ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเขียน Story Board

สวัสดีค่ะสำหรับ ep นี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องสตอรี่บอร์ด คำว่าสตอรี่บอร์ด คืออะไรอันนี้ไม่ใช่ชื่อบริษัทสตอรี่บอร์ด เนี่ยมันคือลำดับการที่เรามาเรียงเป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็น sequence ในการเล่าเรื่องงานวีดีโอตัวนั้น หรือว่าหนังตัวนั้น แล้วก็ action ในการที่มันจะเกิดขึ้นในเรื่องนั้น ซึ่งเราก็นำมาเรียงเป็นภาพ เพื่อเราจะได้เห็นภาพใหญ่ก่อน โดยที่ภาพสตอรี่บอร์ดมันก็จะประกอบไปด้วยมุมต่างๆในการที่เราจะถ่ายทำ ภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นภาพแบบไหนมุมไหน การเล่าเรื่องเป็นยังไง มีนักแสดง ไม่มีนักแสดง มีสินค้าเข้ามาแบบไหนไรงี้ค่ะ ทั้งหมดมันเหมือนเป็นคัมภีร์ที่จะทำให้คนเข้าใจตรงกันว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำวีดีโอคลิปตัวนี้วีดีโอโฆษณาตัวนี้ทิศทางมันจะเป็นในทางไหนค่ะ

ต่อไปถึงจะพูดถึงขั้นตอนในการที่ทำสตอรี่บอร์ด ขั้นตอนในการทำสตอรี่บอร์ดเนี่ยจากประสบการณ์ตรงที่หนึ่งทำงาน หนึ่งทำโดยการที่ก่อนอื่นที่ เราต้องมีไอเดียที่นำเสนอขายให้กับลูกค้าก่อนค่ะ ซึ่งไอเดียที่เรานำเสนอขายงานลูกค้าเนี่ย มันอาจจะยังไม่ได้มีสตอรี่บอร์ดชัดเจนตอนที่เราขายลูกค้าไป มันจะเป็นแค่ draft idea ว่าเราต้องการจะขาย concept แบบนี้ mood ภาพประมาณนี้ reference วีดีโอที่เราจะนำเสนอมันจะเป็นประมาณนี้ เมื่อลูกค้าเลือกไอเดียไหนแล้ว ค่อยเอาไอเดียมาพัฒนาเป็นสตอรี่บอร์ด ว่าเราจะเล่าเรื่องยังไง ก็คือให้เอาจากสคริปต์ที่เขียนเป็นตัวหนังสือมาแปลเป็นภาพ หรือว่าจากภาพที่เรานำเสนอลูกค้าไปเนี่ยมา ทำให้มันละเอียดมากขึ้น ว่าโอเคเล่าเรื่องแบบนี้ ๆค่ะ จำนวนช่องขึ้นอยู่กับความยาวของวีดีโอที่เราอยากจะได้ตอนที่วีดีโอมันเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นควรจะสัมพันธ์กัน

ต่อไปก็จะมาลงรายละเอียดว่าเราสามารถทำสตอรี่บอร์ดด้วยวิธีไหนบ้าง วิธีแรก น่าจะเป็นวิธีที่คนเห็นกันทั่วไปคลาสสิคสุดๆ นั่นคือการวาดมันขึ้นมา ตีเป็นช่องแล้วก็ว่าแต่ละช่องมันคืออะไรอันนี้ ก็คือการดรออิ้ง การวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพทำก็ลงลึกไปได้อีก ว่าต้องการความละเอียดของภาพแค่ไหน คือมันก็จะมีบอร์ดที่เสมือนจริงมากๆค่ะ ในการที่ลงสีลงเงาลงทุกอย่างเหมือนของจริงที่สุด หรือจะเป็นบอร์ดที่เป็นลักษณะที่เป็นแค่ขาวดำลงลายเส้น อาจจะเป็นบอร์ดที่เราวาดมือไม่ใช่นักวาดอะไรเลยก็ได้ อันนี้เราก็สามารถทำแบบนี้ได้ ต่อไปบอร์ดลักษณะที่ 2 ที่อันนี้หนึ่งเล่าจากประสบการณ์การทำงานของทีม คือบอร์ดที่เราหารูปมาจากทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางทีเนี่ยคือมันเหมาะสำหรับกับงานอย่างเช่นอาหาร หนึ่งเคยทำการวาดบอร์ดลายเส้นแล้วก็เป็นงานอาหาร คือเอาจริงมันดูไม่ค่อยน่ากินเท่าภาพจริงที่เราเอามาใช้ เราก็ควรใช้ภาพสิ่งที่หาจากทางอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ชหาจากแบบในชัตเตอร์สต๊อก หรือว่าใน google เสิชมามาแล้วก็มาวางเป็นบอร์ด เพื่อให้เข้าใจตรงกัน อันนี้ก็คือ option 2 ที่หนึ่งเคยทำ

