการศึกษาได้เปลี่ยนจากช่วงของการพัฒนาและวิจัยเครือข่าย มาเป็นช่วงของความพยายามในการบูรณาการเครือข่าย อินเทอร์เน็ตกับกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในระดับตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายนักการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นสารสนเทศต่างๆ บนเครือข่าย เช่น รายงานการวิจัยการค้นคว้าทางการศึกษา แผนการสอน รวมไปถึงกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้มีการเผยแพร่ไว้บนเครือข่ายนอกจากนี้ กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup และ กลุ่มสนทนา หรือ Discussion Groupที่มีบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้กลายเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสาร อภิปราย แลกเปลี่ยนและสอบถามข้อมูลของผู้เรียนตลอดจนครู อาจารย์ ผู้สอนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตทางการศึกษา

                1.การใช้กิจกรรมบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรมและโลกมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อนุญาตให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับผู้คนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลกได้เช่นกัน
                2.เป็นแหล่งความรู้ขนาดใหญ่สำหรับผู้เรียน โดยที่สื่อประเภทอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลในลักษณะใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือในรูปแบบของสื่อประสม โดยการสืบค้นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่โยงไยกับแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลก
                3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนในด้านทักษะการคิดอย่างมีระบบ (high-order thinking skills) โดยเฉพาะทำให้ทักษะการวิเคราะห์สืบค้น (inquiry-basedanalytical skill) การคิดเชิงวิเคราะห์ (critical thinking) การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระ ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นแหล่งรวมข้อมูลมากมายมหาศาล ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์อยู่เสมอ เพื่อแยกแยะข้อมูลที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์สำหรับตนเอง
               4.สนับสนุนการสื่อสารและการร่วมมือกันของผู้เรียน ไม่ว่าจะในลักษณะของผู้เรียนร่วมห้อง หรือผู้เรียนต่างห้องเรียนบนเครือข่ายด้วยกัน เช่น การที่ผู้เรียนห้องหนึ่งต้องการที่จะเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อส่งไปให้อีกห้องเรียนหนึ่งนั้น ผู้เรียนในห้องแรกจะต้องช่วยกันตัดสินใจทีละขั้นตอนในวิธีการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลและการเตรียมข้อมูลอย่างไร เพื่อส่งข้อมูลเรื่องการถ่ายภาพนี้ไปให้ผู้เรียนอีกห้องหนึ่งโดยที่ผู้เรียนต่างห้องสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
               5.สนับสนุนกระบวนการ สหสาขาวิชาการ (interdisciplinary) กล่าวคือ ในการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักการศึกษาสามารถที่จะบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่างๆเช่น คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม ภาษา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกัน
               6.ช่วยขยายขอบเขตของห้องเรียนออกไป เพราะผู้เรียนสามารถที่จะใช้เครือข่ายในการสำรวจปัญหาต่างๆ ที่ผู้เรียนมีความสนใจ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป ทำให้มุมมองของตนเองกว้างขึ้น
              7.การที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอนุญาตให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ให้คำปรึกษาได้และการที่ผู้เรียนมีความอิสระในการเลือกศึกษาสิ่งที่ตนเองสนใจ ถือเป็นแรงจูงใจสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของผู้เรียน
              8.ผลพลอยได้จากการที่ผู้เรียนทำโครงการบนเครือข่ายต่างๆ นี้ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะทำความคุ้นเคยกับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ไปด้วยในตัว เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น