ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

การดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนเกี่ยวข้องกับข้อมูลอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนกรอกรายละเอียดส่วนตัวลงในเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ และทางโรงเรียนได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร โดยอาจมีการแบ่งกลุ่มตามเพศและอายุ จะเห็นได้ว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล หน่วยทะเบียนเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้ และคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ

ข้อมูล (Data)

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงลักษณะ สถานะหรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้สื่อสาร แปลความหมาย และประมวลผล ซึ่งอาจทำด้วยคนหรือคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะของข้อมูล เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ อีเมล์ สี สัญลักษณ์ รูปทรง อุณหภูมิ ตัวโน๊ต และเสียง ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บในรูปแบบต่างๆ

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

สารสนเทศ (information)

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลได้เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ที่สนใจ มีความน่าเชื่อถือ มีความหมาย มีคุณค่า และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ เช่น เมื่อต้องการนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการควรเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ ตัวอย่างการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใชในการตัดสินใจ

ตัวอย่างสารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผล

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

การประมวลผลสารสนเทศ (information processing)

การประมวลผลสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการต่างๆกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูล การคำนวณ การค้นคืน การแสดงผล การสำเนาข้อมูล

1.1.1 ชนิดของข้อมูลแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลที่แบ่งตามแหล่งที่มา มี 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยมีผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สามารถอ้างอิงได้จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากกรมชลประทาน ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย และบันทึกการนิเทศ

การที่จะตัดสินใจว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมินั้น มีหลักการสังเกต คือ ถ้าเป็นข้อมูลปฐมภูมิจะต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้ประเมินผลได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ลงมือสำรวจศึกษาค้นคว้าหรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเริ่มแรกด้วยตนเอง มิได้คัดลอกมาจากผู้อื่น แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากบุคคลอื่น แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีความถูกต้องและแม่นยำ
  2. มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ
  3. มีความกระชับ ชัดเจน และสมบูรณ์ครบถ้วน
  4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
  5. ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ

1.1.2 ชนิดของข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูล

ข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและแหล่งกำเนิดของข้อมูล เพื่อให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูล จำเป็นต้องมีการแทนข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูลได้เป็น 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data)

หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้มี 2 รูปแบบ คือ

  • จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137, -46
  • ทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือเป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763

ทศนิยมนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

  • แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 9.0, 17.63, 119.3267, -17.34
  • รูปแบบที่ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
    123.0×104หมายถึง123000.013.76×10-30.01376-17640.0×102-176400.0-17640.0×10-2-17.64

ตัวอย่างข้อมูลชนิดจำนวน เช่น อายุของนักเรียน น้ำหนัก ส่วนสูง และคะแนนเฉลี่ย

2) ข้อมูลชนิดอักขระ (character data)

หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 171101, &76

ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ
     ข้อมูล(Data)  คือ  สิ่งต่าง ๆ หรือข้อเท็จจริง  ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสหรือสื่อต่าง ๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์
หรือการประมวลผล  โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง


ข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  คือ  ข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

การแบ่งประเภทของข้อมูลขึ้นอยู่กับ
     - ความต้องการของผู้ใช้
     - ลักษณะของข้อมูลที่นำไปใช้
     - เกณฑ์ที่นำมาพิจารณา

ในหน่วยการเรียนนี้จะยกตัวอย่างการแบ่งข้อมูลไว้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
เป็นการแบ่งข้อมูลโดยพิจารณาจากการรับข้อมูลของประสาทสัมผัสของร่างกาย  ได้แก่
   - ข้อมูลภาพที่ได้รับจากการมองเห็นด้วยดวงตา
   - ข้อมูลเสียงที่ได้รับจากการฟังด้วยหู
   - ข้อมูลกลิ่นที่ได้รับจากการสูดดมด้วยจมูก
   - ข้อมูลรสชาติที่ได้รับจากการรับรสชาติด้วยลิ้น
   - ข้อมูลสัมผัสที่ได้รับจากความรู้สึกด้วยผิวหนัง

2. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
โดยพิจารณาจากลักษณะของที่มาหรือการได้รับข้อมูล  ได้แก่
   - ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูล
โดยตรงด้วยวิธีต่างๆ เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ  ได้แก่  ข้อมูลการมาโรงเรียนสายของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งได้จากการจดบันทึกในรอบ  1  เดือนที่ผ่านมา
   - ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  คือ  การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งาน
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง  จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต  มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ  ได้แก่  สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในปีพ.ศ.2550

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง


3. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    มีลักษณะคล้ายการแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  แต่มีการแยกลักษณะข้อมูลตามชนิดและนามสกุล
ของข้อมูลนั้น ๆ  ได้แก่
                - ข้อมูลตัวอักษร เช่น  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  และสัญลักษณ์  ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น  .txt  และ  .doc
                - ข้อมูลภาพ  เช่น  ภาพกราฟิกต่าง ๆ และภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุล
ต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .bmp  .gif  และ .jpg
               - ข้อมูลเสียง  เช่น  เสียงพูด  เสียงดนตรี  และเสียงเพลง ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้าย
ชื่อไฟล์เป็น .wav  .mp3  และ  .au
               - ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมิวสิกวีดีโอ  ภาพยนตร์  คลิปวิดีโอ ข้อมูลประเภท
นี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น  .avi

4. การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์
    มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก  แต่มุ่งเน้นพิจารณา
การแบ่งประเภทตามการนำข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่
                - ข้อมูลเชิงจำนวน  มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้  เช่น
จำนวนเงินในกระเป๋า  จำนวนค่าโดยสารรถประจำทาง  และจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
                 - ข้อมูลอักขระ  มีลักษณะเป็นตัวอักษร  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล
และเรียงลำดับได้แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้  เช่น  หมายเลขโทรศัพท์  เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
                - ข้อมูลกราฟิก  เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่  เช่น
  เครื่องหมายการค้า  แบบก่อสร้างอาคาร  และกราฟ
                - ข้อมูลภาพลักษณ์  เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์
์เป็นหลัก  ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล  ย่อหรือขยาย  และตัดต่อได้  แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการ
อย่างอื่นได้

ปัจจุบันบริษัท  NTT  Communications  Corp
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองส่งข้อมูลกลิ่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต
โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการ  Aromatherapy  online  ในอนาคต

        สารสนเทศ(Information)  คือ  สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์
ในด้านการวางแผน  การพัฒนา  การควบคุม  และการตัดสินใจ
การแบ่งสารสนเทศสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ  เช่น
                1. การแบ่งสารสนเทศตามหลักแห่งคุณภาพ  ได้แก่  สารสนเทศแข็งและสารสนเทศอ่อน
                2. การแบ่งสารสนเทศตามแหล่งกำเนิด  ได้แก่  สารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศ
ภายนอกองค์กร
                3. การแบ่งสารสนเทศตามสาขาความรู้  ได้แก่  สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์  สารสนเทศ
สาขาสังคมศาสตร์  สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และสารสนเทศสาขาอื่น ๆ
                4. การแบ่งตามการนำสารสนเทศไปใช้งาน  ได้แก่  สารสนเทศด้านการตลาด  สารสนเทศ
ด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร  และสารสนเทศด้านการเงิน
                5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอดสารสนเทศ  ได้แก่    สารสนเทศที่เน้นวิชาการ  สารสนเทศ
ที่เน้นเทคนิค  สารสนเทศที่เน้นบุคคล  และสารสนเทศที่เน้นการปฏิบัติ
                6. การแบ่งตามขั้นตอนของการพัฒนาสารสนเทศ  ได้แก่  สารสนเทศระยะแรกเริ่มและ
สารสนเทศระยะยาว
               7. การแบ่งสารสนเทศตามวิธีการผลิตและการจัดทำ  ได้แก่  สารสนเทศต้นแบบและสารสนเทศ
ปรุงแต่ง
                8. การแบ่งสารสนเทศตามรูปแบบที่นำเสนอ  ได้แก่  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง  สารสนเทศ
ที่มีลักษณะเป็นข้อความ  สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ  และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์
               9. การแบ่งสารสนเทศตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้น  ได้แก่  สารสนเทศที่ทำประจำ
สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย  และสารสนเทศที่ได้รับหมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ

การนำความรู้หรือวิธีการมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง และความรวดเร็วให้แก่  สารสนเทศ
เรียกว่า  ไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ  (IT:  Information  Technology)


ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง
       

ข้อมูลภาพ ได้แก่ อะไร บ้าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบข้อมูลกับสารสนเทศ

ข้อมูลเสียงได้แก่อะไรบ้าง

ข้อมูลเสียง หมายถึง ข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเสียงจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียงได้ เช่น แผ่นซีดี โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

ข้อมูลชนิดใดที่เป็นข้อมูลภาพ

ข้อมูลภาพ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่เรามองเห็น ซึ่งอาจจะเป็น ภาพนิ่ง เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากโทรทัศน์ภาพจาก วีดิทัศน์ภาพจากคอมพิวเตอร์เป็นต้น

ข้อมูลมีอะไรบ้าง

ประเภทของข้อมูล.
1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data).
1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data).
2.1 ข้อมูลชนิดตัวเลข (Numeric data).
2.2 ข้อมูลชนิดตัวอักษร/อักขระ (Character data).
2.4 ข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย (Multimedia data).

ข้อมูลอื่นๆมีอะไรบ้าง

ข้อมูลอื่น ๆ หมายถึง ข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลทั้ง 4 ประเภท ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ข้อมูลกลิ่น ข้อมูลรสชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ เป็นต้น Back Next..
ข้อมูลตัวอักษร (ข้อมูลตัวอักขระ) ... .
ข้อมูลภาพ ... .
ข้อมูลตัวเลข ... .
ข้อมูลเสียง ... .
ข้อมูลอื่น ๆ.