ส่วน option สุดท้ายก็คือการ blockshot ซึ่ งการทำงานจริงๆ แล้วของพวกหนึ่งที่ทำงานกันต่อให้เราจะมีบอร์ดแบบที่ 1 หรือแบบที่2 ที่เป็นการหาภาพมาแปะ ก็ควรจะมีแบบที่ 3 ก็คือ blockshot เช่นการถ่ายทำโรงงาน เราควรจะไปบล็อคสถานที่จริง ลูกค้าเข้าใจตรงกันกับเรา อ่ะอันนี้คือภาพโรงงานของลูกค้า ภาพที่ได้บล็อคเอามาทำมาทำสตอรี่บอร์ดเนี่ยในเนี้ยมันจะเกิดขึ้นจริงในวีดีโอ เพราะฉะนั้นเนี่ยมันก็คือส่วนที่มาทำให้มันเคลียร์ทุกอย่างได้ค่ะ รายการที่ใช้ภาพสตอรี่บอร์ดแบบที่ 3 คือการที่เราไป blockshot จากภาพจริงนั้นมาแปะในบอร์ด

แล้วก็สตอรี่บอร์ด ในหนึ่งช่อง มันประกอบด้วยอะไรบ้าง จริงๆหนึ่งช่องมันจะประกอบไปด้วย action ของนักแสดง ถ้าไม่มีนักแสดงว่าควรเป็น action ของ product หรืออะไรที่จะเกิดขึ้นกับ product คือเรื่องราวอะไรที่เป็นบอกว่า action นั้นกำลังจะเล่าเรื่องอะไร เราจะเคลื่อนกล้องแบบไหนเราควรจะใส่ไว้ด้วยในสตอรี่บอร์ดว่า จะเป็นการ tracking หรือจะเป็น tilt ขึ้นตอนถ่ายทำ เราจะได้เข้าใจตรงกัน

ส่วนที่ 2 คือเรื่องเสียง ว่าวีดีโอตัวนั้นน่ะมันมี script หรือเปล่า ถ้ามีแล้ว script ประโยคนั้นเนี่ยมันจะพูดว่าอะไร ภาพกับ script จะต้องตรงกัน

สำหรับปัจจุบันนี้เราสามารถนำวีดีโอโฆษณาที่เราถ่ายทำมาไปลง social media ได้หลากหลายช่องทางมากค่ะ ซึ่ง social media แต่ละอย่างก็มี platform ratio ในการเอาโฆษณาไปลง ให้มันสวยงามไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น youtube ก็จะนิยมใช้ ratio ที่เป็นปกติแนวนอน 16:9 อย่าง Instagram เราก็ควรใช้ที่เป็น 1:1 เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้นเนี่ยมันควรจะสัมพันธ์กับสตอรี่บอร์ดที่เราทำไปด้วย สรุปง่ายๆ สตอรี่บอร์ด มันเหมือนการ organize รวมทั้งหมดของคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนั้น ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ลำดับภาพควรเป็นยังไงคะ การถ่ายทำควรจะเป็นยังไง และการตัดต่อควรจะเป็นแบบไหน มันคือการบริหารการจัดการทำคลิปวีดีโอโฆษณาตัวนึง

สตอรี่บอร์ด คือ การเขียนภาพนิ่งและข้อความเพื่อกำหนดแนวทางในการถ่ายทำหรือผลิตภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โฆษณา การ์ตูน สารคดี เป็นต้น เพื่อกำหนดการเล่าเรื่อง ลำดับเรื่อง จัดมุมกล้อง กำหนดเวลา ซึ่งภาพที่วาดไม่จำเป็นจะต้องละเอียดมาก แค่บอกองค์ประกอบสำคัญๆ ได้ มีการระบุถึงตำแหน่งของตัวละครที่มีความสัมพันธ์กับฉากและตัวละครอื่นๆ กรอบแสดงภาพและมุมกล้อง แสงเงา เป็นการสเกตซ์ภาพของเฟรม (Shot) ต่างๆ จากบท เปรียบเสมือนการวาดการ์ตูนในกรอบสี่เหลี่ยมแต่ละช่อง

 ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด(Story Board)

สตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วยชุดของภาพ Sketches ของ shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยายหรือบทสนทนาในเรื่อง ซึ่งอาจจะทำการเขียนเรื่องย่อและบทก่อน หรือ Sketches ภาพก่อนก็ได้ แล้วจึงค่อยใส่คำบรรยายลงไป อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้ และสำหรับการกำหนดเสียงในแต่ละภาพต้องพิจารณาว่าภาพและเสียงไปด้วยกันได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรี เสียงธรรมชาติหรือเสียงอื่นๆ

 แนวทางในการเขียนสตอรี่บอร์ด

ควรศึกษาการหลักการเขียนเนื้อเรื่อง บทบรรยาย การกำหนดมุมกล้อง ศิลปะในการเล่าเรื่อง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละครหรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีลักษณะการเล่าเรื่องคล้ายๆ กัน นั่นคือการเล่าเรื่องราวของธรรมชาติ มนุษย์หรือสัตว์ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเสมอ ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่จะขาดไปเสียไม่ได้ก็คือ ตัวละคร สถานที่และเวลา สิ่งสำคัญในการเขียนบทก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจ ให้ได้ว่า เราอยากจะพูด จะนำเสนออะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจเหล่านั้นจะถูกนำใช้ในการกำหนด สถานการณ์ ตัวละคร สถานที่และเวลา ของเรื่องราว

 เทคนิคในการเขียนบทหรือเนื้อเรื่อง

  1. ต้องมีการบรรยายสภาพและบรรยากาศของสถานที่ หรือการพรรณนาภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำความคิดของผู้อ่านให้ซาบซึ้งในท้องเรื่อง ให้เห็นภาพฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นให้ชัดเจน
  2. การวางโครงเรื่องมีการดำเนินเรื่องตั้งแต่เริ่มนำเรื่องจนถึงปลายยอดเรื่อง หรือที่เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยให้ผู้อ่านเข้าใจและมีความรู้สึกตามเนื้อเรื่อง
  3. การจัดตัวละครและให้บทบาทแก่ตัวละครที่สำคัญในเรื่อง เพื่อแสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ก่อให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ขึ้น
  4. การบรรยายเรื่อง แบบการมีตัวตนที่เข้าไปอยู่ในตัวเรื่อง และการเป็นบุรุษที่สาม ได้แก่ ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด
  5. การเปิดเรื่อง อาจใช้วิธีการให้ตัวละครสนทนากัน การบรรยายตัวละคร การวางฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ การบรรยายพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัวละคร ก็ได้

การจัดทำสตอรี่บอร์ด

การทำสตอรี่บอร์ดเป็นการสร้างตารางขึ้นมาเพื่อร่างภาพลงไปตามลำดับขั้นตอนของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของงานที่จะลงมือทำ และหากมีสิ่งที่ต้องแก้ไขเกิดขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ หรือทำสตอรี่บอร์ดใหม่ได้ การทำสตอรี่บอร์ดนั้นโดยหลักแล้ว จะเป็นต้นแบบของการนำไปสร้างเป็นภาพจริง เหตุการณ์จริง และจะเป็นตัวกำหนดการทางานในขั้นตอนอื่นๆ ไปในตัวด้วย เช่น การเสียงพากย์ การใส่เสียงดนตรี เสียงประกอบอื่นๆ หรือเทคนิคพิเศษต่างๆ การทำสตอรี่บอร์ดจึงเป็นการร่างภาพ พร้อมกับการระบุรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นที่จะต้องทำลงไป

หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด

รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย

  1. ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
  2. มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
  3. เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

วิธีการเขียนสตอรี่บอร์ด

สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือหนังขึ้นมาจริงๆ

ข้อดีของการทำ Story Board

  1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
  2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
  3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
  4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)

ขั้นตอนการทำ Story Board

  1. วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ

1.1  แนวเรื่อง

1.2  ฉาก

1.3  เนื้อเรื่องย่อ

1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)

1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกินไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที

  1. ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ

จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา

  1. กำหนดหน้า
  2. แต่งบท

เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม

  1. ลงมือเขียน Story Board !!!!
    ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเขียน Story Board
    ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเขียน Story Board
    ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเขียน Story Board
    ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเขียน Story Board

การเขียนบทภาพยนตร์

ประวัติหนังสั้น

หนังสั้นโดยเปรียบเทียบกับเรื่องสั้นในความหมายของหนังสั้นที่ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ หนังที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที มีรูปเเบบหรือสไตล์หลากหลาย ทั้งที่ใช้การเเสดงสด(Live action film)หรือ แอมนิเมชั่น(animited film) ก็ได้การกำหนดความยาวของหนังสั้นด้วยเวลาที่เเน่นอน เพราะเนื่องจากหนังที่มีความยาวเกิน 30 นาที จะมีรูปเเบบของการเข้าถึงตัวละครเเละโครงเรื่องต่างจากหนังสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที หนังที่มีความยาวตั้งเเต่ 30-60 นาที จะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการกำหนดอารมณ์ของคนดูว่าตอนไหนควรเร่งรีบ ตอนไหนควรทิ้งหรือถ่วงเวลาเพื่อให้คนดูสนุกสนาน ส่วนหนังสั้นมีเวลาจำกัดไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หรือเล่นอารมณ์กับคนดูได้มากนักจึงต้องเข้าถึงตัวละครอย่างรวดเร็ว เเละทำโครงเรื่องให้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อให้คนดูเข้าใจเรื่องได้ในเวลาที่จำกัด

 พัฒนาการของภาพยนตร์สั้น

ปัจจุบันหนังสั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้กลายเป็นหนังบันเทิงเรื่องยาว หนังเรื่องเเรกเท่าที่มีการค้นพบ เป็นหนังสั้นของ Edison มีความยาวประมาณ 50 ฟุต เป็นเเอ็คชั่นของการจามเรื่อง Fred Ott’s Sneeze (1894) ถ่ายด้วยกล้อง Kinetograph การสร้างหนังในช่วงเเรก เป็นหนังสั้นทุกเรื่อง เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ภาพยนตร์ในสมัยนั้นได้รับความสนใจมาก เเละเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดีทำให้บริษัทของ Edison เเละบริษัทอื่นๆรวมทั้งบริษัท Mutoscope เเละ Biograph เริ่มต้นที่จะรวมตัวกันผูกขาดกิจการค้า โรงหนัง Pittsburgh ในปี 1905 ซึ่งโรงหนังนี้ทำให้มีคนดูหนังมากขึ้น ธุรกิจหนังสั้นในยุคนั้นจึงเฟื่องฟูขึ้น ในปี 1908 อิตาลีสร้างหนังประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มีความยาว 5 ม้วน D.W. Griffith ได้รับอิทธิพล การสร้างหนังที่มีความยาวขึ้น ซึ่งเเต่เดิมการสร้างภาพยนตร์เรื่องยาว เขามีความพยายามสร้างอยู่เเล้วโดยสร้างให้ยาวมากขึ้นเรื่อยๆจาก 1 ม้วนเป็น 2 ม้วน เช่นเรื่อง Enoch Arden (1991) เเม้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เเละถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยจากผู้อำนวยการสร้าง เเต่ในที่สุดเมื่อเขาชมภาพยนตร์ที่มีความยาวของอิตาลี จึงเป็นเเรงให้เขามีเเรงบันดาลใจในการสร้างหนังยาวถึง 4 ม้วน ในเรื่อง Judith  of Bethulia (1914) ซึ่งเป็นหนังที่มีความยาวมากครั้งเเรกของประวัติศาสตร์การสร้างหนังของ Hollywood เป็นเรื่องสำคัญเรื่องสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มสร้างหนังบันเทิงเรื่องยาว คือ The Birth of a Natoin (1915) อันเป็นจุดเริ่มต้นบรรทัดฐานการสร้างหนังบันเทิงที่มีความยาวในปัจจุบัน เเม้ว่าหนังบันเทิงที่มีความยาวมากขึ้นจะได้รับความนิยม เเต่หนังสั้นก็ยังคงผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้กำกับหนุ่ม Mack Scnnett ที่ไม่สามารถผลิตหนังตลกให้กับบริษัทของ Edison หรือ Biograph ได้อีกต่อไปจึงออกมาสร้างบริษัทสร้างภาพยนตร์อิสระของตนเอง ชื่อบริษัท Keystone Picture ผลิตหนังสั้นตลก ต่อมาในปี 1913 นักเเสดงชาวอังกฤษ Charlie Chapplin ได้ร่วมกับบริษัทของ Sennett สร้างหนังสั้นตลกยิ่งใหญ่ออกมาอีกหลายเรื่อง เช่น The Tramp (1915) , One A.M. (1916), Easy Street (1917), เเละ A dog’s Life (1918) หนังสั้นตลกของเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการวิพากษ์สังคมโดยผ่านตัวละครโง่เขลา จนในที่สุดกลายมาเป็นเเบบอย่างให้กับนักเเสดงตลกที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ตามมา เช่น Buster Keaton เเละ Laurel and Hardy

 ความหมายของหนังสั้น

หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้นๆ แต่ได้ใจความ
ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละคร และแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้นการคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละคร และแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

 ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

  1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
  2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3.การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

  1. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
  2. บทภาพยนตร์ (screenplay)สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
  3. บทถ่ายทำ (shooting script)คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้นการเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ

 ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์สั้น

  1. ความยาว (Lenght)

ภาพยนตร์สั้นมักมีความยาวตั้งแต่ 1 – 30 นาที ขึ้นอยู่กับความพอดีและลงตัว ความพอดี หรือความลงตัว อยู่ที่หนังสามารถตอบสนองเรื่องราวได้อย่างน่าพอใจหรือยัง ความยาวจึงขึ้นอยู่กับผู้กำกับที่จะตัดสินใจว่า การเล่าเรื่องเกินพอดี หรือขาดความพอดีหรือไม่ ซึ่งการขาดความพอดี หรือการเกินความพอดี จะส่งผลให้หนังอืดอาดยืดยาด หรือหนังเร็วจนเรื่องขาดหายไปทำให้ดูไม่รู้เรื่องสำหรับหนังของมือใหม่มักมีข้อบกพร่อง คือ กังวลว่าคนดูจะไม่รู้เรื่อง จึงมักพูดมาก จนน่าเบื่อ หรือความอ่อนประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถแตกช็อตให้คนดูเข้าใจเรื่องได้จึงกลายเป็นหนังที่ห้วนและดูไม่รู้เรื่อง

 2.แก่นเรื่อง (Theme)

แก่นเรื่อง คือ สาระหรือจุดเป้าหมายที่เรากำลังพยายามเข้าถึงแก่นเรื่อง คือ ความคิดลึกซึ้งที่เป็นนามธรรม หรือ ความคิดที่ยึดโครงสร้างของเรื่อง และนำเสนอผ่านตัวละคร เป็นแอ๊กชั่นของการแสดงทั้งหมด แก่นเรื่องเป็นศูนย์กลางความคิดหลักที่เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดที่ผู้กำกับต้องการสื่อสารกับคนดู สำคัญมากหนังสั้นควรมีความคิดหลักประการเดียว มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องซับซ้อนต้องใช้วิธีเล่าเรื่องแบบหนังที่มีความยาวทั่วไป ความคิดหลักไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคนดูเสมอไป แต่ให้คนดูมีโอกาสไตร่ตรองสำรวจความคิดของตนเองเป็นการจุดจินตนาการและทำให้เกิดความคิดทางสติปัญญาขึ้น

 3.ความขัดแย้ง (Conflict)

เป็นการกำหนดความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวละครหรือเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต้องการจะไปให้ถึงแล้วเรา (ผู้เขียนบท) จะสร้างอุปสรรคให้ตัวละครแก้ปัญหา หรือสร้างวิธีการต่าง ๆ
นานาให้ตัวละครไปสู่เป้าหมายอย่างยากเย็น การสร้างความขัดแย้ง ผู้เขียนบทต้องเริ่มวางประเด็นของเรื่องไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือเขียนบทเป็นประโยคสำคัญ ความขัดแย้งมีหลายประเภท คือ

– ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง
– ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ

 4. เหตุการณ์เดียว (One Primary Event)

เหตุการณ์หลักในหนังสั้น ควรมีเพียงเหตุการณ์เดียว ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อาจจะกินระยะเวลาในหนังหลายวันหรือหลายอาทิตย์ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ทำให้เนื้อเรื่องดูง่าย ไม่ซับซ้อน
มีความยาวไม่มากนักใช้เหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวในการเล่าเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา

 5. ตัวละครเดียว (One Major Character)

ตัวละครในภาพยนตร์ คือ การแสดงของคนที่มีบุคลิกลักษณะตามที่เราเลือกไว้
เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดงตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์)
หรือวิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่างๆ หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่นแล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ

 6. ความต้องการ (Need & Want)

ความต้องการของตัวละคร คือ สิ่งที่ตัวละครอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการให้ได้มาต้องการบรรลุในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างเนื้อหาของเรื่องราวผู้เขียนต้องกำหนดความต้องการของตัวละครก่อนเขียนบท โดยกำหนดว่าอะไร ? คือความต้องการของตัวละคร ความต้องการนี้จะเป็นตัวผลักดันตัวละคร ให้เกิดการกระทำจากนั้นผู้เขียนต้องสร้างอุปสรรคขัดขวางความต้องการนั้นสำคัญมาก ความต้องการจะช่วยให้โครงเรื่องพัฒนาไปอย่างมีทิศทางในหนังสั้นความต้องการของตัวละครหลักมักมีหลายระดับ

 7. โครงสร้างของบท (Structure)

โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับทั้งหมด ส่วนย่อยคือ แอ๊กชั่น , ตัวละคร , ฉาก , ตอน , องก์ (1,2,3) , เหตุการณ์ , สถานการณ์ , ดนตรี สถานที่ ฯลฯ ส่วนย่อยทั้งหมดล้วนสร้างขึ้นเพื่อหลอมรวมเป็นเรื่องแล้วโครงสร้างจะเป็นตัวยึดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมทั้งหมด
       

  1. ปูมหลัง (Backstory)

ปูมหลังของเรื่อง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องในภาพยนตร์จะเกิดเหตุการณ์ในอดีตจะส่งผลตรงกับอารมณ์ของตัวละครหลักปูมหลังของเรื่องมีความสัมพันธ์กับความต้องการของตัวละคร คนเขียนบทต้องกำหนดล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนบท แต่ปูมหลังไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในบท

ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการจัดทำสตอรีบอร์ด

การทำสตอรี่บอร์ดประกอบด้วยขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1.วางโครงเรื่องหลัก โครงเรื่องหลักประกอบด้วยแนวเรื่อง ฉาก เรื่องย่อ และตัวละคร สิ่งสำคัญคือกำหนดลักษณะของตัวละครให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกินไป และสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยตัวละครได้ทันที 2.ลำดับเหตุการณ์คร่าวๆ

ขั้นตอนการทําสตอรี่บอร์ด มีอะไรบ้าง

หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

สตอรี่บอร์ด (Storyboard) อยู่ในขั้นตอนใด

Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)

ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือเขียน Storyboard

4. แต่งบท เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในคอมมิกออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม